(18 ต.ค. 67) หากนับตามปฏิทินจันทรคติวันนี้คือวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 วันอาสาฬหบูชาตามความสำคัญในศาสนาพุทธ ที่มีการตักบาตรเทโวโรหณะ ตามคติว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่ท่านทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดพระมารดา ในการเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นได้มีพุทธศาสนิกชนสมัยพุทธกาลเป็นจำนวนมากได้รอใส่บาตรเพื่อเป็นกุศลแก่ชีวิต
จากคติที่ว่ามานี้ได้นำมาสู่อีกหนึ่งประเพณีที่มีงดงามของประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ คือประเพณีชักพระ ที่จะจัดขึ้นทุก ๆ วันขึ้น 1 ค่ำเดือน 11 ของทุก ๆ ปี
การชักพระในพื้นที่ภาคใต้ของไทยนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ
การชักพระทางบก คือการอัญเชิญพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขึ้นประดิษฐาน บนนบพระ หรือบุษบก แล้วแห่แหน ใช้เชือกแบ่งผูกเป็น 2 สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย ใช้โพน ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตีให้จังหวะในการลากพระ คนลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสานเสียงร้องบทลากพระเพื่อผ่อนแรง วัดส่วนใหญ่ ที่ดำเนินการประเพณีลากพระวิธีนี้ มักตั้งอยู่ในที่ไกลแม่น้ำลำคลอง
การชักพระทางน้ำ เป็นการอัญเชิญพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขึ้นประดิษฐาน บนบุษบก ในเรือ แล้วแห่แหนโดยการลากไปทางน้ำ ประเพณีลากพระ ที่มักกระทำด้วยวิธีนี้ เป็นของวัดที่ส่วนใหญ่อยู่ใกล้แม่น้ำลำคลองการลากพระทางน้ำจะสนุกกว่าการลากพระทางบก เพราะสภาพการเอื้ออำนวยต่อกิจกรรมอื่น ๆ เช่น สะดวกในการลากพระ ง่ายแก่การรวมกลุ่มกันจัดเรือพาย
ไม่ว่าจะเป็นการชักพระทางบกหรือทางน้ำล้วนแต่มีการตกแต่งที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปอย่างวิจิตร เป็นที่ตื่นตาของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เป็นงานบุญครั้งสำคัญที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากในทุก ๆ ปี
สำหรับงานพิธีทางศาสนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในพื้นที่ภาคใต้ประกอบไปด้วย 2 พิธี ได้แก่ พิธีสารทเดือนสิบ และพิธีชักพระ
‘งานสารทเดือนสิบ’ ที่เป็นงานบุญที่รวบรวมบรรดาลูกหลานไม่ว่าอยู่ในพื้นที่ไหนก็ต้องกลับบ้าน เป็นงานพิธีเชิงสัญลักษณ์ที่ผูกร้อยให้เกิดความเชื่อมโยงกันในครอบครัว วงศาคณาญาติ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคงหนีไม่พ้นงานที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
และหากกล่าวถึงประเพณีชักพระแล้วเป็นไปไม่ได้เลยที่จะละเลยการกล่าวถึง ‘สุราษฎร์ธานี’ ที่ประเพณีนี้มีความยิ่งใหญ่ที่สุด จนมีชื่อเสียงระดับประเทศ ทั้งจากประชาชนที่เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งความวิจิตรของขบวนชักพระ นอกจากนี้ในจังหวัดสุราษฎร์ธานียังได้ผนวกอีกหลายประเพณีรวมกันเป็น ‘งานประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่า และแข่งเรือยาวฯ’
ซึ่งในปีนี้นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมยกทีมอันประกอบด้วยนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรครวมไทยสร้างชาติ
เป็นการตอกย้ำความเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของพรรครวมไทยสร้างชาติที่สามารถคว้าเก้าอี้ สส. ได้มากที่สุดของพรรค และเน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญของพื้นที่ภาคใต้เป็นอย่างยิ่ง ผ่านการมีการมีส่วนร่วมไม่ว่าจะยามทุกข์หรือยามสุข