Friday, 17 May 2024
พุทธทาสภิกขุ

ปัญญาเปรียบเหมือนกับความคม สมาธิเปรียบเหมือนกับน้ำหนักหรือกำลัง ถ้ามีแต่ความคม ไม่มีกำลังหรือน้ำหนัก มันก็ตัดอะไรไม่เข้า

ปัญญาเปรียบเหมือนกับความคม 
สมาธิเปรียบเหมือนกับน้ำหนักหรือกำลัง 

ถ้ามีแต่ความคม ไม่มีกำลังหรือน้ำหนัก 
มันก็ตัดอะไรไม่เข้า

- พุทธทาสภิกขุ - 

ปลา...ไม่เคยหลับตา แต่ก็ยังติดเบ็ด ดังนั้น...ตาอย่างเดียวไม่พอ มันต้องมี...‘ปัญญา’ ด้วย

ปลา...ไม่เคยหลับตา แต่ก็ยังติดเบ็ด
ดังนั้น...ตาอย่างเดียวไม่พอ
มันต้องมี...‘ปัญญา’ ด้วย

- พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) - 

8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ท่านพุทธทาสภิกขุ มรณภาพ ผู้ที่ยูเนสโก ยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก

ครบรอบ 30 ปี ท่านพุทธทาสภิกขุ (2449-2536) มรณภาพอย่างสงบที่สวนโมกขพลาราม วัดธารน้ำไหล อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม ท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ท่านได้ตัดสินใจมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านพร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด

ท่านพุทธทาสภิกขุได้บวชเรียนตามประเพณี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2469 ที่โรงอุโบสถวัดอุบล หรือวัดนอก ก่อนจะย้ายมาประจำอยู่ที่วัดพุมเรียง มีพระอุปัชฌาย์คือ พระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมาโล) รองเจ้าคณะเมืองในสมัยนั้น และมีพระปลัดทุ่ม อินทโชโต เจ้าอาวาสวัดอุบล และ พระครูศักดิ์ ธมฺรกฺขิตฺโต เจ้าอาวาสวัดวินัย หรือวัดหัวคู เป็นพระคู่สวด ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับฉายาว่า อินทปญฺโญ ซึ่งแปลว่าผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่

ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และยังมีผลงานอื่น ๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ต่อชนรุ่นหลังในการศึกษาศาสนาพุทธเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ท่านยังเป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สิริรวมอายุ 87 ปี 67 พรรษา

หลังจากท่าพุทธทาสภิกขุมรณภาพไปแล้ว ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2548 องค์การยูเนสโก ประกาศยกย่องให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านส่งเสริมขันติธรรม สันติธรรม วัฒนธรรม ความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีของมวลมนุษย์

ธรรมะประจำวันวันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม 2566

‘คนฉลาด’
ไม่ใช่แค่ ‘ฉลาดพูด’ เท่านั้น
ต้องรู้จัก ‘นิ่งอย่างมีสติ’ ให้เป็นด้วย
ต้องรู้ใน ‘สิ่งที่ไม่ควรพูด’
ให้มากยิ่งกว่า ‘สิ่งที่ควรพูด’

-พุทธทาสภิกขุ-

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2567

การทำงานเพื่อเงินนั้น 
ต้องรอจนกว่าจะได้เงินเสียก่อน จึงจะรู้สึกพอใจ 
ถ้าทำงานเพื่องาน 
พอลงมือทำก็พอใจแล้ว และเป็นสุขทันที 
ส่วนเงินนั้น ก็ไม่ไปไหนเสีย

-พุทธทาสภิกขุ-

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2567

เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 67 ที่ผ่านมา เป็นวันคล้ายวันมรณภาพของ ‘หลวงปู่วัง ฐิติสาโร’ รำลึก 71 ปี อาจาริยบูชาคุณ ‘พระโพธิสัตว์แห่งภูลังกา’ 

‘หลวงปู่วัง’ ท่านเป็นพระธุดงคกรรมฐานที่ช่ำชองการอยู่ป่าเป็นวัตร ออกแสวงหาความวิเวก อยู่ในพื้นที่กันดารไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึงต่อภยันตราย ไข้ป่า สัตว์ป่า ผีร้าย หรือแม้แต่ความอดอยาก ท่านปฏิบัติธรรมอย่างอุกฤษฏ์ อยู่รุกขมูลตามป่าทึบดงหนา เงื้อมผา และโถงถ้ำ ทั่วทั้งอาณาเขตดงสีชมพู ทั้งที่ภูวัว ภูสิงห์ และภูลังกา 

‘หลวงปู่วัง’ ท่านเป็นศิษย์ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และยังได้เคยไปศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลายครั้งหลายคราว อีกทั้งยังถือว่าเป็นศิษย์รุ่นแรกของหลวงปู่ฝั้น อาจาโรและหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ อีกด้วย 

หลวงปู่วัง ท่านปรารถนาพุทธภูมิเพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แม้หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ผู้เป็นพระอาจารย์เคยเตือนว่า การปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้านั้นต้องใช้เวลาสร้างบารมีมาหลายกัป หลายภพหลายชาติ มันเนิ่นช้าต้องเวียนว่ายในสังสารวัฏอีกยาวไกล แต่หลวงปู่วัง ก็ได้กราบเรียนท่านหลวงปู่ว่ามีความมุ่งมั่นรักในพุทธภูมินี้มาก แม้จะมีผู้มีอำนาจมาบังคับว่าถ้าไม่ยอมถอนจากความปรารถนานี้ จะฆ่าให้ตาย ก็ไม่ยอมถอน แม้จะฆ่าให้ตายก็ยอม เมื่อเป็นอย่างนั้นท่านหลวงปู่เสาร์ก็พลอยอนุโมทนาด้วย และบอกว่าขอให้ตั้งใจต่อไป 

ที่ถ้ำชัยมงคล ธรรมสถานหลวงปู่วังที่ภูลังกา จึงพบเห็นพระพุทธรูปฝีมือการปั้นโดยหลวงปู่วัง อยู่หลายองค์ด้วยกัน หลวงปู่วัง ท่านมักพบเห็นสิ่งอัศจรรย์เหนือโลก และเป็นที่รักใคร่ของเทวดา บังบด พญานาค และฤาษีผู้บำเพ็ญตบะอยู่ตามป่าเขา จนท่านได้รับสมญานามว่าเป็น ‘เทพเจ้าแห่งภูลังกา’

หลวงปู่วัง ท่านละสังขารลงเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2496 ซึ่งก่อนมรณภาพ ท่านได้พูดกับศิษย์เบา ๆ ด้วยน้ำเสียงปกติว่า “มันจะตายก็ให้มันตายไป” แล้วก็ไม่พูดอะไรอีก 

จากนั้นประมาณหนึ่งชั่วโมง ท่านก็ได้มรณภาพไปด้วยอาการอันสงบ เมื่อเวลา 20.18 น. ลูกศิษย์หลวงปู่วัง ที่เป็นที่รู้จักในวงศ์พระกัมมัฏฐาน ได้แก่ หลวงปู่วัน อุตฺตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร, หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร และ หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม วัดศรีวิชัย จ.นครพนม

บรรณานุกรมอ้างอิง​ : คัดลอกจากหนังสือชีวประวัติหลวงปู่คำพันธ์ จนฺทูปโม วัดศรีวิชัย บ้านศรีเวินชัย ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม​

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2567

‘พระธรรมโกศาจารย์’ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) หรือที่รู้จักในนามท่านพุทธทาสภิกขุ หรือพระอาจารย์พุทธทาสได้ละสังขาร กลับคืนสู่ธรรมชาติอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลารามสิริ จ.สุราษฎร์ธานี รวมอายุ 87 ปี เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2536 

นับจากวันนั้นถึงวันนี้ ผ่านมาแล้วมากว่า 30 ปี แม้ท่านจะละสังขารไปนานแล้ว แต่คำสอนทางธรรมที่ถูกบันทึกไว้มากมาย เช่น คู่มือมนุษย์, แก่นพุทธศาสน์, พระพุทธเจ้าสอนอะไร, อิทัปปัจจยตา ฯลฯ ก็ไม่หายไปไหน ยังมีคนในโลกใบนี้ใช้เป็นแนวทางปฎิบัติเพื่อดำเนินชีวิตให้พ้นทุกข์ หนึ่งในคำสอนของท่านที่น่าประทับใจได้แก่ “การเรียนธรรมะ คือ การเรียนให้รู้ว่า ไม่มี ‘ตัวกู’ มีแต่ธรรมชาติ ธรรมชาตินี้จะไหลเรื่อย เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป”

นอกจากนี้ในปี 2548 ยูเนสโกได้ประกาศยกย่องให้ ‘ท่านพุทธทาสภิกขุ’ เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้วย

27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 วันคล้ายวันเกิด ‘ท่านพุทธทาสภิกขุ' บุคคลสำคัญของโลก อุทิศตนเพื่อการเผยแพร่แก่นพระธรรมที่มีความร่วมสมัย

‘พระธรรมโกศาจารย์’ มีนามเดิม ‘เงื่อม พานิช’ ฉายา ‘อินทปญฺโญ’ หรือรู้จักในนาม ‘พุทธทาสภิกขุ’ เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้มาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของศาสนาพุทธได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น ‘พุทธทาส’ เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด

ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และยังมีผลงานอื่น ๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วนซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ต่อชนรุ่นหลังในการศึกษาศาสนาพุทธเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ท่านยังเป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ และท่านมีสหายธรรมคนสำคัญ คือ ปัญญานันทภิกขุ วัดชลประทานรังสฤษฎ์ และท่าน บ.ช. เขมาภิรัตน์

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สิริรวมอายุ 87 ปี 67 พรรษา คงเหลือไว้แต่ผลงานที่ทรงคุณค่าแทนตัวท่านให้อนุชนคนรุ่นหลังได้สืบสานปณิธานของท่านรับมรดกความเป็น ‘พุทธทาส’ เพื่อพุทธทาสจะได้ไม่ตายไปจากพระพุทธศาสนา

และเมื่อปี 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ในการประชุมสมัยสามัญขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ณ สำนักงานใหญ่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่ประชุมมีมติประกาศยกย่องพระธรรมโกศาจารย์หรือ ‘พุทธทาสภิกขุ’ เป็นบุคคลสำคัญของโลก

เหตุผลที่ยูเนสโกได้ประกาศยกย่อง ‘พุทธทาสภิกขุ’ เป็นบุคคลสำคัญของโลกก็คือ การที่ท่านได้อุทิศตนเพื่อการเผยแพร่แก่นพระธรรมที่มีความร่วมสมัยและประยุกต์ใช้ได้กับระดับสังคมและปัจเจกบุคคล รวมถึงการผสานส่งเสริมความเข้าใจระหว่างศาสนา เพื่อความสันติภาพ ความเป็นธรรมของสังคมและบุคคล


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top