Wednesday, 9 July 2025
ขีปนาวุธข้ามทวีป

'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' เผย!! รัสเซียทดลองจรวดข้ามทวีปสำเร็จ เป็นสัญญาณบอกชาติตะวันตกว่า...พร้อมรบนะ!!

'นันทิวัฒน์' เผยท่ามกลางสงครามยูเครน รัสเซียแถลงผลทดสอบจรวดข้ามทวีปรุ่นใหม่สำเร็จ เหมือนส่งสัญญาณบอกชาติตะวันตกว่า พร้อมรบนะ

21 เม.ย. 65 - นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ ‘จรวดข้ามทวีปรุ่นใหม่ของรัสเซีย’ ระบุว่า ท่ามกลางความวุ่นวายของการสู้รบในยูเครน รัสเซียได้แถลงข่าวความสำเร็จของการทดสอบจรวดข้ามทวีปรุ่นใหม่เมื่อ 20 เมษายน

รัสเซียประสบความสำเร็จในการทดสอบยิงจรวด RS-28 Sarmat ซึ่งเป็น Inter - Continental Ballestic Missile จาก Plesetsk ทางตอนเหนือของรัสเซียไปตกยัง Kura ที่คาบสมุทรคัมชัตกา ทางตะวันออกสุดของประเทศรัสเซีย

ผู้เชี่ยวชาญชี้แผน ‘Golden Dome’ เสี่ยงล้มเหลวสูง เทคโนโลยียังไม่พร้อม รับมือ ‘ขีปนาวุธข้ามทวีป’ ได้ไม่จริง

(22 พ.ค. 68) โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เปิดตัวแผนงานใหญ่ชื่อ “Golden Dome” มูลค่ากว่า 175 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างระบบป้องกันขีปนาวุธที่ครอบคลุมทั้งภาคพื้นดินและอวกาศ โดยหวังให้เป็นประการสำคัญในการสกัดภัยคุกคามจากขีปนาวุธข้ามทวีปในอนาคต โดยได้แรงบันดาลใจจากระบบ “Iron Dome” ของอิสราเอลที่ใช้รับมือจรวดจากฉนวนกาซา

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารหลายรายแสดงความกังวลว่า แผนของทรัมป์อาจไม่สามารถบรรลุผลตามที่ตั้งเป้าไว้ ยูริ คนูตอฟ นักประวัติศาสตร์ด้านกองกำลังป้องกันทางอากาศของรัสเซีย ระบุว่า Iron Dome มีจุดแข็งในการจัดการเป้าหมายเดี่ยวหรือกลุ่มเล็ก แต่ไม่สามารถรับมือการโจมตีแบบรวมหมู่หรือการยิงขีปนาวุธจำนวนมากได้ ซึ่งเป็นลักษณะของภัยคุกคามในยุคสงครามนิวเคลียร์

อิกอร์ โคโรตเชนโก บรรณาธิการนิตยสาร National Defense เสริมว่า จุดต่างสำคัญระหว่าง Iron Dome และ Golden Dome คือระดับภัยคุกคามที่ต้องรับมือ โดย Iron Dome ออกแบบมาเพื่อสกัดจรวดทำเองของกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ ขณะที่ Golden Dome มีเป้าหมายรับมือขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) ที่ซับซ้อนและเร็วกว่า ซึ่งยังไม่มีเทคโนโลยีใดในปัจจุบันที่สามารถรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังตั้งข้อสังเกตว่า Golden Dome มีลักษณะคล้ายคลึงกับโครงการ “สงครามดวงดาว” (Strategic Defense Initiative – SDI) ที่ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน เสนอในยุค 1980 ซึ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีล้ำยุค เช่น เลเซอร์และขีปนาวุธจากอวกาศ แต่ล้มเหลวเพราะข้อจำกัดทางเทคนิคและงบประมาณ แม้เวลาผ่านมากว่า 40 ปี สหรัฐฯ ก็ยังไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านั้นให้เป็นจริงได้

แม้ส่วนภาคพื้นดินของแผน Golden Dome จะสามารถอัปเกรดจากระบบป้องกันขีปนาวุธที่มีอยู่แล้ว เช่น THAAD, Aegis และ Patriot ได้ แต่ส่วนที่เกี่ยวข้องกับอวกาศจะต้องพัฒนาขึ้นใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นภารกิจที่ท้าทายและใช้เวลานาน ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า หากเกิดการยิงขีปนาวุธข้ามทวีปในจำนวนมาก Golden Dome ก็อาจไม่สามารถรับมือได้ในเชิงปฏิบัติ และอาจกลายเป็นอีกหนึ่งโครงการล้มเหลวเช่นเดียวกับในอดีต

จีนเปิดข้อมูลลับ ขีปนาวุธข้ามทวีป DF-5 ครั้งแรก ยิงไกล 12,000 กม. ครอบคลุมแผ่นดินใหญ่สหรัฐฯ

(6 มิ.ย. 68) สื่อทางการจีน CCTV เปิดเผยรายละเอียดสำคัญของขีปนาวุธข้ามทวีปแบบติดหัวรบนิวเคลียร์ DF-5 เป็นครั้งแรก ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายครั้งสำคัญ หลังจากจีนเคยเก็บงำข้อมูลด้านยุทธศาสตร์นิวเคลียร์มาอย่างเข้มงวด โดยนักวิเคราะห์มองว่าการเปิดเผยครั้งนี้อาจเป็นการส่งสัญญาณว่า จีนมีขีดความสามารถด้านนิวเคลียร์ที่เหนือกว่าที่โลกเคยรับรู้

รายงานระบุว่า ขีปนาวุธ DF-5 เป็นจรวดสองขั้นตอนที่สามารถติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ลูกเดียว ซึ่งมีอานุภาพระเบิดสูงถึง 3-4 เมกะตัน หรือมากกว่าระเบิดปรมาณูที่สหรัฐฯ ใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงกว่า 200 เท่า มีพิสัยยิงไกลถึง 12,000 กิโลเมตร ครอบคลุมทั้งแผ่นดินใหญ่ของสหรัฐฯ และยุโรปตะวันตก พร้อมค่าความแม่นยำเฉลี่ยภายในรัศมี 500 เมตร

จรวดรุ่นนี้มีความยาว 32.6 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.35 เมตร และน้ำหนัก 183 ตัน โดยพัฒนาขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1970 และเข้าประจำการในปี 1981 นายซ่ง จงผิง อดีตผู้ฝึกสอนในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ระบุว่า DF-5 เป็นรากฐานสำคัญของการสร้าง “อำนาจยับยั้งนิวเคลียร์” ของจีน และเป็นสัญลักษณ์ว่า จีนมีศักยภาพตอบโต้ในระดับสากล

นักวิเคราะห์คาดว่า การเปิดเผยข้อมูล DF-5 อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการทยอยปลดระวางระบบเก่า และเตรียมเปิดตัวยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยยิ่งขึ้น เช่น DF-31 และ DF-41 ซึ่งสามารถติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์หลายลูก และมีระบบเคลื่อนที่ได้ ขณะที่เพนตากอนประเมินว่า ปัจจุบันจีนมีหัวรบนิวเคลียร์พร้อมใช้งานกว่า 600 ลูก และอาจทะลุ 1,000 ลูกภายในปี 2030

ทั้งนี้ จีนยังคงยืนยันนโยบาย 'ไม่ใช้ก่อน' ต่ออาวุธนิวเคลียร์ และจะไม่ใช้งานกับประเทศที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ ท่ามกลางการแข่งขันด้านยุทโธปกรณ์ระหว่างชาติมหาอำนาจที่ทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top