Wednesday, 23 April 2025
ทิพยประกันภัย

ห้องเรียนใหญ่ที่สุดในโลกของในหลวง ร.9 แหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต 4,800 แห่งทั่วประเทศ

อย่างที่ทราบกันดีว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ป่า อากาศ โลกร้อน และพลังงานทดแทน นับเป็นปัญหาใหญ่ของโลกในปัจจุบัน ซึ่งหลายๆ ประเทศ และหลายหน่วยงาน ต่างรณรงค์ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนตระหนัก และร่วมกันแก้ปัญหา

ทั้งนี้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งส่งผลสะท้อนกลับมายังความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน อาทิ ปัญหาโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นการตระหนักรู้และจัดการดูแลเพื่อรักษาธรรมชาติไม่ให้ถูกทำลาย และสร้างสมดุลเพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของทุกคน ที่จะต้องมีส่วนร่วมในการหันมาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้คงอยู่สืบต่อไป การเปลี่ยนแนวคิดและสร้างวิถีชีวิตแห่งความยั่งยืนจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องดำเนินการไปพร้อมๆ กัน

ที่ผ่านมา บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกับศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และมูลนิธิธรรมดี จัดทำโครงการ ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา โดยได้คัดเลือกครูอาจารย์จากทั่วประเทศมาร่วมกิจกรรม ซึ่งจัดไปแล้ว 15 ครั้ง 

สำหรับ ครั้งที่ 15 จัดขึ้น ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี โดยในครั้งนี้เป็นการรณรงค์สร้างจิตสำนึกการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ปรับวิถีชีวิตสู่สมดุลด้วยนวัตกรรมศาสตร์พระราชา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาป่าไม้อเนกประสงค์ มุ่งหมายศึกษารูปแบบการพัฒนาเกษตรกรรมควบคู่ไปกับการปลูกป่า เพื่อฟื้นฟูสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรและปลูกป่า จัดสรรที่ทำกินให้กับราษฎร ที่ได้เข้ามาบุกรุกทำกินอยู่แต่เดิมให้ได้เข้าอยู่อาศัย และให้ความรู้กับราษฎร ให้ทำการเกษตรอย่างถูกวิธี รวมทั้งให้มีส่วนร่วมในการปลูกป่า ดูแลรักษาป่า ตลอดจนให้ได้รับประโยชน์จากผลผลิตของป่า เพื่อที่ราษฎรจะได้ไม่บุกรุกทำลายป่าอีกต่อไป เป็นการดูแลทรัพยากรที่สำคัญ ทั้งคนและสิ่งแวดล้อม

ศูนย์นี้เคยประสบกับปัญหาพื้นที่ป่าไม้ถูกทำลาย ดินขาดการบำรุงรักษา ทำให้ธรรมชาติขาดความสมดุล เกิดความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล มีปริมาณฝนลดลง และเมื่อเวลามีฝนตกฝนจะตกหนัก เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการชะล้างพังทลาย หน้าดินถูกกัดเซาะเป็นร่องลึก เนื่องจากไม่มีพืชคลุมดินเป็นสิ่งกีดขวางการไหลบ่าของน้ำ  

“หญ้าแฝก” จึงเป็นพืชที่เหมาะสมในการนำมาปลูกเพื่อพัฒนาพื้นดินบริเวณนี้ เพื่อการใช้ประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ ชะลอและเก็บกักน้ำให้ดินชุ่มชื่น ตลอดจนการดูแลสิ่งแวดล้อมในด้านการช่วยบำบัดน้ำเสียได้อีกด้วย ซึ่งคณะครูอาจารย์ก็ได้ร่วมลงมือทำกิจกรรมปลูกหญ้าแฝก เพื่อเป็นการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์การอนุรักษ์ธรรมชาติด้วยการลงมือปฏิบัติจริง

พ.ต.อ.พันศักดิ์ สมันตรัฐ ผอ.ศูนย์ฯ กล่าวว่า “นอกเหนือจากการดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว การดูแลประชาชนในพื้นที่ก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน ดังนั้น ความรู้ด้านการตลาดก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชาวบ้าน” ซึ่งได้ยกตัวอย่างการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านเพาะปลูก อาทิ การแปรรูปน้ำอ้อย จากเดิมที่การขายเป็นลำอ้อย ให้ปรับมาขายเป็นแก้ว ที่ได้ราคามากกว่า หรือการเพาะปลูกอย่างไร เพื่อให้ได้ผลผลิตเก็บเกี่ยวออกมาขายได้ทุกวัน อย่างเช่นการปลูกผักบุ้งที่มีการวางแผนการปลูกอย่างเป็นระบบ เป็นต้น

“หลักการที่สำคัญในการบริหารจัดการและการดูแลชาวบ้านเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและอยู่อย่างมีความสุข คือการร้อยเรียงเรื่อง การบูรณาการด้านวิชาการ โดยมีภูมิปัญญาท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่” ให้สอดคล้องไปด้วยกัน ผอ.ศูนย์สรุป

การทำกิจกรรมที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำรินี้ ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด และประธานมูลนิธิธรรมดี ให้ความเห็นอย่างน่าสนใจว่า “ที่ศูนย์นี้ ถือเป็นห้องเรียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยพื้นที่กว่า 20,000 ไร่ ที่เป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติ ป่าชายหาด และป่าชายเลน เป็นสมบัติของโลกใบนี้ที่เราควรต้องช่วยกันดูแลรักษาฟื้นฟูอนุรักษ์ธรรมชาติ ทั้งดิน น้ำ ลม ไฟ ช่วยให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดี การพยายามออกจากห้องเรียนสี่เหลี่ยมจะช่วยให้เราได้เข้าถึงธรรมชาติและสามารถเรียนรู้จากธรรมชาติได้ทุกเรื่อง ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของการเกษตรเท่านั้น แต่ยังบูรณาการไปถึงเรื่องเศรษฐกิจ การตลาด เชื่อมโยงไปถึงอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงการท่องเที่ยว ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องที่ได้อีกด้วย”

‘กทม.’ ผนึก ‘มูลนิธิเพื่อนักกีฬาไทย-ทิพยประกันภัย’ จัด ‘TIP SPIRIT’ หนุนเยาวชนเสริมทักษะกีฬา-พัฒนาตนเอง ปูทางสู่นักกีฬาอาชีพ

(9 ก.ย. 66) ‘กรุงเทพมหานคร–มูลนิธิเพื่อนักกีฬาไทย-ทิพยประกันภัย’ ร่วมจัดโครงการ ‘TIP SPIRIT นักกีฬาเลือดใหม่ ใส่สุดพลัง’ ให้เยาวชนไทยทั่วกรุงเทพฯ ได้เรียนรู้ทักษะกับโค้ชระดับตํานานฟุตบอล-วอลเลย์บอล ตั้งแต่ กันยายน-พฤศจิกายน 2566

ดร.ชัชชาติ สิทธิ์พันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, ดร.สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จํากัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และ ‘บิ๊กแป๊ะ’ ถิรชัย วุฒิธรรม ประธานมูลนิธิเพื่อนักกีฬาไทย ร่วมแถลงข่าวโครงการ ‘TIP SPIRIT นักกีฬาเลือดใหม่ ใส่สุดพลัง’ เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้องบอลรูม สโมสรราชพฤกษ์ กรุงเทพฯ

สำหรับ ‘TIP SPIRIT นักกีฬาเลือดใหม่ ใส่สุดพลัง’ เป็นโครงการที่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นบนแนวคิดที่ต้องการเป็นบริษัทประกันวินาศภัยที่มุ่งเน้นหลักธรรมาภิบาล ต้องการให้ประชาชนทุกคนได้รับการดูแล และร่วมสร้างสรรค์สังคมปลอดภัย เยาวชนไทยห่างไกลยาเสพติด ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางตามกลยุทธ์ขับเคลื่อนองค์กรอย่างยั่งยืนตามหลัก ESG โดยคำนึงถึงมิติด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) ด้านสังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) ภายใต้การบริหารงานอย่างมืออาชีพ

อีกทั้งในปี พ.ศ. 2566 นี้ ยังถือเป็นโอกาสพิเศษที่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ก้าวเข้าสู่ปีที่ 72 อยู่เคียงข้างคนไทยและสังคมไทย จึงได้มีการริเริ่มโครงการ ‘TIP SPIRIT นักกีฬาเลือดใหม่ ใส่สุดพลัง’ ขึ้นมา โดยร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร ผ่านโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ศูนย์ฝึกกีฬาของกรุงเทพมหานครและ มูลนิธิเพื่อนักกีฬาไทย ในการสนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 8-17 ปี ได้เรียนรู้ประสบการณ์การเล่นกีฬา และทักษะขั้นพื้นฐานในการเล่นกีฬาประเภทฟุตบอล และวอลเลย์บอลได้อย่างถูกต้อง เพื่อมุ่งหวังให้เยาวชนไทยใช้การเล่นกีฬาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพตนเอง รวมถึงเพิ่มโอกาสในการก้าวสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพ ตลอดจนเป็นนักกีฬาทีมชาติไทยในอนาคต

โครงการ ‘TIP SPIRIT นักกีฬาเลือดใหม่ ใส่สุดพลัง’ ยังได้รับการตอบรับจากโค้ชและอดีตตำนานนักกีฬาไทยที่ให้เกียรติเข้าร่วมโครงการเพื่อช่วยฝึกฝนทักษะ และแบ่งปันประสบการณ์ให้กับเยาวชนไทย อาทิ น.อ. ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน, สะสม พบประเสริฐ, วรวุธ ศรีมะฆะ, กวินทร์ ธรรมสัจจานันท์ ผู้รักษาประตูทีมชาติไทย, ก้องภพ สรงกระสินธ์ คุณพ่อของ ชนาธิป สรงกระสินธ์ นักฟุตบอลทีมชาติไทย, พ.ต. ภาณุพงศ์ ผิวอ่อน โค้ชฟุตบอลโปรไลน์เซนส์, วีระยุทธ สวัสดี อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย และโค้ชมากฝีมืออดีตทีมชาติไทยอีกมากมาย รวมไปถึงตำนานวอลเลย์บอลหญิงไทย ทั้งปลื้มจิตร์ ถินขาว, มลิกา กันทอง, วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์ และปิยะนุช แป้นน้อย และโค้ชวอลเลย์บอลจากสโมสร สุพรีม ทิพย ชลบุรี- อี.เทค

นอกจากนี้ ดร.สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จํากัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย คุณถิรชัย วุฒิธรรม ประธานมูลนิธิเพื่อนักกีฬาไทย ยังได้มอบกรมธรรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพ ทุนประกันภัยรวม 150,000 บาท ให้กับอดีตนักกีฬาทีมชาติไทย เพื่อเป็นการตอบแทนที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ และสร้างความสุขให้กับคนไทยมาอย่างยาวนาน โดยมี สมรักษ์ คำสิงห์, มนัส บุญจำนงค์, ปวีณา ทองสุก, วรพจน์ เพชรขุ้ม และ เยาวภา บุรพลชัย อดีตนักกีฬาทีมชาติไทย ผู้สร้างตำนานคว้าเหรียญรางวัลในโอลิมปิกเกมส์ รวมถึง สืบศักดิ์ ผันสืบ เป็นตัวแทนรับมอบให้กับอดีตนักกีฬาทีมชาติไทยในกีฬาประเภทต่างๆ จำนวนกว่า 300 คน

โครงการ TIP SPIRIT นักกีฬาเลือดใหม่ ใส่สุดพลัง จะจัดทั้งหมด 6 สนาม ดังนี้
- สนามที่ 1 วันที่ 16-17 กันยายน 2566 ​​ณ สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง (ฟุตบอล)
- สนามที่ 2 วันที่ 30 กันยายน - 1 ตุลาคม 2566 ​ณ สนามเฉลิมพระเกียรติ มีนบุรี (ฟุตบอล)
- สนามที่ 3 วันที่ 14-15 ตุลาคม 2566 ​​ณ สนามเฉลิมพระเกียรติ บางมด (วอลเลย์บอล)
- สนามที่ 4 วันที่ 28-29 ตุลาคม 2566 ​​ณ ศูนย์กีฬาบางบอน (ฟุตบอล)
- สนามที่ 5 วันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2566 ​ณ โรงเรียนนนทรีวิทยา เขตยานนาวา (ฟุตบอล)
- สนามที่ 6 วันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 ​​ณ สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง (ฟุตบอล) Final Match

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมสมัคร
1.) เยาวชนไทยที่มีอายุระหว่าง 8-17 ปีบริบูรณ์
2.) ต้องมีสุขภาพที่ดี ไม่มีโรคประจำตัว ร่างกายพร้อมรับการอบรม
3.) สามารถเดินทางเข้าร่วมโครงการตามสถานที่ต่างๆ ที่ลงทะเบียนได้

‘โครงการกีฬาฟุตบอล’ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นำโดยทีมโค้ชมืออาชีพ จะมีการคัดเลือกนักกีฬาสนามละ 8 คน 4 สนาม รวม 32 คน (ยกเว้นสนามที่ 3 ซึ่งจะสอนวอลเลย์บอล) เป็นตัวแทนไปร่วมคัดเลือกเป็นสุดยอดนักกีฬา TIP SPIRIT ในโครงการสนามสุดท้าย วันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 โดยจะมีการเรียนรู้ทักษะขั้นสูง และร่วมแสดงความสามารถ จากนั้นจะคัดเลือกนักกีฬาเยาวชนที่มีความสามารถโดดเด่นจำนวน 11 คน เพื่อรับรางวัลพิเศษจากโครงการ และขึ้นทะเบียนเป็นนักกีฬาของทิพยประกันภัย โดยจะได้รับกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ทุนประกันภัยคุ้มครอง 1 ล้านบาท พร้อมรับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการของทิพยประกันภัยในซีซั่นต่อไป ส่วนอีก 21 คน จะได้รับกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ทุนประกันภัยคุ้มครอง 5 แสนบาท

‘โครงการกีฬาวอลเลย์บอล’ จัดขึ้นเพื่อให้น้องๆ ได้เรียนรู้อย่างเต็มที่ ทั้งการฝึกซ้อมฐานต่างๆ และได้ลงทีมเพื่อแสดงความสามารถอย่างรอบด้าน ผ่านการดูแลและคำแนะนำจากโค้ชและนักกีฬาทีมชาติของสโมสร สุพรีม ทิพย ชลบุรี-อี.เทค โดยจะมีการคัดเลือกนักกีฬาเยาวชน จำนวน 6 คน เพื่อรับรางวัลสุดยอดนักกีฬา TIP SPIRIT และได้รับกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ทุนประกันภัยคุ้มครอง 1 ล้านบาท พร้อมรับรางวัลพิเศษจากโครงการในโครงการวันสุดท้าย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top