Sunday, 20 April 2025
มหาอำนาจ

‘สมชาย แสวงการ’ โพสต์ข้อความเตือน รัฐบาลใหม่ อย่าชักน้ำเข้าลึก อย่าชักศึกเข้าบ้าน

นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ได้โพสต์ข้อความแสดงความเป็นห่วงต่อท่าทีของรัฐบาลใหม่ กับนโยบายทางด้านต่างประเทศ และการเข้าไปมีบทบาทในการเคลื่อนไหว ยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของประเทศพม่า โดยได้เขียนโดยมีใจความว่า...

อย่าชักน้ำเข้าลึกอย่าชักศึกเข้าบ้าน
ข่าวนี้น่าห่วงมากครับ ถ้าไม่ระมัดระวัง รัฐบาลใหม่ที่กำลังพยายามจะตั้งขึ้นมีทีท่าที่อาจไปเคลื่อนไหวยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของพม่า คงเกิดผลกระทบตามมาที่รุนแรงแน่นอน  เริ่มด้วยปิfดพรมแดน เรียกแรงงานกลับ ยุติขายแก๊สทางท่อ ฯลฯ และถ้ามหาอำนาจแทรกแซง เรื่องทั้งหมดอาจจะเลวร้ายบานปลายกว่านั้นไปอีกครับ

'ดร.วชิรศักดิ์' มั่นใจ!! ไทยขึ้นแท่นมหาอำนาจในเร็ววัน ก้าวย่างอย่างมั่นคงสู่การเป็นศูนย์กลางของอาเซียน

(29 ม.ค. 67) เพจ 'Bangkok I Love You' โพสต์ข้อความในหัวข้อ 'ก้าวย่างอย่างมั่นคงสู่การเป็นศูนย์กลางของอาเซียน มหาอำนาจตัวจริง' ระบุว่า...

"คนลาว คนเวียดนาม มาเห็นถนนสาย ตจว. บ้านเราถึงกับร้อง ทำไมมันดีกว่าบ้านเขามาก อนาคตบ้านเราเก็บค่าต๋ง ค่าผ่านทางก็รวยแล้วครับ"

ประเทศไทยเป็น Corridor

Corridor คืออะไร?

ผมว่าหลายคนยังไม่ทราบ คนในวงการก่อสร้าง Infrastructure หรือ Mega project การลงทุนระหว่างประเทศจะใช้คำนี้เสมอ เราก็ไม่เข้าใจเพราะเรามองไม่ไกลขนาดนั้น ตอน Ford มาตั้งโรงงานในบ้านเรา ผมได้มีโอกาสเจอ First team ก็เลยถามตรง ๆ ว่า มาทำไมเพราะคู่แข่งแต่ละรายแกร่งยิ่งนัก เขาตอบว่า Corridor ช่วง 10 ปีแรก ขายในประเทศ อีก 20 ปี ไปขายเพื่อนบ้าน ตอนนี้เขมรขับ Ford กันแล้ว อีก 30 ปี ไปขายพม่าได้ Vision 20 ปี มันเป็นแบบนี้นี่เอง

มือถือสองค่ายแย่งกันขาย รายที่สามมาทำไม เขาตอบว่า อัตราส่วนเมื่อเทียบกับที่อื่นทั่วโลกถือว่า ตึงเต็มที่ Reserve ratio มันต่ำกว่ามาตรฐานแล้ว อนาคตยอดเพิ่มแน่นอน มีตัวเลขต่างประเทศมายืนยัน มันเป็นแบบนี้นี่เองการค้าระดับโลกมันมีฐานข้อมูลอ้างอิง เรามองแค่ในบ้านเราถึงไม่เข้าใจว่าเขามาลงทุนทำไม ตัวเลขสำคัญคือจำนวนประชากรต่อ ???

เห็นสิงคโปร์ CNA ทำรายงานเรื่อง การลงทุนของญี่ปุ่นใน AEC มีภาพหนึ่ง Corridor ชัดเจนมาก ทำเลทอง EEC มันเป็นทางผ่านชัด ๆ นี่ไม่รวมรถไฟจากจีน คุณหมิง ผ่านลาว ลงมาอ่าวไทย แบบนี้เรียกว่า Center point วัยรุ่นคงเข้าใจ คนตจว. อาจจะเรียกว่าโคราช อนาคตประเทศเราจะเป็นทางผ่านแบบโคราช แปลว่า แน่นทั้งปี

ไม่แปลก...อะไรที่ถนนบ้านเราโดยเฉพาะในต่างจังหวัดพัฒนาขึ้นดีมาก คนต่างจังหวัดคงเข้าใจไม่ต้องอธิบาย Logistic ต่างชาติแห่กันมาหา Hub คนลาว คนเวียดนาม มาเห็นถนนสาย ตจว. บ้านเราถึงกับร้อง ทำไมมันดีกว่าบ้านเขามาก ถนนสายจากน่านไปออกหลวงพระบางเคยเห็นหรือยัง อนาคตบ้านเราเก็บค่าต๋ง ค่าผ่านทางก็รวยแล้วครับ

บทความจาก ดร.วชิรศักดิ์ จึงสถาพร

‘ดร.อาร์ม’ ชี้ ยุคโลกาภิวัตน์ไม่หวนกลับมาแล้ว นี่คือโจทย์ใหม่ของไทยบนการเมืองโลก

เมื่อวานนี้ (9 ก.ย. 67) สำนักข่าว TNN ได้มีการจัดสัมมนาในหัวข้อ ‘ปลดล็อกกับดัก: การปรับจุดยืนไทย ในโลกที่แบ่งขั้ว’ ซึ่งการจัดงานสัมมนาที่ได้มีการเชิญนักวิชาการไทยจากหลากหลายสาขาและภูมิภาคมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่า ประเทศไทยควรมีการดำเนินนโยบายอย่างไรเพื่อสร้างความเข้มแข็งและให้ผลประโยชน์กับเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศชาติได้

โดย ‘ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร’ ผ.อ. ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความคิดเห็นว่า ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ทั่วโลกอยู่ในช่วงโลกาภิวัตน์ หรือ โลกที่ไร้พรมแดน ทว่าไม่กี่ปีมานี้ โลกเหมือนจะเข้าสู่ Deglobalization และกำลังถูกตอกฝาโลงด้วยสงครามที่เกิดขึ้นทั่วโลก และประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่กำลังได้รับผลกระทบ Supply Chain ที่กำลังปั่นป่วนอยู่ในขณะนี้ 

“ก็จริง ๆ แล้วเนี่ย สมัยก่อนพูดกันนะครับว่าเป็นเทรนด์ของโลกว่าเป็นยุคที่ไม่มีสงคราม ยุคของความซิงลี้ ผู้คนค้าขาย ผู้คนที่เรียกกันว่า… เป็นมิตรต่อกันและกัน แต่ตั้งแต่สงครามการค้าของทรัมป์ตั้งแต่ปี 2017 ตามมาด้วยวิกฤตโควิด 19 ซึ่งทำให้เกิดความปั่นป่วนของ Supply Chain ทั่วโลก แล้วก็มา ‘ตอกฝาโลง’ โลกาภิวัตน์ด้วยสงครามยูเครน ซึ่งเราบอกว่าทำให้ความไม่ไว้วางใจระหว่างมหาอำนาจเนี่ยสูงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ตอนนี้ผมคิดว่าบรรดานักวิชาการในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลกต่างเห็นตรงกันว่าเป็นยุค Deglobalization คือเป็นยุคที่โลกาภิวัตน์ไม่หวนกลับมาแล้ว”

“แต่ว่าจริงๆ แล้ว หลายคนบอกว่า มันกำลังเกิดห่วงโซ่การค้าโลกแตกเป็น 2 ห่วงโซ่ ก็คือ ห่วงโซ่สหรัฐฯ เชื่อมโลก แล้วก็พยายามที่จะสกัดขัดขวางจีน และห่วงโซ่จีนเชื่อมโลก ซึ่งก็พยายามสกัดขัดขวางสหรัฐฯ อันนี้เลยเป็นโจทย์ใหม่สำหรับประเทศไทย เพราะว่าในอดีต เราถามตลอดว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งของ Supply Chain อย่างไร แต่วันนี้ต้องพูดกันตามตรงนะครับว่า Global Supply Chain กำลังปั่นป่วนมากครับ”

อย่างไรก็ตาม ศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่ยุคแห่งสงครามเย็น แต่เป็นยุคสงครามร้อนที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ทั่วโลก พร้อมกันนั้น ประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบมากมายต่อการขับเคี่ยวกันทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจ ดังนั้นงานสัมมนาครั้งนี้จึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถสร้างจุดยืนที่เป็นประโยชน์ท่ามกลางความร้อนระอุของโลกยุคนี้

‘สุรัชนี’ ชี้ ควรยึดประโยชน์ของไทยเป็นที่ตั้ง แนะ ไทยสามารถร่วมมือกับประเทศอื่นนอกจากมหาอำนาจ

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักข่าว TNN ได้มีการจัดสัมมนาในหัวข้อ ‘ปลดล็อกกับดัก: การปรับจุดยืนไทย ในโลกที่แบ่งขั้ว’ ซึ่งการจัดงานสัมมนาที่ได้มีการเชิญนักวิชาการไทยจากหลากหลายสาขาและภูมิภาคมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่า ประเทศไทยควรมีการดำเนินนโยบายอย่างไรเพื่อสร้างความเข้มแข็งและให้ผลประโยชน์กับเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศชาติได้

‘ผศ.ดร. สุรัชนี ศรีใย’ นักวิจัยอาคันตุกะ สถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา ยูซุฟ อิสฮัค ประเทศสิงคโปร์ และเป็นหนึ่งในนักวิชาการที่ได้รับเชิญไปสัมมนางานดังกล่าว มีความเห็นว่า ประเทศไทยจะต้องตอบตนเองให้ได้ก่อนว่าต้องการผลประโยชน์ของชาติแบบใด นโยบายแบบใด ที่น่าจะสามารถให้ประโยชน์กับทุกคนในประเทศส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่เพียงเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น และยังเสริมว่า ประเทศไทยสามารถทำงานร่วมกับประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากประเทศมหาอำนาจที่กำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นตลาดอื่นๆ ทางเศรษฐกิจได้ เช่น อาเซียนและประเทศในกลุ่ม EU เป็นต้น 

“คิดว่าไทยต้องเริ่มจากการ Identify ความต้องการของตนเองก่อนว่าผลประโยชน์ของชาติไทยมันคืออะไร ซึ่งอันนี้ขีดเส้นใต้เยอะมากว่าหมายถึง ‘ผลประโยชน์ของคนไทย’ ส่วนใหญ่นะคะว่า การที่ประเทศจะบริหารความสัมพันธ์ระหว่างไทยเองกับประเทศที่เป็นมหาอำนาจนี้น่ะค่ะ มันจะส่งผลประโยชน์ต่อคนไทยยังไง เมื่อไปจากจุดนั้นแล้ว เราก็จะสามารถนึกได้นอกกรอบว่า เราจะสามารถบริหารความสัมพันธ์เหล่านี้ยังไงได้บ้างนะคะ นี่คือจุดเริ่มต้นสำคัญที่เราจะต้องเริ่มก่อน หลังจากนั้นเราก็จะสามารถที่จะเลือกได้ว่า เราจะไปสู่ผลประโยชน์เหล่านั้นเนี่ย โดยการที่จะทำงานร่วมกับมหาอำนาจไหน? หรือเราไม่จำเป็นต้องทำงานร่วมกับมหาอำนาจอย่างเดียวค่ะ เราสามารถที่จะนึกถึงตัวละครอื่นๆ อย่างเช่น ทำงานผ่านกรอบอาเซียน ทำงานร่วมกับ EU ก็ได้ หรือแม้กระทั่งกับประเทศอื่นๆ ที่กำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นตลาดอื่นๆ ที่ไทยจะสามารถ Explore ได้ค่ะ” 

อย่างไรก็ตาม ศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่ยุคแห่งสงครามเย็น แต่เป็นยุคสงครามร้อนที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ทั่วโลก พร้อมกันนั้น ประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบมากมายต่อการขับเคี่ยวกันทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจ ดังนั้นงานสัมมนาครั้งนี้จึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถสร้างจุดยืนที่เป็นประโยชน์ท่ามกลางความร้อนระอุของโลกยุคนี้

'ดุลยภาค' ชี้ โลกกำลังเข้าสู่การแบ่งขั้วมหาอำนาจที่ชัดเจน ย้ำ!! ประเทศไทยควรวางตัวเป็นกลางอย่างสร้างสรรค์

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักข่าว TNN ได้มีการจัดสัมมนาในหัวข้อ ‘ปลดล็อกกับดัก: การปรับจุดยืนไทย ในโลกที่แบ่งขั้ว’ ซึ่งการจัดงานสัมมนาที่ได้มีการเชิญนักวิชาการไทยจากหลากหลายสาขาและภูมิภาคมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่า ประเทศไทยควรมีการดำเนินนโยบายอย่างไรเพื่อสร้างความเข้มแข็งและให้ผลประโยชน์กับเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศชาติได้

‘รศ.ดร. ดุลยภาค ปรีชารัชช’ จาก สถาบันเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในนักวิชาการที่ได้เข้าร่วมสัมมนาดังกล่าว ได้มีความคิดเห็นว่า ประเทศไทยเหมาะที่จะดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยการเป็นกลางอย่างยืดหยุ่นและสร้างสรรค์มากกว่า และเน้นยึดหลักความถูกต้องและกฎกติการะหว่างประเทศเป็นตัวนำ พร้อมกับเลือกดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศโดยไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นการถาวร อย่างเช่น ประเทศไทยโยกเข้าหาสหรัฐอเมริกาในเรื่องการทหาร และ โยกเข้าหาจีนในเรื่องของการค้าและเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องปิดกั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากจนเกินไป รวมไปถึงขณะเดียวกันก็ให้ประเทศไทยหันมาเสริมสร้างแกนนอก ซึ่งหมายถึง การขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจนอกประเทศไทยด้วย

“ผมคิดว่าเราน่าจะดำเนินนโยบายเป็นกลางแบบยืดหยุ่น นั่นก็คือ เราไม่ประกาศว่าเราฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เนื่องจากยังไม่ได้มีแรงบีบคั้นทางยุทธศาสตร์อย่างรุนแรงที่ถึงขนาดประเทศไทยต้องเลือกข้างนะครับ เพราะฉะนั้นเราน่าจะยึดประเด็น ยึดความถูกต้อง ยึดกฎกติกา บรรทัดฐานระหว่างประเทศเป็นตัวนำ มหาอำนาจชาติใดทำเหมาะไม่เหมา จะต้องมีการประณามหรือยังไง แล้วก็ปฏิบัติไปตามความเหมาะสมบนหลักการแบบนี้ แต่ในขณะเดียวกันในบางครั้ง ในบางประเด็น เราอาจจะต้องโยกเข้าหาสหรัฐฯ หรือจีนบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะฝักใฝ่ประเทศเหล่านั้นเป็นการถาวร ยกตัวอย่างเช่น ในเรื่องของการซ้อมรบ พันธมิตรทางทหาร พันธมิตรทางยุทธศาสตร์ กำลังทหารของสหรัฐอเมริกายังมีความสำคัญอยู่ เพราะฉะนั้น ไทยก็น่าจะเอนเข้าหาสหรัฐฯ หรือว่าระบบอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพอากาศ เครื่องบินรบต่าง ๆ เราก็ต้องเน้นสหรัฐอเมริกา แล้วก็จีนก็เข้ามาตาม จีนอยากจะถ่วงดุลกับสหรัฐฯ ก็เข้ามาบริหารความสัมพันธ์ดู แต่ในมิติของการค้าชายแดน ในมิติของการลงทุน การท่องเที่ยวต่างๆ เนี่ย อิทธิพลจีนน่าจะมีอยู่สูงกว่าอย่างชัดเจน เราก็ต้องโยกเข้าหาจีนไปโดยปริยาย แต่เราก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะปิดโอกาสนี้สำหรับสหรัฐอเมริกาหรือประเทศอื่นๆ เพราะฉะนั้นผมคิดว่า ความเป็นกลางแบบยืดหยุ่น แบบสร้างสรรค์น่าจะเหมาะสมกับไทยนะครับ”

“แล้วอีกเรื่องหนึ่งก็คิดว่า ประเทศไทยน่าจะเสริมสร้างแกนนอก เสริมสร้างแกนนอกก็คือ ให้เราไปมองดูพื้นที่นอกประเทศไทยว่า ส่วนไหนจะเป็นอิทธิพล เขตไหนเป็นอิทธิพลของเรา เหนือ, ใต้, ออก, ตก อย่างนี้ เช่น พื้นที่รัฐฉานของพม่า พื้นที่บรรจบทางทะเลระหว่าง ไทย, พม่า, อินเดีย, อินโดนีเซีย อะไรอย่างนี้เป็นต้น เป็นพื้นที่ที่เราจะต้องทำ Power Projection นะครับ ทำการสำแดงอำนาจ หรือเพิ่มปฏิบัติการทางเศรษฐกิจหรือมิติต่าง ๆ ให้มากขึ้น” 

อย่างไรก็ตาม ศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่ยุคแห่งสงครามเย็น แต่เป็นยุคสงครามร้อนที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ทั่วโลก พร้อมกันนั้น ประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบมากมายต่อการขับเคี่ยวกันทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจ ดังนั้นงานสัมมนาครั้งนี้จึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถสร้างจุดยืนที่เป็นประโยชน์ท่ามกลางความร้อนระอุของโลกยุคนี้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top