ย้อนประวัติศาสตร์สยาม ฝ่าพายุร้ายจากตะวันตกนับเกือบ 200 ปี พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงทำให้เกิดความเจริญ
'พล.ท.นันทเดช' ย้อนประวัติศาสตร์ 'ประเทศไทยในสถานการณ์สู้รบ' สยามฝ่าพายุร้ายจากตะวันตกนับเกือบ 200 ปี พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงตั้งรับไว้ได้ย่างเหมาะสม สยามจึงที่มีทั้งความสงบและเจริญ ในลำดับ 1 ของเอเซีย ซัดคณะราษฎรไม่ได้สร้างโครงสร้างพื้นฐาน ชิงอำนาจกันเอง จนเกิดเผด็จการทางสภา
(5 ต.ค. 65) พลโทนันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ(ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง ประเทศไทยในสถานการณ์สู้รบ ตอนที่ 1 มีรายละเอียดดังนี้
สยามฝ่าพายุร้ายจากตะวันตก ที่พัดกระหน่ำซัดใส่มานาน แสนนาน นับเกือบ 200 ปีแล้ว แต่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ทรงได้ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ภูมิทัศน์ และแนวตั้งรับ ของประเทศไว้ได้ย่างเหมาะสม โดยทรงภารกิจ จัดวางโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เครื่องมือสนับสนุนการประกอบอาชีพ ให้ราษฎร และทรงคุ้มเกล้าให้กำลังใจ ความหวัง ร่วมทุกข์ร่วมสุข กับประชาชนตลอดมา
โดยเฉพาะในรัชสมัยอันยาวนานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทำให้คนไทยได้มองเห็น และเข้าใจถึง 'สิ่งดี ๆ' ที่เคยเกิดขึ้นในวันก่อน ซึ่ง 'สิ่งดี ๆ'เหล่านั้น จะอยู่มาจนถึงวันนี้ หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่คนไทยหลากหลายวัยในยุคปัจจุบันนี้ ว่าจะช่วยกันรับมืออย่างไร เมื่อมีคนกลุ่มหนึ่งพยายามริดรอนพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย ที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ให้ลดน้อยลงไป เหลือเป็นเพียง 'สัญญลักษณ์' หรือ สาบสูญไป เพียงหวังอย่างเดียวว่า “ถ้าเป็นผลสำเร็จ พวกเขาจะซื้อขายประเทศไทย กันได้สะดวกยิ่งขึ้น รวมถึงการเดินทางกลับประเทศไทย ของคนอีกกลุ่มหนึ่งก็จะง่ายขึ้นด้วย ”
นอกจากนั้น ก็ยังมีอีกหลายประเทศ ที่ไม่อยากให้ประเทศไทยเติบโตไปมากกว่านี้อีก เพราะจะส่งผลกระทบต่อ สถานภาพของประเทศพวกเขา จึงได้เข้ามาผสมโรง สนับสนุนคนกลุ่มนี้
เรียงความตอนที่ 1 เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร วันที่ 13 ตุลาคม 2565
ตอนที่ 2 : เปรียบเทียบการใช้พระราชอำนาจของในหลวงรัชกาลที่ 5 และ ในหลวงรัชกาลที่ 6 กับการใช้อำนาจ ของรัฐบาล คณะราษฎร ว่าตรงส่วนไหนท่ีจะทำให้ประเทศไทยดีขึ้น
รัชสมัย ร.5 พระองค์ทรงใช้พระราชอำนาจอย่างเต็มที่หลายเรื่อง เพื่อปรับปรุงพัฒนาประเทศให้ทันสมัย เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วที่สำคัญ คือ
(1) การกำหนดขอบเขตแผ่นดินสยาม (สยามไม่เคยมีเส้นเขตแดนชัดเจนมาก่อน)
(2) การเลิก ไพร่/ทาส
(3) การลงทุนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศทุกด้าน (ตลอด 25 ปีของรัฐบาลคณะราษฎร ไม่เคยทำเรื่อง โครงสร้าง อย่างจริงจังเลย มาเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม เป็นครั้งที่2 แล้วก็เลยมาที่รัฐบาลลุงตู่ นี่แหละ เป็นครั้งที่3 น่าเศร้าใจไหมครับ)
(4) การปูพื้นฐานทางด้านประชาธิปไตย เช่น การเลือก กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน, การให้อำนาจตัดสินคดีแก่ศาล,การส่งนักเรียนทุนหลวงไปศึกษาต่างประเทศ ฯลฯ แต่นักเรียนทุนบางคนกลับมาทำปฏิวัติผู้ส่งไปเรียนเสียเอง รวมทั้งจับกุมนักเรียนทุนท่ีไม่เห็นด้วยไปขังคุก โดยตั้งศาลพิเศษ (ญี่ปุ่นซึ่งมีความเจริญไล่ๆกันกับไทย และมีรัฐธรรมนูญท่ีจักรพรรดิ์ มีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญ ได้นักเรียนทุนกลับมาพัฒนาประเทศ เจริญก้าวหน้าไปกว่าไทย ทั้งท่ีส่งคนไปเรียนพร้อมๆกัน จำนวนคนไปเรียนก็พอๆกันประมาณ400คน)
ในรัชสมัย ร.6 พระองค์ ทรงหาทางแก้ไขการทำสัญญาทางการค้า ที่เสียเปรียบต่างชาติ ดังนั้นพระองค์ทรงใช้พระราชอำนาจ ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ประกาศสงครามกับเยอรมัน ท่ามกลางคำคัดค้านของทหาร และขุนนาง เมื่อชนะสงคราม สยามก็ได้รับการค้ำประกันอิสรภาพ ในฐานะสมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติ และได้รับการแก้ไข สัญญาที่ไม่เป็นธรรมทุกฉบับ รวมถึงการซื้อเครื่องบินจำนวนมาก กลับมาใช้ในราชการไทย ( จอมพล ป.เข้าร่วมกับญี่ปุ่น ประกาศสงครามโลกครั้งท่ี2กับประเทศกลุ่มพันธมิตร
โชคดี ที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ทูตไทย ประจำสหรัฐฯไม่ยอมรับคำสั่งรัฐบาล จัดตั้งกลุ่มเสรีไทยขึ้น และส่งคนไปจัดตั้งที่อังกฤษ เพิ่มขึ้นอีก ต่อมานายปรีดี ได้จัดตั้งขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นในไทย ซึ่งได้กลายเป็นจุดประสานงานของกลุ่มเสรีไทย เมื่อสงครามจบ ไทยยกเอาเรื่องเสรีไทยขึ้นมาอ้าง สหรัฐฯยอมรับ แต่อังกฤษ จะเอาไทยเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ ประชาชนเดือดร้อนกันมาก ม.ร.ว.เสนีย์ ใช้ความเป็นทูตประจำสหรัฐฯ เจรจาจนสำเร็จแม้จะเสียเปรียบบ้างก็ตาม )
นอกจากนั้น ในหลวง ร.6 ยังทรงระดมสร้างโครงงานพื้นฐานของประเทศต่อจาก ร.5 จนสำเร็จหมดทุกโครงการจากการกู้เงินในตลาดการเงินยุโรปเพื่อนำมาลงทุน เพิ่มเติม รวม 5 ล้านปอนด์ เมื่อโครงงานเสร็จ การค้าขาย นาข้าว การขนส่งฯลฯ ก็เจริญก้าวหน้าขึ้น เศรษฐกิจเริ่มดีมากขึ้น รัฐบาลก็ทยอยได้รับเงินคืนมามากขึ้นเช่นกัน
