Monday, 1 July 2024
มหาวิทยาลัยมหิดล

ม.มหิดล จับมือ อินโนบิก ผลิตซอสจากผัก ทานพอเหมาะ ลดเสี่ยงรับสารก่อมะเร็ง

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ อินโนบิก ผลิตและจำหน่ายซอสจากผัก ภายใต้โครงการวิจัย ‘ซอสซ่อนผัก’ นวัตกรรมทางเลือกเพื่อสุขภาพ

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ร่วมลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย ‘ซอสซ่อนผัก’ และ ‘ซอสซ่อนผักสูตรเด็ก’ นวัตกรรมคิดค้นและพัฒนาโดยนักวิจัย สถาบันโภชนาการ อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามิน, แร่ธาตุ เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ และใยอาหาร เป็นทางเลือกให้กับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการบดเคี้ยว และเด็ก ๆ ที่อาจไม่ชอบรับประทานผักได้มีสารอาหารที่เพียงพอ รวมถึงยังเป็นทางเลือกสำหรับคนรักสุขภาพอีกด้วย 

สำหรับงานวิจัย ‘ซอสซ่อนผัก’ นั้น ได้รับการยอมรับโดยได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการในต่างประเทศ จากผลการทดสอบในกลุ่มผู้นิยมบริโภคอาหารปิ้งย่าง เพื่อศึกษาการกำจัดสารก่อมะเร็งออกจากร่างกาย ที่มักปนมากับส่วนที่ไหม้เกรียมจากการปิ้งย่าง พบว่าการรับประทานซอสซ่อนผักในปริมาณพอเหมาะ จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการได้รับสารก่อมะเร็งได้อีกด้วย

ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด เปิดเผยว่า อินโนบิก (เอเซีย) ดำเนินธุรกิจโภชนาการทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วย และโภชนเภสัช โดยมุ่งเน้นการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ร่วมกับพันธมิตรและผู้เชี่ยวชาญ เพื่อส่งเสริมดูแลสุขภาพของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม ให้มีโภชนาการที่ดีและป้องกันโรคต่างๆ  ที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการบริโภคตามวิถีชีวิตสมัยใหม่ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อร่างกายในอนาคต 

ทั้งนี้ เรื่องโภชนาการถือเป็นสาเหตุหลักของความมั่นคงทางด้านสุขภาพและอาหารที่อินโนบิกให้ความสำคัญ การร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญที่มีศักยภาพด้านการวิจัยอย่าง สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลครั้งนี้ เป็นการต่อยอดนวัตกรรมงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ สู่การสร้างผลิตภัณฑ์ของคนไทย โดยมีแผนการผลิตซอสสูตรต้นตำรับและสูตรสำหรับเด็กที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย นำร่องจำหน่ายผลิตภัณฑ์บรรจุในรูปแบบซอง ตั้งเป้าออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 เพื่อเพิ่มทางเลือกการทานอาหารให้กับคนไทยทุกวัย ให้ได้รับประโยชน์ ถูกปาก และสะดวกต่อการรับประทาน อีกทั้งวัตถุดิบในการผลิตซอสซ่อนผักนั้น ยังเป็นผลผลิตจากเกษตรกรไทย ถือเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศไทย

‘จรีพร-WHA’ ปลื้ม!! คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ชูศิษย์เก่าดีเด่นประจำปี 66 ยก!! ‘วิทยาศาสตร์’ คือพื้นฐานสำคัญ สร้างสรรค์ธุรกิจเติบโตยั่งยืน

นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น หรือ ‘WHA Group’ โพสต์ขอบคุณมหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า…

“ขอกราบขอบพระคุณคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้มอบรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น คณะวิทยาสตร์ประจำปี 2566

ในชีวิตการทำงานกว่า 36 ปี ถึงจะไม่ได้ทำงานด้านวิชาการเหมือนที่เรียนมา ด้วยมาโลดแล่นในโลกของธุรกิจที่ไม่คุ้นเคย และไม่มีในตำราเรียน แต่กลับได้ประยุกต์ใช้และต่อยอดในทุกวิชาที่เรียนมาตั้งแต่ละดับปริญญาตรีถึงปริญญาโท

อยากจะบอกว่า…

‘วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานของทุกอย่าง’ ทั้งหลักวิชาการ หลักการคิด หลักการวิเคราะห์ และหลักการวิจัย และตลอดการนำไปประยุกต์ใช้ ได้นำมาประยุกต์ใช้ในด้านธุรกิจ จนทำให้สามารถคิดค้นธุรกิจรูปแบบใหม่ ประยุกต์ใช้ด้านเทคโนโลยี จนสามารถสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ

ดังปรัชญาของมหาวิทยาลัยมหิดล…

“ความสำเร็จที่แท้จริงอยู่ที่การได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อมวลมนุษยชาติ”

‘ดุริยางคศิลป์ มหิดล’ ติดอันดับ 35 มหาลัยดนตรีโลก ชี้!! ไทยมี ระบบการศึกษาดนตรีที่เข้มแข็ง แซง ‘สิงคโปร์-มาเลเซีย’

(11 พ.ค.67) น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้กระทรวง อว. ได้รับการจัดอันดับที่ 35 ในสาขาดนตรี ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย QS Top Universities Ranking ประจำปี 2567 การจัดอันดับด้านดนตรีนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ครั้งนี้ถือเป็นการจัดอันดับครั้งแรก โดยวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ของไทยนับมีความโดดเด่นในการจัดอันดับสูงหลายๆ มหาวิทยาลัยในเอเชีย เช่น National University of Singapore ที่ได้อันดับที่ 38 และ University of Malaya, Malaysia ที่ได้อันดับที่ 95

รมว.อว.กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา ตนมีนโยบายที่สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพของมหาวิทยาลัยไทยที่มีความเป็นเลิศในแต่ละด้านที่แตกต่างกันมาโดยตลอด เพื่อสร้างคนที่มีคุณภาพทุกๆ ด้านให้กับประเทศ ซึ่งผลลัพธ์นี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นและความทุ่มเทในการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนทางดนตรีทั้งในและต่างประเทศ นอกเหนือจากความทุ่มเทของคณาจารย์ พนักงาน นักศึกษา และศิษย์เก่า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด ซึ่งมีผลงานที่เคยเป็นที่ประจักษ์มาแล้วเมื่อวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ได้รับการจัดอันดับที่ 47 ในสาขา Performing Arts ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย QS Top Universities Ranking ประจำปี 2565 ซึ่งยังไม่มีมหาวิทยาลัยด้านดนตรีของไทยที่ขึ้นอันดับใน Top 50 ได้จนถึงปัจจุบัน

“ปีนี้วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้เกิดความเชื่อมั่นในระบบการศึกษาดนตรี และสร้างความภูมิใจให้กับคนไทยทั้งประเทศ โดยการได้รับการจัดอันดับที่ 35 ของโลก เป็นสิ่งที่สร้างความเชื่อมั่นในวงการศึกษาดนตรีโลก ว่าประเทศไทยมีระบบการศึกษาดนตรีที่เข้มแข็ง และช่วยส่งเสริม ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศในด้าน Soft Power ในอนาคตอีกด้วย” น.ส.ศุภมาส กล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top