Monday, 1 July 2024
วันพระบิดาแห่งฝนหลวง

ประจวบคีรีขันธ์ - จัดพิธีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในหลวงรัชกาลที่ 9 เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวงประจำปี 64

เมื่อเวลา 08.00 น.วันที่ 11 พ.ย.64 ที่บริเวณห้องประชุมชั้น 1 อาคารองค์การบริหารส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายเสถียร เจริญเหรียญ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธานนำหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมประกอบพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี พ.ศ.2564 โดยมี รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด รอง ผอ.รมน.จังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ และ ผู้แทนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตร เข้าร่วมพิธีโดยพร้อมเพรียง

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากด้วยเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 เป็นวันที่พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการบังคับเมฆให้เกิดเป็นฝนจนเกิดเป็นโครงการพระราชดำริฝนหลวง เพื่อขจัดปัดเป่าความทุกข์ยากให้แก่พสกนิกรที่ประสบภัยแล้ง และเป็นองค์ประกอบในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศจนถึงปัจจุบัน

สตูล - วางพานพุ่มดอกไม้สด ถวายราชสักการะน้อมรำลึก “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” ประจำปี 2564

ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ศาลากลางจังหวัดสตูล นายทศพล สวัสดิสุข ปลัดจังหวัดสตูล เป็นประธานในพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะและกล่าวรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2564 โดยมีนางปิยรัตน์ ลัภกิตโร เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสตูล พร้อมด้วยข้าราชการ และหน่วยงานส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมพิธี ภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19

โอกาสนี้ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสตูล นำประธานในพิธีและผู้เข้าร่วม เดินชมนิทรรศการโครงการพระราชดำริ “ฝนหลวง” ที่แสดงถึงพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงค้นคว้าวิจัยร่วมกับคณะ จนสามารถนำฝนจากบนฟากฟ้าให้ตกลงสู่ผืนแผ่นดินให้พ้นจากภัยแล้ง แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ เปรียบดั่งสายฝนแห่งน้ำพระราชหฤทัยที่พระองค์ทรงห่วงใยในความเป็นอยู่ของราษฎร และจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 เห็นชอบการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็นพระบิดาแห่งฝนหลวง

ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ศาลากลางจังหวัดสตูล นายทศพล สวัสดิสุข ปลัดจังหวัดสตูล เป็นประธานในพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะและกล่าวรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2564 โดยมีนางปิยรัตน์ ลัภกิตโร เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสตูล พร้อมด้วยข้าราชการ และหน่วยงานส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมพิธี ภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19

โอกาสนี้ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสตูล นำประธานในพิธีและผู้เข้าร่วม เดินชมนิทรรศการโครงการพระราชดำริ “ฝนหลวง” ที่แสดงถึงพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงค้นคว้าวิจัยร่วมกับคณะ จนสามารถนำฝนจากบนฟากฟ้าให้ตกลงสู่ผืนแผ่นดินให้พ้นจากภัยแล้ง แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ เปรียบดั่งสายฝนแห่งน้ำพระราชหฤทัยที่พระองค์ทรงห่วงใยในความเป็นอยู่ของราษฎร และจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 เห็นชอบการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็นพระบิดาแห่งฝนหลวง

 

14 พฤศจิกายน ของทุกปี  ‘วันพระบิดาแห่งฝนหลวง’ น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวง ร.9

วันพระบิดาแห่งฝนหลวง ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2545 

เนื่องจากเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวง รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ซึ่งโครงการฝนหลวงนี้ มีประโยชน์ต่อราษฎรเป็นอย่างมาก เพราะเป็นวิธีการดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝน ได้ในยามแล้งน้ำ

โครงการฝนหลวง เป็นโครงการในพระราชดำริของในหลวง ร.9 ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยาก ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำใช้เพื่ออุปโภคและบริโภค รวมไปถึงการใช้ในทางเกษตรกรรม เนื่องจากสภาวะแห้งแล้ง ซึ่งพบได้บ่อยในฤดูหนาวและฤดูร้อน โดยความแห้งแล้งเกิดจากการคลาดเคลื่อนของฤดูตามธรรมชาติ เช่น ฤดูฝนล่าช้าหรือหมดไวกว่าปกติ

ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงศึกษาสภาพอากาศ ลักษณะต่าง ๆ รวมไปถึงภูมิประเทศของไทย ที่อยู่ในภูมิภาคเขตร้อน ทำให้อยู่ในอิทธิพลของมรสุมทวีปเอเชีย โดยเฉพาะมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นฤดูฝนและเป็นฤดูเพราะปลูกประจำปีของประเทศไทย พระองค์จึงดำริว่าจะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ เพื่อให้เกิดฝนตกได้

ดังนั้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้า วิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ จนมั่นพระทัย ใน พ.ศ. 2499 จึงได้พระราชทาน โครงการพระราชดำริ ‘ฝนหลวง’ ให้ ม.ล. เดช สนิทวงศ์ การรับสนองพระราชดำริ

โดยได้ร่วมมือกันระหว่าง ม.ล. เดช สนิทวงศ์, ม.จ. จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ และม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น รับไปดำเนินการศึกษา วิจัย และพัฒนากรรมวิธีการทำฝนให้บังเกิดผลโดยเร็ว ในปีถัดมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้

จนกระทั่ง พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบินปราบศัตรูพืช กรมการข้าว เพื่อสนับสนุนโครงการฝนหลวง อีกทั้งในปีเดียวกันนี้เองที่ได้มีการทดลองปฏิบัติจริงบนท้องฟ้าครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 เป็นวันปฐมฤกษ์ในการปฏิบัติการทดลองทำฝนเทียมกับเมฆในท้องฟ้าเหนือภาคพื้นดิน บริเวณวนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยการใช้น้ำแข็งแห้ง (Dry-Ice) ที่ยอดของกลุ่มก้อนเมฆ ปรากฏว่าหลังการปฏิบัติการประมาณ 15 นาที ก้อนเมฆในบริเวณนั้นเกิดมีการรวมตัวกันอย่างหนาแน่นจนเห็นได้ชัด สังเกตได้จากสีของฐานเมฆได้เปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเทาเข้ม

ซึ่งผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจ เพียงแต่ยังไม่อาจควบคุมให้ฝนตกในบริเวณที่ต้องการได้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานคำแนะนำเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยให้เปลี่ยนพื้นที่ทดลองไปยังจุดแห้งแล้งอื่น ๆ เช่น ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น ด้วยความสำเร็จของโครงการฝนหลวง จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้นใน พ.ศ. 2518 ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top