ทำความเข้าใจ ‘YPTA’ ของ ‘Airasia’ เยาวชนที่เดินทางโดยลำพัง เปิดแนวทางป้องกัน เพื่อไม่ให้ผิดพลาด ถึงจุดหมายดังใจ
(9 พ.ย. 67) เพจเฟซบุ๊ก ‘Happ Study Abroad’ ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับ ผู้โดยสารเยาวชนที่เดินทางลำพัง โดยมีใจความว่า ...
ทำความเข้าใจ YPTA ของ Airasia
1. YPTA หมายถึง ผู้โดยสารเยาวชนที่เดินทางลำพัง
2. เยาวชนในที่นี้ คือ อายุ 12-16 ปี
3. รายละเอียดต่าง ๆ ตามใน https://support.airasia.com/.../Are-children-allowed-to...
4. เอกสารสละสิทธิ์การเรียกร้องเพื่อรับรอง YPTA ที่เป็นเอกสารภายในของสายการบิน แต่ละสายการบินอาจมีแบบฟอร์มและวิธีปฏิบัติแตกต่างกัน เจ้าหน้าที่เช็กอินมีหน้าที่แจ้งให้ผู้ปกครองลงนามเอกสารนี้
5. YPTA ต้องมาแสดงตัวเช็กอินพร้อมผู้ปกครองที่เคาน์เตอร์เท่านั้น
* เหตุการณ์สายการบินปฏิเสธไม่ให้น้องเล็กและเพื่อนขึ้นเครื่องจาก Dmk -Jai เมื่อ 3 พ.ย.67 ที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่าเพราะผู้ปกครองไม่ได้เซ็นเอกสารสละสิทธิ์การเรียกร้องเพื่อรับรอง YPTA ณ เคาน์เตอร์เช็กอิน
* ผู้ปกครองแย้งกลับว่า เจ้าหน้าที่เช็กอินไม่ได้ยื่นเอกสารใดๆมาให้เซ็น ในเมื่อเจ้าหน้าที่ไม่แจ้ง ไม่ยื่นเอกสารให้ลงนาม ผู้ปกครองจะทราบได้อย่างไร
* รายละเอียดผู้โดยสารตรงตามพาสปอร์ต เจ้าหน้าที่เช็กอินเห็นอยู่แล้ว เพราะมีหน้าที่ต้องตรวจทาน และเด็ก ๆ ก็ยืนแสดงตัวอยู่หน้าเคาน์เตอร์ตลอดเวลา ดูหน้าก็รู้ว่าเป็นเด็กทั้งคู่ แต่ก็ไม่ได้ถามไถ่ ทักท้วงใด ๆ และทำการออกบัตรโดยสาร พร้อมโหลดสัมภาระให้เรียบร้อย
* การที่เจ้าหน้าที่อีกคนอ้างภายหลังว่าผู้ปกครองจองตั๋วโดยใส่วันเดือนปีเกิดไม่ตรงตามพาสปอร์ตนั้นไม่เป็นความจริง เด็กทั้งสองอายุเกิน 12 ปีแล้ว ใน website สามารถจองตั๋วได้เลย โดยเลือกตั๋วผู้ใหญ่ (อายุ 12 ปีขึ้นไป)
* หนังสือให้ความยินยอมที่พ่อแม่ทำมาจากอำเภอหรือเขต ใช้ยื่นให้กับเจ้าหน้าที่ ตม. (สายการบินไม่ได้ขอดูเอกสารนี้)
แนวทางป้องกันสำหรับผู้ปกครอง
1. จองตั๋วทาง website หรือ app ของสายการบินโดยตรง เพื่อความสะดวกในการติดต่อ หากเกิดความผิดพลาดใด ๆ
2. เตรียมหนังสือให้ความยินยอมฉบับจริง หรือโหลดเก็บไว้ในโทรศัพท์ เพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตม.
3. ขณะเช็กอินให้ผู้ปกครองถามเจ้าหน้าที่ ขอเซ็นเอกสารของสายการบินทุกครั้ง
4. รอที่สนามบินจนกว่าเครื่องจะออก และโทร.ติดต่อเด็กเพื่ออัปเดตสถานะเป็นระยะ
