Tuesday, 22 April 2025
ฟุตบอลประเพณี

อดีตทูต แนะ!! อยากเท่าเทียม ควรเบรก ‘บอลประเพณี’ แล้วปรับแนวคิดไปร่วมทำกิจกรรมรับใช้สังคมแทน

ไม่นานมานี้ ‘นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล’ อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ได้โพสต์ข้อความถึงประเด็นดราม่าเกี่ยวกับยกเลิกพิธีอัญเชิญพระเกี้ยว ว่า...

เอางี้มั้ยครับ ถ้าอยากเน้นความเท่าเทียมกันในสังคม ด้วยการยกเลิกพิธีอัญเชิญพระเกี้ยว ผมว่าเรามองไปที่ต้นตอเลยดีกว่า นั่นคือ เลิกจัดการแข่งขันฟุตบอลประเพณี จุฬา - มธ. ไปเลยละกัน นี่พยายามช่วยน้องๆ คิดนะครับ 

เพราะอะไร จะสรุปเป็นข้อๆ ละกัน 

1.) การแข่งขันฟุตบอลแต่ละปี เน้นเอาชนะ สร้างอัตตาว่า สถาบันของฉันเก่งกว่าของแก เวลาใครชนะ ใครแพ้ ก็ก่อให้เกิดอารมณ์ ทั้งสะใจ ทั้งประชดประชัน ทั้งเคือง ทั้งน้อยใจ บางทีก็เกิดปะทะกันในระหว่างเล่น บางทีอาจสร้างความแตกแยกแบ่งเขาแบ่งเราเกทับกันมากกว่าสร้างสามัคคีด้วยซ้ำ ยิ่งการแข่งขันในยุคปัจจุบันเน้นเอาชนะมากกว่าทุกสิ่ง ถึงขนาดดึงเอานักเล่นทีมชาติมาสังกัดสถาบันของตัวเอง แทนที่จะใช้ นิสิต นศ. จริงๆ เล่น 

2.) ประหยัดไม่ต้องมาทำเสื้อเชียร์ขาย ไม่ต้องตัดชุดแพงๆ เน้นแฟชั่นทุนนิยมให้บรรดาเชียร์ลีดเดอร์ ไม่ต้องขนคนให้มานั่งตากแดดแปรอักษร 

3.) จะได้ไม่ต้องมีขบวนล้อการเมืองที่มองอะไรแบบเอียงข้าง ด้วยมิติแบนๆ ด่าอีกฝ่าย แต่ไม่แตะอีกฝ่าย ทั้งๆ ที่ทำระยำพอกัน หรือมากกว่า

'สันติ' จี้ ผู้บริหารจุฬาฯ แสดงจุดยืนให้ชัด ปมเลิกอัญเชิญพระเกี้ยว งานบอลประเพณี

นายสันติ กีระนันทน์ อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โพสต์เพจเฟซบุ๊ก ระบุข้อความว่า ข่าวที่เกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในช่วงนี้ ที่ทำให้นิสิตเก่าเกิดความไม่พอใจอย่างมากในขณะนี้ ก็คือ ข่าวที่ผม copy มาจาก BBC NEWS ดังต่อไปนี้ครับ

คณะกรรมการบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯ ยังระบุด้วยว่า กิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว "เป็นกิจกรรมที่ล้าหลังอันขัดต่อคุณค่าสากลอย่างประชาธิปไตย ความเท่าเทียม และสิทธิมนุษยชน" ดังนั้น จากมติในวาระการประชุมสามัญครั้งที่ 1/2564 ของคณะกรรมการบริหารฯ มีมติ 29 : 0 เสียง เห็นควรให้มีการยกเลิกกิจกรรมการคัดเลือกผู้อัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ โดยระบุเหตุผล "เพื่อยุติการผลิตซ้ำธรรมเนียมปฏิบัติที่สะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมมิให้คงอยู่ในสถาบันการศึกษาอีกต่อไป"

"ไม่สูญสิ้นอะไรหรอก กิจกรรมนี้พึ่งมีมาไม่กี่ปีนี่เอง และก็แค่หมดสมัยไปแล้วเท่านั้น" นายกองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ระบุบนเฟซบุ๊กของเขา

ความเห็นส่วนตัวของผมนั้น ไม่อยากจะถกเถียงกับนิสิตปัจจุบัน (ซึ่งก็คงไม่ได้นับเป็นพี่น้องกันแล้ว ในยุคสมัยนี้)

นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ออกโรงโต้ ม.ธรรมศาสตร์ หลังโดนกล่าวหา ‘ต้นเหตุ’ ทำบอลประเพณี เลื่อน!!

(6 ธ.ค. 66) กลายเป็นดรามาหนักมากในโลกออนไลน์ เมื่อเพจเฟซบุ๊ก ‘ชุมนุมเชียร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’ โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุว่า... 

‘งานบอล 75 ถูกเลื่อนไม่มีกำหนด เหตุสมาคมศิษย์เก่าจุฬาฯ ไม่พร้อมจัดงาน’

ตามที่ชุมนุมเชียร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และองค์การบริหารสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการประชาสัมพันธ์เรื่องการกลับมาจัดการแข่งขันงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 ในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ในวันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมานั้น

เนื่องจากสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฯ ได้มีหนังสือแจ้งขอให้ทางสมาคมธรรมศาสตร์ฯ ซึ่งเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 75 พิจารณาเลื่อนการแข่งขันงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 75 ออกไปก่อน โดยให้มีการหารือร่วมกันเพื่อกำหนดวันที่เหมาะสมในการจัดการแข่งขันงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 75 อีกครั้งหนึ่ง ทำให้ได้ข้อสรุปว่างานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 คาดว่าจะไม่ถูกจัดภายในปีการศึกษา 2566

ชุมนุมเชียร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และองค์การบริหารสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนิสิตนักศึกษาผู้ได้รับมอบหมายให้จัดงานฟุตบอลประเพณีฯ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เข้าใจดีว่า งานฟุตบอลประเพณีฯ เป็นกิจกรรมที่ได้รับความสนใจและติดตามจากประชาคมชาวธรรมศาสตร์ ประชาคมชาวจุฬาฯ และผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน แต่เมื่อมีเหตุดังกล่าวขึ้น ชุมนุมเชียร์ฯ และองค์การบริหารสโมสรนิสิตฯ จึงมีความจำเป็นต้องเรียนแจ้งให้ทุกท่านทราบว่า การแข่งขันงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 จะไม่ถูกจัดขึ้นภายในปีการศึกษา 2566

ทั้งนี้ ชุมนุมเชียร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และองค์การบริหารสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้องขออภัยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านในความไม่สะดวกนี้ และหวังว่าในอนาคต กิจกรรมงานฟุตบอลประเพณีฯ จะได้รับการสนับสนุนจากทุกท่านดังเช่นที่ผ่านมา จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

ล่าสุด น.ส.อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า…

เห็นมีข่าว ประกาศที่ออกโดยชุมนุมเชียร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่างานบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 ถูกเลื่อนออกไป เพราะสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ขอเลื่อน

ขอให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับสังคม งานบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ เป็นงานที่จัดโดยสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) และ สมาคมธรรมศาตร์ฯ (สมธ.) โดยปกติจะจัดปลายเดือน ม.ค.- ต้น ก.พ.

การแข่งขันครั้งที่ 75 นี้ ทาง สมธ.เป็นเจ้าภาพจัดงาน ซึ่ง สมธ. แจ้งเลื่อนการจัดงานมาตั้งแต่ปี 2564 – 2566 และเมื่อเดือนตุลาคมนี้ ก็ยังแจ้งโดยวาจาว่าจะไม่จัดงานในต้นปี 2567

แต่ทาง สมธ. มีจดหมายลงวันที่ 15 พ.ย. แจ้ง สนจ. ว่าจะจัดงานในวันที่ 30 มี.ค.67 และขอให้ สนจ. ไปร่วมประชุมและแถลงข่าวการจัดงานในวันที่ 28 พ.ย. คือ บอกล่วงหน้าแค่ 10 วัน ไม่มีการหารืออะไรกันก่อนเลย

ทาง สนจ. จึงได้ประชุมและสรุปว่าหากจัดงานบอลประเพณี วันที่ 30 มี.ค. 67 จะชนกับงานประจำปีของ สนจ. คืองานวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 26 มี.ค. จึงตอบว่าไม่พร้อมร่วมจัดงาน

แต่คนที่ออกมาออกประกาศในสื่อ Social Media กลับกลายเป็น ชุมนุมเชียร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งไม่ใช่ผู้รับผิดชอบในการจัดงานบอลประเพณี และเขียนเหมือนกับ สนจ. เป็นต้นเหตุที่ทำให้งานเลื่อนออกไป อยากให้ สมธ. ออกมาชี้แจงให้ชัดเจน ทำไม พูดกลับไปกลับมา ทำไมแจ้ง สนจ. กะทันหัน อย่าให้น้อง ๆ ออกมาวุ่นวายเลย

หากนิสิต นักศึกษาทั้งสองสถาบัน อยากจะจัดเตะบอลเชื่อมความสัมพันธ์กัน ก็ทำได้ ไม่ต้องใช้ชื่อ งานบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 หรอก (แต่อาจหาสปอนเซอร์ได้ไม่มาก)

จัดยิ่งใหญ่! สถาบันพระปกเกล้า-วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เปิดสนามศุภชลาศัย เตรียมระเบิดศึก ฟุตบอลประเพณี “รักเมืองไทย” ครั้งที่ 2

เมื่อวานนี้ (14 ส.ค.67) ที่ โรงแรม Siam At Siam Hotel รศ.ดร.อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ รองเลขาธิการ ในฐานะ (ผู้แทนเลขาธิการ) สถาบันพระปกเกล้า พล.ท.ทักษิณ สิริสิงห ผู้อำนวยการ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร คุณอรรถพล เสื้อคำรณ ประธานจัดงาน ปปร.27 พล.ท.ฐิตวัชร์ เสถียรทิพย์ อดีตประธานรุ่น และประธานที่ปรึกษา วปอ.66 คุณวิกร ภูวพัชร์ ประธานจัดงาน วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พ.ต.อ.อาภากร โกมลสุทธิ หัวหน้าทีมฟุตบอล สถาบันพระปกเกล้า และ พลเรือตรี วิชาญ วันทนี่ยกุล หัวหน้าทีมฟุตบอล วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ร่วมแถลงข่าวการแข่งขันฟุตบอลประเพณี "รักเมืองไทย" ครั้งที่ 2 โดย สถาบันพระปกเกล้า และ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

รศ.ดร.อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ รองเลขาฯ สถาบันพระปกเกล้า เปิดเผยว่า กิจกรรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อ และสร้างจิตสำนึกให้สังคมเห็นถึงความปรองดองสมานฉันท์ นำพาประเทศ ก้าวข้ามความขัดแย้งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ เนื่องจากทั้ง 2 สถาบัน เป็นสถาบันหลักของประเทศที่ให้ความรู้ และผลิตบุคลากรของชาติ ระดับคุณภาพอย่างมากมาย ซึ่งการแข่งขัน ยึดรูปแบบฟุตบอลประเพณี "จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์" ที่โด่งดังมาช้านาน เป็นโมเดล

ด้าน พล.ท.ทักษิณ สิริสิงห ผู้อำนวยการ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
เปิดเผยว่า การแข่งขันฟุตบอลประเพณี “รักเมืองไทย” ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นจากความสำเร็จจากกิจกรรมครั้งที่ 1 เป็นการสร้างโอกาสให้นักศึกษาในอดีตและปัจจุบันของทั้งสองสถาบัน ได้พบปะและสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น พร้อมเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านประชาธิปไตยและความปรองดองในสังคม ผ่านกีฬาฟุตบอลเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ 

งานนี้เป็นความร่วมมือจากนักศึกษาทั้ง 2 สถาบัน โดยเฉพาะ นักศึกษาหลักสูตร ปปร. รุ่น 27 และ วปอ. รุ่น 66 ที่เป็นเหมือนเจ้าภาพและแกนหลักการจัดงาน รวมถึงพลังความร่วมมือจากนักศึกษาหลักสูตรต่างๆจากสองสถาบัน อาทิ สสสส. ปรม. ปศส. ปนป. SML วปอ.บอ.

ทางด้าน คุณวิกร ภูวพัชร์ ประธานจัดงาน วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เปิดเผยว่า การแข่งขันฟตบอลประเพณี "รักเมืองไทย" ครั้งที่ 1 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2566 ณ สนามศุภชลาศัย กรีทาสถานแห่งชาติ แข่งขันกัน 2 ประเภท คือ Junior กับ Senior ในครั้งนี้มีการแข่งขันประเภท Young เพิ่มเข้ามา เพื่อผลักดันคนรุ่นใหม่ ที่มีความสามารถในทางกีฬา และเพื่อสืบสานเจตนารมณ์ของรุ่นก่อน สืบไปในอนาคต

คุณอรรถพล เสื้อคำรณ ประธานจัดงาน ปปร.27 เปิดเผยว่า ฟุตบอลประเพณี "รักเมืองไทย" ครั้งที่ 2 เริ่มแข่งขันวันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ.2567 ณ สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ เริ่มตั้งแต่เวลา 15:30 น. จะมีการแข่งขันฟุตบอลคู่แรก ประเภท Young และการแข่งขันฟุตบอลคู่ที่ 2 ประเภท Junior ในเวลา 16.45 น. และจะทำพิธีเปิดการแข่งขันพร้อมการแสดงขบวนพาเหรดของศิษย์ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร - สถาบันพระปกเกล้า และการแสดงมินิคอนเสิร์ตจากศิลปิน ก่อนจะมีการแข่งขันฟุตบอลคู่ที่สาม ประเภท Senior ในเวลา 19.00 น และพิธีมอบรางวัล ในเวลา 20.35 น.

‘เนติวิทย์’ โอด!! ไม่รู้ว่าควรขำหรือเศร้า วัฒนธรรมการลงโทษในจุฬาฯ ที่ยังคงอยู่

(12 ก.พ. 68) จากกรณี คณะกรรมการจัดงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ – จุฬาฯ ครั้งที่ 75 ได้ประชุมร่วมกันทั้งธรรมศาสตร์และจุฬาฯ เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดงาน ที่สมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยครั้งนี้สมาคมธรรมศาสตร์ฯ เป็นเจ้าภาพ ซึ่งการแข่งขันจะมีขึ้นในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 ณ สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ ทั้งนี้ นับเป็นการจัดการแข่งขันฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งแรกในรอบ 5 ปี หลังจากห่างหายไปตั้งแต่ปี 2563 และกิจกรรที่เป็นไฮไลท์อย่างหนึ่งของงานครั้งนี้คือเชียร์ลีดเดอร์ ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมที่สร้างสีสันให้กับงานบอลประเพณีมาตลอด

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 6 ก.พ. นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล อดีตนายกสโมสรนิสิตจุฬา ออกมาโพสต์ข้อความ สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการฝึกซ้อมของหลีดและคฑากรจุฬาฯที่ยังคงมีการลงโทษที่ไม่เหมาะสมและระบบอาวุโสที่ควรจะหมดไปได้แล้ว พร้อมวอนไปถึงผู้บริหารของมหาวิทยาลัยควรเข้ามาจัดการและเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี โดยเจ้าตัวได้ระบุข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ‘Netiwit Chotiphatphaisal’ ว่า

"ไม่รู้ว่าควรขำหรือเศร้า ช่วงนี้เดินไปศาลเจ้าแม่ฯ บ่อยๆ ลัดหน้าจาม9 ไปทะลุออกประตูตลาดสามย่าน ก็จะเห็นพวกคฑากรและหลีดซ้อมอยู่ตรงหนัาจาม9 ตลอด วันนึงน้องที่เดินไปด้วยชวนหยุดยืนดูเขาซ้อม เราก็คิดว่าคงไม่มีอะไร สักพักรุ่นพี่ก็สั่งรุ่นน้องวิดพื้น หรือกระโดด เพราะทำคฑาตก ไม่น่าเชื่อว่ามีคนกำลังยืนอยู่และพื้นที่สาธารณะด้วย เขาก็กล้าทำโทษรุ่นน้อง เลยเอากล้องขึ้นมาถ่ายคลิปเป็นหลักฐาน พวกเขาเห็นคนถ่ายคลิป (โดยเฉพาะจากตัวร้ายอย่างผม) แทนที่จะหยุดก็ยังคงใส่ทำโทษท่าทางต่างๆต่อไป เหมือนจะโชว์ให้เราเห็นด้วยซ้ำ

อีกวันนึงก็เจอพวกรุ่นพี่สั่งหลีดจุฬาฯวิ่งรอบสนามจุ๊บ 3 รอบ ท่ามกลางคนมากมาย นี่มันเป็นเรื่องปกติไปแล้วหรือไง ก็เลยเดินเข้าไปถามพวกรุ่นพี่ คิดว่าพวกนี้มันต้องเด็กกว่าเราแน่ ก็เราเรียนถึง 8ปีเลยนี่ ผมบอกเขาว่าผมรหัส 59 น่ะ คุณรหัสอะไร รุ่นพี่ตอบกลับว่าผมรหัส 52 (คือเข้าจุฬาฯปี 2552) แค่นั้นผมก็อึ้งไปเลย ไม่ใช่ว่ากลัวอาวุโสอะไร แต่โอ้โหคิดเล่นๆน่ะ ยังมีคนเป็นบ้ากับมหาลัยได้มากกว่าผมอีกหรือ แหม คนก็มาด่าแต่เราเป็นมาเฟียสามย่าน หรือ เสี้ยนหนามของจุฬาฯก็ไม่รู้ (น่าให้รางวัลเชิดชูเกียรติพวกนี้จริงๆ) และอีกความคิดนึงที่ซีเรียสก็คือ ทำไมนิสิตรุ่นใหม่ถึงสยบยอมกับรุ่นพี่พวกนี้ได้ขนาดนี้ โอ้ บางคนเรียนคณะรัฐศาสตร์ด้วย โอ้ ระบบการศึกษาสิบกว่าปีที่ผ่านมา โอ้ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยสอนอะไร โอ้ human agency โอ้ human dignity นิสิตไม่ตั้งคำถามกับพวกเขาเลยหรือไงที่สั่งวิ่งสั่งลุกนั่ง จนหลายๆคนหอบกินก็ยังทำตามคำสั่งต่อไป

กลับมาอีกประเด็นเชิงเทคนิคหน่อยก็คือ หลีดจุฬาฯ คฑากร มันจะโทษรุ่นพี่พวกนี้ไปเสียทีเดียวก็ไม่ได้ เพราะระบบมันเลิกไปแล้ว 3-4 ปี และระบบมันฟังก์ชั่นนี้อยู่แล้วที่จะต้องทำตามคำสั่งอย่างเสียมิได้ เลยถูกกดดันให้ยกเลิกไปดีกว่าจะมาปรับปรุงที่ไม่มีทางเปลี่ยนได้จริงๆ

ที่มันกลับมาก็เพราะผู้บริหารจุฬาฯชุดปัจจุบันอยากให้มี (แบรนดิ้งไงล่ะ หลีดคฑากรคือแบรนด์ที่มหาลัยอยากให้สังคมรับรู้ ไม่ใช่คนอย่างพิรงรองหรือนักวิชาการเก่งๆ) ไม่งั้นมันจะซ้อมแบบนี้ได้หรือ ถ้าผมหรือใครไปขอซ้อมทำม๊อบประท้วง รปภ ไม่มาจับตาดูทุกวินาทีแล้วหรือ รวมถึงอาจไม่ให้พื้นที่ด้วย มันจะระดมรุ่นพี่กลับมาได้ยังไงถ้าไม่ถูกขอร้อง และผู้บริหารมหาลัยก็มีส่วนร่วมคัดตัวหลีดและคฑากรด้วยนี่ ผู้บริหารบางคนยิ้มแกล้มปรี่้เลยว่านี่คือการรื้อฟื้นสิ่งสำคัญที่หายไปกลับมา ดังนั้น ผู้บริหารนี่แหละที่เปิดพื้นที่อยากให้พวกนี้กลับมา และต้องรับผิดชอบด้วย

สุดท้าย ไม่อยากให้ใครสิ้นหวัง มันไม่มีอะไรเลย! ระบบมันยกเลิกไม่ยากเลย ผู้บริหารจุฬาฯบอกให้ยกเลิกได้ ออกมาพูดได้เลย อย่าลอยตัว พูดได้ไม่เอาแบบนี้แล้วในงานบอล นิสิตจุฬาฯทุกคนก็ช่วยกันผลักดันได้ เห็นลงโทษแบบนี่ก็ร้องเรียน ออกมาพูดเลย องค์กรนิสิตต่างๆก็กดดันอย่างต่อเนื่อง ไม่ให้พื้นที่ในสื่อ/หรือไปร่วมคัดเลือก อาจารย์ก็บอกนิสิตให้ตั้งคำถามในห้องเรียน - ผมไม่เชื่อว่ามันยากจะเปลี่ยนจะเลิก- เพราะมันเคยยกเลิกไปแล้วด้วย - ถ้าเราไม่ทำให้มันเป็นเรื่องธรรมดา normalization ถูกจับตาเฝ้ามองตลอด หลีดคฑากรอันแสนโหดนี่ก็จะเป็นเรื่องอดีตอีกครั้ง"


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top