Wednesday, 23 April 2025
วสท

กรมทรัพยากรน้ำ วสท. และสภาวิศวกร ร่วมลงพื้นที่โครงการเพื่อให้ความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัย อาคารและสิ่งปลูกสร้างด้านแหล่งน้ำแก่วิศวกรโยธาในสังกัดกรมทรัพยากรน้ำ

วันที่ 16-17 กันยายน 2566 กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) และสภาวิศวกร ภายใต้คณะทำงานในการตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัย อาคารและสิ่งปลูกสร้างด้านแหล่งน้ำ ร่วมลงพื้นที่ โครงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำพรุชบาพร้อมระบบกระจายน้ำ บ้านพรุชบา ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูพรุบางกล่ำ ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา เพื่อตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของอาคารและสิ่งปลูกสร้างด้านแหล่งน้ำเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและบำรุงรักษาให้มีใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิศวกรรม เพิ่มขีดความสามารถให้วิศวกรรุ่นใหม่ ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานต่อไป  

โครงการอ่างเก็บน้ำพรุชบาเป็นโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2534 ซึ่งได้รับการถ่ายโอนจากกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) จากการลงพื้นที่โครงการในครั้งนี้ มีการสำรวจตรวจสอบสภาพความแข็งแรงและร่วมหาแนวทางในการปรับปรุงแหล่งน้ำให้มีประสิทธิภาพในการเก็บกักน้ำและสนับสนุนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร รวมทั้งปรับปรุงระบบส่งน้ำให้มีประสิทธิภาพในการกระจายน้ำให้ทั่วถึง ในพื้นที่หมู่ที่ 3,4,6,7 มีประชาชนได้รับประโยชน์จำนวน 900 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 1,600 ไร่ 

โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูพรุบางกล่ำ ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา มีสภาพตื้นเขิน ในฤดูน้ำหลาก น้ำในพื้นที่ไหลลงคลองบางกล่ำไม่สะดวกทำให้น้ำท่วมขัง เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งพื้นที่ดังกล่าวมีสภาพแห้งขอด ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดไฟไหม้ป่าพรุบ่อยครั้ง เนื่องจากสภาพพื้นที่ป่าพรุไม่มีน้ำ ทำให้ระบบนิเวศป่าพรุเสื่อมโทรม จึงจำเป็นต้องปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำ เพื่อป้องกันการไฟไหม้ ป้องกันน้ำเค็มรุกล้ำ อีกทั้งยังเป็นแก้มลิงรองรับน้ำ สามารถเก็บกักน้ำ 1 ล้านลบ.ม และเป็นแหล่งต้นทุนสำหรับหล่อเลี้ยงระบบนิเวศป่าพรุและน้ำเพื่อการเกษตร

นายสุทัศน์ นุ้ยเล็ก ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 8 เปิดเผยว่า “โครงการอ่างเก็บน้ำพรุชบาเป็นโครงการที่ก่อสร้างมายาวนาน ทำให้โครงสร้างประเภทคอนกรีตมีความเสียหายไปบ้างตามกาลเวลา แต่จากการสำรวจแล้วยังสามารถใช้งานได้ ซึ่งในอนาคตต้องมาวิเคราะห์และวางแผนการปรับปรุงและบำรุงรักษาอ่างเก็บน้ำให้มั่นคงแข็งแรง ชาวบ้านสามารถใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ เพราะในพื้นที่โครงการมีชาวบ้านใช้น้ำเพื่อการอุปโภคและทำการเกษตร อาทิ ทุเรียน ลองกอง เงาะ มังคุด นอกจากนี้ยังเป็นการรักษาระบบนิเวศน์ อนุรักษ์ ฟื้นฟู แหล่งน้ำได้อย่างยั่งยืน และสำหรับโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูพรุบางกล่ำเป็นโครงการนำร่องในการแก้ปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำ และปัญหาการเกิดไฟไหม้ป่าพรุ ตลอดจนเป็นการรักษาระบบนิเวศของพื้นที่อีกด้วย”

รศ. สิริวัฒน์ ไชยชนะ อุปนายกวิศวกรรม วสท. เสริมว่า “จากการร่วมลงพื้นที่ในการตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัย อาคารและสิ่งปลูกสร้างในวันนี้ มีเห็นว่า ชื่นชมวิศวกรที่ได้วิเคราะห์ข้อมูลโครงสร้างของโครงการ และเห็นด้วยว่าโครงการอ่างเก็บน้ำพรุชบายังอยู่ในสภาพการใช้งานได้ แต่ด้วยที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว 30 กว่าปี ควรมีการบำรุงรักษาและปรับปรุงโครงสร้างประเภทคอนกรีตและปรับปรุงระบบท่อส่งน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ให้สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ หากมีการปรับปรุงซ่อมแซมแล้วเป็นโครงการที่ช่วยรักษาระบบนิเวศได้อย่างดี และสำหรับโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูพรุบางกล่ำเป็นโครงการที่แก้ปัญหาในพื้นที่ได้ดีมากๆ และปัจจุบันลักษณะโครงการยังสมบูรณ์แข็งแรง ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สุดท้ายนี้ขอให้วิศวกรนำความรู้ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการปฏิบัติงานให้เต็มที่ และพัฒนาความรู้ความสามารถอยู่เสมอ”

นายนิทัศน์ พรมพันธ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาแหล่งน้ำ 2 กล่าวว่า “การลงพื้นที่ร่วมกัน ระหว่าง วสท. สภาวิศวกร และกรมทรัพยากรน้ำ เป็นการเพิ่มความรู้ให้กับวิศวกรและผู้เกี่ยวข้องในการวางโครงการ สำรวจ ออกแบบ ควบคุมก่อสร้าง โครงการต่างๆ ตลอดจนได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สนับสนุนวิชาการและวิชาชีพด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวกับงานพัฒนาบุคลากรทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ครอบคลุมงานก่อสร้าง งานโยธา งานทรัพยากรน้ำ งานสิ่งแวดล้อม งานความปลอดภัย และงานด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างมาตรฐานวิชาชีพในการทำงานของบุคลากรด้านวิศวกรรม นำไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของประชาชน”

ผู้ร่วมลงพื้นที่ประกอบด้วย รศ. สิริวัฒน์ ไชยชนะ อุปนายกวิศวกรรม วสท. นายจีระศักดิ์ ปราชญ์โกสินทร์ กรรมการบริการวิชาการ วสท. รศ.ดร. สราวุธ จริตงาม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รศ. มนัส อนุศิริ อดีตคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อาจารย์อิทธิพล พสิษฐ์โยธิน คณะอนุกรรมการกำกับดูแลวิศวกรอาสา สภาวิศวกร ผศ. ดร. จุฑามาศ ลักษณะกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นายประยุทธ์ ไกรปราบ ผู้อำนวยการกองพัฒนาแหล่งน้ำ 1 นายนิทัศน์ พรมพันธุ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาแหล่งน้ำ 2 นายสันต์ เข็มประสิทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านระบบการอนุรักษ์ พัฒนาและฟื้นฟูแหล่งน้ำ นายมงคล หลักเมือง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ นายสรศักดิ์ ใจประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านระบบการอนุรักษ์แหล่งน้ำ นายกิตติ จันทร์ส่อง เลขานุการกรม นายสุทัศน์ นุ้ยเล็ก ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 8 เจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 8 เจ้าหน้าที่กองพัฒนาแหล่งน้ำ 1 และกองพัฒนาแหล่งน้ำ 2

นายโสภณัฐ บุษบงก์ไพฑูรย์ และนางสาววริศรา ปานหัตถา  ตำแหน่ง วิศวกรโยธาปฏิบัติการ กล่าวว่า “การลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นการลงพื้นที่สำรวจโครงการจริง ทำให้ได้เห็นสภาพลักษณะของโครงสร้าง ทำให้เห็นขั้นตอนการตรวจสอบปัญหาโครงการ แนวทางการแก้ไขปัญหาจาก วสท.  สภาวิศวกร และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ จากกรมทรัพยากรน้ำ  ซึ่งเป็นประโยชน์เป็นอย่างยิ่งในการนำไปปรับใช้กับการทำงาน การออกแบบ และขอให้ให้หน่วยงานมีการจัดอบรมเพิ่มทักษะความรู้ในงานด้านวิศวกรรมในปีงบประมาณต่อไป เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ให้แก่วิศวกรต่อไป”

ประธานสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วสท. และ นายกสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย ปลื้ม 'ERDI-CMU' มช. สร้าง Platform การประหยัดพลังงาน 9% พร้อมแก้ปัญหา Net Zero, Near Zero, Demand Response และ Peak Demand ด้วย นวัตกรรมคนไทย NiA หม้อแปลง Low Carbon

ผศ.ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและผู้แทนพิเศษสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน   นครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ ดร. ณัฐวุฒิ จารุวสุพันธุ์ ต้อนรับคุณธีรภพ พงษ์พิทยาภา นายกสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย และดร.เตชทัต บูรณะอัศวกุล ประธานสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วสท. ให้เกียรติเข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงาน หม้อแปลง Low Carbon และระบบบริหารจัดการพลังงานทดแทน Solar กับ Energy Storage ด้วยโปรแกรม Sustainable Green Energy Management System เพิ่มอายุการใช้งานให้กับ Energy Storage มากถึง 20 ปี ทำให้ระบบไฟฟ้าเกิดความเสถียรภาพเกิดความมั่นคงด้านพลังงาน Net Zero, Near Zero, Peak Demand และ Demand Response ประหยัดพลังงาน 9% ตอบโจทย์ด้านการประหยัดพลังงานและความมั่นคงระบบพลังงานไฟฟ้าสะอาด ของภาคอุตสาหกรรม, ผู้ประกอบการ, อาคารสถานที่, โรงพยาบาล โรงแรม เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติด้านพลังงานและด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้า 

ผศ.ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี กล่าว เนื่องจากเร็วๆนี้ องค์กรภาครัฐ ส่งเสริมด้านการประหยัดพลังงานรณรงค์ชวนปิดไฟ ให้โลกพัก ปิดไฟ 1 ชั่วโมงเพื่อลดโลกร้อน Platform หม้อแปลง Low Carbon ตอบโจทย์ Demand Response Net Zero off Grid 100% ด้วยกราฟเสริมสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้า

ด้วยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับบริษัท เจริญชัย หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ได้ร่วมวิจัยและได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ให้ดำเนินงานวิจัยหม้อแปลง IoT และระบบบริหารจัดการพลังงานทดแทน Solar กับ Energy Storage ด้วยโปรแกรม Sustainable Green Energy Management System ภายใต้โครงการ “Low Carbon Transformer ระบบจัดการหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อรองรับพลังงานสะอาดอย่างมั่นคง Net Zero, Near Zero, Peak Demand และ Demand Response” ซึ่งจากการดำเนินงานพบว่าหม้อแปลงที่ใช้ในการดำเนินโครงการที่กล่าวในข้างต้น ตอบโจทย์ด้านการประหยัดพลังงาน ในภาคอุตสาหกรรม Smart Factory, Smart Building ในด้าน Net Zero & Near Zero, Peak Demand และ Demand Response และการประหยัดพลังงาน โดยสามารถลดการใช้พลังงาน ลดต้นทุนค่าไฟฟ้า และลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และมีระยะเวลาคืนทุนภายในเวลา  2 – 5  ปี ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ สังคม ประชาชนและผู้ประกอบการ ด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้าพลังงานสะอาด


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top