Thursday, 24 April 2025
วันนักประดิษฐ์

2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวัน ‘นักประดิษฐ์’ เทิดพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ 9

วันนักประดิษฐ์ ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ทั้งนี้เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงประดิษฐ์ 'เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย' หรือ กังหันชัยพัฒนา และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 เป็นวันที่สภาวิจัยแห่งชาติได้ทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 'เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย' หรือ 'กังหันน้ำชัยพัฒนา' แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศ เครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับการจดสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการจดทะเบียนออกสิทธิบัตรให้แก่พระราชวงศ์ 

มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2537 จึงได้กำหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันนักประดิษฐ์ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการที่ได้ทรงประดิษฐ์คิดค้น 'เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย' หรือ 'กังหันน้ำชัยพัฒนา' และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 นอกจากจะเป็นการเทิดพระเกียรติแล้ว ยังเป็นวันที่ระลึกถึงวันประวัติศาสตร์ของการจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก ที่ทรงคิดค้นประดิษฐ์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และทรงได้รับสมัญญาว่า 'พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย'

2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ‘วันนักประดิษฐ์’ น้อมรำลึก วันทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตร ‘กังหันน้ำชัยพัฒนา’

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้รับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์กังหันน้ำชัยพัฒนา ซึ่งต่อมากำหนดเป็น วันนักประดิษฐ์

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานหลักการและรูปแบบของเครื่องกลเติมอากาศให้แก่กรมชลประทานเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2531 ซึ่งสำนักงานวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลน้ำ กองโรงงาน กรมชลประทาน ได้ประดิษฐ์ 'กังหันน้ำชัยพัฒนา' เพื่อใช้ในโครงการแก้ไขน้ำเสีย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยได้รับพระราชทานเงินทุนจาก 'มูลนิธิชัยพัฒนา' เพื่อจัดสร้างอุปกรณ์ต่างๆ และทำการวิจัย หากทำการทดลองได้ผลดีจะได้นำไปเผยแพร่เป็นต้นแบบแก่ส่วนราชการและแหล่งชุมชนต่างๆ ให้นำไปจัดสร้างเพื่อใช้กำจัดน้ำเสียต่อไป

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในการที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงคิดค้น และได้พระราชทานรูปแบบและความคิด ในการประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย และเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมอย่างมาก มูลนิธิชัยพัฒนา จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เพื่อขอรับสิทธิบัตร เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้า แบบทุ่นลอย หรือ กังหันน้ำชัยพัฒนา ในพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยเลขาธิการของมูลนิธิชัยพัฒนา นายสุเมธ ตันติเวชกุล เป็นผู้แทนขอรับสิทธิบัตรต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2535 และได้รับเลขที่สิทธิบัตร 3127 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536

ซึ่งนับได้ว่ากังหันน้ำชัยพัฒนา เป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับการจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระราชวงศ์ รัฐบาลไทยได้มีมติกำหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น “วันนักประดิษฐ์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นอกจากนี้กังหันชัยพัฒนา ยังได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ฝ่ายวิทยาศาสตร์ รางวัลที่ 1 ประจำปี 2536 จากคณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติอีกด้วย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top