Thursday, 4 July 2024
ลดคาร์บอน

‘ชไนเดอร์ อิเล็คทริค’ กางแผน ‘ลดคาร์บอน’ ระยะยาว ปักหมุดปี 2050 ต้องลดก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ 90%

(14 ธ.ค. 66) นายณัฏฐพัชร์ ชลภัทรธนัทสิริ ผู้อำนวยการกลุ่ม Digital Energy ของ ‘ชไนเดอร์ อิเล็คทริค’ บริษัทมหาชนข้ามชาติในสหภาพยุโรปผู้ผลิตอุปกรณ์ทางไฟฟ้า ผู้ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา กล่าวในงาน ‘SUSTAINABILITY FORUM 2024’ ในหัวข้อ ‘Climate Tech for Business’ จัดโดย ‘กรุงเทพธุรกิจ’ วันที่ 14 ธ.ค. 2566 ว่าในภาคธุรกิจการเข้าสู่เป้าหมายสู่ Net Zero ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค นั้น ตั้งเป้าไว้ในปี 2050 บริษัทต้องเข้าใจสถานการณ์ก่อนแล้วจึงขยับเปลี่ยนแปลงมากขึ้น อย่างการใช้พลังงานสะอาด การอนุรักษ์พลังงาน โดยชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีเป้าหมายเกี่ยวกับการจัดการองค์กรมีระยะยาวไว้ 4 ช่วง คือ...

1.) ปี 2025 เข้าสู่การดำเนินงาน ‘Carbon Neutral’ ด้วยการลดคาร์บอนในห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทโดย มีส่วนร่วม และสนับสนุนผู้ให้การสนับสนุนเพื่อลดคาร์บอน การจัดหาวัสดุคาร์บอนต่ำ และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงสร้างอิทธิพลต่อการลดคาร์บอนทั่วโลก

2.) ปี 2030 ‘Net-Zero’ พร้อมในการดําเนินการ ผลิตภัณฑ์ที่ปลอยก๊าซเรือนกระจกลดลง 25% ตลอดห่วงโซ่คุณค่า

3.) ปี 2040 ‘คาร์บอนที่เป็นกลาง’ ในการลดก๊าซเรือนกระจก ประมาณ 50 - 75% ของผลิตภัณฑ์ ยิ่งลดก๊าซเรือนกระจกมากเท่าไร ก็ยิ่งการละเว้นการสูญเสีย รวมถึงชดเชยตั้งแต่ปี 2040 เป็นต้นไป ซึ่งการชดเชยคาร์บอนจะต้องเท่ากับการปล่อยห่วงโซ่มูลค่าคงเหลือ และชดเชยการปล่อยมลพิษที่เหลือด้วยการกําจัดคาร์บอนคุณภาพสูง

4.) ปี 2050 ลดก๊าซเรือนกระจกลง 90% อย่างสมบูรณ์

การก้าวเข้าสู่ความยั่งยืนนั้นไม่ใช่แค่ให้ความสำคัญแก่องค์กรตนเองแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างซัพพลายเออร์ให้แข็งแกร่ง เพื่อก้าวสู่ความยั่งยืนไปพร้อมๆ กัน อย่างการช่วยลดมลพิษในอากาศสามารถช่วยซัพพลายเออร์ ลดการใช้วัสดุต่างๆ หรือการเลือกใช้วัสดุที่เป็นสีเขียว รวมถึงบรรจุภัณฑ์หลัก และรองปราศจากพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว และใช้กระดาษแข็งรีไซเคิลเพื่อส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น

รวมถึงการบริหารจัดการภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ โดยเสริมสร้างระดับความเชื่อมั่นของพนักงานในการรายงานพฤติกรรมที่ผิดจรรยาบรรณ เพิ่มความหลากหลายทางเพศในการจ้างงาน 50% การจัดการพนักงานแนวหน้า 40% และการจัดการความเป็นผู้นํา 30%

ทั้งนี้ ยังเพิ่มโอกาสการจ้างงานสองเท่าสําหรับนักศึกษาฝึกงาน เด็กฝึกงาน และผู้สําเร็จการศึกษาใหม่ ส่งเสริมคนในการจัดการพลังงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านความยั่งยืนมากขึ้น และสนับสนุนการเข้าถึงพลังงานสีเขียวให้กับประชาชนอีกด้วย

'Transformer Low Carbon เจริญชัย' รางวัลนวัตกรรม NiA ตอกย้ำ ลดค่าไฟ-ลดคาร์บอน อนุรักษ์พลังงาน

บจ.ฟาร์โซนิคส์ (ลำพูน) เมษาลดค่าไฟฟ้า 100,000 บาท/เดือน พร้อมการสนับสนุนอนุรักษ์พลังงานโดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / มหาวิยาลัยราชภัฏลำปาง / สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง อย่างต่อเนื่อง ก้าวสู่ LESS, CFP, CFO, BOI, Carbon Credit, Net Zero, Carbon Neutrality 

นายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ กล่าว บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ขอขอบคุณและแสดงความยินดีกับ บริษัท ฟาร์โซนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ลดค่าไฟฟ้า 100,000 บาท/เดือน และไว้ใจเลือกติดตั้งหม้อแปลง Low Carbon เป็นหม้อแปลงบริหารระบบจัดการพลังงานที่บริหารจัดการพลังงานสิ้นเปลืองให้เกิดประสิทธิภาพและมีความเสถียรภาพกับการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มั่นคงและยั่งยืน ตอบโจทย์โรงงานอุตสาหกรรม, อาคาร สถานประกอบการตามนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาลเร่งการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชน อันเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนการจัดหาแหล่งพลังงานอย่างเหมาะสม ส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม 

หม้อแปลงดังกล่าว ลดค่าไฟฟ้า 5-20% (Energy Saving) ลดคาร์บอน 5-20% (Low Carbon) มากกว่า 100 ล้านตัน ลดมลพิษ (Low Emission) ทำให้อุปกรณ์อายุการใช้งานยาวนานขึ้น (Long Life Equipment) เพื่อเป็นการตอบโจทย์ให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม สถานประกอบการ เจ้าของอาคาร ตามนโยบายของรัฐบาลในการลดก๊าซเรือนกระจก ลดโลกร้อน

นายสรสิทธิ์ ชลิศราพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟาร์โซนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด, ประธานกิตติมศักดิ์ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน มีวิสัยทัศน์ในการบริหารจัดการและบริการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีและให้โอกาสติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า Low Carbon Platform การบริหารจัดการพลังงาน พร้อมก้าวสู่  Net Zero, LESS, CFP, CFO, Carbon Credit และ BOI นำล้ำทันสมัยที่สุดในอาเซียน อีกทั้งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมต้นแบบที่พร้อมจะดำเนินการตามนโยบายภาครัฐในการลดก๊าซเรือนกระจก และการประหยัดพลังงานอนุรักษ์พลังงาน ตอบโจทย์ นโยบายภาครัฐด้านการประหยัดพลังงาน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืน ต้องใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าสูงสุด

ดร.ณัฐวุฒิ จารุวสุพันธุ์ หัวหน้ากลุ่มงาน smart energy & innovation และ นักวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าว ด้วยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับบริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ได้ร่วมวิจัยและได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ให้ดำเนินงานวิจัยหม้อแปลง Low Carbon และระบบบริหารจัดการพลังงานทดแทน Solar กับ Energy Storage เพื่อรองรับพลังงานสะอาดอย่างมั่นคง Net Zero, Near Zero, Peak Demand และ Demand Response” ซึ่งจากการดำเนินงานพบว่าหม้อแปลงที่ใช้ในการดำเนินโครงการ ที่กล่าวในข้างต้นตอบโจทย์ด้านการประหยัดพลังงานถึง 9% โดยสามารถลดการใช้พลังงาน ลดตันทุนค่าไฟฟ้า และลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และมีระยะเวลาคืนทุนภายในเวลา 2-5 ปี ซึ่ง สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ สังคมประชาชนและผู้ประกอบการ ด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้า

สภาอุตสาหกรรม 3 จังหวัด (เชียงใหม่, ลำพูน และลำปาง) กล่าว ขอแสดงความยินกับ บริษัท ฟาร์โซนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่อนุรักษ์พลังงานและลดค่าไฟฟ้า 100,000 บาท/เดือน อีกทั้งสภาฯ และ มช. พร้อมสนับสนุน บริษัท ฟาร์โซนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้นำต้นแบบด้านการประหยัดพลังงาน ตอบโจทย์ภาครัฐด้านการประหยัดพลังงาน พร้อมก้าวสู่ LESS, CFP, CFO, BOI, Carbon Credit, Net Zero, Carbon Neutrality


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top