Sunday, 11 May 2025
ติดมือถือ

'สภาวะล่องลอย' อีกหนึ่งภัยเงียบจาก 'การติดมือถือ' กระตุ้น GEN Z ช็อปแหลกแบบยับยั้งตัวเองไม่ได้

ทุกวันนี้หลายคนคงคุ้นเคยกับ 'โนโมโฟเบีย' (No mobile phone phobia) หรือโรคกลัวการขาดโทรศัพท์มือถือ ที่สะท้อนผ่านความกระวนกระวาย เครียด หงุดหงิด มีอาการคลื่นไส้และเหงื่อออกตามร่างกาย อาการของเเต่ละคนที่เป็นโรคขึ้นอยู่กับระดับการติดโทรศัพท์มือถือของเเต่ละบุคคลว่าจะแสดงอาการออกมามากน้อยแตกต่างกัน

แต่อาการที่ว่านั้น ดูเล็กไปเลย เมื่อเทียบกับสภาวะใหม่ของคนติดมือถือยุคนี้ที่กำลังเผชิญอยู่แบบไม่รู้ตัว โดยเรื่องนี้ ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

ไม่นานมานี้ การวิจัยที่อิตาลีได้ค้นพบว่า อาการ 'ติดมือถือ' ก่อให้เกิดสภาวะที่เรียกว่า Flow Experience หรือ อาการล่องลอยหมกมุ่นอยู่กับการทำอะไรบางอย่างจนลืมเวลา ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์แบบยับยั้งตัวเองไม่ได้ 

โดยการทดลองนี้ทำกับกลุ่ม Gen Z แต่ก็น่าเชื่อได้ว่าคนเจนอื่นก็อาจจะมีผลคล้าย ๆ กัน แต่ผู้ใหญ่ที่มีงานและภารกิจอื่น หรือมีวุฒิภาวะและความยับยั้งชั่งใจมากกว่า อาจมีโอกาสน้อยลงกว่า Gen Z

'ครูสหรัฐฯ' ถอดใจ!! ขอลาออก หลังนักเรียนติดมือถือหนัก เปรียบการใช้มือถือของเด็กยุคนี้ ไม่ได้ต่างจาก 'การติดยา

(30 พ.ค. 67) คุณครู มิตเชลล์ รูเทอร์ฟอร์ด เป็นที่สนใจของสื่อหลายสำนัก นับจาก วอลล์ สตรีท เจอร์นัล สื่อแถวหน้าของสหรัฐฯ ลงข่าวเป็นที่แรกในรายงานพิเศษที่ฉายภาพปัญหาการเรียนการสอน ในยุคที่สมาร์ตโฟนยึดห้องเรียน ครูเกิดวิกฤติความมั่นใจ สอนไปไม่มีใครฟัง ส่วนนักเรียนก็ขาดแรงกระตุ้นในการเรียน

คุณครูท่านนี้ สอนวิชาชีววิทยา ที่โรงเรียนมัธยมปลาย (Sahuaro High School) เมืองทูซอน รัฐแอริโซนา มานาน 11 ปี จนถึงวันพฤหัสบดีที่แล้ว (23 พ.ค.) เป็นวันสุดท้ายของการทำงานที่นั่น โดยบอกเหตุผลว่า ทำทุกอย่างแล้วเท่าที่ทำได้ จนสภาพจิตใจตัวเองก็ย่ำแย่ไปด้วย เพื่อให้นักเรียนเลิก 'เสพติด' โทรศัพท์มือถือ

ครู วัย 35 ปี บอกว่า โรงเรียนที่เขาสอน มีระเบียบห้ามใช้มือถือในห้องเรียน แต่การบังคับใช้เป็นหน้าที่ครู ซึ่งเป็นเรื่องยากมาก ตลอดสองสามปีมานี้ เขาพยายามหลายรูปแบบ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจอันตรายจากการใช้มือถือตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน ทั้งให้คะแนนพิเศษ ชวนสร้างนิสัยใหม่ ๆ พูดคุยเรื่องการนอนว่าสำคัญมากแค่ไหน และทำอย่างไรเพื่อลดเวลาอยู่หน้าจอตอนนอน เขาพูดคุยเรื่องนี้กับนักเรียนทุกวัน และทำตะกร้าขึ้นมาใบนึงเรียกมันว่า 'คุกมือถือ' วันแรกมีนักเรียนนำมือถือไปใส่ครึ่งหนึ่ง วันต่อมาก็ลดลง ที่สุดก็ว่างเปล่า เขาเปรียบเทียบการใช้มือถือของเด็ก ว่าไม่ได้ต่างจาก ติดยา หรืออาจจะหนักกว่าติดยาบางอย่างด้วยซ้ำ

ในการให้สัมภาษณ์กับ วอลล์ สตรีท เจอร์นัล ครูชายคนนี้ ยังบอกว่า เขาเห็นการเปลี่ยนแปลงบางอย่างหลังโควิด-19 ระบาด เป็นการเปลี่ยนไปในทางแย่ลงหลังจากต้องปิดโรงเรียนในช่วงนั้น ก่อนหน้าโควิด-19 เวลาเตือน นักเรียนยังฟังบ้างเมื่อขอให้เก็บมือถือ แต่เวลานี้ยากกว่าเดิมหลายเท่า เขาเริ่มคิดว่า ตัวเองคือปัญหา มีนักเรียนหลายคนบอกว่า ไม่สนใจว่าจะได้เกรดเท่าไหร่

รูเทอร์ฟอร์ด บอกว่า เขาไม่ได้โทษปัญหานี้ที่ตัวเด็กทั้งหมด แต่สังคมต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาของเยาวชนเป็นอันดับหนึ่ง ปกป้องคุ้มครองพวกเขา ให้สมองและทักษะทางสังคมได้พัฒนา และทำให้ความสุข เกิดขึ้นแบบธรรมชาติ โดยไม่ต้องพึ่งมือถือ

ในฐานะครู บางครั้งอดคิดไม่ได้ว่า กำลังทิ้งลูกศิษย์ เพราะเขาบอกนักเรียนให้พยายามตลอดเวลา แต่ตัวเองกำลังจะถอดใจ แต่ก็คิดว่า นี่เป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุดสำหรับตัวเองและครอบครัว เพื่อไปลองทำอย่างอื่นดูบ้างที่ไม่ดูดพลังตัวเองไปหมดแบบนี้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top