Saturday, 18 May 2024
ซูเปอร์โพล

'ซูเปอร์โพล' เผยปชช. วอนหยุดโหน ม.112 อย่าดึงสถาบันฯ - แก้ม.112 เป็นเกมการเมือง

'ซูเปอร์โพล' เผยผลสำรวจประชาชนเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ต้องการให้นำสถาบันพระมหากษัตริย์ และการแก้ ม.112 มาเป็นเครื่องมือการเมือง จำเป็นต้องปกป้องการล้มล้างสถาบันฯ จากกลุ่มไม่หวังดี

5 พ.ย. 64 - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ เสนอผลสำรวจ เรื่อง ม.112 : เบื้องหลังและความจำเป็น กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 2,272 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 1 - 4 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.5 ระบุ การมีอยู่ของสถาบันกษัตริย์เป็นส่วนสำคัญของความสัมพันธ์เชิงลึกของคนในชาติและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเชิงประวัติศาสตร์ เช่น ไทย-จีน ไทย-ญี่ปุ่น ไทย-อังกฤษ เป็นต้น

ที่น่าสนใจ คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.0 ระบุ สถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันหลักของการก่อร่างสร้างชาติในการกอบกู้เอกราช ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และดูแลทุกข์สุขของราษฎร และร้อยละ 96.1 ระบุ ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการยกเลิก หรือ แก้ไข มาตรา 112 เพราะ การมีอยู่ ไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตปกติและสิทธิส่วนบุคคลของประชาชนทั่วไป

นอกจากนี้ เกือบร้อยละร้อย หรือ ร้อยละ 99.1 ไม่ต้องการให้ใคร หรือ ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด นำสถาบันกษัตริย์และการแก้ ม.112 มาเป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมือง หาคะแนนเสียงและแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวสร้างความแตกแยกขัดแย้งในชาติ ในขณะที่ร้อยละ 98.9 ระบุ จำเป็นต้องป้องกันและปกป้องการล้มล้างสถาบันฯ จากกลุ่มไม่หวังดี บิดเบือนใส่ร้ายและจาบจ้วง ร้อยละ 98.4 ระบุ ประมุขของทุกประเทศ เป็นเกียรติศักดิ์ศรีและสถาบันหลักของชาติ จำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองด้วยกฎหมาย และร้อยละ 98.4 เช่นกัน ระบุ ไม่ต้องการให้นำสถาบันกษัตริย์และ ม.112 มาเป็นเครื่องมือปลุกปั่นเยาวชน คนรุ่นใหม่ให้ล้มล้างสถาบันอันเป็นศูนย์รวมจิตใจและความศรัทธาภักดีของคนในชาติ

อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.2 ระบุมีความพยายามจากขบวนการต่างชาติมหาอำนาจ เข้ามาแทรกแซง เชื่อมโยงกับกลุ่มต่อต้านสถาบัน ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย เพื่อกอบโกยผลประโยชน์ชาติไทย และร้อยละ 96.2 เชื่อว่ามีกลุ่มต่อต้านสถาบันและแกนนำรับเงินและผลประโยชน์อื่น เป็นเครื่องมือของประเทศมหาอำนาจในการโค่นล้มสถาบัน

'ซูเปอร์โพล' เผยผลสำรวจนักการเมืองน่าประทับใจที่สุดแห่งปี 2564 ฝั่งรัฐบาล 'บิ๊กตู่-จุรินทร์' ฝ่ายค้าน 'พิธา-สุทิน'

เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 64 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง ที่สุดแห่งปี 2564 ด้านการเมืองภาพใหญ่ กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,086 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 11-17 ธ.ค.ที่ผ่านมา พบว่า ที่สุดแห่งปี 2564 ด้านการเมืองภาพใหญ่ ผลสำรวจพบ นักการเมืองฝ่ายรัฐบาล ที่น่าประทับใจ และน่าพอใจที่สุดแห่งปี 2564 โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ 

อันดับ 1 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 31.6 
อันดับ 2 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร้อยละ 22.4 
และอันดับ 3 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 8.8 ตามลำดับ 

ส่วนนักการเมืองฝ่ายค้าน ที่น่าประทับใจ และน่าพอใจที่สุดแห่งปี 2564 ใน 3 อันดับแรก ได้แก่ 
อันดับ 1 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ร้อยละ 32.9 
อันดับ 2 นายสุทิน คลังแสง รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 15.0 
และอันดับ 3 นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 5.1 ตามลำดับ

สำหรับผลงานของรัฐบาลที่น่าประทับใจ และน่าพอใจที่สุดแห่งปี 2564 ใน 3 อันดับแรก ได้แก่ 
อันดับ 1 โครงการคนละครึ่ง ร้อยละ 50.4 
อันดับ 2 เพิ่มกำลังซื้อบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ร้อยละ 12.6 
และอันดับ 3 โครงการประกันรายได้เกษตรกร ร้อยละ 11.4 ตามลำดับ 

ส่วนพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล ที่น่าประทับใจ และน่าพอใจที่สุดแห่งปี 2564 ใน 3 อันดับแรก พบว่า 
อันดับ 1 ยังคงเป็น พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 30.3 
อันดับ 2 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 23.9 
และอันดับ 3 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 17.4 ตามลำดับ 

ขณะที่พรรคการเมืองฝ่ายค้านที่น่าประทับใจ และพอใจที่สุดแห่งปี 2564 ใน 3 อันดับแรก ได้แก่ 
อันดับ 1 พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 41.6 
อันดับ 2 พรรคก้าวไกล ร้อยละ 32.5 
และอันดับ 3 พรรคเสรีรวมไทย ได้ร้อยละ 11.3 ตามลำดับ

ซูเปอร์โพล เผยคนรู้อยู่แล้วอภิปรายครั้งนี้ไม่มีอะไรใหม่ หวังแค่เสียดสีการเมืองเอา ทำลายความน่าเชื่อถือ ขณะที่คนส่วนใหญ่ยังไว้วางใจให้ ‘บิกตู่’ ทำงานต่อเป็นอันดับ 1 แต่แนะปรับครม.ใหม่หาคนเก่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

วันที่ 24 ก.ค. 65 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง รัฐมนตรีคนไหนรอด เสียงโหวตนอกสภา กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 2,175 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 22 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.7 รู้อยู่แล้วว่าจะอภิปรายอะไร ไม่มีอะไรใหม่ โจมตีกัน เสียดสีกันทางการเมืองและสถาบัน หวังทำลายความน่าเชื่อถือศรัทธาของคนไทย หาเสียงก่อนการเลือกตั้ง 

ในขณะที่ ร้อยละ 70.9 ระบุ มีแต่สาดโคลน เอาเรื่องส่วนตัวมาโจมตี เหมือนดูละคร น้ำเน่า ไม่ได้ประโยชน์ ร้อยละ 69.6 ระบุ เห็นฝ่ายค้านบางคนอภิปรายได้ดี รัฐบาลควรนำไปแก้ไข ร้อยละ 64.3 ระบุ เห็นชัดการเมืองไทย และหลักประชาธิปไตยไทย ถูกแทรกแซงจากกลุ่มอำนาจผลประโยชน์และคนต่างประเทศ ร้อยละ 53.6 ระบุอื่น ๆ เช่น พรรคเล็ก พรรคใหญ่ต่อรองผลประโยชน์ มีทั้ง ดาวร่วง ดาวรุ่ง ไร้ค่ายสังกัด ประชาชนรู้ทัน เป็นต้น

ผลสำรวจพบด้วยว่า รัฐมนตรีที่ประชาชนวางใจให้ทำงานต่อ อันดับแรกคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ร้อยละ 61.1 รองลงมาคือ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 59.2 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 58.7 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร้อยละ 53.2 นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร้อยละ 52.1 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ร้อยละ 51.9 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ร้อยละ 51.4 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานร้อยละ 50.8 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 50.5 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 50.3 และ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร้อยละ 50.3 เท่ากัน

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความต้องการของประชาชนต่อการปรับคณะรัฐมนตรี พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.1 ระบุ ควรปรับคณะรัฐมนตรี หาคนเก่งมาร่วมงานแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องและความเดือดร้อนของประชาชนได้ดีกว่า ในขณะที่ ร้อยละ 30.9 ระบุ ไม่ควรปรับ เพราะ ทำงานดีอยู่แล้ว ปรับไปก็เท่านั้น ไม่มีประโยชน์ ยิ่งเกิดปัญหาขัดแย้งแก่งแย่งตำแหน่ง ใครจะเป็นอะไรไม่เกี่ยวกับชีวิต เป็นต้น

ที่น่าสนใจคือ 5 อันดับแรก คุณลักษณะเฉพาะของบุคคลสำคัญที่ประชาชนต้องการให้เป็นนายกรัฐมนตรี พบว่า ส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 55.8 ระบุ เป็นชาย สูงวัย ซื่อสัตย์ ไม่โกงบ้านโกงเมือง เด็ดขาด ปกป้องสถาบันเสาหลักของชาติ มีผลงาน มากประสบการณ์ เคยผ่านการเป็นผู้นำสูงสุดในอาชีพ อดทน คุมความขัดแย้งของคนในชาติได้ รับฟังความเห็นของทุกฝ่าย นานาประเทศยอมรับ รองลงมาคือ ร้อยละ 54.6 ระบุ เป็นชาย อดีตนักธุรกิจ นักบริหาร มีผลงานประสบความสำเร็จทั่วโลกยอมรับ มากประสบการณ์การเมือง อดทน จิตใจดีช่วยเหลือคนตัวเล็กตัวน้อย กล้าเปลี่ยนแปลง กล้าทำ มีความสามารถแก้วิกฤตต่าง ๆ ได้ ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจและสังคม เด็ดขาดเมื่อต้องเด็ดขาด มีจุดยืนปกป้องสถาบันเสาหลักของชาติ

อันดับสามคือ ร้อยละ 51.9 เป็นชาย สูงวัย มีประสบการณ์ กล้าทำ แก้ปัญหาใหญ่ ๆ ปราบปรามอิทธิพลเถื่อน แก้ต้นตอปัญหาทำกิน มีบารมีเครือข่าย คอนเนคชั่น คุมความขัดแย้งของคนในชาติ ปกป้องสถาบันเสาหลักของชาติ อันดับสี่คือ ร้อยละ 39.4 ระบุ เป็นชาย คนรุ่นใหม่ วิสัยทัศน์กว้างไกล โลกเสรีประชาธิปไตย พูดจาดีน่าฟัง มีเหตุผล เคยเป็นนักธุรกิจ และอันดับห้า คือ ร้อยละ 24.8 ระบุ เป็นหญิง คนรุ่นใหม่ อายุน้อย แต่ มีฐานะ มีตระกูลแกนนำการเมือง ตั้งใจจริงจะพัฒนาประเทศให้เจริญ มุ่งมั่นรวบรวมนักการเมืองเป็นครอบครัวเดียวกัน

ซูเปอร์โพลวิเคราะห์ ‘จุดแข็ง-จุดอ่อน’ 6 แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีไทย ชี้ ‘ลุงตู่’ ยืนหนึ่งจงรักภักดี แต่ขี้โมโหง่าย ส่วน ‘อุ๊งอิ๊’ จุดแข็งเป็นคนรุ่นใหม่ แต่ยังไร้ผลงาน

14 ส.ค. 2565 - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง จุดแข็ง จุดอ่อน คนจะเป็นนายกรัฐมนตรี กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงทดลอง(Experimental Survey) เพื่อลดความคลาดเคลื่อนแก้ปัญหาแหล่งความคลาดเคลื่อนจากผู้ถาม ผู้ตอบและเครื่องมือวัดและใช้เทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) เกาะติดข้อมูลแวดล้อมในโลกโซเชียลลดปัญหาผลกระทบความน่าเชื่อถือของข้อมูล จำนวน 2,025 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 9 – 13 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างบวกลบร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลสำรวจพบว่า

ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 47.7 เป็นชายและร้อยละ 52.3 เป็นหญิงสอดคล้องกับสัดส่วนของประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้งอายุ 18 ปีขึ้นไปจำนวนทั้งสิ้น 52,173,604 คน อ้างอิงฐานข้อมูลประชากรกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยเดือนมิถุนายน พ.ศ.2565 ในตัวอย่างนี้มีร้อยละ 13.4 อายุไม่เกิน 24 ปี ร้อยละ 37.2 อายุ 25 – 39 ปี ร้อยละ 35.9 อายุ 40 – 59 ปี และร้อยละ 13.5 อายุ 60 ปีขึ้นไป และเมื่อจำแนกเป็นอาชีพพบว่า ร้อยละ 6.1 เป็นข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ 19.2 เป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 19.9 ค้าขายอิสระ ร้อยละ 21.6 เป็นเกษตรกร ร้อยละ 18.9 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 8.1 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 4.5 เป็นพ่อบ้านแม่บ้านเกษียณอายุ และร้อยละ 1.7 อื่น ๆ และว่างงาน โดยจำนวนมากหรือร้อยละ 30.8 มีสิทธิเลือกตั้งในภาคอีสาน รองลงมาคือร้อยละ 27.8 ภาคกลาง ร้อยละ 15.8 ภาคเหนือ ร้อยละ 17.6 ภาคใต้และร้อยละ 8.0 กรุงเทพมหานคร

ที่น่าพิจารณาคือ 3 อันดับจุดแข็ง จุดอ่อน คนจะเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งต่อไป พบว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีจุดแข็ง ดังนี้ จงรักภักดี (45.1%) อดทนแบกภาระวิกฤตประเทศ (34.8%) มีผลงานเปิดประเทศ ฟื้นสัมพันธ์ไทยซาอุดิอาระเบีย เป็นต้น (34.0%) ในขณะที่จุดอ่อน มีดังนี้ ไม่คุมอารมณ์ โมโหง่าย (55.0%) อยู่นานมา 8 ปี (51.5%) และไม่เก่งเรื่องแก้ปัญหาปากท้อง (48.4%)

เมื่อเทียบกับ นางสาว แพทองธาร ชินวัตร แกนนำพรรคเพื่อไทย มีจุดแข็ง ดังนี้ จงรักภักดี (20.1%) คนรุ่นใหม่ (43.7%) บุตรสาวอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร (46.3%) ในขณะที่จุดอ่อนของนางสาว แพทองธาร ชินวัตร มีดังนี้ ขาดประสบการณ์การเมือง (42.8%) ยังไม่มีผลงาน (40.0%) และน่าห่วงเรื่องการตัดสินใจในภาวะกดดันทางการเมือง (32.0%)

ที่น่าสนใจคือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรค พลังประชารัฐ มีจุดแข็งดังนี้ จงรักภักดี (29.3%) มีเครือข่ายกว้างขวางทุกวงการจัดการอิทธิพลได้ (39.2%) มีผลงานแก้ค้ามนุษย์ แจกที่ทำกิน จัดการน้ำ แก้ภัยแล้ง เป็นต้น (30.9%) ในขณะที่จุดอ่อน คือ อายุมาก (62.7%) ไม่มีเวลาลงพื้นที่ (36.0%) และการสื่อสารประชาสัมพันธ์ (34.9%)

เมื่อเทียบกับนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ที่พบจุดแข็งดังนี้ จงรักภักดี (16.1%) คนรุ่นใหม่ (41.4%) พูดจาเก่ง (36.1%) ในขณะที่จุดอ่อน คือ ยังไม่มีผลงาน (35.9%) ขาดบารมีทางการเมือง (36.4%) และยังมีช่องว่างเข้าไม่ถึงชาวบ้าน (35.8%)

เมื่อพิจารณาจุดแข็งของ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและหัวหน้าพรรค ภูมิใจไทย พบจุดแข็ง ดังนี้ จงรักภักดี (41.3%) แก้วิกฤตโควิดต่างชาติยกย่อง ดูแลผู้ป่วยดีขึ้น (45.9%) และมีความสามารถทำธุรกิจสำเร็จมั่นคง (40.7%) ในขณะที่จุดอ่อนคือ ยังขาดคนช่วยงานที่เข้าถึงพื้นที่ (49.8%) ไม่โปรโมตตัวเอง (37.2%) และพูดไม่เก่ง (30.8%)

เมื่อถามถึงจุดแข็งของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พบว่า จงรักภักดี (34.7%) มีประสบการณ์การเมือง (43.9) และนายชวน หลีกภัย สนับสนุน (41.4%) ในขณะที่จุดอ่อนมีดังนี้ แก้ขัดแย้งในพรรคไม่ได้ คนเก่งลาออก (56.8%) ไม่โดดเด่น (35.4%) และไม่เห็นผลงาน (30.9%)
.

'ซูเปอร์โพล' ชี้ ประชาชนวางใจ 'ประยุทธ์' มากที่สุด ในด้านการดูแลกองทัพ - สาธารณะสุข - ระบบดิจิทัล

(16 ต.ค. 65) นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง ความมั่นคงของชาติ กับ ภาคประชาชน กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Survey) เพื่อลดความคลาดเคลื่อนแก้ปัญหาแหล่งความคลาดเคลื่อนจากผู้ถาม ผู้ตอบและเครื่องมือวัด จำนวน 1,176 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 12-15 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างบวกลบร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95

>> นักการเมืองที่ประชาชนวางใจมากที่สุดในการทำให้กองทัพเป็นทหารอาชีพ อยู่นอกการเมือง ทำให้กองทัพมีขนาดและขีดความสามารถที่เหมาะสม จำแนกตาม กลุ่มขั้วการเมืองฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้านและกลุ่มตัวช่วย หรือกลุ่มซอฟต์โหวต (Soft Vote) พบว่า ในขั้วรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับความวางใจจากประชาชนมากที่สุด คือร้อยละ 29.3 รองลงมาคือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ร้อยละ 14.2 นายอนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 6.1 และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้ร้อยละ 3.7

ในขั้วฝ่ายค้าน พบว่า นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ได้ร้อยละ 20.7 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้ร้อยละ 9.0 และ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ได้ร้อยละ 3.8 ในขณะที่ ขั้วกลุ่มตัวช่วย หรือ กลุ่มซอฟต์โหวต (Soft Vote) ได้แก่ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ร้อยละ 5.4 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ร้อยละ 4.3 และอื่น ๆ ร้อยละ 3.5 ตามลำดับ

>> ที่น่าพิจารณาคือ ในยุคกระแสรัฐบาลดิจิทัลที่คนไทยส่วนใหญ่อยู่บนโลกออนไลน์ นักการเมืองที่ประชาชนวางใจมากที่สุดเรื่อง การป้องกันและตอบโต้การโจมตีระบบสื่อสาร อินเทอร์เน็ต ความปลอดภัยของเครือข่ายการเงิน ผลประโยชน์ของประชาชนและสินทรัพย์ดิจิทัล พบว่าในขั้วฝ่ายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับความวางใจจากประชาชนมากที่สุด ร้อยละ 24.1 รองลงมาคือ นายอนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 14.6 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ร้อยละ 6.9 และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ร้อยละ 2.8

ในขั้วฝ่ายค้าน พบว่า นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ได้ร้อยละ 21.3 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 9.7 และ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ร้อยละ 3.5 ในขณะที่ ขั้วกลุ่มตัวช่วยหรือกลุ่ม ซอฟต์โหวต (Soft Vote) พบว่า ประชาชนวางใจมากที่สุดได้แก่ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ร้อยละ 8.4 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ร้อยละ 4.8 และอื่น ๆ ร้อยละ 3.9 ตามลำดับ

'ซูเปอร์โพล' เผยผลสำรวจคนไทยคงไว้ซึ่ง ม.112 ไว้ใจ 'ตู่-ป้อม-หนู' ปกป้องรักษาสถาบันหลักของชาติ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง ความจำเป็นของ ม.112 กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงทดลอง(Experimental Survey) เพื่อลดความคลาดเคลื่อนแก้ปัญหาแหล่งความคลาดเคลื่อนจากผู้ถาม ผู้ตอบและเครื่องมือวัด จำนวน 2,007 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 20 – 22 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างบวกลบร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลสำรวจพบว่า...

ทั้งนี้ในหัวข้อที่น่าพิจารณา คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.4 ระบุ จำเป็นที่จะต้องรักษากฎหมาย มาตรา 112 เอาไว้เช่นเดิม เพราะการมีอยู่ไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตปกติ สิทธิส่วนบุคคล และยังช่วยรักษาความมั่นคงของชาติเอาไว้ ในขณะที่ร้อยละ 4.6 ไม่จำเป็น นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.6 ระบุจำเป็นที่ ประมุขของทุกประเทศต้องมีเกียรติ มีศักดิ์ศรีและมีกฎหมายคุ้มครอง ในขณะที่ ร้อยละ 2.4 ระบุไม่จำเป็น ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.0 ระบุ จำเป็นต้องมีกฎหมายป้องกัน การล้มล้างสถาบันหลักของชาติ จากกลุ่มผู้ไม่หวังดี บิดเบือน ใส่ร้าย และจาบจ้วง ในขณะที่ร้อยละ 3.0 ระบุไม่จำเป็น นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.2 เห็นด้วยว่า ความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน ช่วยหลอมรวมใจของ คนในชาติ ไม่ว่าเชื้อชาติใดก็ตาม ช่วยกันปกป้องผลประโยชน์ชาติและผลประโยชน์ของทุกคนเป็นส่วนรวมตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ในขณะที่ ร้อยละ 2.8 ระบุไม่เห็นด้วย

เมื่อถามถึง นักการเมืองที่ประชาชนเชื่อมั่นวางใจ ปกป้องรักษาสถาบันหลักของชาติพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.0 ระบุ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองลงมาคือ นายอนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 79.6 และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ร้อยละ 75.6 ตามลำดับ

โดยผลโพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนเกือบร้อยละร้อยเห็นความสำคัญของสถาบันหลักของชาติได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และประชาชนที่สามารถหลอมรวมจิตใจของประชาชนภายในประเทศไม่ว่าเชื้อชาติใดก็ตามเพื่อความมั่นคงผาสุกของทุกคนและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ในผลการศึกษาที่ผ่านมาเคยพบว่าประชาชนเกือบร้อยละร้อยเช่นกันที่ระบุว่า สถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นหนึ่งในสถาบันหลักของชาติมีส่วนช่วยดูแลบำรุงสุข บำบัดทุกข์ของราษฎร และทุกครั้งที่เกิดวิกฤตขึ้นในชาติและในหมู่ประชาชนสถาบันพระมหากษัตริย์มีความรวดเร็วฉับไวเข้าช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟูให้วิกฤตการณ์ต่าง ๆ กลับเข้าสู่สภาวะปกติและพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมก่อนเกิดวิกฤตการณ์อีกด้วย

‘ซุปเปอร์โพล’ ชี้ ‘บิ๊กตู่’ ยืนหนึ่งรักชาติบ้านเมือง ‘จุรินทร์’ นำฟื้นศก. ‘เสี่ยหนู’ พูดจริงทำจริง

ผลสำรวจ ซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เรื่อง ผู้นำทางการเมือง กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Survey) เพื่อลดความคลาดเคลื่อนแก้ปัญหาแหล่งความคลาดเคลื่อนจากผู้ถาม ผู้ตอบ และเครื่องมือวัด จำนวน 1,633 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 1 - 3 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างบวกลบ ร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล เผย ผลสำรวจ ผู้นำทางการเมือง แต่ละฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และกลุ่มเกิดใหม่ ในด้านต่าง ๆ พบว่า...

>> เบอร์ 1 ด้าน รักชาติบ้านเมือง เป็นคนดี
- กลุ่มฝ่ายรัฐบาล ได้แก่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 80.0
- กลุ่มฝ่ายค้าน ได้แก่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ร้อยละ 70.7
- กลุ่มเกิดใหม่ ได้แก่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์

>> เบอร์ 1 ด้าน คนพูดจริง ทำตามที่พูด กล้าเปลี่ยนแปลง ช่วยชาวบ้าน
- กลุ่มฝ่ายรัฐบาล ได้แก่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 86.8
- กลุ่มเกิดใหม่ ได้แก่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ร้อยละ 54.8
- กลุ่มฝ่ายค้าน ได้แก่ นางสาว แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 49.6

‘อลงกรณ์’ ปลื้ม ปชช.โหวตเชื่อมั่น ‘ประชาธิปัตย์’ ชู เป็นสถาบันการเมืองหลัก ไร้ประวัติทุจริต

‘อลงกรณ์’ ขอบคุณประชาชนโหวตเชื่อมั่นพรรคประชาธิปัตย์ ยืนหนึ่งสถาบันทางการเมืองหลักของประเทศ พร้อมยินดีกับพรรคภูมิใจไทยและ ‘อนุทิน’ ที่ประชาชนเชื่อมั่น เตรียมนำขนมหม้อแกงเมืองเพชรเป็นขนมใจพบหารือปมปัญหา 2 พรรค

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคและที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์ เขียนแสดงความเห็นในไลน์กรณีซูเปอร์โพลเปิดเผยผลสำรวจภาพจดจำ “ที่สุดแห่งปีและที่สุดของพรรคการเมือง” วันนี้ว่า ขอขอบคุณซูเปอร์โพลและพี่น้องประชาชนที่โหวตจดจำพรรคประชาธิปัตย์เป็นที่สุดของพรรคการเมืองแห่งปีในฐานะสถาบันทางการเมืองหลักของประเทศและเป็นพรรคขวัญใจของเกษตรกร ไม่มีประวัติด่างพร้อยเรื่องทุจริตและนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ยังเป็นผู้นำพรรคการเมืองที่ประชาชนเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาปากท้อง รายได้และหนี้สินของประชาชนอันดับที่3

“กำลังใจของพี่น้องประชาชนที่มอบให้ในครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์จะแปรเปลี่ยนเป็นพลังในการมุ่งมั่นทุ่มเททำงานพัฒนาและแก้ไขปัญหาของประชาชนด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อนำประเทศฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจและก้าวข้ามความขัดแย้งทางการเมืองให้สำเร็จโดยเร็วให้สมกับความไว้วางใจของประชาชน

พร้อมกันนี้ ขอแสดงความยินดีกับพรรคภูมิใจไทยและนายอนุทิน ชาญวีระกุล หัวหน้าพรรคที่ได้รับการโหวตเป็นพรรคการเมืองแห่งปีในภาพการจดจำการบริหารวัคซีนโควิดและผู้นำอันดับหนึ่งที่เชื่อว่าจะแก้ไขปัญหาปากท้องรายได้และหนี้สินของประชาชน

ก็ถือโอกาสวันดี ๆ ของพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทยขอบิณฑบาตปมปัญหา 2 พรรค เพราะประชาชนไม่อยากเห็นความขัดแย้งทางการเมือง สัปดาห์หน้าจะเอาขนมหม้อแกงเมืองเพชรไปฝากพร้อมจับเข่าสนทนากันครับ” นายอลงกรณ์เขียนทิ้งท้ายในที่สุด

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง 'ที่สุดแห่งปี ที่สุดแห่งพรรคการเมือง' กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,190 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 14 – 17 ธ.ค.2565 เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่เป็นสถาบันการเมืองในระบอบประชาธิปไตยมายาวนานที่สุด พบว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ร้อยละ 56.3 รองลงมาคือ พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 20.4 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 18.9 และอื่น ๆ ร้อยละ 4.4 ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ พรรคก้าวไกล เป็นต้น 

เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ถูกคาดหวังให้ช่วยเหลือเกษตรกร พบ 5 อันดับแรกที่มากที่สุดคือ พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 43.0 รองลงมาคือ พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 39.8 พรรคเพื่อไทยร้อยละ 30.7 พรรคพลังประชารัฐร้อยละ 26.9 และพรรคก้าวไกล ร้อยละ 9.6

'ซูเปอร์โพล' เผยผลสำรวจ 'ผู้แทนราษฎรกับความหวังใหม่' ชี้!! ประชาชนยังมีหวัง ผู้แทนฯ ใหม่ทำหน้าที่ที่ดีในสภาฯ

เมื่อวานนี้ (15 ม.ค. 66) ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง ผู้แทนราษฎร กับ ความหวังใหม่ กรณีศึกษากลุ่มตัวอย่าง 1,137 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 12 - 13 มกราคม 2566

เมื่อถามถึง ความเข้าใจของประชาชนต่อ หน้าที่ของ ผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พบว่า ร้อยละ 51.0 ระบุผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. มีหน้าที่อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล

ร้อยละ 44.9 ระบุ เห็นชอบกฎหมาย

ร้อยละ 32.7 ระบุ พิจารณากฎหมาย

ร้อยละ 30.3 ระบุ พิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี

ร้อยละ 28.7 ระบุ เสนอกฎหมาย

ร้อยละ 23.7 ระบุ ช่วยเหลือ งานศพ งานบวช พบปะประชาชน ในงานต่าง ๆ

ร้อยละ 21.6 ระบุ ตั้งคณะกรรมาธิการชุดต่าง ๆ

ร้อยละ 14.8 ระบุ เห็นชอบ แต่งตั้งบุคคลนายกรัฐมนตรี

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่าที่น่าพิจารณาคือประชาชนเข้าใจว่า หน้าที่ของผู้แทนราษฎรคือช่วยเหลืองานศพ งานบวช พบปะประชาชนในงานต่าง ๆ มีสัดส่วนมากกว่าหน้าที่ในการเห็นชอบตั้งบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประเด็นที่ควรมีการพิจารณาเสริมสร้างความเข้าใจของประชาชนให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

ส่วนในประเด็นต้นตอความเสื่อมศรัทธาของประชาชน ต่อสภาผู้แทนราษฎร 

ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.8 ระบุ ความเสื่อมของ ส.ส. หรือผู้แทนราษฎร คือ สภาล่มซ้ำซาก แจกกล้วย พฤติกรรมไม่เหมาะสม ดูหนังโป๊ในสภา เสียบบัตรแทนกัน

ร้อยละ 91.9 ระบุ รัฐสภาไม่เป็นต้นแบบของความรักความสามัคคีของคนในชาติ แบ่งขั้ว แบ่งข้างมุ่งแต่หาผลประโยชน์

ร้อยละ 91.0 ระบุ ผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. ต้นตอทุจริต แสวงหาผลประโยชน์ จากการประมูลโครงการต่าง ๆ

ร้อยละ 90.5 ระบุ ความเป็น ส.ส. หรือ ผู้แทนราษฎร เป็น สมบัติประจำตระกูลสืบทอดต่อ ๆ กันได้

ผู้แทนราษฎรที่ประชาชนคาดหวังทำหน้าที่ ส.ส.ที่ดีในสภาผู้แทนราษฎร พบว่า

ร้อยละ 54.9 ระบุ นาย เอกสิทธิ์ คุณานันทกุล, นาย ธนกร วังบุญคงชนะ, นางวลัยพร รัตนเศรษฐ จากพรรคพลังประชารัฐ

ร้อยละ 54.0 ระบุ นายชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์, นายอิสรพงษ์ มากอำไพ, น.ต.สุธรรม ระหงษ์ จากพรรคประชาธิปัตย์

'ซูเปอร์โพล' เผย ปชช. หนุนพรรคร่วม เป็น รบ. อีกสมัย ดัน 'ลุงหนู' นั่งนายกฯ เพราะมีเมตตา-ไม่ขัดแย้งกับใคร

26 มี.ค.2566-สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น เรื่อง โพลเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 1 (ฉบับเต็ม) กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 53,094,778 คน ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,257 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 20 – 25 มี.ค.2566 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากขนาดตัวอย่างบวกลบร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95

ที่น่าสนใจคือ ความตั้งใจของประชาชนจะเลือกพรรคการเมือง แบ่งออกระหว่าง กลุ่มพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาล และ กลุ่มพรรคร่วมฝ่ายค้าน พบว่า ในกลุ่มพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาลรวมกันได้ร้อยละ 51.6 ในขณะที่ พรรคร่วมฝ่ายค้านตอนนี้รวมกันได้ร้อยละ 43.3 โดยในกลุ่มพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาล อันดับหนึ่งได้แก่ พรรคภูมิใจไทย ได้ร้อยละ 19.1 เพราะ เชื่อมั่นศรัทธานายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคฯ ต้องการเปลี่ยนแปลงผู้นำประเทศ ต้องการคนมีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์การเมือง มีผลงานเป็นที่ยอมรับนานาชาติช่วงวิกฤตโควิด ไม่ต้องการความขัดแย้ง ไม่ต้องการเห็นการสืบทอดอำนาจ ผู้นำที่ไม่สร้างความขัดแย้ง ต้องการการพัฒนา ชอบนโยบายสุขภาพ และ อสม. และนายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยเป็นคนจิตใจดี ช่วยเหลือชีวิตคนตัวเล็กตัวน้อย เป็นต้น

อันดับที่สองได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 13.4 เพราะ เชื่อมั่นศรัทธา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ นายชวน หลีกภัย และอดีตผู้นำพรรค เชื่อมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต มีประสบการณ์ทางการเมือง ความเป็นสุภาพบุรุษ ความเป็นสถาบันพรรคการเมือง มีหลักการ อุดมการณ์การเมือง ไม่ใช่พรรคเฉพาะกิจ มีผลงานประกันรายได้เกษตรกร การค้าระหว่างประเทศ ไม่ต้องการเห็นการสืบทอดอำนาจ เป็นต้น

นอกจากนี้ อันดับที่สาม ได้แก่ พลังประชารัฐ ร้อยละ 10.1 เพราะ เชื่อมั่นใน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ มีผลงานแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ที่ทำกิน บริหารจัดการน้ำ ความสงบความมั่นคงของบ้านเมือง เป็นต้น และ พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 7.3 เพราะ เชื่อมั่นศรัทธาใน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ความซื่อสัตย์สุจริต มีผลงานแก้วิกฤตชาติ ความวุ่นวายของบ้านเมือง จริงจัง จริงใจ อดทน     ชอบโครงการ คนละครึ่ง เป๋าตังค์ ชอบนักการเมืองรุ่นเก่า อย่างนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ชอบคนรักชาติบ้านเมืองอย่าง พล.ต.นพ.เหรียญทอง แน่นหนา เป็นต้น ที่เหลือเป็น พรรคชาติพัฒนา กล้า ร้อยละ 0.9 และพรรคชาติไทยพัฒนา ร้อยละ 0.8 ตามลำดับ

ในขณะที่ ความตั้งใจของประชาชนจะเลือก ส.ส. ในกลุ่มพรรคร่วมฝ่ายค้าน พบว่า อันดับแรก พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 36.9 เพราะ ชอบอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ  ชินวัตร ต้องการคนรุ่นใหม่ ต้องการเปลี่ยนแปลงผู้นำประเทศ เข้าถึงชาวบ้านและประชาชน ชอบนโยบาย ไม่ต้องการเห็นการสืบทอดอำนาจ เป็นต้น รองลงมาคือ พรรคก้าวไกล ร้อยละ 5.9 เพราะ ชอบหัวหน้าพรรค นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ต้องการเปลี่ยนแปลงผู้นำประเทศ ต้องการคนรุ่นใหม่ อยากลอง ไม่ต้องการเห็นการสืบทอดอำนาจ เป็นต้น และพรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 0.5 เพราะ ชอบ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคตรงไปตรงมา เด็ดขาด ชัดเจน เป็นต้น

เมื่อวิเคราะห์ภาพรวมของความตั้งใจของประชาชนจะเลือก ส.ส. พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 51.6 ระบุ จะเลือกพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาล ได้แก่ ภูมิใจไทย ประชาธิปัตย์ พลังประชารัฐ รวมไทยสร้างชาติ ชาติพัฒนากล้า ชาติไทยพัฒนา เป็นต้น ในขณะที่ ร้อยละ 43.3 จะเลือกพรรคร่วมฝ่ายค้าน ได้แก่ เพื่อไทย  ก้าวไกล เสรีรวมไทย เป็นต้น และร้อยละ 5.1 ระบุอื่น ๆ เช่น ไทยสร้างไทย และไทยภักดี เป็นต้น

ที่น่าพิจารณา คือ ความตั้งใจของประชาชนจะเลือก พรรคร่วมฝ่ายรัฐบาล กับ พรรคร่วมฝ่ายค้าน แบ่งตามกลุ่มจุดยืนการเมือง พบว่า กลุ่มพลังเงียบส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.8 กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.3 และแม้แต่กลุ่มผู้ไม่สนับสนุนรัฐบาลร้อยละ 15.6 ตั้งใจจะเลือก พรรคร่วมฝ่ายรัฐบาล ได้แก่ ภูมิใจไทย ประชาธิปัตย์ พลังประชารัฐ รวมไทยสร้างชาติ ชาติไทยพัฒนา เป็นต้น ในขณะที่ กลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาล ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.7 กลุ่มพลังเงียบร้อยละ 34.6 และแม้แต่กลุ่มสนับสนุนรัฐบาลร้อยละ 21.4 ตั้งใจจะเลือกพรรคร่วมฝ่ายค้าน ได้แก่ เพื่อไทย  ก้าวไกล เสรีรวมไทย เป็นต้น ตามลำดับ

นอกจากนี้ ที่น่าสนใจคือ คนที่ประชาชนอยากได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปในกลุ่มแฟนคลับของพรรคร่วมรัฐบาล จำแนกตามกลุ่มอาชีพ พบว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูลเป็นขวัญใจมากสุดใน 4 กลุ่มอาชีพได้แก่ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐร้อยละ 20 พนักงานเอกชนร้อยละ 18.4 อาชีพอิสระค้าขายร้อยละ 19.8 และนักศึกษา ร้อยละ 23.2 เพราะเป็นคนมีความสามารถ มีผลงานเคยแก้วิกฤตชาติ เป็นผู้นำที่ไม่ก่อความขัดแย้งกับใคร จิตใจดี ช่วยเหลือชีวิตคน ไม่ด่างพร้อย ดูแลคนตัวเล็กตัวน้อย ชอบนโยบายสุขภาพ ดูแลใส่ใจคนทุกกลุ่ม เป็นต้น


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top