Tuesday, 22 April 2025
ผังเมือง

‘บิ๊กป้อม’ ถก คกก.นโยบายผังเมืองแห่งชาติ เห็นชอบร่างธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประชุม คกก.ผังเมืองแห่งชาติ เน้น แผนพื้นที่-น้ำ-เส้นทาง ต้องรอบคอบ/ฟังรอบด้าน/ปชช.มีส่วนร่วม ผ่านมติ ธรรมนูญผังเมือง (ฉบับแก้ไข) มุ่งประโยชน์สูงสุด ปชช. 

วันนี้ (21 ธ.ค. 65) เวลา 09.30 น. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 ณ ห้องประชุม มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 

ที่ประชุมได้รับทราบ ประกาศใช้บังคับอนุบัญญัติที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2562 จำนวน 5 ฉบับ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรับฟังความคิดเห็น การปรึกษาหารือ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการวางและจัดทำ ผังเมืองรวม พ.ศ.2564 ,ผังนโยบายระดับประเทศ ,ระดับภาค ,ระดับจังหวัดและผังเมืองเฉพาะ พ.ศ.2565

'ดร.อานนท์' ซัด!! 'สส.ก้าวไกล' วิจารณ์ผังเมือง กทม.แบบรู้ไม่จริง คิดจะอวดภูมิทำผังเมืองใหม่ แต่เป้ามุ่งแซะลามสถาบันเบื้องสูง

(11 ม.ค.67) จากกรณีที่ สส.แบงค์-ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ เขตจตุจักร บางเขน หลักสี่ กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล กล่าวถึงคณะกรรมการผังเมือง และคนร่างผังเมืองว่า มีประชาชนหลายล้านคนในกรุงเทพฯ ที่ได้รับผลกระทบจากผังเมืองของท่าน ไม่ว่าจะแง่บวกหรือลบ และพวกเขาควรมีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์ผังเมืองที่ท่านร่างชัดเจน

สำหรับผมในฐานะประชาชนกรุงเทพฯ คนหนึ่ง เป้าหมายสำคัญอย่างหนึ่งของผังเมืองที่ผมต้องการเห็น คือต้องไม่เอื้อประโยชน์ให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และต้องไม่กดทับสิทธิประชาชนอีกกลุ่มหนึ่ง โดยไม่มีมาตรการรองรับ แต่ผังเมืองที่บังคับใช้อยู่ สำหรับผมมันเอื้อประโยชน์อย่างชัดเจน

ด้วยความรู้ของผู้ร่างผังเมือง ท่านต้องทราบดีครับว่าอนาคตของเมืองจะโตไปในทิศทางไหน คุณภาพชีวิตของประชาชนในแต่ละพื้นที่อยู่บนปลายปากกาของท่าน ท่านจะทำให้คนบางคนได้รับประโยชน์มากขึ้น หรือเสียประโยชน์ ก็อยู่ที่ผังที่ท่านร่าง นี่คืออำนาจที่มหาศาล และมีมูลค่ามาก เพราะงั้นท่านมีหน้าที่ต้องระมัดระวัง และรักษาผลประโยชน์ให้คนทุกกลุ่ม แต่สิ่งที่ผมผิดหวังคือ ท่านไม่เคยสื่อสารให้ประชาชนทราบเลย ตรงไหนจะเจริญมากหรือเจริญน้อย

เมื่อผมพูดว่าผังเมืองเอื้อนายทุน หลายท่านออกมาโวยวาย รับไม่ได้กับคำพูดนี้ แต่ในทางกลับกัน การให้ผังแดงของท่านไม่ว่าจะทางทฤษฎีหรือปฏิบัติ ใครก็รู้ครับว่า เป็นเครื่องมือในการเพิ่มมูลค่าที่ดินของเจ้าของที่แปลงนั้น ๆ เอื้อประโยชน์ให้ผู้ได้รับผังสีแดงทันที แต่ท่านพูดเหมือนว่าการให้ผังแดงเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้เป็นการเอื้อกลุ่มทุน

ท่านไม่เรียกร้องมาตรการว่า คนได้ผังแดง หรือผัง FAR สูง ไม่เรียกร้องเรื่อง ‘การเก็บภาษีลาภลอย (windfall tax)’ จากการได้ FAR สูงกว่าคนอื่น หรือเรียกร้องให้มีมาตรการต้องทำอะไรเพื่อสาธารณประโยชน์ ซึ่งต่างประเทศเขาเก็บภาษีตัวนี้กันเป็นเรื่องปกติ แต่ในไทยไม่มีมาตรการเหล่านี้ ผู้ร่างผังเมืองทราบดีว่าครับว่า กลไกเหล่านี้ ใช้ลดการเอื้อประโยชน์กลุ่มทุนได้ แต่ที่แปลกคือ คณะกรรมการผังเมือง และคนร่างผังเมืองที่มีผู้เชี่ยวชาญจากหลายหน่วยงาน หลากหลายมิติ ไม่เรียกร้องเรื่องนี้เลย

อีกด้านหนึ่ง การยัดผังสีเขียว และเขียวลาย ซึ่งรอนสิทธิการพัฒนาพื้นที่ของคนตะวันตก และตะวันออกเป็นล้านคน ต้องเป็นพื้นที่รับน้ำ พื้นที่เกษตรห้ามพัฒนาท่านกลับไม่ออกมาเรียกร้อง ‘เงินชดเชย เงินเยียวยา หรือการยกเว้นภาษีที่ดินให้คนผังเขียว’ และท่านได้บอกประชาชนไหมครับว่า ผงที่ท่านวางมือคือต้องการให้ตะวันออกและตะวันตก เจริญช้ากว่าใจกลางเมือง เพราะผังที่ท่านวางจะกดการเจริญเติบโต ไม่เกิดการลงทุนในบริเวณดังกล่าว ทำให้คนเหล่านี้ต้องเข้าไปทำงานในเมืองแทน หลายคนหวังว่าความเจริญจะขยายมาถึงพวกเขา จะได้มีงานทำใกล้บ้าน จะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่มันช้ามากเพราะผังเมืองแทบไม่สนับสนุนให้ความเจริญไปถึงพวกเขา

ซึ่งผมไม่เห็นว่าท่านจะสื่อสารผลกระทบนี้ให้กับพวกเขา และไม่เรียกร้องสิทธิให้พวกเขาเลย ท่านนิ่งเฉยเสียด้วยซ้ำ ไม่ Action ไม่โวยวายเหมือนที่ท่านโวยวายเรื่องผังเอื้อนายทุน นี่คือสิ่งที่ผมผิดหวังมาก ๆ

ผมย้ำท่านนะครับ ในฐานะผู้ที่อยู่เบื้องหลังผังเมือง ซึ่งเป็น ‘สารตั้งต้น’ ของปัญหาเพิ่มมูลค่าที่ดินของนายทุนที่ดินไข่แดง ท่านได้พยายามลดการเอื้อประโยชน์เหล่านี้หรือไม่ ท่านคงโยนว่าเป็นเรื่องของหน่วยงานอื่นในการไปออกมาตรการ แต่ผมต้องย้ำท่านอีกครั้งนะครับว่า เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของท่านโดยตรงที่ต้องรักษาผลประโยชน์จากผังสีที่ท่านระบายด้วยมือท่านเอง และท่านควรต้องเรียกร้อง และป้องกันอย่างเต็มความสามารถ เพราะ ‘ไม่มีใครเข้าใจผังเมืองที่ท่านร่างและอนุมัติได้ดีเท่าตัวท่านเอง’

ปล. ผมคิดว่าเราไม่ควรไปว่า อ.ชัชชาติ เกี่ยวกับตัวร่างนะครับ เพราะว่าท่านไม่ได้เป็นคนร่าง และไม่ได้อยู่ในคณะกรรมการผังเมือง แต่ในฐานะที่ท่านเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เก่า ผมหวังว่าท่านจะช่วยออกมาตรการ ลดการเอื้อนายทุน และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบครับ ส่วนถ้าจะวิจารณ์เรื่องการประชาสัมพันธ์ และกระบวนการรับฟังความเห็นของกทม. อันนี้เข้าใจได้ครับ ผมก็ไม่ happy ครับ

ต่อมาทางด้าน ‘เบญจมินทร์ ปันสน สส.พรรคก้าวไกล’ ว่าด้วยเรื่องประวัติศาสตร์ ‘ผังเมืองเอื้อกลุ่มทุน’

“ทำไมชนชั้นนำสยาม (สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ขุนนาง และคณบดี) มีที่ดินมากมาย ใจกลางเมือง กรณีศึกษา: ตึกแถวในย่าน เจริญกรุง”

ล่าสุดทางด้าน ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า อันนี้ผมว่าวิจารณ์แบบรู้ไม่จริง กรุงเทพฯ ในอดีตไม่ได้มีการวางผังเมืองแต่อย่างใด กรุงเทพฯ เติบโตแบบไร้การวางแผน ไร้ทิศทางมาก แล้วที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในปัจจุบันนั้นได้มามากในสมัยรัชกาลที่ห้า ก่อนที่จะมีการวางผังเมืองเสียอีก สมัยนั้นกรุงเทพฯ ยังเป็นเวนิสตะวันออกไม่ค่อยมีถนนเสียด้วยซ้ำ

ที่พระคลังข้างที่ได้ที่ดินมาเยอะก็เพราะรับจำนองที่ดิน ไม่ได้ไปกว้านซื้อเองเสียหน่อย แต่แน่นอนว่านายทุนพ่อค้าจะซื้อที่ก็ต้องเก็งกำไรหาทำเลดีไว้อยู่แล้ว แต่พอจะใช้เงินก็เอามาจำนองพระคลังข้างที่แล้วต่อมาใช้หนี้ไม่ไหวเลยหลุดจำนอง พระคลังข้างที่เลยได้ที่ดินแปลงงาม ๆ ในปัจจุบันมามาก

เรื่องนี้จะเอาไปโยงกับการผังเมือง แล้วจะลากไปลามปามสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ไม่สมเหตุสมผล แสดงว่าไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์เสียก่อนเลย อยากให้ สส.ก้าวไกล คนนี้ไปศึกษาประวัติศาสตร์เสียก่อนว่า

หนึ่ง ที่ดินของพระคลังข้างที่และของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ได้นำไปพระราชทานให้คนยากจนในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรที่ยากจนมากมายมาตั้งสมัยรัชกาลที่ 9 ในหลวงรัชกาลที่ 10 ได้สืบสานพระราชปณิธานในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้วยการพระราชทานที่ดินให้หน่วยราชการ สถานศึกษา รวมมูลค่านับแสนล้านบาท

สอง ที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์จำนวนมากเก็บค่าเช่าถูกมาก และให้คนจนเช่าอยู่ในราคาที่ถูกแสนถูก และทำมานานแล้ว

สาม รศ.ดร. มรว. อคิน รพีพัฒน์ นักวิชาการด้านมานุษยวิทยาชาวไทย ได้ทำงานถวายที่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ศึกษาและดำเนินการช่วยเหลือคนจนและช่วยเหลือคนจนให้มีที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 9 จน อาจารย์อคินก็กราบบังคมทูลลาถึงแก่อนิจกรรมไปแล้ว แต่งานของอาจารย์อคินก็ยังมีการดำเนินการต่อมา

เรื่องช่วยเหลือคนยากจน คนด้อยโอกาสให้มีอาชีพและมีที่ทำกินนั้น ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงงานด้านนี้มาอย่างหนักตลอดพระชนม์ชีพ ทรงปรารถนาให้เกษตรกรมีที่ทำกิน ไม่ขายที่นา และในหลวงรัชกาลที่ 10 ก็ทรงสืบสานสิ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงทำมาโดยตลอด ตัดกลับมาที่พรรคก้าวไกลและคณะก้าวหน้าบ้าง

หนึ่ง ครอบครัวจึงรุ่งเรืองกิจ ครอบครองที่ดินไว้มากมายในบริเวณสมุทรปราการและกรุงเทพฯ ได้เคยจัดสรรที่ดินเพื่อคนยากจนหรือเกษตรกรมาก่อนบ้างหรือไม่

สอง นายธนาธร นางสมพร นางชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ ครอบครองที่ดินป่าสงวนที่ราชบุรี จนโดนกรมที่ดินเพิกถอนกว่าพันไร่ ทำไมก่อนหน้านั้นไม่นำมาจัดสรรให้เกษตรกรที่ยากจนได้มีที่ทำกิน แล้วตอนนี้คดีดังกล่าวไปถึงไหนแล้ว

สาม น้องชายนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ พยายามจ่ายสินบนเจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์กว่า 20 ล้านบาทเพื่อให้ได้เช่าที่ดินแปลงงาม 12 ไร่ของสำนักทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ บนถนนเพลินจิต อันนี้ทำเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ หรือทำเพื่อคนยากไร้ยากจนที่ไม่มีที่ดินทำกินหรือที่อยู่อาศัย คดีดำเนินการไปถึงไหนแล้ว

ตกลงไปแก้ปัญหาที่ดินที่ตระกูลจึงรุ่งเรืองกิจครอบครองมากมายและยังไม่ได้จัดสรรที่ดินให้คนยากจนได้อยู่อาศัยหรือทำกินเสียก่อน จะดีกว่าไหม

‘ลอรี่ รทสช.’ ไล่ ‘สส.ก้าวไกล’ กลับไปทำการบ้านให้ดีกว่านี้ หลังอธิบายเรื่องผังเมือง แต่กลับพาดพิง ‘สำนักทรัพย์สินฯ’

(11 ม.ค. 67) นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว หลังจาก สส.ก้าวไกล ได้อภิปรายในสภาฯ ในวันพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 เกี่ยวกับเรื่องผังเมือง โดย นายพงศ์พล ระบุว่า “ผังเมือง...อย่าโหนเรื่องเจ้า

ถกเรื่องผังเมืองกรุงเทพฯ อยู่ ๆ ตัวแทนก้าวไกล โพร่งออกมาพาดพิงสำนักทรัพย์สินฯ

ฟังนะครับ…ที่ดินของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีจำนวนทั้งสิ้น 41,000 ไร่ ส่วนใหญ่จัดสรรให้ราชการเช่าใน ‘ราคาต่ำ’ เพื่อประโยชน์ของปชช. ถึง 93% มีพื้นที่เชิงพาณิชย์เพียง 7% เท่านั้น

ยิ่งไปกว่านี้ สถาบันกษัตริย์ยังมีการพระราชทานโฉนดที่ดิน เพื่องานราชการ และสร้างโรงเรียนเนือง ๆ อยู่ตลอด

มิใช่ตามที่ต้นทางโจมตีผิด ๆ ว่าเอาที่ดินมาหากินแต่อย่างใด...โปรดจำไว้ใส่กระหม่อม

หากต้องการ ถกเรื่องการพัฒนาผังเมืองกรุงเทพ ฉบับใหม่แบบจริง ๆ จัง ช่วยทำการบ้านมากกว่านี้ เพราะผังเมืองปฏิเสธไม่ได้หรอกมันคือ การถ่วงดุลย์ระหว่าง คุณภาพชีวิตผู้อยู่อาศัย-สิ่งแวดล้อม ให้บาล๊านซ์กับ ความเจริญ (เติบโตจากภาคเอกชน)

ปราศจากทุนเมืองก็ไม่โตครับ เอกชนสร้างตึกทุกที่ไม่มีข้อจำกัด สภาพคนกรุงก็ร่อแร่ครับ...นี่คือความเป็นจริง ถ้าเรายังยืนอยู่บนโลกใบเดียวกัน ไม่มีตรรกะอุดมคติเพ้อฝันนัก

ฉะนั้นต้องเจาะดูเป็นโซนครับ ตรงไหนไม่ยอมให้เอกชนขยายแล้วอย่าง สุขุมวิท-พร้อมพงษ์ ขีดปากกาล้อมไว้ ลงรายละเอียดลึก

เพราะโหนด่าแต่กลุ่มทุน ด่าแต่สำนักทรัพย์สินฯ ให้คนเย้ว ๆ ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา เป็นแค่การหาเรื่อง ของพวกไม่ทำการบ้านเท่านั้น

‘เอกนัฏ’ จ่อถกกรมโยธาฯ แก้ปัญหาผังเมือง รองรับการลงทุน หวังภาคอุตสาหกรรมช่วยดัน GDP ประเทศเพิ่มขึ้นอีก 1%

(3 มี.ค. 68) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยในระหว่างการประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา

โดยเป้าหมายหลักของการประชุม ได้แก่ การขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมในปีนี้ ตั้งไว้เพิ่ม GDP ขึ้น 1% ให้ได้ภายในปี 2568 ขณะเดียวกันมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน โดยเป้าหมายหลักคือลดขั้นตอนการอนุมัติโครงการ เร่งกระบวนการลงทุน และพัฒนาพื้นที่รองรับการลงทุนในอนาคตกว่า 50,000 ไร่

“ผมกำหนดเป้าหมาย KPIs เพิ่ม GDP ขึ้น 1% ภายในปี 2568 มุ่งเน้นลงทุนเพิ่มในอุตสาหกรรมใหม่ และอุตสาหกรรม สีเขียว การให้ความรู้ (knowledge) แก่บุคลากรให้มีทักษะรองรับอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างความยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” นายเอกนัฏ กล่าว

นายเอกนัฏ กล่าวอีกว่า เตรียมร่างกฎหมายฉบับใหม่เพื่อบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม และขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าผิดกฎหมายและขยะพลาสติก ซึ่งหากประชาชนพบปัญหาเกี่ยวกับโรงงานเถื่อน หรือโรงงานที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน สามารถแจ้งเรื่องได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ 'แจ้งอุต' 

ทั้งนี้ เมื่อได้รับแจ้งกระทรวงฯ จะส่งทีมเฉพาะกิจ 'ตรวจสุดซอย'ลงพื้นที่ตรวจสอบการประกอบกิจการที่ฝ่าฝืนกฎหมายทันทีและจะดำเนินคดีอย่างเด็ดขาดกับผู้กระทำความผิดและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อจัดการกับธุรกิจสีเทาและส่งเสริมผู้ประกอบการที่ปฏิบัติตามกฎหมาย 

นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ กรรมการ กนอ.รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ กนอ. ปรับปรุงกระบวนการอนุมัติจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม จากเดิม 9 ขั้นตอนเหลือเพียง 8 ขั้นตอน เพื่อลดความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในการดำเนินโครงการ รวมทั้งให้เร่งการอนุมัติโครงการโดยอนุญาตให้ประกาศพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมได้ ก่อนรายงาน EIA จะเห็นชอบ 

ปัจจุบันมีพื้นที่อุตสาหกรรมพร้อมขาย 23,662.45 ไร่ และมีพื้นที่เสนอจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใหม่ 4,959 ไร่ รวมถึงโครงการที่คาดว่าจะจัดตั้งหรือขยายในอนาคตอีก 27 โครงการ ในพื้นที่ EEC 71,243 ไร่  

โดยที่ผ่านมาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม มีการขยายธุรกิจและการลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงานและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดย กนอ. ได้เร่งรัดกระบวนการขออนุญาตเรื่องการประกาศเขตเพื่อให้สามารถขายสินค้าได้เร็วขึ้น 

อย่างไรก็ตาม กนอ. พร้อมเป็นกลไกขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม โดยจะประสานความร่วมมือกับกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย เพื่อแก้ไขปัญหาและอำนวยความสะดวกในการดำเนินโครงการต่างๆ ให้กับผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม เพื่อสร้างการเติบโต GDP ของภาคอุตสาหกรรมอย่างน้อย 1% ในปี 2568

‘สนามบินฮ่องกง’ นำชิ้นส่วนประวัติศาสตร์ กลับมามีชีวิตอีกครั้ง สร้าง ‘กำแพงเมืองเกาลูน’ ขึ้นมาใหม่ในล็อบบี้ ก่อนที่จะถูกรื้อถอน

(9 มี.ค. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘Jaroensook Limbanchongkit Pone’ โพสต์ข้อความระบุว่า ...

#สนามบินฮ่องกง ได้นำชิ้นส่วนประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจกลับมามีชีวิตอีกครั้งด้วยการสร้าง #กำแพงเมืองเกาลูน ขึ้นมาใหม่ในล็อบบี้ ก่อนที่จะถูกรื้อถอนในปี 1994 

กำแพงเมืองเกาลูนเป็นที่เลื่องลือว่าเป็นสถานที่ที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก โดยมีผู้อยู่อาศัย 33,000 คนเบียดเสียดกันอยู่ในตึกเดียว พื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นนี้กลายเป็นตำนานด้วยบรรยากาศที่วุ่นวายแต่มีชีวิตชีวา ซึ่งแทบไม่มีกฎระเบียบอย่างเป็นทางการ และชุมชนก็เติบโตขึ้นจนกลายเป็นภูมิทัศน์เมืองที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

เนื่องจากไม่มีการวางผังเมืองที่เหมาะสม เมืองที่มีกำแพงล้อมรอบจึงกลายเป็นเขาวงกตที่มีตรอกซอกซอยแคบๆ และอาคารหลายชั้น ทำให้กลายเป็นพื้นที่ที่ซับซ้อนและแทบจะเดินไปไหนมาไหนไม่ได้เลย แม้จะมีสภาพความเป็นอยู่ที่เลวร้าย 

แต่เมืองนี้ก็กลายเป็นชุมชนที่เจริญรุ่งเรือง มีครอบครัว ธุรกิจขนาดเล็ก และอุตสาหกรรมต่างๆ อยู่ร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่แออัด 
ผู้คนในเมืองที่มีกำแพงล้อมรอบเกาลูนแสดงให้เห็นถึงความอดทนและความเฉลียวฉลาดอย่างน่าทึ่ง โดยพวกเขาค้นหาวิธีที่จะทำให้ชีวิตที่คับแคบและขาดแคลนทรัพยากรของพวกเขาประสบความสำเร็จ

กำแพงเมืองเกาลูนยังคงเป็นสัญลักษณ์ของการอยู่รอดและการปรับตัวในเมือง ดึงดูดจินตนาการของผู้ที่เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเมืองนี้ 
แบบจำลองในสนามบินฮ่องกงทำหน้าที่เป็นเครื่องบรรณาการให้กับการตั้งถิ่นฐานอันพิเศษนี้ โดยให้ผู้เยี่ยมชมได้สัมผัสกับโลกที่ไม่เหมือนใคร มีชีวิตชีวา และไม่ธรรมดาที่เคยดำรงอยู่ภายในขอบเขตของเมืองที่หนาแน่นแห่งนี้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top