Wednesday, 23 April 2025
ประมงผิดกฎหมาย

สตูล - ศรชล.สตูล สนธิกำลังกับหลายหน่วยงาน เปิดปฏิบัติการ!! เข้ารื้อถอนทำลายล้าง ‘เครื่องมือ และอุปกรณ์ทำการประมง’ผิดกฎหมาย!!

วันนี้ 28 มกราคม 2565 พล.ร.ท.สมพงษ์ นาคทอง ผู้บัญชาการทัพเรือภาค 3 และผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค3(ผบ.ทรภ.ภาค3/ผอ.ศรชล.ภาค3), น.อ.ธนฤกษ์ วรชาตินักรบ ผู้บังคับการ หน่วยเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงในพื้นที่ภาคใต้ ศรชล.ภาค3 และรองอำนวยการ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จังหวัดสตูล ศรชล.ภาค3 (ผบ.นก.กมต.ศรชล.ภาค 3/รอง ผอ.ศรชล.สต.ศรชล.ภาค3) บูรณาการกำลังร่วมกับนายโชคชัย เมืองสง หัวหน้าหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลเกาะหลีเป๊ะ สตูล, น.ต.ปรัชญ์ ขำเจริญ หัวหน้าสถานีเรือละงู/รองผู้บังคับหน่วยรักษาความปลอดภัยทางทะเล กองทัพเรือ เกาะหลีเป๊ะ,และเจ้าหน้าที่ทหารเรือ,เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลเกาะหลีเป๊ะ สตูล, ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลจังหวัดสตูล ,ตำรวจน้ำสตูล,ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 24, ด่านศุลกากรสตูล,สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสตูล, ชปพ.นสร. เข้าทำการตรวจสอบพื้นที่เป้าหมายตามที่ได้แจ้งมาบริเวณ เกาะฮันดู ร่องน้ำเจ๊ะบิลัง และร่องน้ำปากคลองตะเคียน

จนกระทั่งได้ตรวจพบว่ามีการลักลอบวางเครื่องมือและอุปกรณ์ทำการประมงผิดกฎหมายชนิดลอบพับได้หรือไอ้โง่ ซึ่งมีช่องทางเข้าของสัตว์น้ำสลับซ้ายขวาอยู่ทางด้านข้างใช้สําหรับดักสัตว์น้ำ อยู่ในบริเวณดังกล่าวอยู่เป็นจำนวนมาก ในพิกัดที่ แลติจูด 6 องศา 39.0374 ลิปดา เหนือ ลองจิจูด 99 องศา 57.3989 ลิปดา ตะวันออก ห่างจากฝั่งประมาณ 419.69 เมตร จึงได้ทำการลรื้อถอนลอบพับได้หรือไอ้โง่ออกจากบริเวณดังกล่าวขึ้นมาได้ทั้งหมดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 117 ลูก 

 

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ร่วมกับคณะทำงานฝ่ายไทย เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและคณะกรรมาธิการยุโรปในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย 

เมื่อวันที่่ 13 ต.ค.65) เวลา 14.30 น. พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ร่วมกับคณะทำงานฝ่ายไทย เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและคณะกรรมาธิการยุโรปในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) ระหว่างวันที่ 11-14 ต.ค.65 โดยในวันนี้มีการประชุมร่วมกัน ณ ห้องประชุมแกลลอรี่ 1 ชั้น 3 โรงแรม ดิ แอทธินี่ กรุงเทพฯ

หลังจากที่ผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ประชุมในภาพรวมกับคณะผู้แทนฝ่ายไทยในคณะใหญ่ เพื่อสังเกตการณ์การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายของไทย รวมถึงได้สังเกตการณ์การทำงาน ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก (PIPO) ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมและสังเกตการณ์เรือประมง ซึ่งมีการบูรณาการร่วมกันของหลายหน่วยงาน นั้น 

คณะผู้แทนกรรมาธิการยุโรป นำโดย คุณโรเบอร์โต้ เซซารี่ (Mr.Roberto Cesari ) หัวหน้ากองต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย (Head of Unit IUU ) ,น.ส.อเดล่า เรย์  อาเนรอส (Ms.Adela Rey  Aneiros ) น.ส.ซาร่า เปรูโช่ มาร์ติเนซ (Ms.Sara Perucho Martinez) เจ้าหน้าที่ฝ่ายประสานงานต่างประเทศ กองต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย (International Relations Officer IUU)  ได้เข้าร่วมประชุมกับคณะผู้แทนฝ่ายไทย ด้านการดำเนินคดีและการบังคับใช้กฎหมาย โดย พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร., พล.ต.ต.พนัญชัย ชื่นใจธรรม รอง ผบช.ภ.1/รองประธานคณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ควบคุม เฝ้าระวังการทำประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย, พล.ต.ต.ศุภเศรษฐ์ โชคชัย รอง ผบช.ทท./หัวหน้าชุดปฏิบัติการสนับสนุนการตรวจสอบการทำประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย, รศ.ดร.ธนพร ศรียากูล กรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการด้านการดำเนินคดีและการบังคับใช้กฎหมาย

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ร่วมประชุมคณะกรรมการบริหาร ศรชล. นำเสนอแนวทางบูรณาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) แบบยั่งยืน

วันนี้ (10 มี.ค.66) พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมง (ศพดส.ตร.) ได้เดินทางเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ครั้งที่ 1/2566 ณ โรงแรมดุสิตธานี พัทยา จ.ชลบุรี โดยมี พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผบ.ทร. เป็นประธานการประชุม และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมประกอบด้วย กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

ในการประชุมครั้งนี้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ได้นำเสนอเกี่ยวกับการดำเนินการปราบปรามการทำประมงผิดกฎหมายในหลายมิติ ได้แก่ การบังคับใช้กฎหมายกับเรือประมงพาณิชย์จำนวน 27 ลำ ที่ลักลอบทำประมงในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา จ.สตูล ซึ่งคดีอยู่ในระหว่างการดำเนินการสอบสวน และการตรวจสอบกรณีเรือประมงที่ใช้อวนล้อมจับปลากะตักจำนวน 52 ลำ ซึ่งการดำเนินการจำเป็นจะต้องบูรณาการร่วมกับ ศรชล และกองทัพเรือ ในการใช้เครื่องมือพิเศษและกำลังพลเข้าดำเนินการตามกฎหมาย รวมไปถึงการดำเนินการล่าสุด กรณีตรวจพบเรือประมงสัญชาติเกาหลีชื่อ Sun Flower 7 ขนปลาทูน่าจำนวน 4,000 ตัน มาขึ้นท่าเพื่อส่งให้โรงงานปลากระป๋อง ซึ่งมีพฤติการณ์ในการทำประมงผิดกฎหมายโดยการเก็บทุ่นลอยน้ำสำหรับเป็นแพล่อปลาในพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิก ในการดูแลของคณะกรรมาธิการประมงแปซิฟิกตะวันตกและแปซิฟิกกลาง (WCPFC) โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งทางการไทยได้แสดงออกอย่างชัดเจนในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย โดยการไม่อนุญาตให้นำปลาที่ได้จากการทำประมงผิดกฎหมายเข้ามาในราชอาณาจักร และได้ผลักดันเรือออกจากน่านน้ำไป ซึ่งในเรื่องนี้ จำเป็นจะต้องมีการกำหนดมาตรการในระยะยาว เพื่อแก้ไขปัญหาการรับสินค้าสัตว์น้ำที่ได้มาจากการทำประมงผิดกฎหมาย โดยคำนึงถึงภาพลักษณ์ของประเทศ และผลกระทบต่อธุรกิจการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำของประเทศไทยต่อไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top