Tuesday, 22 April 2025
รัฐศาสตร์

‘พรรครวมไทยสร้างชาติ’ จับมือ ‘ทีมผู้สร้าง 2475 Dawn of Revolution’ ชวน!! ‘ดูหนัง-ฟังเสวนา’ 6 สิงหานี้ ที่คณะรัฐศาสตร์ รามคำแหง หัวหมาก

(27 ก.ค.67) พรรครวมไทยสร้างชาติ ร่วมกับ 2475 Dawn of Revolution ขอเชิญผู้สนใจร่วมงาน ดูหนังฟังเสวนา

'มายาธิปไตย 2475 : เทสที่สร้าง•ร่างที่เป็น'

6 สิงหาคม 2567 ณ ม.รามคำแหง

ผู้ร่วมเสวนา 

🟢 'การเล่าประวัติศาสตร์แนวใหม่ผ่านแอนิเมชัน' 
🔶วิวัธน์ จิโรจน์กุล
ผู้กำกับภาพยนตร์ แอนิเมชัน ๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ

🟢 '2475: การเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ และการให้อภัย' 
🔶ผศ.ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ 
อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

🟢 'รัฐประหาร : มรดก 2475'
🔶ปัณฑา สิริกุล 
นักเขียน / ผู้เขียนบทสารคดี / ผู้เขียนบทภาพยนตร์ 
แอนิเมชัน ๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ

🟢 '2475: สู่สถาบันนิยม'
🔶จิตรากร ตันโห
ปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาการปกครอง 
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

🟢 'การปฏิวัติฝรั่งเศส สู่ ปฏิวัติสยาม'
🔶ฤกษ์อารี นานา
ปริญญาตรี รัฐศาสตร์การเมืองการปกครอง 
Institut Catholique de Vendee ประเทศฝรั่งเศส 
ปริญญาโท เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา 
SOAS University of London ประเทศอังกฤษ

รอบเช้า 10:00 - 12:00 น. งานเสวนา
รอบบ่าย 13:30 - 15:40 น. ฉายภาพยนตร์แอนิเมชัน ๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ
พักเบรค มีของว่างและกาแฟ พร้อมของที่ระลึก

ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

เหตุผลชัดๆ ที่ 'ก้าวไกล' ต้องถูกยุบพรรค แบบไม่ต้องไปเสียเวลาโทษศาลฯ แม้ถนัดรักษาฐานเสียง แต่ยังอ่อนหัดในเชิง 'นิติศาสตร์-รัฐศาสตร์'

(10 ส.ค.67) นายนิธิพัฒน์ พันธุ์ธุมจินดา นักธุรกิจ ฟาร์มปลาสวยงาม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ‘Nitipat Bhandhumachinda’ ระบุว่า...

แม้จะมีกระแสโจมตีศาลรัฐธรรมนูญในบริบทของการตัดสินยุบพรรคการเมืองนั้น

แต่ประโยคที่หัวหน้าพรรคคนใหม่ให้สัมภาษณ์ถึงนโยบายพรรคกรณีแก้ไขมาตรา ๑๑๒ ที่กล่าวถึงแนวทางของพรรคที่ยืนยันจะแก้ไขมาตราดังกล่าวโดยกล่าวหลักการในอนาคตของพรรคว่า "วิธีการปฏิบัติ เราไม่ประมาท เราต้องกลับมาทบทวนเรียนรู้ในส่วนคำตัดสินศาล และประเด็นกฎหมายต่างๆ"

ซึ่งก็ตีความหมายใต้ช่องไฟ ได้ชัดเจนว่า ที่พรรคตนโดนยุบนั้น ไม่ได้มาจากฝีมือใคร แต่มาจากเหตุผลเดียวคือ...

อ่อนอิ๊บอ๋ายในเชิงนิติศาสตร์

ก็ไม่ต่างจากตอนที่เสียเหลี่ยมโดนพรรคเพื่อไทย หลอกให้หลุดไปเป็นฝ่ายค้าน ก็ด้วยเหตุผลเดียวเลยเช่นกันคือ

กระจอกฉัดๆ ในเชิงรัฐศาสตร์

ส่วนที่ยังสามารถรักษาฐานเสียงของตนไว้ได้ ก็ด้วยเหตุผลง่ายๆ เลยว่า...

พรรคที่มุ่งเจาะกลุ่มเป้าหมายวัยต่ำกว่าสี่สิบปี

นอกจากพรรคนี้

แล้วมีพรรคไหนอีกไหมหละครับ

‘อ.ไชยันต์’ โพสต์ข้อความพร้อมภาพ ‘แพทองธาร-พรรณิการ์’ ระบุ!! สองสตรีผู้โดดเด่นทางการเมืองจาก ‘รัฐศาสตร์ จุฬาฯ’

(18 ส.ค.67) ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์รูปภาพ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นางสาวพรรณิการ์ วานิช อดีต สส.พรรคอนาคตใหม่ พร้อมข้อความระบุว่า 

สองสตรี ผู้โดดเด่นทางการเมือง จากกำเนิดเดียวกัน ‘รัฐศาสตร์ จุฬาฯ’

สับ!! ‘กกต.’ กลางวงเสวนา จัดเลือกตั้ง อบจ.68 ล้มเหลว ‘นิพนธ์’ กังวล!! ปัญหาซื้อเสียง ‘นายหัวไทร’ ชี้!! คนลงคะแนนน้อยกว่าปกติ เพราะ กกต.กำหนดวันเลือกตั้งผิดพลาด

เมื่อวันที่ (20 ก.พ.68) ที่ห้อง SB 0301 อาคารศรีศรัทธา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ชมรมรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง จัดเสวนาเชิงวิชาการหัวข้อ เลือกตั้ง: อบจ.68 สะท้อนอะไร? โดยวิทยากรร่วมเสวนาอาทิ นายนิพนธ์ บุญญามณี อดีตรมช.มหาดไทย รศ.ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ อดีตสส.นครศรีฯ นายศักดา นพสิทธิ์ อดีตโฆษกพรรคเพื่อไทย และนายเฉลียว คงตุก สื่อมวลชนอาวุโสสายการเมืองท้องถิ่นและเจ้าของคอลัมน์ ‘นายหัวไทร’ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง ซึ่งการเสวนาครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมฟังประมาณ 100 คน

เฉลียว คงตุก เปิดวงเสวนาด้วยข้อกังวลกับการเลือกตั้ง อบจ.หลายประเด็น เช่น บ้านใหญ่ส่งผู้สมัครไม่ตรงกับความต้องการของประชาชน การเมืองใหญ่เข้าไปครอบงำการเมืองท้องถิ่น ทำให้ท้องขาดอิสระ การใช้เงินซื้อเสียงมโหฬาร แต่ กกต.ไม่รู้ไม่เห็น การจัดเลือกตั้งวันเสาร์เป็นครั้งแรก กกต.อ่อนด้อยในการประชาสัมพันธ์ เหล่านี้คือเหตุผลทำให้คนออกมาใช้สิทธิ์น้อย โหวดโต บัตรเสีย

นายนิพนธ์ บุญญามณี อดีตรมช.มหาดไทยและอดีตสส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า วันนี้การจะทำให้ประเทศเข้มแข็งจะต้องทำให้ท้องถิ่นเข้มแข็ง ซึ่งการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมเริ่มในยุคพลเอกเปรม ติณนสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี  หลังมีการเรียกร้องให้มีการกระจายอำนาจและในปี 2528 มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นครั้งแรกในการเลือกตั้งผู้ว่าฯกรุงเทพมหานครที่ใช้อยู่ในปัจจุบันถือเป็นการกระจายอำนาจแรก ในขณะตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรืออบจ.นั้นเป็นตำแหน่งของผู้ว่าราชการจังหวัด 

“ตอนนั้นผู้ว่าฯ สวมหมวกสองใบ คือเป็นทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดและนายกอบจ. หมวกหนึ่งเป็นตัวแทนราชการส่วนกลาง อีกหมวกเป็นส่วนท้องถิ่น นายอำเภอก็เป็นนายกสุขาภิบาล ต่อมารัฐธรรมนูญปี40 เริ่มเห็นบทบาทการกระจายอำนาจอย่างจริงจัง โดยเขียนไว้ว่าให้ผู้บริหารท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง เริ่มจากนายกอบจ.ที่เลือกมาจากสจ. นายกเทศบาลก็เหมือนกันเลือกมาจากสท. แล้วต่อมาก็มาเปลี่ยนเป็นการเลือกตั้งโดยตรง เริ่มเลือกตั้งครั้งแรกปี44 จนถึงวันนี้ ทำให้เลือกตั้งท้องถิ่นเข้มข้นมากขึ้น”

นายนิพนธ์กล่าวต่อว่า แต่ก่อนการเลือกตั้งท้องถิ่น พรรคการเมืองไม่ค่อยเข้าไปยุ่งมาก เพราะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งข้อดีผู้สมัครนายกอบจ.หรือองค์กรปกครองท้องถิ่นอื่นในนามพรรคการเมืองก็จะมีคนรับผิดชอบ อย่างน้อยในการช่วยคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมลงสมัคร หรือหากบริหารงานเกิดความผิดพลาดพรรคการเมืองก็ต้องรับผิดชอบ แต่หากสมัครนามอิสระไม่มีใครกรองให้ประชาชน เมื่อเกิดการบริหารราชการความผิดพลาดเสียหายขึ้นมา ตัวเองผ่านพ้นไปใครจะรับผิดชอบ  

“เมื่อผมมาอยู่ในพรรคประชาธิปัตย์ก็อยู่ในปีกกระจายอำนาจ มีกระแสไม่เห็นด้วยเหมือนกันในพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น แต่สรุปเราเห็นแนวทางนี้แล้วว่าการเลือกผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงเป็นสิ่งจำเป็น ผมเชื่อตรรกะนี้ว่าถ้าท้องถิ่นเข้มแข็ง ประเทศไทยก็จะเข้มแข็ง”อดีตรมช.มหาดไทยกล่าวย้ำ 

ขณะที่ รศ.ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์และอดีตสส.นครศรีฯ พรรคพลังประชารัฐ กล่าวเสริมว่า แม้ปัจจุบันการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยจะเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ เพราะมีการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในทุกระดับทั้งนายกอบจ. นายกเทศบาล นายกอบต. หากแต่การบริหารราชการแผ่นดินในท้องถิ่นท้องที่ยังไม่มีความอิสระยังเป็นการบริหารราชการแบบรวมศูนย์ โดยนายกอบจ.ไม่มีโอกาสจัดทำโครงการฯทำโปรเจกต์ตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ต้องรอคำสั่งจากส่วนกลาง ที่สำคัญท้องถิ่นก็ไม่ได้ขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาล แต่ขับเคลื่อนด้วยกระทรวงมหาดไทย ทำให้การบริหารงานท้องถิ่นผิดฝาผิดฝั่งไป

“วันนี้ท้องถิ่นไม่ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาลแต่ขับเคลื่อนด้วยมหาดไทย พอเกิดปัญหาท้องถิ่นทำอะไรได้ไม่เต็มที่ ไม่สามารถจัดการปัญหาสาธารณะได้ มังคุดราคาตก ชาวบ้านเคยพาไปเททิ้งหน้าอบจ. อบต.ไม๊ ก็ไปเททิ้งหน้าศาลากลาง มันสะท้อนถึงรัฐบาลรวมศูนย์ ท้องถิ่นยังทำอะไรไม่ได้ เมื่อทำอะไรไม่ได้ก็ตอบคำถามที่ว่าทำไมคนจึงไปเลือกตั้งอบจ.คราวนี้น้อยกว่าปกติ เพราะเลือกไปก็ไม่มีประโยชน์ เข้าไปก็ทำอะไรไม่ได้มาก”รศ.ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ วิพากษ์อย่างเผ็ดร้อน  

ด้าน นายศักดา นพสิทธิ์ อดีตโฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าวว่าในการเลือกตั้งอบจ.68 ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าบริบทบางครั้งนโยบายของพรรคการเมืองมีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งในระดับพื้นที่เหมือนกัน อย่างบางพรรคการเมืองไม่ได้รับความนิยมในพื้นที่ภาคใต้ก็จะไม่ส่งผู้สมัครลงสมัครในนามพรรค หรืออาจมีทัศนคติก็ได้ที่ว่าในเรื่องของท้องถิ่นพรรคการเมืองไม่ควรเข้าไปสนับสนุน ควรอยู่ในระดับชาตินโยบายของประเทศเท่านั้น เพราะคำว่าท้องถิ่นหมายความว่าให้คนในพื้นที่ ให้คนในท้องถิ่นบริหารจัดการเลือกผู้นำของตัวเองขึ้นมาเป็นผู้บริหาร นั่นคือนิยามสมบูรณ์ดีที่สุดในแง่การปกครองการบริหารส่วนท้องถิ่น ส่วนท้องถิ่นนำเอานโยบายบางส่วนบางตอนของพรรคการเมืองใดไปใช้เป็น ก็แล้วแต่ผู้บริหารท้องถิ่นนั้นที่เห็นว่ามีความเหมาะสมในสภาพพื้นที่และบริบทของสังคม 

“กกตไม่ใช่มีแค่หน้าที่จัดการเลือกตั้งให้เสร็จเท่านั้น แต่หลักการจะต้องสะท้อนการลงคะแนนผ่านการเลือกตั้งด้วย เราจะได้รู้ว่าใครเป็นคนดีที่สุดเหมาะบริหารในท้องที่ในท้องถิ่นระดับชาติมากที่สุด ไม่เช่นนั้น คนที่มีการศึกษาดี มีคุณธรรม ไม่เคยมีประวัติทุจริตคดโกงก็ไม่ได้เป็นตัวแทน บางทีคนที่เลวร้ายที่สุดก็ยังได้รับการเลือก เพราะมีหลายบริบทที่รวมอยู่ในคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง” อดีตโฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าว

ส่วนนายเฉลียว คงตุก สื่อมวลชนอาวุโสเชี่ยวชาญด้านการเมืองท้องถิ่นและเจ้าของคอลัมน์ ‘นายหัวไทร’ กล่าวว่า การเลือกตั้งอบจ.คราวนี้มันสะท้อนอะไรบ้าง สิ่งที่ยังอยากพูดถึงในวันนี้ก็คือการกำหนดวันเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ซึ่งปกติจัดการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดทุกองค์กร ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและบริษัทเอกชน ยกเว้นเกษตรกรที่ไม่มีวันหยุด แต่การจัดการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นวันเสาร์ ซึ่งบริษัท ห้างร้าน โรงงาน หรือบริษัทเอกชนยังเปิดทำงานกันตามปกติ ทำให้การเลือกตั้งอบจ.ในหลายจังหวัดครั้งนี้มีการลงคะแนนเลือกตั้งน้อยเป็นประวัติการณ์ 

“ผมคิดว่าน่าจะเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่เลือกตั้งวันเสาร์ เพราะทุกครั้งที่ผ่านมาจะมีการเลือกตั้งวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดของประชาชนคนส่วนใหญ่จะสะดวกเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ไม่ใช่วันทำงาน ผมเองให้ทีมงานไปถามเลขากกต.ทำไมจัดการเลือกตั้งวันเสาร์แล้วที่ประชุมสภาเองก็ได้มีการเชิญกกต.ไปชี้แจง ซึ่งเลขากกต.ชี้แจงว่าการที่จัดการเลือกตั้งวันเสาร์ เพราะถ้าขยับไปอีกวันเป็นวันอาทิตย์ที่ 2 ก.พ.เกรงว่าการเลือกตั้งจะไม่แล้วเสร็จตามกฎหมายที่กำหนดจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 45วัน  อันที่จริงกกต.น่าจะร่นลงมาสักอาทิตย์ก็ได้ ซึ่งก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า แต่ทางกกต.เกรงว่าผู้สมัครจะมีเวลาหาเสียงน้อย พบปะประชาชนไม่ทั่วถึง ผมไม่เชื่อในตรรกะนี้”เจ้าของคอลัมน์”นายหัวไทรกล่าวทิ้งท้าย

สรุปภาพรวมวงเสวนามีน่าสนใจ พอจะประมวลจากการสะท้อนของวิทยากร ที่ทำให้มีบัตรเสียจำนวนมาก บัตรโหวตโนเยอะ คนใช้สิทธิ์น้อย เกิดจากเหตุปัจจัยหลายประการ

ประการแรก ข่าวหน้าหูเรื่องการใช้เงินมโหฬารในการจ่ายกับการเลือกตั้ง (ซื้อเสียง) อันจะนำไปสู่การถอนทุนในอนาคต (ทุจริต) ทำให้คนเบื่อการเมือง ชัดขึ้นกับคำว่า “เงินไม่มากาไม่เป็น” วิทยากรส่วนใหญ่แนะนำว่า ถ้าเขาเอาเงินมาให้ก็รับไว้ แต่การเลือกตั้งเป็นสิทธิ์ของแต่ละคน เดินเข้าสู่คูหาไม่มีใครรู้ว่าเราเลือกใคร เหตุฆาตกรรมจากการเบี้ยวกันทางการเมือง เริ่มหายไปราว 1 ทศวรรษแล้ว

ประการต่อมา การที่นักการเมืองบ้านใหญ่เข้าไปจัดการ บงการส่งผู้สมัคร ซึ่งมีคุณสมบัติไม่ตรงกับที่ประชาชนต้องการ จึงเลือกที่จะโหวตโน เพราะผู้สมัครยังไม่โดนใจพอ

ประการต่อมา คือที่พรรคการเมือง นักการเมืองระดับชาติเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่น ทำให้ท้องถิ่นขาดความเป็นอิสระ ผิดหลักการกระจายอำนาจ แม้วิทยากรบางคนจะเห็นแย้งว่า เมื่อพรรคการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง พรรคการเมืองก็ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนด้วยกับผลของการกระทำ

ประการที่สี่ ประชาชนไม่เชื่อมั่นต่อการจัดเลือกตั้งว่าจะเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ เที่ยงธรรม เพราะเห็นมามากแล้ว ประชาชนรู้กันทุกหย่อมหญ้าว่ามีการซื้อเสียง แต่ กกต.หน่วยงานจัดการเลือกตั้งกลับไม่รู้ไม่เห็น ทำให้ประชาชนหมดหวังกับองค์อิสระอย่าง กกต. จะเห็นได้ว่า ที่ผ่านมา กกต.ไม่เคยจับทุจริตการเลือกตั้งได้ด้วยตัวเอง รอให้คนนำหลักฐานไปร้องเรียนถึงจะดำเนินการสอบสวน ไม่มีการสืบด้วยตัวเอง กลไกผู้ตรวจการเลือกตั้งก็ทำงานไม่ได้ผล

ประการที่ห้า การจัดการเลือกตั้งวันเสาร์เป็นครั้งแรก ทั้ง ๆ ที่เป็นวันทำงาน ผู้มีสิทธิ์บางคนไม่สามารถละจากงานเพื่อไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งได้ ทำให้ยอดผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งน้อยกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา กกต.อ้างว่า ถ้าจัดเลือกตั้งวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ จะหมิ่นเหม่ถ้ามีเหตุฉุกเฉินจะจัดการเลือกตั้งไม่แล้วเสร็จในกรอบ 45 วัน จริง ๆ กกต.ร่นมาอีกอาทิตย์หนึ่งก็ยังได้ แต่ กกต.กลับกลัวว่า จะมีเวลาให้หาเสียงน้อย ซึ่งเป็นตรรกะที่จะรับฟังได้

ประการที่หก การไม่จัดให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้า สำหรับผู้ที่มีภารกิจ ไม่สามารถมาลงคะแนนเสียงได้ในวันเสาร์ทำให้เขาต้องถูกตัดสิทธิ์ทางการ จะถูกปิดกั้นการแสดงออกทางการเมือง จะลงสมัครอะไรก็ไม่ได้ไประยะหนึ่ง

นี้คือประเด็นหลัก ๆ ที่มีการพูดคุยกันในวงเสวนา ‘เลือกตั้ง อบจ.68 สะท้อนอะไร’ ก็สะท้อนให้เห็นปัญหามากมายที่จะต้องปรับแก้กันต่อไปในอนาคต

‘อ.สมภพ พอดี’ โพสต์เฟซ!! อุดมศึกษาใน ‘ไทย-ไต้หวัน-สิงคโปร์’ เศรษฐกิจ รายได้ คุณภาพชีวิต อนาคต ต้องเริ่มจากการสร้างคนที่มีความรู้

(22 ก.พ. 68) ‘อ.สมภพ พอดี’ โพสต์ข้อความระบุว่า …

อุดมศึกษา ในไทย ไต้หวันและสิงคโปร์ และเศรษฐกิจ รายได้ คุณภาพชีวิต อนาคต

ไทย ประเทศขนาดกลาง มีความอุดมสมบูรณ์ มีก๊าซธรรมชาติ มีประชากร 70 ล้านคน ปัจจุบันมีผลผลิตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพีต่อคนประมาณ $7,200 ไต้หวัน เกาะเล็ก ๆ ไม่มีทรัพยากรมากมาย ไม่มีนํ้ามัน ไม่มีก๊าซ มีแต่ผู้คน มีประชากร 23.4 ล้านคน ปัจจุบันมีผลผลิตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพีต่อคนประมาณ $33,000 หรือมากกว่าไทยประมาณ 5 เท่า

สิงคโปร์ เกาะขนาดจิ๋ว ไม่มีทรัพยากรอะไรเลย นํ้าจืดยังมีไม่พอ ไม่มีนํ้ามัน ไม่มีก๊าซ มีแต่ผู้คน มีประชากร 6 ล้านคน ปัจจุบันมีผลผลิตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพีต่อคนประมาณ $85,000 หรือมากกว่าไทยประมาณ 12 เท่า

ปัจจุบัน นักเรียนในทั้ง 3 ประเทศเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย ตามสาขาวิชาด้วยสัดส่วนต่อไปนี้
สิงคโปร์
1. ธุรกิจ การบัญชี การเงิน ประมาณ 26%
2. วิศวกรรม ประมาณ 23%
3. คอมพิวเตอร์และไอที ประมาณ 20% และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
4. วิทยาศาสตร์ด้านสุขภาพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล ประมาณ 14%
5. สังคมศาสตร์ทุกสาขา ไม่รวมกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ประมาณ 10%

ไต้หวัน
1. วิศวกรรม ประมาณ 28%
2. ธุรกิจ การบัญชี การเงิน ประมาณ 22%
3. คอมพิวเตอร์และไอที ประมาณ 20% และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
4. วิทยาศาสตร์ด้านสุขภาพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล ประมาณ 16%
5. สังคมศาสตร์ทุกสาขา ไม่รวมกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ประมาณ 7%

ไทย
1. สังคมศาสตร์ทุกสาขา ไม่รวมกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ประมาณ 32%
2. ธุรกิจ การบัญชี การเงิน ประมาณ 20%
3. คอมพิวเตอร์และไอที ประมาณ 12% และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
4. วิทยาศาสตร์ด้านสุขภาพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล ประมาณ 12%
5. วิศวกรรม ประมาณ 8%

สิงคโปร์
มีนศ.รัฐศาสตร์ปีหนึ่ง เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยอย่าง NUS, NTU และ SMU ประมาณ 1,400 คนในแต่ละปี ประมาณ 80% จองนศ.เหล่านี้เป็นคนสิงคโปร์ ดังนั้นจึงมีนศ.สิงคโปร์เข้าเรียน รัฐศาสตร์ ประมาณปีละ 1,100 คน ถ้าสิงคโปร์มีประชากรเท่ากับ ไทย หรือ มากกว่าที่เป็นอยู่ 12 เท่า จะมีนศ.เข้าเรียน รัฐศาสตร์ ประมาณปีละ 13,200 คน

ไต้หวัน
มีนศ.รัฐศาสตร์ปีหนึ่ง เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยอย่าง NTU, NCCU, NTNU, TU และอื่น ๆ ประมาณ 2,200 คนในแต่ละปี ถ้าไต้หวันมีประชากรเท่ากับ ไทย หรือ มากกว่าที่เป็นอยู่ 3 เท่า จะมีนศ.เข้าเรียน รัฐศาสตร์ ประมาณปีละ 6,600 คน

ตัวเลขทั้งหมดด้านบนเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน สังคมที่จะพัฒนาไปข้างหน้าทางเศรษฐกิจได้ สร้างรายได้ คุณภาพชีวิตที่ดี อนาคตที่ดีให้ผู้คนได้ จะต้องเริ่มจากการสร้างคนที่มีความรู้ที่นำไปใช้สร้างธุรกิจอุตสาหกรรม ความรู้ที่สร้างผลผลิตทางเศรษฐกิจได้สูง สร้างมูลค่าเพิ่มได้มาก ต้องไม่ปล่อยให้คนไม่มีความรู้ที่ไม่เป็นประโยชน์ หรือประโยชน์น้อย ไม่มีคุณค่าในทางเศรษฐกิจ ตัวเลขโกหกไม่ได้

ไทย 
มีนศ.รัฐศาสตร์ปีหนึ่ง เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยอย่าง จุฬา, ธรรมศาสตร์, เกษตร, มช., รามคำแหง และอื่นๆ ประมาณกี่คนในแต่ละปีก็ไม่รู้เพราะหาข้อมูลไม่ได้ เอไอสารพัดยี่ห้อก็ไม่รู้ รู้แค่ว่ามากเกินไปมาก มากเกินความจำเป็น เรียนแล้วอาจจะคลั่งอุดมการณ์โง่ๆ อย่างเช่น คนเท่ากัน คอมมี่คือพัฒนาการสูงสุดของประชาธิปไตย ฯ วิกลจริต หรือโง่จนไม่รู้ว่ามนุษย์มีแค่สองเพศคือหญิงกับชาย หรือไม่รู้ว่าไม่มีใครจ้างใครไปทำงานเพราะมีความรู้เรื่องทฤษฎีการเมือง เท่านั้น


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top