Tuesday, 22 April 2025
พึ่งพาได้

'รัดเกล้า' แชร์มุมมองคนจีนรุ่นใหม่ ผ่านเลนส์ 'ศาสตราจารย์ชื่อดังชาวจีน' ใช้ชีวิตอิสระบนกองมรดก จนไม่สนใจ 'งาน-รายได้' ประจำอีกต่อไป

(16 พ.ค.67) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'เนเน่ รัดเกล้า สุวรรณคีรี' ความว่า...

เนเน่ดิ่งกลับจากเพชรบุรีมาร่วมรับประทานอาหารค่ำและแบ่งปันความรู้กับท่าน Prof. Zhang Weiwei, China Institute, Fudan University ผู้เป็นทั้ง lecturer ชื่อดังของจีน และผู้ให้คำปรึกษา Politburo ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนค่ะ

วันนี้ได้เรียนรู้หลายเรื่องหลายมิติ เราคุยกัน ครอบคลุมถึงเรื่อง เทคโนโลยี AI เรื่องภูมิรัฐศาสตร์ เรื่องเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม ฯลฯ

หนึ่งในคำถามในวงสนทนาที่น่าสนใจคือการถามถึง "ปัญหาการจ้างงานขาดแคลนที่เกิดขึ้นกับคนรุ่นใหม่ทั่วโลก สถานการณ์ในประเทศจีนเป็นเช่นไร"

คำตอบของอาจารย์น่าสนใจมาก...อาจารย์บอกว่า ปัญหาของจีนจะแตกต่างจากชาติอื่น เพราะเจนเนอเรชันใหม่ของจีนจำนวนมาก เกิดมาในครอบครัวที่มีฐานะแล้ว...อันนี้ไม่ใช่ว่าอวดรวยนะ แต่เพราะด้วยวัฒนธรรมของจีน (และก่อนหน้านี้ที่ประเทศจีนมี One Child Policy) ทำให้คนรุ่นใหม่ (ที่โดยส่วนใหญ่เป็นลูกคนเดียว) อยู่ในสถานะมีมรดกตกทอดมาจากพ่อแม่ค่อนข้างเยอะ ยิ่งถ้าแต่งงานกันแล้วและเป็นลูกคนเดียวทั้งคู่ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะจะมีมรดกของทั้งฝั่งชายและฝั่งหญิงมารวมกัน

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนจีนรุ่นใหม่ มีทางเลือกเยอะ มีอิสระทางความคิด มีอิสระที่จะตัดสินใจ หลาย ๆ คนไม่ได้รู้สึกลำบากอะไร กับการไม่มีงานประจำทำ...ปรากฏการณ์นี้ ทำให้จีนมีสังคมรุ่นใหม่ที่เป็นศูนย์รวมของคนที่ไม่มีรายได้ประจำ ซึ่งหากมองในมิติของเสรีภาพทางความคิดแล้วอาจจะถือว่าเป็นเรื่องดี (และแอบน่าอิจฉา) แต่ในที่ทางเดียวกัน สิ่งนี้มีผลกระทบระยะยาวต่อรายได้ของประเทศ เพราะตลาดแรงงานหดลดลงเรื่อย ๆ

'รัดเกล้า' แนะ!! 'ปิยบุตร' ลดความหมกมุ่น-จับผิด 'ลุงตู่' พูดคุย 'นายกฯ-รทสช.' ชี้!! ผู้ใหญ่เขาคุยกันเรื่องประเทศชาติ ไม่ว่างฝักใฝ่ในพรรคการเมือง

(6 ส.ค.67) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

#หมกมุ่น #ฝักใฝ่ในพรรคการเมือง

จากกรณีที่ คุณ #ปิยบุตรแสงกนกกุล ออกมาแสดงความเห็น กรณีการไปร่วมงานศพคุณแม่ของ ท่านนายกเศรษฐา ทวีสิน โดยท่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ตอนนี้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี ซึ่งในระหว่างการเข้าร่วมพิธีนั้น ผู้นำทั้งสองท่านมีพูดคุยทักทายกัน และท่านประยุทธ์เองก็ได้ทักทายหลายคนจากพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) เพราะแต่เดิมเคยสังกัดอยู่ในพรรคดังกล่าวจึงมีความคุ้นเคยกันดี รวมถึงมีการบอกให้คนใน รทสช. ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลว่าให้ช่วยนายกฯ อย่างตั้งใจ เนเน่ขอตอบกลับดังนี้...

1. ตาม #มารยาท ในสังคม การเจอคนที่รู้จักกัน การทักทายกัน ถ้าไม่คุยอะไรกันเลยสิแปลก ซึ่งโดยปกติแล้ว สิ่งที่ผู้ใหญ่ของบ้าน ของเมืองจะคุยกัน ก็ต้องเป็นเรื่องสารทุกข์สุกดิบของประเทศ ซึ่งก็ไม่แปลกอะไร...ถ้าจะมีอะไรที่แปลก ก็คงที่คุณปิยบุตรตีความว่าการทักทายเช่นนี้คือการ "ฝักใฝ่ในพรรคการเมือง" นั่นแหละค่ะที่ #แปลก

2. คล้าย ๆ ข้อแรก...ปฏิเสธไม่ได้ว่าท่านประยุทธ์เคยเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ซึ่งแม้ว่าตอนนี้ #ท่านไม่ใช่สมาชิกแล้ว ท่านไม่ได้ยุ่งเกี่ยวเลยตั้งแต่ท่านเป็นองคมนตรี การทักทายกันและบอกให้ รทสช. ช่วยท่านนายกทำงาน ก็ไม่ได้แปลกอะไร และก็เป็นกลางทางการเมืองด้วยค่ะ จริง ๆ แล้ว ระหว่างเดิน ท่านก็เจอคนอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็น รทสช. ท่านก็พูดเหมือนกัน นัยคือฝากฝังให้ทุกคนดูแลประเทศด้วยบทบาทหน้าที่ของตัวเอง สิ่งนี้ก็ไม่แปลกอะไรนะคะ...ถ้าจะมีอะไรที่แปลก ก็คงที่คุณปิยบุตรตีความว่าการทักทายเช่นนี้คือการ "ฝักใฝ่ในพรรคการเมือง" นั่นแหละค่ะที่ #แปลก

3. ท่านนายกเศรษฐาเพิ่งสูญเสียมารดาไป ซึ่งในระหว่างห้วงเวลาของการสูญเสียนี้ ท่านยังคงปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีให้กับคนไทยอย่างเข้มแข็ง การที่คนระดับองคมนตรีจะร่วมไว้อาลัย ร่วมให้กำลังใจ เป็นสิ่งที่เหมาะสมและเป็น #ไมตรีจิต ที่สวยงามที่สุด ไม่ได้แปลกอะไรเลย...ซึ่งจริงๆ ในระบอบประชาธิปไตยที่เราอยู่นี้ การมีภราดรภาพต่อกัน การเห็นความเป็นพี่น้องกันสำคัญเหนือความแตกต่างทางการเมืองเป็นสิ่งที่ควรจะมี ตัวเนเน่เองก็อยากเห็นคุณปิยบุตรแสดงถึงวุฒิภาวะและเป็นแบบอย่างของการเมืองสร้างสรรค์บ้างนะคะ... คุณใช้โอกาสนี้ในการตีความทางการเมือง มันเหมาะสมแล้วเหรอคะ?

ที่แปลกใจคือ คนที่มีคนจำนวนหนึ่งนับถือเป็น ‘อาจารย์’ อย่างคุณปิยบุตร กลับมี #ตรรกะวิบัติ แยกแยะไม่ออกว่าอะไรคือกาลเทศะ อะไรควรไม่ควรทำค่ะ ก่อนหน้านี้เนเน่ก็มองว่าคุณเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่ง...วันนี้ ทั้งแปลกใจและผิดหวังจริง ๆ ค่ะ

...แต่เอาจริง ๆ พอเห็นอย่างนี้แล้วก็ไม่แปลกใจที่พรรคที่คุณปิยบุตรคอยเห็นด้วยเออออห่อหมกมีตรรกะผิดเพี้ยนเหมือนกัน ที่ผ่านมา ‘สนับสนุนคนฝ่าฝืนกฎหมาย ม.112’ แต่แล้วก็ออกมาระดมกระแสว่า ‘กฎหมายสิผิด ศาลสิผิด คนทำผิดคือคนถูกรังแก’

สุดท้ายนี้ การที่คุณมานั่งจับผิดผู้ใหญ่ทั้ง 2 ท่าน มานั่งอ้างรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 12 ซะยืดยาว คุณทำเพื่ออะไร หากเป็นห่วงท่านประยุทธ์ เกรงว่าท่านจะทำผิดกฎหมาย ก็ขอขอบคุณในความหวังดี แต่คุณเอาเวลาไปให้กำลังใจ ‘พรรคการเมือง’ ที่คุณ ‘ฝักใฝ่’ ที่ตอนนี้อนาคตแขวนอยู่บนเส้นด้าย...จะดีกว่าไหมคะ?

หมายเหตุ: เป็นความเห็นส่วนตัวของเนเน่ไม่เกี่ยวข้องกับ คณะโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติหรือคณะโฆษกรัฐบาลแต่อย่างใด 

‘รัดเกล้า’ โพสต์เฟซ!! โต้กลับ ‘แบงค์ ศุภณัฐ’ ชี้!! เป็น ‘โรคระแวง การสร้างคอนเนคชั่น’

(30 พ.ย. 67) ‘เนเน่’ หรือ นางสาวรัดเกล้า สุวรรณคีรี อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ในฐานะศิษย์เก่าของสถาบันพระปกเกล้า และสถาบัน วปอ. โดยมีใจความว่า ...

#ปปร และ #วปอบอ เป้านิ่ง อคติทางการเมือง

เอาจริงๆ โรคระแวงการสร้างคอนเนคชั่นของกลุ่มนักการเมืองในสังคมไทยนี่นับว่าอยู่ในระดับเรื้อรัง เป็นโรคที่มีมากันยาวนานแล้วนะคะ ซึ่งเอาจริงๆ ก็คงโทษประชาชนไม่ได้ที่จะมีอคติมองว่าการสร้างคอนเนคชั่นเป็นเรื่องไม่ดี มันก็คงเป็นเพราะเขาโดนมาเยอะ เจ็บมาแยะ กับการเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องเพื่อประโยชน์ส่วนตนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ฉะนั้น จริงๆ แล้วเป็นโจทย์ที่นักการเมืองรุ่นใหม่ทุกคน ทุกพรรค ควรรับไว้เป็นการบ้าน คือต้องช่วยกันแก้อคติด้วยการประพฤติดี ใช้คอนเนคชั่นและเครือข่ายที่มีเพื่อส่งเสริมบรรยากาศการทำงานร่วมกัน สร้างการเมืองสร้างสรรค์ สร้างประโยชน์ให้กับประเทศและประชาชน หากทุกคนร่วมกันทำเช่นนี้ ทำไปหลายๆ ปี แน่นอนว่ามันจะช่วยบรรเทาโรคระแวงของประชาชนได้ค่ะ อย่างไรก็ตาม ในสภาวะที่อาการโรคระแวงนี้ยังไม่ทุเลา หลักสูตรดัง เช่น การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (ปปร.) และ การป้องกันราชอาณาจักรสำหรับผู้บริหารแห่งอนาคต (วปอ.บอ.) ก็ไม่ต่างอะไรกับการเป็น #เป้านิ่ง ให้คนยิงเป้า จับผิด ตำหนิ ติติง ระบายความระแวงใจ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้... อย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่นักการเมืองรุ่นใหม่ไม่ควรทำต่อความระแวงของประชาชน คือการ #ขว้างงูไม่พ้นคอ ทำให้โรคระแวงมันแย่ลงด้วยการเอาอคติทางการเมืองของตนเองมายัดเยียด ป้ายสีใส่กลุ่มการเมืองฝั่งตรงข้าม มุ่งหวังให้ประชาชนหันไปรุมคนอื่นแทนนะคะ 

ในโพสต์นี้ เนเน่ในฐานะศิษย์เก่าของทั้งสถาบันพระปกเกล้าและสถาบัน วปอ. ขอตอบคำถามและให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับทาง ส.ส. แบงค์ ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ เกี่ยวกับ หลักสูตร วปอ.บอ. นะคะ ทั้งนี้เพื่อสร้างความกระจ่างในข้อมูลที่ผิดเพี้ยน ที่อาจสร้างความเข้าใจผิดต่อสถาบันเหล่านี้ และมิหน่ำซ้ำ ยังอาจจะตอกย้ำโรคระแวงในใจของประชาชนให้อาการแย่ลงไปอีกค่ะ

ข้อที่ 1. ที่ถามว่า... คนที่เข้าไปเรียนใช้สิทธิอะไรในการถูกคัดเลือกเข้าไปเรียน...

เฉกเช่นที่ สส.แบงค์ ออกมาปกป้องหลักสูตร ปปร. ว่าผู้จัดหลักสูตรมีการจัดสรรโควต้าให้กับ สส. 40 คน ทาง วปอ.บอ. เองก็มีโควต้าทางการเมือง 10 คนค่ะ บ้างก็เป็น สส. บ้างก็เป็นข้าราชการการเมือง (ซึ่งก็มีเนเน่ ที่เป็นรองโฆษกรัฐบาล ในช่วงนั้น) อย่างไรก็ตาม ผู้สมัครที่ผ่านเกณฑ์ทั้งสิ้นเกือบ 500 คน จำเป็นต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการของหลักสูตร เพื่อกลั่นกรองหา 150 คนที่มีทัศนคติที่เหมาะสมและมีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้นำในอนาคตได้จริงๆ เท่านั้นค่ะ (ซึ่งจริงๆคณะกรรมการหลักสูตรเคยเล่าให้เนเน่ฟังอยู่หลายครั้งนะคะว่าเขาเสียดายมากๆ ที่ไม่มีตัวแทนจากพรรคก้าวไกล (ตอนนั้นยังไม่เปลี่ยนชื่อพรรค) เข้ามาเรียน ความจริงมีคนมาสมัครนะคะ แต่อายุเกินบ้าง อายุขาดบ้าง เลยกลายเป็นว่าผู้สมัครจากพรรคก้าวไกลล้วนไม่ผ่านเกณฑ์เบื้องต้น เลยไม่มีใครได้เรียนค่ะ ...เล่าให้ฟัง จะได้ระงับดราม่าไว้ก่อนค่ะ ว่าทำไมไม่มีคนจากพรรคก้าวไกลมาเรียนเลย... อาจารย์อยากให้พวกคุณมาเรียนจริงๆ นะคะ ท่านเชื่อว่าการมามีส่วนร่วมจะช่วยให้คนในพรรคของคุณเข้าใจเรื่องของความมั่นคงมากขึ้น ขนาดตอนที่นักเรียน วปอ.บอ. รุ่น 1 เรียนจบแล้วมีนำเสนอผลงานทางวิชาการ ทางหลักสูตรยังส่งจดหมายเชิญไปที่พรรคประชาชน (ตอนนั้นเปลี่ยนชื่อแล้ว) แต่สุดท้ายแล้ว ก็ไม่มีการส่งตัวแทนรับฟังค่ะ)

ทั้งนี้ในเรื่องคุณสมบัติของคนที่เข้าเรียน ที่ ส.ส.แบงค์ ทำให้หลายคนกังขาว่าคนที่มาเรียน "ไม่มีอะไรโดดเด่นเป็นพิเศษ" เกรงว่าคนจะเข้าใจผิด เหมารวม นึกว่าหมายถึงนักเรียนทั้งหมด ...ในฐานะเพื่อนร่วมชั้น เนเน่ขอชี้แจงว่านักเรียนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มหัวกะทิ บ้างมีโปรไฟล์เป็นถึงนักวิชาการที่มีชื่อเสียง บ้างเคยเป็นถึงนักเรียนเกียรตินิยมจากโรงเรียนชั้นนำ บ้างเป็นผู้บริหารในองค์กรระดับประเทศ อีกทั้ง ทางฝั่งข้าราชการพลเรือน ทหาร และตำรวจ ส่วนใหญ่ล้วนเป็นตัวท็อปในหน่วยงานของตัวเองกันทั้งนั้นค่ะ เนเน่ได้เรียนรู้หลายเรื่องจากเพื่อนๆ เหล่านี้ ไม่น้อยไปกว่าที่ได้เรียนจากวิทยากรเลยค่ะ เขาเก่งกันจริงๆ นะคะ วอนหยุดเอาอคติทางการเมืองที่คับแคบมาตัดสิน มาด้อยค่าเพื่อนๆ ร่วมสถาบันของเนเน่เลยค่ะ ข้อ 2. ที่ถามว่าคนที่มาเรียนนั้นได้ จ่ายเงินค่าหลักสูตรหรือไม่ เพราะที่กองทัพให้ข้อมูลมาคือค่าใช้จ่ายหลักสูตรนี้ #เรียนฟรี และได้รับการสนับสนุนจากกองบัญชาการกองทัพไทย แปลว่าใช้ #ภาษีกู แบบเต็มๆ ...

อันนี้ เกรงว่าแหล่งข่าวในกองทัพของ สส.แบงค์ คงจะพูดไม่ครบนะคะ อันนี้ ถ้าไม่ทราบจริงๆ ก็ไม่ว่ากัน แต่ขอเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อให้เข้าใจให้ตรงกันนะคะ ว่าผู้เรียนกลุ่มเอกชน และข้าราชการการเมืองต้องจ่ายเงินเอง 130,000 บาทเพื่อใช้ในการดูงานในประเทศและต่างประเทศค่ะ (ที่ว่าเรียนฟรีนี้ สำหรับบุคลากรของรัฐ เช่น ข้าราชการพลเรือน ทหาร และตำรวจ ที่ทางหน่วยงานส่งตัวแทนมาเรียนเท่านั้นค่ะ) ...ฉะนั้นขอย้ำนะคะว่า นอกเหนือจากที่เราไม่ได้เบียดเบียนภาษีประชาชนแล้ว เราได้ตัดสินใจใช้เงินส่วนตัวลงทุนเพื่อรับความรู้ผ่านหลักสูตรนี้ค่ะ

อ่อ... และที่ถามว่า ‘กล้าเอารูปมาโพสต์’ ไหม ... ในคอมเมนท์ เนเน่ขอเอารูปตอน วปอ.บอ. ไปทำ CSR ด้วยเงินส่วนตัวที่พวกเราระดมกัน นำไปช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่สุโขทัย มาให้ดูเป็นตัวอย่างให้ดูนะคะว่าเราก็รวมตัวกัน ‘ก่อการดี’ ไม่ต่างอะไรกับ คณะนักศึกษา ปปร. ของ สส.แบงค์ ค่ะ มาช่วยกันคลายโรคระแวงการสร้างคอนเนคชั่นในสังคมไทยด้วยการเมืองสร้างสรรค์กันดีกว่านะคะ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top