Tuesday, 22 April 2025
วันรัฐธรรมนูญ

10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ วันสำคัญของระบบการปกครองไทย

วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่ ในหลวง รัชกาลที่ 7 พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และเป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 19 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั้น ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ไทยเชิงการเมืองการปกครอง เมื่อคณะราษฎร ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการสายทหารบก ทหารเรือ และสายพลเรือน จำนวน 99 คน โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากพระมหากษัตริย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ ระลึกโอกาสที่ ร.7 พระราชทานรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวร

วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และเป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 19 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั้น ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ไทยเชิงการเมืองการปกครอง เมื่อคณะราษฎร ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการสายทหารบก ทหารเรือ และสายพลเรือน จำนวน 99 คน โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากพระมหากษัตริย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ ได้แก่ การที่กำหนดว่า อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคล คณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ 1. พระมหากษัตริย์ 2. สภาผู้แทนราษฎร 3. คณะกรรมการราษฎร และ 4. ศาล

กระทั่งถึงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวรซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิ ได้เปลี่ยนระบอบการปกครอง เป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริการราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐซึ่งมีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้น ได้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็น ที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้

‘กระทรวงพาณิชย์’ เผย!! TEMU จดทะเบียนนิติบุคคล ในไทยแล้ว พร้อมเดินหน้า แก้ไขปัญหานอมินี ลั่น!! ต้องดำเนินการตามกฎหมาย

(10 ธ.ค. 67) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาสินค้า และธุรกิจต่างประเทศที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่า ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสินค้าไร้คุณภาพที่นำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งกรมศุลกากร สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

ให้เพิ่มความเข้มงวด และเพิ่มความเข้มข้นต่อไป หลังจากผลการทำงานที่ผ่านมา ได้ผลเป็นอย่างดี และแก้ไขปัญหาลงไปได้มาก สามารถดูแลผู้บริโภค และผู้ประกอบการ SME ได้เป็นอย่างดี

ในส่วนของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ TEMU ล่าสุดตนได้รับรายงานว่า เมื่อ 11 พ.ย.67 ที่ผ่านมาทาง TEMU ได้ดําเนินการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยใช้ชื่อบริษัท เวลโค เทคโนโลยี จํากัด

ส่วนการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวนั้นมี  2 ช่องทางคือ ช่องทางการส่งเสริมการลงทุนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)และตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ทั้งนี้ทางจีนก็ยินดีที่จะส่งเสริมการส่งออกสินค้า SME ไทยให้เข้าไปจำหน่ายในจีนทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรูปแบบใหม่

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามธุรกิจอำพรางของคนต่างด้าว (Nominee) และคณะอนุกรรมการส่งเสริม และยกระดับ SME ไทยและแก้ปัญหาสินค้าที่ไม่มีคุณภาพจากต่างประเทศ กล่าวว่า ผลการดำเนินงานอย่างเข้มข้น ทำให้สินค้าไร้คุณภาพเข้าสู่ประเทศลดลง โดยช่วงก่อนมีมาตรการ ม.ค. - มิ.ย.2567 มีการนำเข้าเฉลี่ยเดือนละ 3,112 ล้านบาท และตั้งแต่เดือนก.ค.- ปัจจุบัน การนำเข้าลดลงเหลือ 2,279 ล้านบาท ลดลง 27% ลดลงทุกกลุ่มสินค้า โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่มีมาตรฐาน

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพิ่มมาตรการในการกำกับดูแล โดยสินค้าเกษตร ให้เพิ่มการตรวจสอบสารปนเปื้อน สารเคมีตกค้าง แมลงตกค้าง จาก 500 ครั้งต่อเดือน เป็น 5,000 ครั้งต่อเดือน

และระยะกลาง เพิ่มการตรวจสอบเป็นวันละ 200 ครั้ง หรือปีละ 7.2 หมื่นครั้ง สินค้าอุปโภคบริโภค ที่จำหน่ายผ่านเว็บไซต์ ให้ อย. และ สคบ. ตรวจสอบการติดสลาก คุณภาพสินค้า จากปกติ 1,200 ครั้ง เป็น 1,600 ครั้งต่อเดือน และเพิ่มเป็น 3,000 ครั้งต่อเดือน

ส่วนที่นำเข้า ให้ตรวจเข้ม 100% ในบางสินค้า และ 20-30% ในบางสินค้า และให้ชะลอการจ่ายเงินไว้ 5 วัน เพื่อให้ผู้บริโภคได้ตรวจสอบสินค้า รวมทั้งต้องตรวจสอบการติดสลาก อย. มอก. อย่างเข้มข้น

ส่วนการดำเนินคดี กรมศุลกากรได้ดำเนินคดีแล้ว 12,145 ราย มูลค่าความเสียหาย 529 ล้านบาท สมอ. 59 คดี 33 ล้านบาท สคบ. 159 คดี 27.8 ล้านบาท กรมทรัพย์สินทางปัญญา 177 คดี 153 ล้านบาท และ อย. 30,393 รายการ ยังประเมินมูลค่าความเสียหายไม่ได้

นายนภินทร กล่าวว่า สำหรับการแก้ไขปัญหานอมินี ได้แบ่งกลุ่มตรวจสอบธุรกิจที่มีความเสี่ยง 6 กลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจท่องเที่ยว และเกี่ยวเนื่อง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และเกี่ยวเนื่อง ธุรกิจขนส่งทางบก ธุรกิจโกดัง และคลังสินค้า ธุรกิจซื้อขายที่ดินเพื่อการเกษตร และธุรกิจอื่นๆ โดยผลการตรวจสอบตั้งแต่ 1 ก.ย. - 4 ธ.ค.2567 สามารถดำเนินคดีได้ 747 ราย มูลค่า 11,720 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าของธุรกิจที่ได้เข้าไปตรวจสอบ

“ขอแจ้งเตือนไปยังผู้ที่กระทำการเป็นนอมินีให้กับคนต่างด้าว เข้ามาทำธุรกิจในไทย ขอให้หยุดการกระทำ และแจ้งข้อมูลมายังกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สายด่วน 1570 จะกันตัวไว้เป็นพยาน แต่ถ้ายังขืนดื้อดึง และทำผิดต่อไป หากจับกุมได้ จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด ไม่มีละเว้น” นายนภินทร กล่าวทิ้งท้าย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top