Tuesday, 22 April 2025
นงนุช_ตันติสันติวงศ์

'รศ.ดร.นงนุช' ชี้!! สิทธิมนุษยชนต้องมีขอบเขต แนะ!! ให้เจตนาเป็นตัวตัดสินโทษ ไม่ใช่อายุ

(4 ต.ค. 66) รศ.ดร.นงนุช ตันติสันติวงศ์ นักวิชาการด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังและภาษี มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม เทรนต์ ประเทศอังกฤษ และ Visiting Academic, School of Electronics & Computer Science, University of Southampton โพสต์เฟซบุ๊กถึงเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่สยามพารากอนว่า คำถาม 1 ผู้ก่อเหตุอายุเท่านี้เอาสิ่งที่มีกลไกเดียวกันกับปืนและกระสุนมาจากไหน

คำถาม 2 ทำไมถึงเลือกกราดยิงที่ห้างอย่างพารากอน ในเมื่อถ้าคนจะหยิบปืนไปฆ่าใครซักคน ถ้าไม่เพื่อปล้นทรัพย์ ก็ต้องมีปมกับคนหรืออะไรซักอย่างที่อยู่ในสถานที่ และเป็นที่ ๆ คุ้นเคย

คำถาม 3 ต่อไปนี้ คนเดินห้าง นอกจากต้องพกร่ม ชุดกันฝนในช่วงหน้าฝนแบบนี้ ยังต้องใส่ชุดกันกระสุนด้วยมั้ย

คำถาม 4 เหตุการณ์แบบนี้ ทำไมเอาอายุมาเป็นประเด็น ในเมื่อคนอายุต่ำกว่านี้ ก็ทำผิดกฎหมายกันเยอะแยะ สิ่งที่ควรคิด ไม่ใช่ว่าเค้าอายุน้อย เลยรู้สึกว่าโลกมันโหดร้ายขึ้น หรือเค้ามีเหตุกดดันอะไรจึงก่อเหตุ แต่มันกำลังบอกว่า

1.คนรู้จักควบคุมความรู้สึกของตัวเองน้อยลง มี EQ ที่ต่ำ

2.ในช่วง 10 กว่าปีมานี้ วัฒนธรรมการสอนในครอบครัว ในสถานศึกษา มีรูปแบบที่มีการผ่อนปรน ลดความรุนแรงและความเครียด มีการเอาพ่อแม่มามีส่วนร่วมในการเรียน มีการสอนด้วยเหตุผลมากขึ้น แต่ก็ยังมีเหตุการณ์แบบวันนี้ เพราะการผ่อนปรนจนละเลยการสอนให้รู้จักกฏระเบียบ รู้จักวินัย รู้จักขอบเขตของสิ่งที่แต่ละคนพึงกระทำได้ และอะไรที่ทำไม่ได้ ไม่ควร

3.เด็กประถมปีที่ 1-4 สมัยนี้ จัดกระเป๋าไปเรียนเองโดยที่พ่อแม่ไม่ต้องคอยเตือน มีกี่คน เด็กส่วนใหญ่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าที่จะสอบน่ะ สอบวิชาอะไร หัวข้ออะไร เนื้อหาเป็นยังไง ข้อสอบเป็นปรนัยหรืออัตนัย ต้องอ่านตรงไหนเป็นพิเศษ คนที่ตอบได้คือพ่อแม่ของเด็ก การประคบประหงมลูกแบบนี้ ไม่ได้ช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ การเอาตัวรอด และการรับผิดชอบในหน้าที่

4.ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีเด็กประถมกี่คนที่ทำการบ้านเอง หยิบหนังสือขึ้นมาอ่านเองทุกวัน…เมื่อพ่อแม่จัดตารางเรียนพิเศษให้ ต้องคอยมีครูประกบตลอด หรือจะต้องมีพ่อแม่คอยเตือนให้ทำการบ้าน อ่านหนังสือ…สภาพแบบนี้ เค้าจะพัฒนาทักษะการมีวินัย การรู้จักกาลเทศะ ได้ยังไง

5.การเล่นเกมไม่ได้ผิดเสมอไปค่ะ เพราะบางเกมมันช่วยพัฒนาสมองพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็ก ถ้าจะโทษต้องย้อนกลับไปถามว่าทำไมเด็กถึงต้องใช้อุปกรณ์อย่าง tablet, smartphone ในวัยเรียน ไม่ว่าจะที่บ้านหรือที่โรงเรียน การที่เด็กมีอุปกรณ์ที่เข้าถึงเกมได้ตลอด มันเป็นช่องทางให้เด็กเข้าถึงเกมที่ไม่เหมาะสมในระหว่างที่ไม่มีผู้ใหญ่ควบคุมการใช้

'รศ.ดร.นงนุช' ชี้!! หากนำเงินไปฝากแบงก์-ได้ดอกเบี้ย = ผู้ฝากเงินเป็นเจ้าหนี้ สะท้อนมุม 'เงินสด' ไม่ใช่หนี้-อยู่ฝั่งสินทรัพย์ ส่วน 'หนี้' ก็ไม่มีทางเป็นรายได้

(17 ก.ย. 67) รศ.ดร.นงนุช ตันติสันติวงศ์ นักวิชาการด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังและภาษี มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม เทรนต์ ประเทศอังกฤษ และ Visiting Academic, School of Electronics & Computer Science, University of Southampton ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ในหัวข้อ 'เงินสดคือหนี้ เงินกู้คือรายได้….จริงหรือไม่ ถูกหรือผิด' ระบุว่า...

ต่อไปนี้จะเป็นคำอธิบายจากคนที่อยู่กับเศรษฐศาสตร์มาปีนี้ ปีที่ 30 เป็นนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ที่ทำทั้ง Macro Economic Model, Policy and Research มา 20 ปี และทำงานที่เกี่ยวกับสายการเงินการธนาคารมาตั้งแต่ปี 1998 ทั้งสอน วิจัย และทำงานตั้งแต่ฝึกงานยันบริหารทีม

📌 เวลาสอนวิชาการเงิน (Finance) 

เงินสด (Cash) คือ เงิน (Money) และเงินกู้ (Loan) คือ หนี้ (Debt)

📌 เวลาสอน Balance Sheet ให้กับคนเรียน Corporate Finance

เงินสด (Cash) อยู่ฝั่งสินทรัพย์ (Assets) ส่วนเงินที่ยืมเขามาใช้ดำเนินกิจการหรือลงทุน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปเงินกู้ (Loan) หรือตราสารหนี้ (Debenture) เช่น หุ้นกู้ จะอยู่ฝั่งหนี้สิน (Liabilities) ค่ะ

📌 เวลาสอน Balance Sheet ให้กับคนเรียนสายธนาคาร Banking

เงินสด (Cash) อยู่ฝั่งสินทรัพย์ (Assets) เงินที่ธนาคารให้กู้ (Loans) ก็อยู่ฝั่งสินทรัพย์ (Assets) ค่ะ ส่วนเงินฝาก (Deposits) หรือก็คือเงินที่ธนาคารยืมมาจากผู้ฝากเงินอยู่ฝั่งหนี้สิน (Liabilities)

📌 เวลาสอนหรือทำวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ (Economics) 

เงินสด (Cash: Currency and Notes) รวมเหรียญและธนบัตร คือ ส่วนหนึ่งของอุปทานเงิน (Money Supply)

เงินกู้ (Loan) คือ เงินที่ผู้มีความต้องการใช้เงินกู้ยืมจากผู้มีเงินส่วนเกิน โดยมีกำหนดจ่ายคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยที่ถือเป็นการตอบแทนการให้ใช้เงิน จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของอุปสงค์ต่อเงิน (Money Demand)

เงินสดจึงไม่ใช่หนี้ เพราะผู้ถือเงินสด อยู่ในฝั่ง Money Supply ที่จะได้ดอกเบี้ยหากนำไปให้ผู้อื่นใช้ เช่น เอาเงินไปฝาก ก็ได้ดอกเบี้ยจากธนาคารค่ะ ผู้ฝากเงิน ถือเป็นเจ้าหนี้

ในขณะที่ผู้ที่ก่อหนี้ เป็นลูกหนี้ที่มีภาระจ่ายคืนหนี้พร้อมดอกเบี้ย ส่วนจะเอาหนี้ที่ก่อไปทำอะไร สร้างรายได้เพิ่มหรือผลาญเล่น มันก็อยู่ที่คนก่อหนี้ค่ะ…แต่ยังไงซะ หนี้ (Debt) ไม่มีทางเป็นรายได้ (Income) เป็นได้แค่ตัวที่อาจสามารถนำไปใช้เพื่อทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเท่านั้น


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top