Tuesday, 25 June 2024
ปลดล็อกกัญชา

ราชกิจจาฯ ประกาศปลด ‘กัญชา’ พ้นยาเสพติด มีผลบังคับใช้ในอีก 120 วัน!!

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสธ. ปลดล็อก "กัญชา" พ้นยาเสพติดแล้ว มีผลบังคับใช้ในอีก 120 วัน

(9 ก.พ. 65) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 มีรายละเอียดดังนี้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 29 วรรค (แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1. ให้ยาเสพติดให้โทษที่ระบุชื่อดังต่อไปนี้ เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
(1) พืชฝิ่น พืชซึ่งมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Papaver somniferum L. และ Papaverbracteatum Lindl. หรือที่มีชื่ออื่นในสกุลเดียวกันที่ให้ฝุ่นหรือแอลคาลอยด์ของฝิ่น
(2) เห็ดขี้ควายหรือพืชเห็ดขี้ควาย ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psilocybe cubensis (Earle) Singer หรือที่มีชื่ออื่นในสกุลเดียวกันที่ให้สาร psilocybin หรือ psilocin

(3) สารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชาหรือกัญชง ซึ่งเป็นพืชในสกุล Cannabis ยกเว้น
(ก) สารสกัดที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 2 โดยน้ำหนัก เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้สกัดจากพืชกัญชาหรือกัญชงที่ปลูก
(ข) สารสกัดจากเมล็ดของพืชกัญชาหรือกัญชง ที่ได้จากการปลูกภายในประเทศ

“รองโฆษกรัฐบาล” เผย ปชช.ตอบรับปลดล็อกกัญชา ด้านสธ.เตรียมประชุมวิชาการกัญชาทางการแพทย์ ครั้งที่ 1 นำร่องจ.สุรินทร์4-6 มี.ค.นี้ 

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า หลังกระทรวงสาธารณสุข มีประกาศกระทรวง เรื่องระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 โดยล็อกปลดกัญชาและกัญชง พ้นจากยาเสพติดให้โทษ มีผลบังคับใช้ 120 วัน นับจากวันที่ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 9 ก.พ.ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข แจ้งว่า วิสาหกิจชุมชนหลายแห่ง จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากกัญชาและกัญชง โดยมีกับประชาชนสนใจเข้ารับการอบรม จำนวนมาก แสดงว่าประชาชนตอบรับการปลดล็อกกัญชาและกัญชง เป็นอย่างดี

 น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข เตรียมจัดประชุมวิชาการกัญชาทางการแพทย์ครั้งที่ 1 เพื่อเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับพืชกัญชาและกัญชงให้กับประชาชน ในทุกเขตสุขภาพทั่วประเทศ เน้น 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ1.ผู้ป่วย 2.ประชาชนทั่วไป 3.ผู้ประกอบการ คาดว่าจะเริ่มจัดประชุมวิชาการฯ ที่แรกในเขตสุขภาพ ที่ 9 จ.สุรินทร์ วันที่ 4-6 มี.ค.นี้ ในงานจะแสดงความก้าวหน้ากัญชาทางการแพทย์ จัดคลินิกกัญชาบูรณาการ พร้อมกับจัดมหกรรมกัญชากัญชง ภายในงาน จากนั้นจะขยายการจัดงานครอบคลุมทุกเขตสุขภาพ 

'โจอี้ บอย' เตือน!! มือใหม่ไม่เคยดูดกัญชา อย่าริลองกิน ลั่น!! เห็นหามส่ง รพ. ไปเยอะแล้ว

แม้ร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง จะออกมาไม่ทันวันที่ 9 มิ.ย.ก็ตาม หลังจากที่ “อนุทิน ชาญวีรกูล” รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประกาศปลดล็อกกัญชาโดยทุกส่วนของ กัญชา กัญชง ที่ปลูกภายในประเทศ ไม่ใช่ยาเสพติดประเภท 5 ยกเว้นสารสกัดที่มีสาร THC เกิน 0.2 เปอร์เซ็นต์ ยังเป็นยาเสพติด ประชาชนสามารถปลูกกัญชาได้ถูกกฎหมาย แต่ส่วนการขออนุญาตในเชิงพาณิชย์ต่าง ๆ ผ่านแอปฯ “ปลูกกัญ” จะเริ่มให้บริการในวันที่ 9 มิ.ย.2565 เป็นต้นไป ทำให้เรื่องนี้ถูกพูดถึงเป็นวงกว้างในโลกโซเชียล

ล่าสุดแรปเปอร์ชื่อดัง “โจอี้ บอย” ก็ได้โพสต์เฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ไว้ว่า….
 

รู้เท่าทัน ‘คุณและโทษ’ หลังปลดล็อกกัญชา ความท้าทายใหม่ของสังคมไทย

หลังจากที่เป็นมหากาพย์มาค่อนข้างจะยาวนาน จากนโยบายการหาเสียงของพรรคการเมืองใหญ่พรรคหนึ่ง สู่การนำมาใช้ปฏิบัติจริง จนกระทั่งกลายเป็นความขัดแย้งของหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย 

สุดท้ายแล้ว เมื่อวันที่ (9 มิถุนายน 2565) ก็เป็นอีกวันหนึ่งที่ต้องมีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทย หลังประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุยาเสพติดประเภทที่ 5 พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้ ส่งผลให้ส่วนประกอบของกัญชาทุกอย่าง ยกเว้นสารสกัดจากกัญชาที่มีค่า THC (Tetrahydrocannabinol) ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์เกิน 0.2 % มีสถานภาพที่ไม่ใช่สารเสพติดต่อไปอีกแล้ว



สำหรับกัญชานั้นเป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้าชนิดหนึ่ง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. เป็น mono specific มีชื่อสามัญหลากหลาย เช่น hemp, marijuana, pot, gandia เป็นต้น กัญชามักจะเป็นที่นิยมเรียกกันในกลุ่มผู้เสพว่าเนื้อ 

ก่อนที่จะถูกปลดล็อก กัญชาจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ลักษณะใบกัญชา จะเรียวยาวแตกเป็นแฉกคล้ายใบละหุ่งหรือมันสำปะหลัง ส่วนที่นำมาใช้เสพก็คือ ใบและยอดช่อดอกตัวเมีย โดยการนำมาตากหรืออบแห้งแล้วบดหรือหั่นเป็นผงหยาบๆ นำมามวนบุหรี่สูบ หรืออาจสูบด้วยกล้อง หรือมีวัสดุสำหรับสูบ ทำจากไม้ไผ่เรียกว่าบ้องกัญชา บางครั้งอาจใช้วิธีเคี้ยวทาน หรือใช้เป็นส่วนประกอบกับอาหารรับประทานก็ได้ 

เมื่อเสพกัญชาเข้าไปในระยะแรกของการเสพ สาร THC ที่เป็นสารออกฤทธิ์ของกัญชาจะกระตุ้นประสาททำให้ผู้เสพมีอาการร่างเริง ช่างพูด หัวเราะง่าย หัวใจเต้นเร็ว ตื่นเต้นง่าย ต่อมาจะมีอาการคล้ายคนเมาเหล้าอย่างอ่อน เนื่องจากกัญชาออกฤทธิ์กดประสาท ผู้เสพจะมีอาการง่วงนอน ซึม หายใจถี่ เห็นภาพลวงตา ภาพหลอนต่าง ๆ เกิดอาการหู่แว่ว ตกใจง่าย วิตกกังวล หวาดระแวง บางรายคลื่นไส้อาเจียน ความจำเสื่อม ความคิดสับสน เพ้อคลั่ง ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ มีอาการทางจิต 

การปลดล็อกกัญชาให้ออกจากการเป็นสารเสพติด โดยใช้เหตุผลหลักเพื่อให้ได้ใช้ประโยชน์จากกัญชาอย่างเต็มที่ ทั้งในเรื่องของการเป็นยารักษาโรค และใช้เป็นส่วนประกอบของอาหาร ซึ่งจะส่งผลให้กัญชากลายเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ปลูกได้ 
 


แต่อย่างไรก็ตามหลังจากการปลดล็อกกัญชาให้พ้นจากการเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 แล้วนั้น มีประเด็นที่ท้าทายสังคมไทยมากที่สุด คือการสร้างให้เกิดความสมดุลระหว่างประโยชน์และโทษของกัญชา 

ทั้งนี้การปลดล็อกกัญชาจากยาเสพติดนั้น จะต้องมีกระบวนการหรือมาตรการให้เกิดการนำเฉพาะส่วนที่เป็นข้อดีของกัญชาออกมาใช้ เพราะถึงแม้กัญชาจะมีประโยชน์มากมาย แต่ถ้าใช้ไม่ถูกวิธี หรือใช้เกินขนาดก็จะส่งผลให้เกิดโทษตามมาเช่นกัน โดยเฉพาะในส่วนของสารออกฤทธิ์ THC ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่าการใช้กัญชานั้นจะเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษ  

โดยลักษณะการออกฤทธิ์ของสาร THC จะมีลักษณะเด่น ๆ คือ ถ้าได้รับในปริมาณที่เหมาะสม คือไม่สูงจนเกินไปจะมีผลในการลดอาการปวด ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดอาการคลื่นไส้ ทำให้เกิดการผ่อนคลาย ช่วยให้นอนหลับได้ดี 

ทั้งนี้ทางการแพทย์ได้มีการนำมาใช้เป็นยารักษาโรคต่าง ๆ เช่น บรรเทาอาการข้างเคียงของการได้รับเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง บรรเทาอาการภูมิแพ้ บรรเทาอาการที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี บรรเทาอาการที่ทำให้เจ็บปวดเรื้อรัง บรรเทาอาการการติดเชื้อ หรืออักเสบของอวัยวะต่างในร่างกาย เป็นต้น 

'อนุทิน' ย้ำชัด!! ไม่เคยปล่อยกัญชาเป็นสันทนาการ เย้ย!! ถึงถูกขัดขา แต่คะแนนนิยมก็ยังไม่ลด

'อนุทิน' ชี้ ปมกัญชาไม่ให้ราคาเด็กปชป. บอกคนละระดับ สื่อสารแค่กับ หน. - เลขาฯพรรค ย้ำไม่เคยปล่อยสันทนาการ เย้ยถูกขัดขาแต่คะแนนนิยมไม่ลด 

(5 ธ.ค. 65) ที่ จ.นครพนม นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ ส.ส. และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ยังออกมาตอบโต้ปมกัญชา ว่า ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ตนมีความแนบแน่นกับนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์, นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข ในฐานะรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งกับนายจุติ เราต่างก็ดูแลประชาชน เวลาประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ท่านนั่งติดกับตน อะไรที่ดูแล้วขัดแย้งกัน ตนก็โทรไปคุยกับท่าน

เมื่อถามว่า แต่ภาพที่ออกมาเหมือนพรรคภูมิใจไทยกับพรรคประชาธิปัตย์เหมือนไม่ลงรอยกัน เพราะ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ มีการใช้คำพูดที่รุนแรงว่าใจไม่ต่ำพอที่จัดฉาก ทำให้นายอนุทิน สวนกลับทันทีว่า "เขาพูดแทนผมเลย ว่าใจไม่ต่ำพอที่จะจัดฉาก คนพาลก็แบบนี้ ภูมิใจไทยอยู่เฉยๆ หนีไปภูเก็ต หนีมานครพนมก็ยังตามมา คงจะหิวแสง ขึ้นแล้วหาทางลงไม่ได้"

ปลดล็อกกัญชาออกจากยาเสพติด เกมหักเหลี่ยมเฉือนคม สะท้อนนิยาม 'การเมือง' ผลประโยชน์ที่ไม่เข้าใครออกใคร

เริ่มจากร่างประมวลกฎหมายยาเสพติดที่เข้าสู่รัฐสภา เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างส.ส. และส.ว. ได้เสนอมาตอนนั้นในร่างมาตรา 29 มันไม่มีคำว่า 'กัญชา' อยู่ตั้งแต่ร่างมาแล้ว ทั้งๆ ที่กัญชาประเภท 5 เป็นยาเสพติดที่ถูกให้ความสำคัญมาตลอด ในพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ

ต่อมารัฐสภาได้ทำการพิจารณาร่างประมวลกฎหมาย ยาเสพติด ซึ่งเสนอโดยรัฐบาล 
ในมาตรา 29 ประเภท 5 มันไม่มีคำว่า 'กัญชา' อยู่ ซึ่งมีคำว่าพืชฝิ่น กับเห็ดขี้ควาย 2 อย่างเท่านั้น ซึ่งเมื่อก่อนตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษปี 2522 ประเภท 5 มันมีคำว่ากัญชา ยาฝิ่น กระท่อม แล้วก็ถอดกระท่อมออกเหลือ 2 อย่าง 

นายศุภชัย ใจสมุทร เฝ้าเกาะติด มาตรา 29 มาตลอด มีคนเสนอว่า ควรจะต้องมีคำว่ากัญชาด้วยไหม ในการประชุม นายศุภชัย ใจสมุทร เข้าร่วมประชุมด้วย บอกว่า ไม่ มันไม่มาตั้งแต่แรก นายศุภชัยเป็นรองประธาน ในเวลานั้น บอกว่าไม่ต้องมีคำว่ากัญชา นี่คือที่มาทั้งหมด 

>>พฤศจิกายน 2564
-รัฐสภาทำการพิจารณาแล้วเสร็จ จึงมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา และ มีผลบังคับใช้หลังจากนั้นอีก 30 วัน

>>8 ธันวาคม 2564
-จุดเริ่มต้นของการปลดล็อกกัญชา
-ประมวลกฎหมายยาเสพติด มีผลใช้บังคับ โดยการลงมติเห็นชอบ พร้อมทั้ง ส.ส. สว. ทั้งฝ่ายค้าน ทั้งฝ่ายรัฐบาล ดังนั้นกัญชาไม่ได้เป็นยาเสพติดนับตั้งแต่วันที่ 8/12/2564 จนถึงปัจจุบัน

>>มกราคม 2565
-คณะกรรมการ ป.ป.ส.ได้มีการจัดประชุม คือตามกฎหมายมาตรา 29 กำหนดว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งมีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบเรื่องนี้ ให้ประกาศระบุประเภทของยาเสพติดแต่ละประเภท 

-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้เสนอต่อที่ประชุม คณะกรรมการป.ป.ส. ว่าสิ่งที่เป็นยาเสพติด คือ 1 คือ พืชฝิ่น 2 คือเห็ดขี้ควาย 3 คือสารสกัดจากกัญชา มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนาบินอล (tetrahydrocannabinol – THC) เกิน 0.2 % ที่ยังเป็นยาเสพติด

-พรรคภูมิใจไทย ขอให้มีการประกาศบังคับใช้ โดยมีการนับไปอีก 120 วัน ก็คือวันที่ 8 มิถุนายน 2565

-นายศุภชัย เสนอ จะต้องมีกฎหมายพ.ร.บ. กัญชา กัญชง มาอีกฉบับหนึ่ง 

-ที่ประชุมมอบให้พรรคภูมิใจไทย ซึ่งมีฉบับร่างอยู่แล้ว นำฉบับร่างพ.ร.บของพรรคภูมิใจไทย ที่เกี่ยวกับการทำเรื่องกัญชาเสรีทางการแพทย์นั้นมายื่น เพื่อให้ทันภายใน 120 วัน โดย อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ได้ไปยื่นต่อ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาเองโดยตรง 

-นายชวน หลีกภัย ประธานสภา พิจารณาบรรจุเข้ามาเป็นร่างพระราชบัญญัติต่อไปได้ และนายกรัฐมนตรีได้อนุมัติรับรองให้ทันทีทันใด

>>9 มิถุนายน 2565
-วันที่ 9 มิถุนายน 2565 ได้ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมา 25 คน และทำการพิจารณากันจนแล้วเสร็จ ผ่านไป 19 วันมีการประชุมรัฐสภาอีกครั้ง ปรากฏว่า มีการเสนอเข้าที่ประชุมแล้ว การเปิดเสรีกัญชานั้นได้ถูกตีตก จากพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อไทย พลังประชารัฐ ก้าวไกล และพรรคประชาชาติ ไม่ยอมให้กฎหมายผ่านมติการประชุม

-พ.ร.บ.กัญชา กัญชง เข้าสู่วาระที่ 2  มีส.ส.จากพรรค ประชาธิปัตย์ เพื่อไทย ก้าวไกล ประชาชาติ ยืนยันจะเอากัญชากลับไปเป็นยาเสพติด จน ณวันนี้สภาปิด พ.ร.บ.กัญชา ก็ค้างในสภา พรรคภูมิใจไทย เดินหน้าต่อ เพื่อจะทำกัญชาทางการแพทย์ตั้งแต่หาเสียง และเศรษฐกิจ จะไม่เอานันทนาการ พรรคภูมิใจไทย จะเอากัญชาทางการแพทย์เท่านั้น แต่โดนบิดเบือนจากพรรคการเมืองตรงข้ามพรรคภูมิใจไทย  

>>10 มิถุนายน 2565
-อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมวิชาการ “มหกรรมกัญชา 360 องศา ปลดล็อกกัญชา ประชาชนได้อะไร” พร้อมแจกต้นกล้ากัญชา 1 พันต้น ณ จังหวัดบุรีรัมย์ 

>>16 มิถุนายน 2565
-กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศ สธ. มีผลบังคับใช้วันที่ 17 มิ.ย 2565 เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 4, 44, 45(3), 45(4) แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 กำหนดให้กัญชา หรือสารสกัดกัญชา เป็นสมุนไพรควบคุม

>>18 มิถุนายน 2565
-อนุทิน ชาญวีรกูล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายทะเบียนพรรคภูมิใจไทย แจง ประกาศ สธ. กัญชาเป็นสมุนไพรควบคุม มีผลตามกฎหมายแล้ว

การขับเคลื่อนนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กว่า 1 ปี ในช่วงแรกเน้นให้ประชาชนเข้าถึงยากัญชาทางการแพทย์ ที่ได้มาตรฐานจากสถานพยาบาลใกล้บ้านกว่า 300 แห่งทั่วประเทศ 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top