Wednesday, 23 April 2025
พิชัย

'ธนกร' สวนกลับ 'พิชัย' อย่าคิดว่าตัวเองเป็นกูรู ยกผลงานแก้โควิด-19 การันตีฝีมือนายกฯ

นายธนกร วังบุญคงชนะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกรณีที่นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองประธานยุทธศาสตร์ ด้านเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทย ระบุว่า ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกฯ ต่อ สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนจำนวนมาก ที่ผ่านมาคิดว่าตนเองทำได้ดี ประเทศก้าวหน้า ทั้งที่ประเทศเพื่อนบ้านแซงหน้าไปหมดแล้ว ดังนั้นพล.อ.ประยุทธ์รอด แต่คนไทยน่าจะไม่รอดว่า ก่อนที่นายพิชัยจะว่าคนอื่นก็อยากให้ย้อนดูตัวเองเสียก่อน การอ้างว่าสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนจำนวนมากนั้น น่าจะเป็นคนส่วนน้อยอย่างนายพิชัยเสียมากกว่า แล้วถูกทักว่าตัวเองเป็นประชาชนส่วนใหญ่ และการบอกว่าที่ผ่านมาคิดว่าตนเองทำได้ดีก็น่าจะเป็นนิสัยของนายพิชัยเอง ที่คิดเองเออเองเสมอว่าสมัยเป็นรัฐมนตรีตัวเองเป็นกูรูเศรษฐกิจ คงทำได้ดี ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง 

ส่วนการบอกว่ารัฐบาลยิ่งกู้เงินมากยิ่งเจ๊งมากนั้นก็ไม่เป็นความจริง แต่อย่างน้อยที่เห็นได้ชัดเจนคือ รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้โกงจนประเทศเจ๊งมากเหมือนรัฐบาลที่นายพิชัยคุ้นเคยดี ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศทราบเรื่องนี้ดี หากยังปล่อยให้มาบริหารประเทศต่อไป คนไทยคงลำบากมากขึ้น เพราะคิดว่าตัวเองเก่งอยู่คนเดียว จึงสั่งสอนด้วยการให้เป็นฝ่ายค้านแต่ก็ยังไม่สำนึก

'พิชัย' ถกร่วมองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ในเวทีอาเซียน ยืนยันไทยพร้อมร่วมใช้ AI จดสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาร่วม10ประเทศ ช่วย MSMEs แข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

(18 ก.ย. 67) รมว.พิชัย ร่วมประชุมหารือกับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน 10 ประเทศ ในประเด็นความร่วมมือกับองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ในการส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลร่วมกันในอาเซียน เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ MSMEs ไทย ที่เป็นกลุ่ม Startup ในการใช้ AI ช่วยตรวจสอบในการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และช่วยปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของตน รวมถึงการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

วันที่ 18 กันยายน 2567 เวลา 10.00 น. ณ นครหลวงเวียงจันทร์ สปป.ลาว นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน 10 ประเทศ ได้ร่วมกันหารือกับผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ในประเด็นความร่วมมือการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเชิงพาณิชย์ การร่วมมือกันระหว่างอาเซียนสร้างมาตรฐาน เพิ่มขีดความสามารถของอาเซียนในเศรษฐกิจดิจิทัล และผลักดันการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาในเศรษฐกิจสีเขียว เศรษฐกิจสีฟ้า ทั้งยังส่งเสริมและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะ SMEs ที่ช่วยในการเข้าถึงการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจของตนได้“

นายพิชัย กล่าวว่า ”ไทยจะร่วมผลักดันประเด็นความร่วมมือกับองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ในการพัฒนาเสริมสร้างนวัตกรรม ด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการสร้างระบบค้นหาข้อมูลการจดสิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้าอย่างเต็มที่ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงฐานข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาของทุกประเทศสมาชิกอาเซียนได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยยกระดับขีดความสามารถของภาคเอกชน โดยเฉพาะกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) เยาวชน สตรี และผู้พิการ ในการนำทรัพย์สินทางปัญญาเชิงพาณิชย์ ไปจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้ง่ายและรวดเร็ว การปกป้องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของตน และการเพิ่มมูลค่างานของตนในการได้รับความคุ้มครองจากการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลนี้ในการผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล การใช้นวัตกรรม และเศรษฐกิจสร้างสรรค์”

โดยคาดว่าความร่วมมือดังกล่าวจะยกระดับขีดความสามารถด้านทรัพย์สินทางปัญญาภายในภูมิภาคอาเซียน ช่วยให้การเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนจะมีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2573 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความก้าวหน้าและสามารถปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ

'พิชัย' ยกระดับร้านอาหาร Thai SELECT เจาะห้างใหญ่ กลางกรุงลอนดอน กระตุ้นการบริโภค หวังดันยอดส่งออกโตต่อเนื่อง

'พิชัย' ใช้ห้างไทยในต่างประเทศบุก Selfridges กลางกรุงลอนดอน จัดกิจกรรมโปรโมตร้านอาหาร Thai SELECT นำร้านเด็ด 8 ร้านเสนอเมนูพิเศษ ให้นักธุรกิจ ผู้นำเข้า อินฟลูเอนเซอร์ ผู้สื่อข่าวท้องถิ่น ได้ลิ้มลอง มั่นใจยกระดับภาพลักษณ์ กระตุ้นการบริโภคอาหารไทยและดันเป้าการส่งออกอาหารโตต่อเนื่อง

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในงานเลี้ยงรับรอง Thai SELECT Night ร่วมกับ Celebrity Chef และ Influencers ณ โรงภาพยนตร์ ในห้าง Selfridges กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 ว่า การจัดงานในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากธุรกิจไทยที่อยู่ในต่างประเทศ มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลกตามนโยบายรัฐบาล และผลักดัน Soft Power ของไทยผ่านอาหารไทยและร้าน Thai SELECT ซึ่งจะช่วยยกระดับภาพลักษณ์และขยายการรับรู้ในตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ของกลุ่มผู้บริโภคในตลาดสหราชอาณาจักร และส่งเสริมภาพลักษณ์อันดี สร้างกระแสความนิยมให้กับครัวไทยในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ระดับกลางถึงบน รวมทั้งสร้างและขยายการรับรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของอาหารไทย

ทั้งนี้ ในการจัดงานกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้เชิญร้านอาหาร Thai SELECT จำนวน 8 ร้าน มานำเสนอเมนูอาหารพิเศษร้านละ 1 เมนู (Signature Menu) ณ บริเวณพื้นที่จัดเลี้ยงหน้าโรงภาพยนตร์  และตนได้ใช้โอกาสนี้ แจกประกาศนียบัตรแก่ร้านอาหาร Thai SELECT จำนวน 18 ร้าน และจัดให้มีการฉายคลิปประชาสัมพันธ์ประเทศไทย “Think Thailand Next Level” และคลิปอาหารไทย และการท่องเที่ยวไทย โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 100 คน ประกอบด้วย ผู้ประกอบการร้านอาหารไทย เชฟ นักธุรกิจและผู้นำเข้ารายใหญ่ ตลอดจน Influencers และผู้สื่อข่าวท้องถิ่น

สำหรับเมนูพิเศษ ที่ได้นำมาเสนอ ประกอบด้วย ร้าน Farang นำเสนอเมนู Prawn Miang (เมี่ยงกุ้ง) ร้าน Patara นำเสนอเมนู Thai Mango with Sticky Rice (ข้าวเหนียมมะม่วง) ร้าน The Great Thai Restaurant นำเสนอเมนู Grilled chicken served with egg noodles, topped with soya sauce (บะหมี่หน้าไก่ราดซอส) ร้าน Supawan Thai นำเสนอเมนู Yum Hoa Plee (ยำหัวปลี) ร้าน Kin Deum นำเสนอเมนู Coconut Floral Jellies (เยลลี่มะพร้าว) ร้าน Monkey and Me นำเสนอเมนู Chicken Money Bags (ถุงทองไส้ไก่) ร้าน Thai Square นำเสนอเมนู Salmon Zaap Golden Cups (แซลม่อนแซ่บกระทงทอง) ร้าน Siam Niyom นำเสนอเมนู Som Tam (ส้มตำ)

“การจัดงานในครั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์มั่นใจว่า จะช่วยผลักดัน Soft Power ของไทยในส่วนร้านอาหาร Thai SELECT และอาหารไทย ให้เป็นที่รู้จัก เป็นที่ต้องการบริโภคชาวสหราชอาณาจักร และนักท่องเที่ยว และจะช่วยเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าอาหาร วัตถุดิบอาหาร และเครื่องปรุงรส ได้เพิ่มขึ้น นำรายได้เข้าประเทศมากขึ้น”นายพิชัยกล่าว

นายกฯ อุ๊งอิ๊ง ตอบคอมเมนต์แซะ ‘ก้มหน้าตาอ่านไอแพด’ แนะลดอคติ-เปิดใจให้กว้าง ด้าน ‘พิชัย’ โดดป้อง เป็นเรื่องปกติที่ต้องทำเพื่อความถูกต้อง ชูการประชุมประสบความสำเร็จ

(6 ต.ค. 67) น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เข้ามาตอบคอมเมนต์ของผู้ใช้เพจเฟซบุ๊กหนึ่ง ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น

โดยระบุว่า อย่างน้อยหาข้อมูลให้มีในสมองบ้างครับก้มหน้าอ่านจากไอแพด มันดูน่าขายขี้หน้าประเทศ ประยุทธ์ว่าแย่แล้ว คนนี้แย่พอกันหรือแย่กว่าด้วย ซึ่งหลังจากหนุ่มคนนี้ได้โพสต์ข้อความออกไป 

ทางนายกรัฐมนตรีได้มาตอบคอมเมนต์ของผู้ใช้เฟซบุ๊กรายนี้ว่า

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ รบกวนดูข่าว+หาข้อมูลเยอะๆ นะคะ เวลาประชุมแบบนี้ ทั่วโลกเค้าอ่านกันค่ะ มันเป็น commitment เป็นสิ่งที่ต้องบันทึกค่า อ่านทุกคน ตั้งแต่ sheikh ถึง mimister เลยค่ะ ลองหาข้อมูลเพิ่มดูเนาะ ถ้าเป็น bilateral ส่วนใหญ่ จะจดหัวข้อไป แล้วก็พูดคุยกันแบบไม่ต้องอ่านจะเกิดการสร้าง Connection ที่ดีค่ะ ดูแค่หัวข้อให้ครบถ้วน ไม่มีใครแย่กว่าใครหรอกค่ะ ทุกคนมีความสามารถกันคนละด้านค่ะ เปิดใจกว้างๆลองให้โอกาสตัวเอง ลดอคติลง จะมีความสุขขึ้นค่ะ

ด้านนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว. พาณิชย์ กล่าวว่า ทันทีที่กลับถึงไทย ตนได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนถึงการประชุม ACD summit ในครั้งนี้ โดยย้ำว่า เป็นการประชุมที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แสดงบทบาทผู้นำของประเทศไทยอย่างยอดเยี่ยม และเป็นที่ชื่นชมของผู้นำต่างประเทศจำนวนมาก ซึ่งมีผู้นำหลายประเทศมาขอร่วมถ่ายภาพด้วย ล่าสุดติดอันดับ 100 ผู้ทรงอิทธิพลแห่งอนาคตของนิตยสาร TIME ในเวทีต่างๆ ท่านนายกฯ ยังได้แสดงวิสัยทัศน์ต่อผู้นำกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) และการเชิญชวนชาติต่างๆ เข้ามาตั้ง Data Center หรือสถานที่จัดเก็บข้อมูลในประเทศไทย ซึ่งทำให้ประเทศต่างๆ ให้ความสนใจอย่างมาก เช่น UAE, Qatar, Kuwait, Oman เป็นต้น

รมว. พาณิชย์ กล่าวต่อว่า ตนจึงแปลกใจที่มีการหยิบยกภาพๆ เดียวที่นายกฯ ถือไอแพดขึ้นมาตัดต่อ บิดเบือน ในเรื่องการสื่อสารในเวทีระดับโลก ตนรู้สึกเป็นการวิจารณ์ที่ล้าสมัย ไม่รู้ข้อเท็จจริง และธรรมเนียมปฏิบัติในเวทีโลก ไม่ยุติธรรมต่อคนทำงาน จึงต้องออกมาให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการบิดเบือนใส่ร้าย ในฐานะผู้ที่นั่งอยู่ร่วมในวงประชุมต่างๆ กับท่านนายก ทั้งในเวทีใหญ่ และเวทีทวิภาคี

ต่อข้อวิจารณ์ว่านายกฯ อ่านจากไอแพด นักวิจารณ์บางรายไปบิดเบือนเป็นเรื่อง การทูตIpad ขอเรียนว่า ในเวทีสากลแบบนี้ ทุกอย่างที่อยู่ในห้องประชุม ทั้งการสนทนา การนำเสนอวิสัยทัศน์ การให้ข้อแถลงต่างๆ จะถูกบันทึกไว้ทั้งหมดโดยละเอียด ตนนั่งในห้องประชุมหลังท่านนายกฯ จึงได้เห็นว่าผู้นำทุกชาติ เขาอ่านกันทั้งหมด เพราะเขาระวังความผิดพลาด ถ้าพูดผิด ก็จะทำให้บันทึกการพูดผิดไปด้วย การอ่านทั้งจากเอกสาร หรือไอแพดก็ดีจึงเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่รัดกุมที่ทุกประเทศเขาทำกันหมด

ส่วนในการเจรจา Bilateral หรือทวิภาคีกับชาติต่างๆ ตนนั่งอยู่ในห้องด้วย ท่านนายกพูดเองทั้งหมด นำการประชุมทวิภาคีได้สมศักดิ์ศรี ต้องเข้าใจก่อนด้วยว่า ในการร่วมเวทีระดับสากล จะมีวงหารือทวิภาคีหลายวง และประเด็นในการสนทนา หรือ Suggest Talking Points ที่แต่ละชาติจะหยิบยกขึ้นมาหารือกัน ก็ไม่เหมือนกันทั้งสิ้น การมีกระดาษโน้ต หรือไอแพดไว้ในมือ เพื่อเหลือบมองหัวข้อบ้างตามสมควร จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นและสามารถทำได้ เพื่อให้ประเด็นที่เราหยิบยกขึ้นมาดำเนินไปด้วยความถูกต้องกับที่เราเตรียมการมา ผู้นำชาติต่างๆ ก็ทำแบบนั้นทั้งสิ้น ท่านนายกฯ พูดได้ไหลลื่น มองไอแพดเป็นครั้งคราวเพื่อดูเพียงหัวข้อ ที่ต้องชมมากคือการเจรจา Bilateral ครั้งแรกกับประเทศอิหร่าน ซึ่งสุดหิน เพราะเพิ่งมีสถานการณ์สดๆร้อนๆ แต่ท่านนายกสามารถทำได้อย่างดีเยี่ยม พูดให้เขาสบายใจ ด้วยภาษาดอกไม้ ไม่เข้าข้างใคร ให้ประเทศไทยอยู่ตรงกลาง และในช่วงการสัมภาษณ์สรุปประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการเข้าร่วม ACD summit กับสื่อมวลชนไทยก็ทำด้วยดี จนพวกเราทั้งสามคนที่ยืนอยู่ด้วยหันมาชื่นชมเป็นเสียงเดียวกัน

“ทั้งตัวผม และผู้ที่ร่วมในการประชุม ทั้ง นายมาริษ เสงี่ยมพงศ์ รมว. ต่างประเทศ และนพ.พรหมินทร์ เลิศสุริเดช เลขาธิการนายกฯ เราได้อยู่ด้วยในทุกฟอรัมที่นายกฯ เข้าร่วม เรายังยืนคุยกันชื่นชมนายกฯ ที่สามารถทำได้ดีเยี่ยม เป็นหน้าเป็นตาให้กับประเทศ อย่างวงทวิภาคี ตนเองยังต้องใช้เวลาฝึกเป็นปีกว่าจะสามารถดำเนินการได้ แต่ท่านนายกฯสามารถทำได้ดีในครั้งแรก จึงอยากออกมาข้อมูลอีกด้าน ในฐานะที่อยู่เหตุการณ์จริง ขอให้เลิกอคติ จับผิดเรื่องเล็กน้อย วันนี้ ขอชวนคนไทยให้กำลังทีมไทยแลนด์ที่ช่วยกันทำงานอย่างหนัก เพื่อเชิญชวนชาติต่างๆ เข้ามาลงทุนในประเทศไทยจะดีกว่า” นายพิชัยกล่าว

‘พิชัย’ ยืนยันอยู่ในเหตุการณ์ ชี้ “นายกแพทองธาร”ทำผลงานโดดเด่น เป็นที่ชื่นชมในเวทีโลก แถมยังมีผลงานมาก ดึงต่างชาติลงทุน ด้านความมั่นคงทางอาหาร-ดาต้าเซนเตอร์ ขอเลิกอคติหันมาให้กำลังใจทีมประเทศไทยด้วยกัน

(6 ต.ค. 67) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว. พาณิชย์ กล่าวว่า ทันทีที่กลับถึงไทย ตนได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนถึงการประชุม ACD summit ในครั้งนี้ โดยย้ำว่า เป็นการประชุมที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แสดงบทบาทผู้นำของประเทศไทยอย่างยอดเยี่ยม และเป็นที่ชื่นชมของผู้นำต่างประเทศจำนวนมาก ซึ่งมีผู้นำหลายประเทศมาขอร่วมถ่ายภาพด้วย ล่าสุดติดอันดับ 100 ผู้ทรงอิทธิพลแห่งอนาคตของนิตยสาร TIME ในเวทีต่างๆ ท่านนายกฯ ยังได้แสดงวิสัยทัศน์ต่อผู้นำกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) และการเชิญชวนชาติต่างๆ เข้ามาตั้ง Data Center หรือสถานที่จัดเก็บข้อมูลในประเทศไทย ซึ่งทำให้ประเทศต่างๆ ให้ความสนใจอย่างมาก เช่น UAE,  Qatar, Kuwait, Oman เป็นต้น

รมว. พาณิชย์ กล่าวต่อว่า ตนจึงแปลกใจที่มีการหยิบยกภาพๆ เดียวที่นายกฯ ถือไอแพดขึ้นมาตัดต่อ บิดเบือน ในเรื่องการสื่อสารในเวทีระดับโลก ตนรู้สึกเป็นการวิจารณ์ที่ล้าสมัย ไม่รู้ข้อเท็จจริง และธรรมเนียมปฏิบัติในเวทีโลก ไม่ยุติธรรมต่อคนทำงาน จึงต้องออกมาให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการบิดเบือนใส่ร้าย ในฐานะผู้ที่นั่งอยู่ร่วมในวงประชุมต่างๆ กับท่านนายก ทั้งในเวทีใหญ่ และเวทีทวิภาคี

ต่อข้อวิจารณ์ว่านายกฯ อ่านจากไอแพด นักวิจารณ์บางรายไปบิดเบือนเป็นเรื่อง การทูตIpad ขอเรียนว่า ในเวทีสากลแบบนี้ ทุกอย่างที่อยู่ในห้องประชุม ทั้งการสนทนา การนำเสนอวิสัยทัศน์ การให้ข้อแถลงต่างๆ จะถูกบันทึกไว้ทั้งหมดโดยละเอียด ตนนั่งในห้องประชุมหลังท่านนายกฯ จึงได้เห็นว่าผู้นำทุกชาติ เขาอ่านกันทั้งหมด เพราะเขาระวังความผิดพลาด ถ้าพูดผิด ก็จะทำให้บันทึกการพูดผิดไปด้วย การอ่านทั้งจากเอกสาร หรือไอแพดก็ดีจึงเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่รัดกุมที่ทุกประเทศเขาทำกันหมด

ส่วนในการเจรจา Bilateral หรือทวิภาคีกับชาติต่างๆ ตนนั่งอยู่ในห้องด้วย ท่านนายกพูดเองทั้งหมด นำการประชุมทวิภาคีได้สมศักดิ์ศรี ต้องเข้าใจก่อนด้วยว่า ในการร่วมเวทีระดับสากล จะมีวงหารือทวิภาคีหลายวง และประเด็นในการสนทนา หรือ Suggest Talking Points ที่แต่ละชาติจะหยิบยกขึ้นมาหารือกัน ก็ไม่เหมือนกันทั้งสิ้น การมีกระดาษโน้ต หรือไอแพดไว้ในมือ เพื่อเหลือบมองหัวข้อบ้างตามสมควร จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นและสามารถทำได้ เพื่อให้ประเด็นที่เราหยิบยกขึ้นมาดำเนินไปด้วยความถูกต้องกับที่เราเตรียมการมา ผู้นำชาติต่างๆ ก็ทำแบบนั้นทั้งสิ้น ท่านนายกฯ พูดได้ไหลลื่น มองไอแพดเป็นครั้งคราวเพื่อดูเพียงหัวข้อ ที่ต้องชมมากคือการเจรจา Bilateral ครั้งแรกกับประเทศอิหร่าน ซึ่งสุดหิน เพราะเพิ่งมีสถานการณ์สดๆร้อนๆ แต่ท่านนายกสามารถทำได้อย่างดีเยี่ยม พูดให้เขาสบายใจ ด้วยภาษาดอกไม้ ไม่เข้าข้างใคร ให้ประเทศไทยอยู่ตรงกลาง และในช่วงการสัมภาษณ์สรุปประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการเข้าร่วม ACD summit กับสื่อมวลชนไทยก็ทำด้วยดี จนพวกเราทั้งสามคนที่ยืนอยู่ด้วยหันมาชื่นชมเป็นเสียงเดียวกัน

“ทั้งตัวผม และผู้ที่ร่วมในการประชุม ทั้ง นายมาริษ เสงี่ยมพงศ์ รมว. ต่างประเทศ และนพ.พรหมินทร์ เลิศสุริเดช เลขาธิการนายกฯ เราได้อยู่ด้วยในทุกฟอรัมที่นายกฯ เข้าร่วม เรายังยืนคุยกันชื่นชมนายกฯ ที่สามารถทำได้ดีเยี่ยม เป็นหน้าเป็นตาให้กับประเทศ อย่างวงทวิภาคี ตนเองยังต้องใช้เวลาฝึกเป็นปีกว่าจะสามารถดำเนินการได้ แต่ท่านนายกฯสามารถทำได้ดีในครั้งแรก จึงอยากออกมาข้อมูลอีกด้าน ในฐานะที่อยู่เหตุการณ์จริง ขอให้เลิกอคติ จับผิดเรื่องเล็กน้อย วันนี้ ขอชวนคนไทยให้กำลังทีมไทยแลนด์ที่ช่วยกันทำงานอย่างหนัก เพื่อเชิญชวนชาติต่างๆ เข้ามาลงทุนในประเทศไทยจะดีกว่า” นายพิชัยกล่าว

'พิชัย' หารือ รัฐมนตรีเศรษฐกิจรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค เยอรมนี ชวนลงทุน Data Center - พลังงาน - อาหาร ในไทย พร้อมเร่งเครื่องเจรจา FTA ไทย – อียู ให้สัมฤทธิ์ผลโดยเร็ว

(21 ต.ค. 67) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้เข้าร่วมการหารือทวิภาคีกับ ดร.นิโคล ฮอฟไมสเตอร์-เคราท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ แรงงาน และการท่องเที่ยวแห่งรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ณ กระทรวงพาณิชย์ โดยรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค เป็นรัฐสำคัญที่มีจำนวนประชากร และขนาด GDP ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของเยอรมนี และมีมูลค่าการค้ากับไทย คิดเป็น 1 ใน 5 ของมูลค่าการค้ารวมระหว่างไทย–เยอรมนี โดยมีสินค้าศักยภาพ ได้แก่ ยานยนต์และชิ้นส่วน อุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล และอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนแนวทางการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกัน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรม ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และวิศวกรรมขั้นสูง ซึ่งเยอรมนีมีความเชี่ยวชาญและมีความสนใจที่จะขยายฐานการผลิต รวมทั้ง กลุ่มอุตสาหกรรมหรือบริการเป้าหมายที่สองฝ่ายเห็นประโยชน์ร่วมกัน เช่น ยานยนต์ วิศวกรรมเครื่องจักรกล แผงวงจรไฟฟ้า ระบบจัดเก็บข้อมูล (Data Center) พลังงานทางเลือก และ Soft power โดยเฉพาะในสาขาอาหารและการท่องเที่ยว

โดยรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์คเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลกซึ่งได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย เช่น Daimler (Mercedes-Benz) (ยานยนต์และชิ้นส่วน) Bosch (เทคโนโลยีการขับเคลื่อน ระบบขนส่งอัจฉริยะ อุปกรณ์ไฟฟ้า และเครื่องใช้ในครัวเรือน) Festo (ระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม เช่น อุปกรณ์ยานยนต์และเซมิคอนดักเตอร์) SAP SE (บริการซอฟต์แวร์) และCarl Zeiss (เลนส์ อุปกรณ์ทัศนศาสตร์ และ MedTech) และมีมูลค่าการค้ากับไทยคิดเป็นร้อยละ 20 ของมูลค่าการค้ารวมไทย-เยอรมนี

นายพิชัย กล่าวเสริมว่า ได้ขอให้เยอรมนีช่วยสนับสนุนการเจรจา FTA ไทย - อียู ให้สามารถสรุปผลได้โดยเร็ว โดยสองฝ่ายเห็นพ้องว่า FTA ไทย - อียู จะเป็นประโยชน์ต่อการค้าและการลงทุนระหว่างไทย – เยอรมนี รวมถึงรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์คด้วย ซึ่ง FTA ฉบับนี้ จะช่วยขยายโอกาสและยกระดับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกันได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ สองฝ่ายมีแผนที่จะส่งคณะนักธุรกิจและผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างกัน โอกาสนี้ นายพิชัยยังได้เชิญชวนให้นักธุรกิจรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์คเข้ามาลงทุนในประเทศไทย พร้อมย้ำว่า ไทยยินดีให้การอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนจากรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ที่ต้องการเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย

โดยในปี 2566 เยอรมนีถือเป็นคู่ค้าอันดับที่ 1 ของไทยในสหภาพยุโรป การค้าระหว่างไทย – เยอรมนี มีมูลค่า 10,737.90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการส่งออกจากไทยไปเยอรมนี 4,555.82ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่แผงวงจรไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขณะที่ไทยนำเข้าจากเยอรมนี 6,182.09 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้านำเข้าที่สำคัญ เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ และเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์

‘พิชัย’ จับมือทูตแคนาดา เร่งเครื่องเจรจาเอฟทีเอ อาเซียน-แคนาดา พร้อมนัดถกรัฐมนตรีการค้าแคนาดาช่วงประชุมเอเปคที่เปรู ขยายโอกาสการค้าในตลาดอเมริกาเหนือ

เมื่อวันที่ (28 ต.ค. 67) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยหลังการหารือกับนางสาวปิง คิตนีกอน (H.E. Ms. Ping Kitnikone) เอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย ณ กระทรวงพาณิชย์ ว่าเป็นครั้งแรกที่ทั้งสองฝ่ายได้พบกันหลังจากที่ได้เข้ารับตำแหน่ง โดยเน้นย้ำความพร้อมของไทยในการทำงานร่วมกับแคนาดาอย่างใกล้ชิด 
เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ระหว่างกัน

นายพิชัย กล่าวว่า ไทยพร้อมเปิดรับการลงทุนจากแคนาดาที่มีความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงการจัดการทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพ ซึ่งสอดรับกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย อาทิ ด้านพลังงานสะอาด ยานยนต์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมดิจิทัล พร้อมต่อยอดความร่วมมือกับแคนดาด้าน AI และ Cybersecurity อีกทั้ง ไทยยังมีศักยภาพเป็นฐานการผลิตในอุตสาหกรรมสมัยใหม่ มีโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานระดับภูมิภาคและระดับโลกได้นอกจากนี้ ไทยยังสามารถขยายโอกาสทางเศรษฐกิจกับแคนาดาเพื่อเชื่อมโยงไปยังกลุ่มประเทศ G7 ที่แคนาดามีความตกลงการค้าเสรีครบทุกประเทศแล้ว

นายพิชัย เสริมว่า ตนได้ขอบคุณแคนาดาที่มีแผนจะนำคณะนักธุรกิจแคนาดาสาขาต่าง ๆ มายังไทยช่วงเดือนพฤษภาคม 2568 พร้อมทั้งได้เชิญชวนภาคธุรกิจเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการค้าของกระทรวงพาณิชย์ที่จัดโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศร่วมกับภาคเอกชน เช่น งานแสดงสินค้าอาหาร THAIFEX-ANUGA ASIA (27-31 พฤษภาคม 2568) ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าอาหารที่ใหญ่ของเอเชีย เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างกันด้วย
นายพิชัย กล่าวต่ออีกว่า ไทยและแคนาดาเห็นพ้องที่จะสนับสนุนการเจรจา FTA อาเซียน-แคนาดา ให้เสร็จตามเป้าหมายในปี 2568 ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคธุรกิจทั้งสองประเทศ และขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน สามารถเชื่อมโยงทั้งสองภูมิภาคให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น และความตกลงดังกล่าวยังถือเป็น FTA แรกของไทยกับประเทศในภูมิภาคอเมริกาเหนือ

นอกจากนี้ ในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเมื่อเดือนตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ตนยังได้พบกับนายกรัฐมนตรีแคนาดา (นายจัสติน ทรูโด) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการส่งเสริมการส่งออก การค้าระหว่างประเทศ และการพัฒนาเศรษฐกิจ ของแคนาดา (นาง Mary Ng) และในช่วงการประชุมรัฐมนตรีเอเปค (APEC Ministerial Meeting: AMM) ครั้งที่ 35 กลางเดือนพฤศจิกายน 2567 ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู ที่จะถึงนี้ ตนจะมีโอกาสพบหารือกับ นาง Mary Ng อีกครั้ง เพื่อหารือแนวทางส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในเชิงลึกระหว่างไทยและแคนาดาต่อไป

ในปี 2566 แคนาดาเป็นคู่ค้าอันดับที่ 30 ของไทย โดยการค้ารวมของไทยและแคนาดา มีมูลค่า 2,933.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 10.41 โดยไทยส่งออกไปยังแคนาดามูลค่า 1,903.81 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 10.07 สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ข้าว เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์  เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน และผลิตภัณฑ์ยาง ขณะที่ไทยนำเข้าจากแคนาดามูลค่า 1,030.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 11.03 สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ

“พิชัย” หารือประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ชวนนักธุรกิจญี่ปุ่นลงทุนอุตสาหกรรมไฮเทค PCB - Data Center เพิ่ม หวัง ญี่ปุ่นกลับมาเป็นนักลงทุนอันดับ 1 ของไทยอีกครั้ง

(2 พ.ย. 67) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังหารือกับนายอิชิอิ เคตะ (Ishii Keita) ประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น และคณะผู้บริหารบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่น ได้แก่ ITOCHU Cooperation, Kawasaki Heavy Industries (Thailand) Co., Ltd., Sumitomo Corporation Thailand Ltd., Knowledge Creation Technology Co., Ltd., Japan Airlines Co., Ltd. และ Toyota Tsusho (Thailand) Co., Ltd. ว่าเป็นครั้งแรกที่ทั้งสองฝ่ายได้พบหารือกันหลังจากที่ได้เข้ารับตำแหน่ง โดยเน้นย้ำว่าไทยและญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าที่ดีมาอย่างยาวนาน ลึกซึ้งอย่างต่อเนื่อง ซึ่งญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทยมาโดยตลอด นอกจากนี้ ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศพันธมิตรทางการค้าที่สำคัญของไทยมีการลงทุนสะสมในไทยมากเป็นอันดับ 1 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการลงทุน 1 ใน 4 ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด มีบริษัทญี่ปุ่นลงทุนในไทยเกือบ 6,000 บริษัท หลังจากที่การลงทุนจากญี่ปุ่นจางหายไปช่วงระยะเวลากว่า 10 ปี จนกระทั่งได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

พร้อมทั้งชักชวนนักลงทุนญี่ปุ่นมาลงทุนธุรกิจ เป็นฐานการผลิตในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมสมัยใหม่ของญี่ปุ่น เช่น แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ ดิจิทัล AI ซึ่งรัฐบาลไทยพร้อมส่งเสริมการลงทุนจากญี่ปุ่น โดยไทยมีศักยภาพในการผลิตชิ้นส่วนที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงได้ นอกจากนี้ ไทยยังมีความพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางความมั่งคงทางอาหาร (Food Security Hub) โดยเป็นคลังสินค้าและส่งออกอาหารให้กับทุกประเทศที่ต้องการรวมถึงญี่ปุ่น สอดคล้องกับนโยบายบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่นที่เข้าพบหารือในวันนี้ ซึ่งผู้บริหารบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่นได้แสดงความพร้อมในสนับสนุนภาคเอกชนของญี่ปุ่น ให้เข้ามาลงทุนในสาขาเหล่านี้ในไทยเพิ่มขึ้น รวมถึงสาขาอื่นๆ ที่อยู่ในแผนการขยายการลงทุนในไทยของคณะฯ เช่น ไฮโดรเจน พลังงานสีเขียว ธุรกิจบริการ ด้วยเช่นกัน โดยฝ่ายญี่ปุ่นได้แสดงความตั้งใจที่จะขยายการลงทุนให้กลับมาเป็นผู้นำในการลงทุนในไทยอีกครั้ง

ทั้งนี้ หอการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Japan Chamber of Commerce and Industry: JCCI) เป็นองค์กรทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ประกอบด้วยสภาท้องถิ่น 515 แห่ง และ มีจำนวนสมาชิกทั่วโลกกว่า 1.25 ล้านราย ตั้งแต่บริษัทขนาดใหญ่ไปจนถึงขนาดเล็กและขนาดกลาง คิดเป็น 1 ใน 3 ของบริษัททั้งหมดในญี่ปุ่น โดยประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในพันธมิตรทางการค้าที่สำคัญยิ่งของไทยด้วยขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก และเป็นคู่ค้าอันดับ 3 ของไทย ในปี 2566 ไทยและญี่ปุ่นมีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 55,861 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็นการส่งออกจากไทยไปญี่ปุ่น 24,670 ล้านเหรียญสหรัฐ (สินค้าส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ไก่แปรรูป เครื่องจักร แผงวงจรไฟฟ้า) และการนำเข้าของไทยจากญี่ปุ่นมูลค่า 31,191 ล้านเหรียญสหรัฐ (สินค้านำเข้าสำคัญของไทย ได้แก่ เครื่องจักรกล เหล็ก เคมีภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า)

'พิชัย' ต้อนรับ ทัพนักธุรกิจรายใหญ่สหรัฐฯ USABC ชวนลงทุน-ตั้งฐานการผลิตอุตสาหกรรมใหม่ในไทย ย้ำ!ไทยกำลังฮอต พาณิชย์พร้อมอำนวยความสะดวกการค้า-ลงทุนเต็มที่

(25 พ.ย. 67) ณ ห้องประชุมมโนปกรณ์นิติธาดา ชั้น 12 กระทรวงพาณิชย์ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังหารือกับคณะนักธุรกิจจากสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน หรือ US-ASEAN Business Council (USABC) จำนวนกว่า 57 ราย จาก 30 บริษัท ในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ การท่องเที่ยว อาหารและเกษตร พลังงาน เทคโนโลยี สารสนเทศ สุขภาพและการเงิน อาทิ บริษัท Amazon, Boeing, ExxonMobil, Citi, Google, Mastercard, Pfizer, Philip Morris, Seagate และ Tyson ที่นำโดยเอกอัครราชทูตเท็ด โอเซียส (Ambassador Ted Osius) เพื่อมาหารือแนวทางการส่งเสริมการค้าและการลงทุน แก้ปัญหาสิ่งที่เป็นอุปสรรคทางการค้าร่วมกัน สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อธุรกิจ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการค้า

นายพิชัย กล่าวว่า วันนี้มีนักลงทุนจากสหรัฐอเมริกา-อาเซียน หรือ USABC เข้ามาพบตนที่กระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากทราบดีว่าประเทศไทยจะมีการลงทุนไหลเข้ามามากโดยเฉพาะจากสหรัฐฯ อาทิ Western Digital และ Seagate จะมาขยายการลงทุน HP จะย้ายฐานการลงทุนมาไทย ก่อนหน้านี้ตนได้ไปประชุมทูตพานิชย์ในภูมิภาคอเมริกาและลาตินอเมริกา ที่สหรัฐฯ ได้รับข้อมูลตรงกันคือ สหรัฐฯจะมีการลงทุนมาไทยเยอะ และตัวเลขการส่งออกของไทยเดือนตุลาคมที่ผ่านมาสูงมากเป็นเลขสองหลัก ซึ่งน่าพอใจและเรายังมีแนวโน้มที่จะโตขึ้นอีก

ประเทศไทยจะเป็น Investment Destination หรือ จุดหมายปลายทางของการลงทุนที่สหรัฐฯอยากจะมาลงทุน โดยในการหารือตนได้ขอให้ทางนักธุรกิจไปคุยกับรัฐบาลสหรัฐฯ ในเรื่องของ GSP (สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร) และเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่ประเทศไทยอยู่ในบัญชี Watch List (ประเทศที่ต้องจับตามอง) ซึ่งตนก็ได้หารือกับนางแคทเธอรีน ไท ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ไปก่อนหน้านี้ ซึ่งท่านก็รับปากจะไปดำเนินการให้ และประเด็นที่ไทยได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐฯเยอะ เนื่องจากเป็นสินค้าที่ทางสหรัฐฯมาตั้งฐานการผลิตที่ไทยแล้วส่งกลับไปที่สหรัฐฯ ทั้งจาก Western Digital และ Seagate  ขอให้ทางนักธุรกิจสหรัฐฯช่วยแจ้งไปยังท่านประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งทางไทยอยากได้รับการส่งเสริมเพราะไทยมีความเป็นมิตรกับทุกประเทศทั้ง สหรัฐฯ UAE จีน อินเดีย เรามีโอกาสที่จะได้รับการลงทุนจากหลายประเทศ ซึ่งจากที่ตนไปร่วมการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ที่สาธารณรัฐเปรู ทุกประเทศต่างบอกว่า ไทยจะเป็นศูนย์กลางการลงทุน PCB (แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์) เราจะผลิต PCB มากที่สุดในโลก จะมีการโยกย้ายฐานการผลิตเซมิคอนดักเตอร์เข้ามาเยอะมาก 

และจากนี้ตนจะเดินทางไปที่ญี่ปุ่นในเดือนหน้าเพื่อพบกับนักลงทุนและทางมหาวิทยาลัยโตเกียว (the University of Tokyo) ก็ได้เชิญตนไปบรรยายทิศทางเศรษฐกิจของไทย ซึ่งตนจะไปเชิญชวนนักลงทุน นักวิชาการ สมาคมการค้าต่างๆของญี่ปุ่น ให้เห็นถึงความพร้อมของไทยในการต้อนรับนักลงทุนจากทั่วโลก อยากเห็นญี่ปุ่นกลับมาเป็นนักลงทุนอันดับหนึ่งของไทยอีกครั้ง จะเชิญชวนให้มาลงทุนไทยมากขึ้นในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่

รัฐบาล และกระทรวงพาณิชย์ เรามีคนเก่งเยอะพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาให้กับนักธุรกิจเต็มที่และเราก็เร่งเจรจาเขตการค้าเสรีหรือ FTA ให้เรามี FTA มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ FTA ระหว่างไทยกับเอฟตาก็น่าจะจบได้ในเดือนมกราคมนี้ แล้วหลังจากนั้นจะตามมาด้วย อียู อาเซียน-แคนาดา ซึ่งมีโอกาสสำเร็จสูง และในเดือนพฤษภาคม ท่านรัฐมนตรีแคนาดาจะนำนักลงทุนจากแคนาดากว่า 100 คน มาเมืองไทย เพื่อหาช่องทางลงทุนในไทย

“ตอนนี้ประเทศไทยเรากำลังฮอต ตนได้พบกับท่านรองนายกฯคลัง (พิชัย ชุณหวชิร) ท่านเดินทางไปจีน มีบริษัทจีนอยากย้ายเข้ามาเมืองไทยเต็มไปหมด เรากำลังไปได้ดีประเทศไทยกลับมาฮอตใหม่เหมือนอย่างในอดีต ขอให้สภาวะนี้เป็นไปเรื่อยๆ ให้เราเจริญ รายได้ของประชาชนจะได้เพิ่มขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทำให้ประเทศเราเจริญต่อได้“นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าว

โดยองค์กร USABC เป็นองค์กรที่มีสมาชิกเป็นบริษัทชั้นนำสหรัฐฯที่เข้ามาลงทุนหรือทำธุรกิจกับประเทศในอาเซียน โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน และสำนักงานสาขา 7 แห่งในนครนิวยอร์ก กรุงเทพฯ กรุงฮานอย กรุงจาการ์ตา กรุงกัวลาลัมเปอร์ กรุงมะนิลา และสิงคโปร์ ทั้งในปี 2566 สหรัฐฯ เป็นคู่ค้าลำดับที่ 2 ของไทยรองจากจีน โดยการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯมีมูลค่า 67,659.89 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 3.65 ซึ่งสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกลำดับที่ 1 ของไทย โดยไทยส่งออกไปสหรัฐฯ มูลค่า 48,352.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 1.72 ทั้งนี้มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯปี 2567 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 55,681.20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2566 ร้อยละ 9.84 ซึ่งไทยส่งออกไปสหรัฐฯมีมูลค่า 40,610.98 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2566 ร้อยละ 12.48 สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด และสินค้านำเข้าสำคัญ อาทิ น้ำมันดิบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ก๊าซธรรมชาติ แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องบิน

“พิชัย” หารือทูตอังกฤษ เน้นย้ำความสำคัญในการจัดทำ FTA ไทย-UK ร่วมกันในอนาคต สร้างมูลค่าการค้า-การลงทุน เติบโตต่อเนื่อง

(8 ธ.ค. 67) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังหารือเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย (นายมาร์ค กุดดิ้ง) เพื่อหารือประเด็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน รวมถึงการพิจารณา ความเป็นไปได้ในการจัดทำ FTA ไทยกับ UK เพื่อขยายการค้าการลงทุนระหว่างกัน สอดคล้องกับนโยบายการเร่งสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของรัฐบาลทั้งสองฝ่าย

นายพิชัยฯ เปิดเผยว่า ได้หารือกับ นายมาร์ค กุดดิ้ง เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2567 ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย โดยสองประเทศได้เน้นย้ำความมุ่งมั่นที่จะขยายความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนร่วมกัน ผ่านกลไกการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า (Joint Economic and Trade Committee: JETCO) ไทย - สหราชอาณาจักร (UK) ในระดับรัฐมนตรี เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการดำเนินธุรกิจ อำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน โดยเร่งรัดการดำเนินการร่วมกันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะภายใต้กรอบการเป็นหุ้นส่วนทางการค้าที่แน่นแฟ้น (Enhanced Trade Partnership: ETP) ผ่านกิจกรรมความร่วมมือทางเศรษฐกิจครอบคลุมสาขาที่สองประเทศมีศักยภาพและทรัพยากรที่ส่งเสริมกัน เช่น การเกษตร อาหารและเครื่องดื่ม การลงทุน การท่องเที่ยว และสุขภาพ  ซึ่งตนในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกันกับ นายดักลาส อเล็กซานเดอร์ รัฐมนตรีการค้าของสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 18 ก.ย.67 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมคอร์ทยาร์ด บาย แมริออท กรุงเทพฯ โดยทั้งสองฝ่ายยินดีที่จะจัดการประชุม JETCO ไทย – UK ครั้งที่ 2 เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานร่วมกันในปี 2568 ซึ่งเป็นโอกาสดีในการเฉลิมฉลองครบ 170 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันด้วย

โอกาสนี้ นายพิชัยฯ เปิดเผยว่า ไทยได้เน้นย้ำกับ UK ถึงความสำคัญของการเป็นหุ้นส่วนทางการค้าที่แน่นแฟ้นดังกล่าวว่า จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการพิจารณาเจรจา FTA ระหว่างกันในอนาคต ซึ่งเป็นแนวนโยบายที่รัฐบาลไทยผลักดันและให้ความสำคัญกับการทูตพาณิชย์เชิงรุก โดยเห็นว่า หากสองฝ่ายสามารถจัดทำ FTA ร่วมกันได้ จะเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้มูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งภาคธุรกิจของทั้งไทยและ UK ต่างก็สนับสนุนการเริ่มเจรจาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อเร่งขยายการค้าระหว่างกัน

นายพิชัยฯ กล่าวเสริมว่า ได้ขอบคุณ UK ที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการพิจารณารับไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) รวมทั้งใช้โอกาสนี้แจ้ง UK ให้ทราบว่า กระทรวงพาณิชย์ยินดีอำนวยความสะดวกและสนับสนุนการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศในไทยให้เป็นไปอย่างสะดวกและราบรื่นมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมหรือบริการเป้าหมายที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ร่วมกัน เช่น อุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ระบบจัดเก็บข้อมูล (Data Center) ยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ 

ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2567 (ม.ค. – ต.ค.) สหราชอาณาจักรเป็นคู่ค้าอันดับ 22 ของไทยในตลาดโลก และเป็นคู่ค้าอันดับ 4 ของไทยในภูมิภาคยุโรป (รองจากสวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์) โดยมีมูลค่าการค้ารวมระหว่างกัน 5,535.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า 1,372.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีมูลค่าการส่งออกสินค้ารวม 3,454.13 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ เช่น ไก่แปรรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล อัญมณีและเครื่องประดับ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขณะที่มีมูลค่าการนำเข้ารวม 2,081.60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้านำเข้าสำคัญ เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เครื่องดื่มประเภทน้ำแร่ น้ำอัดลมและสุรา และผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top