Tuesday, 22 April 2025
วันปิยมหาราช

รฟท. จัดรถจักรไอน้ำขบวนพิเศษ "กรุงเทพ-อยุธยา" น้อมรำลึก 'วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม'

การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดเดินขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำ วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม สัมผัสเส้นทางประวัติศาสตร์ กรุงเทพ-พระนครศรีอยุธยา เปิดจำหน่ายตั๋วตั้งแต่ 11 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

นายเอกรัช  ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เนื่องในวันปิยมหาราช 23 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 การรถไฟฯ ได้จัดกิจกรรมเพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงพระราชทานกิจการรถไฟให้แก่ปวงชนชาวไทย

ในโอกาสนี้การรถไฟฯ ได้นำหัวรถจักรไอน้ำ รุ่นแปซิฟิก หมายเลข 824 และ 850 รุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผลิตโดยบริษัท นิปปอน ชาร์เรียว จำกัด ซึ่งปัจจุบันได้เก็บรักษาและซ่อมบำรุงอยู่ที่โรงรถจักรธนบุรี มาจัดเดินขบวนรถพิเศษนำเที่ยวในเส้นทางสายประวัติศาสตร์ระหว่างสถานีกรุงเทพถึงสถานีอยุธยา เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานกิจการรถไฟให้แก่ปวงชนชาวไทย จึงขอเชิญชวนร่วมย้อนวันวานไปกับขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำเฉลิมพระเกียรติ 23 ตุลาคม วันปิยมหาราช เริ่มจำหน่ายตั๋วโดยสาร ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ที่สถานีรถไฟทุกแห่งทั่วประเทศ

23 ตุลาคม วันปิยมหาราช

วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 นับเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าโศกให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทรา พระบรมราชินี) เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น 'กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรลังกาศ' ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น 'กรมขุนพินิตประชานาถ' บรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 ทรงพระนามว่า 'พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว'

เนื่องจากขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 16 ปี ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญ พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญพระมหาอุปราช

ระหว่างที่สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการอยู่นั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาเป็นอันมาก เช่น โบราณราชประเพณี รัฐประศาสน์ โบราณคดี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ วิชาปืนไฟ วิชามวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง และวิชาวิศวกรรม

'รัฐบาล' ชี้!! หยุดยาว 22-25 ต.ค.นี้ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดให้จอดรถฟรี

'ทิพานัน' แจ้ง!! วันหยุดยาววันปิยมหาราช ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดให้ผู้โดยสารและผู้ใช้บริการจอดรถฟรี ณ ลานจอดรถระยะยาว โซน C   ตั้งแต่ 21-25 ตุลาคมนี้
.
(22 ต.ค.65) น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เนื่องในวันหยุดยาวติดต่อกัน3 วัน ในช่วงวันหยุดชดเชยวันปิยมหาราช 22-24 ตุลาคมนี้ รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าใจถึงความต้องการของประชาชนในการเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวพักผ่อนในวันหยุด ทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน รวมทั้งกระตุ้นการท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) จึงได้ทำการยกเว้นอัตราค่าบริการจอดรถที่ลานจอดรถระยะยาว (Long Term Parking) โซน C ซึ่งสามารถจอดรถได้จำนวน 718 คัน โดยผู้โดยสาร และผู้ใช้บริการสามารถนำรถยนต์เข้ามาจอดฟรี ระหว่างวันที่ 21-25 ต.ค.65 ได้ตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของวันที่ 21 ตุลาคม 2565 ถึงเวลา 24.00 น. ของวันที่ 25 ต.ค.2565 รวม 5 วัน
.
น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า พร้อมกันนี้ทาง ทสภ. ยังได้จัดรถชัตเติ้ลบัส สาย A วิ่งให้บริการรับ-ส่ง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร ระหว่างลานจอดรถระยะยาวโซน C และอาคารผู้โดยสารทุกๆ 15 นาที ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย

วันปิยมหาราช ๒๓ ตุลาคม วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 นับเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าโศกให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทรา พระบรมราชินี) เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น ‘กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรลังกาศ’ ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น ‘กรมขุนพินิตประชานาถ’ บรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 ทรงพระนามว่า ‘พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว’

เนื่องจากขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 16 ปี ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญ พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญพระมหาอุปราช

ระหว่างที่สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการอยู่นั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาเป็นอันมาก เช่น โบราณราชประเพณี รัฐประศาสน์ โบราณคดี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ วิชาปืนไฟ วิชามวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง และวิชาวิศวกรรม

ในตอนนี้ยังได้เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา 2 ครั้ง เสด็จประพาสอินเดีย 1 ครั้ง การเสด็จประพาสนี้มิใช่เพื่อสำราญพระราชหฤทัย แต่เพื่อทอดพระเนตรแบบแผนการปกครองที่ชาวยุโรปนำมาใช้ปกครองเมืองขึ้นของตน เพื่อจะได้นำมาแก้ไขการปกครองของไทยให้เหมาะสมแก่สมัยยิ่งขึ้น ตลอดจนการแต่งตัว การตัดผม การเข้าเฝ้าในพระราชฐานก็ใช้ยืน และนั่งตามโอกาสสมควร ไม่จำเป็นต้องหมอบคลานเหมือนแต่ก่อน

เมื่อพระชนมายุบรรลุพระราชนิติภาวะ ได้ทรงผนวชเป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วจึงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 และนับจากนั้นมาก็ทรงพระราชอำนาจเด็ดขาดในการบริหารราชการแผ่นดิน

ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ทรงปกครองทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้มั่งคั่งสมบูรณ์ ด้วยรัฐสมบัติ พิทักษ์พสกนิกรให้อยู่เย็นเป็นสุข บำบัดภัยอันตรายทั้งภายในภายนอกประเทศ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่าง ๆ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ และสามารถธำรงเอกราชไว้ตราบจนทุกวันนี้

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 รวมพระชนมายุได้ 58 พรรษา ครองราชสมบัติมานานถึง 42 ปี

ในรัชสมัยของพระองค์ สยามประเทศได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สร้างความวัฒนาให้กับชาติเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า การไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ ฯลฯ ด้วยพระราชกรณียกิจที่ยังความผาสุกให้เกิดแก่ประชาชน ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงน้อมใจแสดงความจงรักภักดี ด้วยการถวายพระนามว่า ‘พระปิยมหาราช’ หรือพระพุทธเจ้าหลวง และกำหนดให้ทุกวันที่ 23 ตุลาคม เป็น ‘วันปิยมหาราช’

‘สุริยะ’ เผย 23 ต.ค. นี้ ฟรี!! ค่าทางด่วน 61 ด่าน ลดค่าครองชีพ-อำนวยความสะดวกให้ประชาชน

(22 ต.ค. 67) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมเตรียมความพร้อมอำนวยความสะดวกความปลอดภัยในการเดินทางและเพื่อเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้พี่น้องประชาชน 

ตนได้มอบให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษในวันพุธที่ 23 ตุลาคม 2567 เนื่องในโอกาสวันปิยมหาราช จำนวน 1 วัน 3 สายทาง รวม 61 ด่าน ดังนี้ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) 20 ด่าน ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) 31 ด่าน และทางพิเศษอุดรรัถยา (บางปะอิน - ปากเกร็ด) 10 ด่าน

สำหรับยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษครั้งนี้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมที่ปรากฏในสัญญาสัมปทานฉบับแก้ไขใหม่ระหว่าง กทพ. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) และบริษัททางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด (NECL) เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนในวันหยุดและช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน รวมทั้งช่วยลดปัญหาจราจรติดขัดบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษอีกด้วย

ทั้งนี้ กทพ. ขอเชิญชวนผู้ใช้บริการบัตร Easy Pass ลงทะเบียนเข้าระบบสะสมแต้ม EXAT Reward ผ่านทาง EXAT Portal Application หรือ www.thaieasypass.com เพื่อรับสิทธิพิเศษมากมาย รวมถึงแลกเงินคืนเข้าบัตร Easy Pass และลงทะเบียนปรับปรุงข้อมูลด้วยตนเองผ่านทางแอปฯ และเว็บไซต์ดังกล่าวเพื่อยกระดับบัตร Easy Pass เป็น Easy Pass Plus สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ทางพิเศษ (EXAT Call Center) โทร. 1543 ตลอด 24 ชั่วโมง

๒๓ ตุลาคม วันปิยมหาราช วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร และพนักงาน สำนักข่าวออนไลน์ THE STATES TIMES 

วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 นับเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าโศกให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทรา พระบรมราชินี) เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น 'กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรลังกาศ' ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น 'กรมขุนพินิตประชานาถ' บรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 ทรงพระนามว่า 'พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว'

เนื่องจากขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 16 ปี ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญ พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญพระมหาอุปราช

ระหว่างที่สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการอยู่นั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาเป็นอันมาก เช่น โบราณราชประเพณี รัฐประศาสน์ โบราณคดี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ วิชาปืนไฟ วิชามวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง และวิชาวิศวกรรม

ในตอนนี้ยังได้เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา 2 ครั้ง เสด็จประพาสอินเดีย 1 ครั้ง การเสด็จประพาสนี้มิใช่เพื่อสำราญพระราชหฤทัย แต่เพื่อทอดพระเนตรแบบแผนการปกครองที่ชาวยุโรปนำมาใช้ปกครองเมืองขึ้นของตน เพื่อจะได้นำมาแก้ไขการปกครองของไทยให้เหมาะสมแก่สมัยยิ่งขึ้น ตลอดจนการแต่งตัว การตัดผม การเข้าเฝ้าในพระราชฐานก็ใช้ยืน และนั่งตามโอกาสสมควร ไม่จำเป็นต้องหมอบคลานเหมือนแต่ก่อน

เมื่อพระชนมายุบรรลุพระราชนิติภาวะ ได้ทรงผนวชเป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วจึงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 และนับจากนั้นมาก็ทรงพระราชอำนาจเด็ดขาดในการบริหารราชการแผ่นดิน

ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ทรงปกครองทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้มั่งคั่งสมบูรณ์ ดัวยรัฐสมบัติ พิทักษ์พสกนิกรให้อยู่เย็นเป็นสุข บำบัดภัยอันตรายทั้งภายในภายนอกประเทศ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ และสามารถธำรงเอกราชไว้ตราบจนทุกวันนี้

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 รวมพระชนมายุได้ 58 พรรษา ครองราชสมบัติมานานถึง 42 ปี

ในรัชสมัยของพระองค์ สยามประเทศได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สร้างความวัฒนาให้กับชาติเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า การไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ ฯลฯ ด้วยพระราชกรณียกิจที่ยังความผาสุกให้เกิดแก่ประชาชน ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงน้อมใจแสดงความจงรักภักดี ด้วยการถวายพระนามว่า 'พระปิยมหาราช' หรือพระพุทธเจ้าหลวง และกำหนดให้ทุกวันที่ 23 ตุลาคม เป็น 'วันปิยมหาราช'

ด้วยพระปรีชา ของ ‘ในหลวงรัชกาลที่ 5’ ทำให้ ‘ไทย’ ได้เป็น ‘ไท’ ไม่ตกเป็นเมืองขึ้น

(23 ต.ค. 67) ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘Nitipat Bhandhumachinda’ ได้โพสต์ข้อความสุดซึ้ง เกี่ยวกับประโยค ‘สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ’ โดยมีใจความว่า …

เวลาผมเขียนประโยคที่ว่า ‘สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ’ นั้น 

ก็ขอเรียนตรงๆว่า ไม่เคยสักครั้งที่เขียนไปแค่ตามวาระ หรือตามมารยาทอะไรใดๆ

แต่ก็จะมีที่มาที่ไปให้สามารถกล่าวได้เต็มปากทุกๆครั้งว่าทำไมที่ระลึกถึงพระมหากษัตริย์พระองค์ไหน ก็จะสามารถกล่าวได้เต็มปาก เขียนได้เต็มคำเช่นนั้น
อย่างวันปิยมหาราชนี้นั้น หากเด็กรุ่นใหม่ที่ไม่ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ใดๆเลย เกิดจะสงสัยว่ามีความสำคัญอะไรใดๆนั้น

ในรัชสมัยของ ‘ในหลวงรัชกาลที่ห้า’ นั้น ประเทศเรามีการพัฒนามากมายในทุกๆรูปแบบ มีความเจริญก้าวหน้าทันยุคทันสมัย และที่สำคัญที่สุดสำหรับคนไทยคนหนึ่งอย่างผม

ก็คือ เปิดแผนที่โลกแผ่นนี้เมื่อไหร่ ก็สามารถชี้ใครต่อใครทั่วโลกให้เห็น ขวานทองด้ามเล็กๆ ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร

เพราะสีทองๆส้มๆดังกล่าวนั้น แสดงถึงความหมายถึงความเป็นไท แสดงถึงเอกราชที่ไม่ต้องขึ้นกับใคร และไม่ว่ามหาอำนาจจากสหภาพยุโรปจะแผ่อำนาจเข้ายึดครองเกือบทุกอาณาจักรทั่วโลกอย่างไร

ก็มีเพียงญี่ปุ่น เกาหลี (ที่เป็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่น) ไลบีเรีย (ที่เป็นเมืองขึ้นของสหรัฐฯ) และสยามประเทศ เท่านั้น

ที่รอดพ้นการยึดครองในยุคแห่งการล่าเมืองขึ้นของมหาอำนาจจากยุโรปมาได้ตลอดรอดฝั่ง

ซึ่งถ้าไม่รู้จักสำนึกอะไรใดๆ ในพระปรีชาสามารถความอดทนอดกลั้น และความพากเพียร จนสังคมประเทศชาติรอดพ้นภัยอันตรายระดับนั้นมาได้ ของพระองค์ท่านแล้ว

ก็นึกไม่ออกจริงๆว่าชีวิตนี้จะรู้จักสำนึกบุญคุณอะไรของใครได้อีก

ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
23 ตุลาคม พุทธศักราช 2567


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top