Monday, 21 April 2025
วันคริสต์มาส

25 ธันวาคม ‘วันคริสต์มาส’ ยึดถือเป็นวันประสูติของ ‘พระเยซู’ ศาสดาแห่งศาสนาคริสต์

วันที่ 25 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคริสต์มาส วันสำคัญของคริสต์ศาสนิกชน ซึ่งยึดถือกันว่าเป็นวันเกิดของพระเยซู ศาสดาแห่งศาสนาคริสต์

วันคริสต์มาส ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี เป็นเทศกาลทางศาสนาเพื่อรำลึกวันประสูติของ พระเยซู ศาสดาของศาสนาคริสต์ ที่พวกเขาเชื่อกันว่าพระองค์เป็นโอรสของเทพแห่งพระอาทิตย์ โดยคำว่า คริสต์มาส มาจากคำว่า ‘Mass of Christ’ หรือ ‘พิธีมิสซาของพระคริสต์’

โดยพบคำนี้ครั้งแรกในเอกสารโบราณในปี ค.ศ. 1038 ภายหลังแปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas สำหรับประวัติความเป็นมาของวันคริต์มาส ซึ่งเป็นวันเกิดของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซ่าร์ ออกัสตัสแห่งโรมัน ทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็ขานรับนโยบาย อย่างไรก็ตามในพระคัมภีร์ไม่ได้ระบุว่าพระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร

 

สวนนงนุชพัทยา  นำช้างแสนรู้สร้างสีสันวันคริสต์มาส พร้อมประกาศโปรพิเศษต้อนรับเทศกาลปีใหม่ มา 5 คนจ่าย 4 คน ตลอดเดือนมกราคม

สวนนนงนุชพัทยา โดย นายกัมพล ตันสัจจา ประธานสวนนงนุชพัทยา   มอบของขวัญให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทย จัดโปรโมชั่นตอนรับปีใหม่สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย  ที่เข้ามาเยี่ยมชมสวน ซื้อบัตรผ่านประตูมา 5 ท่าน  จ่ายเพียง 4 ท่าน ตลอดเดือน มกราคม 2567 และในวันเดียวกันนี้นำช้างแสนรู้แต่งชุดซานตาคลอส ออกมาสสร้างสีสันในช่วงเทศกาลคริสต์มาส

เพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวแบบ “ไทยเที่ยวไทย”  สวนนงนุชพัทยา จึงจัดโปรโมชั่นอื่นๆ สำหรับผู้สูงอายุเข้าชมสวนฟรีทุกวันศุกร์  เด็กที่มากับครอบครัวสูงไม่เกิน 140 เซนติเมตรและผู้พิการพร้อมผู้ติดตามเข้าฟรีทุกวัน ผู้ที่ต้องการชมการแสดงนงนุชโชว์และช้างแสนรู้ มีการแสดงมีวันละ 4รอบสวนนงนุชพัทยาเปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00-17.30 น.

ทั้งนี้สวนนงนุชพัทยา สร้างความประทับใจแก่เหล่านักท่องเที่ยวให้มีส่วนร่วมในขบวนพาเหรดในวันนี้ ได้นำน้องช้างแสนรู้และนักแสดงชายหญิงของสวนนงนุชพัทยา มามอบความสุขเติมรอยยิ้มให้กับนักท่องเที่ยวนับพันชีวิต ที่เดินทางมาเที่ยวชม ซึ่งในปี 2024 สวนนงนุชพัทยา เป็น 1ใน 12 สวน  ของโลกที่ได้รับรางวัล“สวนที่ควรค่าแก่การเดินทางเยี่ยมชมของโลกในปี2024”จากการประชุมเครือข่ายการท่องเที่ยวสวนนานาชาติ วิตอเรีย บีซี ที่ประเทศ แคนนาดาในเดือนที่ผ่านมา

‘มูลนิธิเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ – มูลนิธิสถาบันแสงสว่างในพระอุปถัมภ์ฯ’ ฉลองวันคริสต์มาส!! เปิดตัวหนังสือนิทานเรื่อง ‘ผองเพื่อนของบิ๊กและดุ๊กดิ๊ก’

(21 ธ.ค. 67) มูลนิธิเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ โดย เคานต์เจรัลด์ แวน เดอ สตราเทน พอนโธส ประธานมูลนิธิเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ เป็นเจ้าภาพร่วมกับมูลนิธิสถาบันแสงสว่างในพระอุปถัมภ์ฯ จัดงานเลี้ยงเฉลิมฉลองวันคริสต์มาส เปิดตัวหนังสือนิทานเรื่อง ‘ผองเพื่อนของบิ๊กและดุ๊กดิ๊ก’ ในฉบับภาษาไทยแปลจากบทพระนิพนธ์หนังสือนิทานของ ‘เจ้าหญิงเลอาแห่งเบลเยียม’ ประกอบด้วย 7 เรื่องสั้น สะท้อนถึงสถานการณ์ที่เด็กพิเศษต้องพบเจอในชีวิตจริง และคำแนะนำวิธีรับมือกับความรู้สึก พร้อมมอบให้แก่น้อง ๆ เด็กพิเศษที่มาร่วมงาน และเตรียมจัดส่งไปให้แก่ น้อง ๆ เด็กพิเศษ ทั่วประเทศไทย เพื่อมอบเป็นของขวัญในเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง

สำหรับกิจกรรมดังกล่าวนอกจากการเปิดตัวหนังสือนิทานแล้วยังจัดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์สำคัญคือเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในสังคม ถึงการทำงานและการอุทิศตนของบุคลากรผู้ดูแลกลุ่มบุคคลที่มีความต้องการการดูแลเป็นพิเศษ และเพื่อมอบความสุขให้กับเด็กๆ 

ภายในงานได้รับเกียรติจาก เจ้าหญิงเลอาแห่งเบลเยียม ทรงร่วมงานเลี้ยง ผ่านทางออนไลน์จากประเทศเบลเยียม พร้อมด้วยบุคคลสำคัญ อาทิ ดร. จิรายุและท่านผู้หญิงอรนุช อิศรางกูร ณ อยุธยา ท่านผู้หญิงภรณี มหานนท์ ดร.ศักดิ์ทิพย์และม.ร.ว.เบญจภา ไกรฤกษ์ คุณหญิงขวัญตา เทวกุล หม่อมบงกชปริยา ยุคล ณ อยุธยา ม.ร.ว.มาลินี จักรพันธุ์ คุณสุทธิภัค จิราธิวัฒน์ คุณวิลเลียมและคุณเคธี ไฮเนค เข้าร่วมงาน โดยมี เคานต์เจรัลด์ แวน เดอ สตราเทน พอนโธส ประธานมูลนิธิเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ ให้การต้อนรับ และร่วมชมโชว์ชมชุดพิเศษจากน้องๆ มูลนิธิสถาบันแสงสว่างในพระอุปถัมภ์ฯ เมื่อเร็วๆ นี้ ณ แกรนด์ ฮอลล์ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก

2 ตายาย ใช้ยางรถยนต์เก่า ตกแต่งเป็น ‘ต้นคริสต์มาส – ตุ๊กตาหิมะ’ ชาวเน็ตแห่ชื่นชม!! ‘ความคิดสร้างสรรค์ – ความครีเอท’ แบบรีไซเคิล

(21 ธ.ค. 67) ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ภาพสุดน่ารักลงในกลุ่ม ‘อวดบ้านกันนะ’ โดยเผยให้เห็น 2 ตายาย กำลังตกแต่งต้นคริสต์มาสกันอย่างขะมักเขม้น โดยได้ใช้ยางรถยนต์นำมาพ่นสีเขียวเรียงทับ ๆ กันจนกลายเป็นต้นคริสต์มาส และมีการตกแต่งด้วยไฟ นอกจากนี้ข้าง ๆ ต้นคริสต์มาสก็ยังมีตุ๊กตาหิมะที่ทำจากยางรถยนต์อีกด้วย โดยทำการพ่นสีขาวและใช้ตะกร้ามาตกแต่งเป็นลูกตา โดยผู้โพสต์ได้ระบุข้อความว่า

ขออวดต้นคริสต์มาส ฝีมือคุณตาคุณยายหน่อยค่าทำจากยางล้อรถเก่าที่ไม่ใช้แล้วค่ะ มีล้อเคลื่อนย้ายได้ใช้เงินซื้อสีมาทา กับสายรุ้งตกแต่งค่ะ งบหลักร้อย

‘รู้จักพอ ก็เป็นสุข’

ทั้งนี้ โพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจจากชาวเน็ตและคำชื่นชมเป็นอย่างมาก มียอดแชร์โพสต์แล้วกว่า 2 พันครั้ง

ย้อนประวัติศาสตร์ปฏิบัติการวันคริสต์มาส ภารกิจมนุษยธรรมเพื่อชาวเกาะห่างไกลในแปซิฟิก

ช่วงนี้ยังอยู่ในเทศกาลแห่งความสุข จึงขอนำเรื่องราวดีดี อ่านแล้วมีความสุขมาบอกเล่าให้กับท่านผู้อ่าน TST เป็นความจริงแท้ที่แน่นอนว่า เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ แม้ว่า ด้านหนึ่งของรัฐบาลสหรัฐฯมักจะมีส่วนร่วมแทรกแซงยุ่งเกี่ยวกับชาติต่าง ๆ ไปทั่วโลกมากมายหลายครั้งหลายหน แต่อีกด้านหนึ่งที่รัฐบาลสหรัฐฯ โดยกระทรวงกลาโหมและกองทัพสหรัฐฯ ปฏิบัติอยู่เป็นนิจเสมอมาคือ ปฏิบัติการด้านมนุษยธรรม (Humanitarian Operations) อันเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการที่เกี่ยวกับมวลชน และ Operation Christmas Drop ก็เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมของกองทัพสหรัฐฯ

Operation Christmas Drop กลายเป็นปฏิบัติการที่เป็นประเพณีได้เริ่มต้นขึ้นในปี 1952 และนับตั้งแต่นั้นได้กลายเป็นภารกิจของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯที่ดำเนินการมายาวนานที่สุดด้วยการปฏิบัติการเต็มรูปแบบ และเป็นปฏิบัติการบินขนส่งเพื่อมนุษยธรรมที่ต่อเนื่องยาวนานที่สุดในโลก ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยชุมชนท้องถิ่นในกวม ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินการโดยบุคลากรในฐานทัพอากาศ Andersen กวม และฐานทัพอากาศ Yokota ประเทศญี่ปุ่น และมีหมู่เกาะ Micronesia เป็นเป้าหมาย ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (DOD) ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในช่วงปี ค.ศ. 1948-49 กองทัพสหรัฐฯ ก็ได้เปิดปฏิบัติการ Berlin Airlift เพื่อขนส่งอาหารและสิ่งของบรรเทาทุกข์ทางอากาศไปยังชาวเบอร์ลินตะวันตก หลังจากที่สหภาพโซเวียตปิดกั้นการจราจรทางรถไฟและทางถนนไปยังเบอร์ลินตะวันตก ()

ปฏิบัติการนี้ เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1951 เมื่อลูกเรือของเครื่องบินลาดตระเวนแบบ WB-29 สังกัดฝูงบินลาดตระเวนตรวจอากาศที่ 54 ซึ่งประจำอยู่ ณ ฐานทัพอากาศ Andersen ในกวม กำลังบินปฏิบัติภารกิจไปทางทิศใต้ของเกาะกวมเหนือ บริเวณเกาะปะการังใกล้เกาะ Kapingamarangi ของ Micronesia เมื่อพวกเขาเห็นชาวเกาะกำลังโบกมือให้ พวกลูกเรือจึงรีบรวบรวมสิ่งของที่มีอยู่บนเครื่องบินใส่หีบห่อที่ติดร่มชูชีพ และทิ้งสิ่งของลงไปในขณะที่พวกเขาทำการบินวนอีกรอบ ชาวบนเกาะ Agrigan เล่าว่า “พวกเราเห็นสิ่งเหล่านี้ออกมาจากด้านท้ายของเครื่องบิน และผมก็ตะโกนว่า ‘มีสิ่งของถูกทิ้งลงมา’ “ในตอนนั้น หมู่เกาะเหล่านั้นยังไม่มีไฟฟ้าหรือน้ำประปา และเกาะต่าง ๆ ก็ถูกพายุไต้ฝุ่นพัดถล่มเป็นระยะ ๆ หีบห่อชุดแรกบางส่วนไม่สามารถลงมาถึงที่หมายตามที่ตั้งใจไว้ ซึ่งชาวเกาะจึงว่ายน้ำออกไปเพื่อเก็บสิ่งของบางส่วน ในขณะที่บางส่วนถูกน้ำพัดห่างออกไปหลายไมล์และถูกค้นพบในหลายเดือนต่อมา

Operation Christmas Drop เป็นภารกิจของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ที่มีความต่อเนื่องที่สุด ซึ่งยังคงปฏิบัติงานเต็มรูปแบบ และเป็นการบินขนส่งเพื่อมนุษยธรรมที่ยาวนานที่สุดในโลก ในปี 2006 มีการส่งของมากกว่า 800,000ปอนด์ (360,000 กก.) โดยปฏิบัติการดังกล่าวเปิดโอกาสให้กองทัพสหรัฐฯได้ฝึกฝนการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เนื่องด้วยคาดว่า กองทัพสหรัฐฯจะลดปฏิบัติการในอิรักหรือพื้นที่อื่น ๆ ลง ภายหลังการถอนกำลังทหารออกมา โดยอาสาสมัครในฐานทัพอากาศ Andersen รวมถึงฝูงบินเคลื่อนย้ายทางอากาศที่ 734 รวมทั้งลูกเรือและเครื่องบินจากฝูงบิน 36 ฐานทัพอากาศ Yokota ประเทศญี่ปุ่นได้เข้าร่วมในปฏิบัติการด้วย นอกจากนั้นแล้วยังมีสมาชิกของชุมชนต่าง ๆ ในกวมได้ช่วยดำเนินการอีกด้วย โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากกิจกรรมระดมทุนต่าง ๆ อาทิ การแข่งขันกอล์ฟ และการแข่งขันวิ่งการกุศล รวมถึงธุรกิจในท้องถิ่นที่ให้การสนับสนุนสำหรับของขวัญในแต่ละกล่องด้วย ปฏิบัติการในปี 2006 มีการส่งของไป 140 กล่องใน 59 เกาะ และปฏิบัติการในปี 2011 ยังเพิ่มการส่งสารเหลวสำหรับหลอดเลือดจำนวน 25 กล่องไปยังเกาะ Fais เพื่อช่วยในการต่อสู้กับการระบาดของโรคไข้เลือดออกในท้องถิ่น กล่องสิ่งของถูกทิ้งลงในทะเลบริเวณใกล้ชายหาด เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้สิ่งของเหล่านั้นตกใส่ผู้คนในพื้นที่

ในปี 2014 กองกำลังทางอากาศสหรัฐฯประจำภาคพื้นแปซิฟิกได้ส่งมอบเสบียง 50,000 ปอนด์ไปยัง 56 เกาะในหมู่เกาะ Micronesia ในปี 2015 กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่น (JASF) และกองทัพอากาศออสเตรเลีย (RAAF) ได้เข้าร่วมในปฏิบัติการร่วมกับกองทัพอากาศสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ซึ่งต่างได้ส่งเครื่องบินลำเลียงแบบ C-130 Hercules ชาติละ 1 ลำ เพื่อเข้าร่วมฝูงกับเครื่องบินลำเลียงแบบ C-130 อีก 3 เครื่องของสหรัฐอเมริกา JASDF และ RAAF ยังได้เข้าร่วมในปฏิบัติการในปี 2016 และ 2017 และธันวาคม 2017 ถือเป็นเหตุการณ์การฝึกปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมครั้งแรกสำหรับเครื่องบินแบบ C-130J จากฐานทัพอากาศ Yokota รวมถึงการแข่งขัน Quad-lateral ครั้งแรกกับ JASDF, RAAF และกองทัพอากาศฟิลิปปินส์ ในปี 2021 กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลีได้เข้าร่วมในปฏิบัติการนี้เป็นครั้งแรก และในปี 2023 กองทัพอากาศแคนาดาเข้าร่วมเป็นครั้งแรกเช่นกัน ปัจจุบันประเพณีคริสต์มาสที่ไม่เหมือนใครนี้ ยังคงดำเนินต่อไปด้วยการบริจาคจากผู้อยู่อาศัยและบริษัทธุรกิจของกวม โดยกล่องแต่ละใบที่ถูกทิ้งจากเครื่องบินลำเลียงแบบ C-130 จะมีน้ำหนักราว 400 ปอนด์ (180 กก.) และมีสิ่งของต่าง ๆ เช่น อวนจับปลา วัสดุก่อสร้าง นมผง อาหารกระป๋อง ข้าว ตู้เย็น เสื้อผ้า รองเท้า ของเล่น และอุปกรณ์การเรียน ฯลฯ

ในปี 2020 NETFLIX ได้สร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับเรื่องนี้ในชื่อเดียวกันคือ Operation Christmas Drop ซึ่งเป็นเรื่องราวของ Erica Miller (Kat Graham) ผู้ช่วย สส. Bradford จาก Washington D.C. ซึ่งได้รับมอบหมายให้มาสืบสวนตรวจสอบฐานทัพอากาศสหรัฐฯแห่งนี้ ด้วยความตั้งใจที่จะหาเหตุผลเพื่อสั่งปิดฐานทัพฯนี้ (โดยเจ้านายของเธอ สส. Bradford วิจารณ์ว่า “เป็นการใช้อุปกรณ์ทางทหารของรัฐบาลเพื่อส่งของขวัญวันคริสต์มาส” แต่ภารกิจนี้มีประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานเช่นกัน เป็นโอกาสในโลกแห่งความเป็นจริงสำหรับนักบินในการฝึกซ้อมทักษะการบิน ซึ่งต้องใช้ในการสนับสนุนในการปฏิบัติการภาคพื้นดิน) มีเรืออากาศเอก Andrew Jantz (Alexander Ludwig) เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งผู้บังคับการฝูงบินลำเลียง ซึ่งได้รับคำสั่งให้นำ Erica ชมฐานทัพฯ และโน้มน้าวเธอให้เปิดใจให้กว้าง ฐานทัพฯ นี้มีประเพณีประจำปีคือ การส่งของขวัญคริสตมาสให้กับชาวเกาะต่าง ๆ ในช่วงคริสต์มาส Andrew ได้พา Erica ชมรอบ ๆ ฐานทัพฯ และเกาะต่างๆ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า ปฏิบัติการอันเป็นประเพณีเช่นนี้มีความคุ้มค่า พร้อมทั้งอธิบายว่า พวกเขารวบรวมอาหารและเงินบริจาคจากคนในท้องถิ่นได้อย่างไร ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าทรัพยากรของฐานทัพ ซึ่งก็คือเงินภาษีของสหรัฐอเมริกาไม่ได้ถูกนำมาใช้ที่นี่ และเมื่อ Erica ได้รับประสบการณ์ในการเข้าร่วมปฏิบัติการดังกล่าว และได้สร้างแรงบันดาลใจจนทำให้เธอมีจิตวิญญาณแห่งคริสต์มาส เธอจึงยอมรับว่า ปฏิบัติการนี้เป็นประเพณีนี้คุ้มค่า และไม่สมควรต้องปิดฐานทัพอากาศแห่งนี้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top