Wednesday, 26 June 2024
ขาดแคลนแรงงาน

'แคนาดา' อ้าแขนรับต่างชาติ 1.5 ล้านคน ภายใน 3 ปีข้างหน้า เสริมตลาดแรงงาน หลังเด็กเกิดใหม่ต่ำ สังคมกำลังเข้าสู่ยุคสูงวัย

รัฐบาลแคนาดาตัดสินใจฝากอนาคตเศรษฐกิจ ไว้กับแรงงานต่างชาติ เมื่อประเทศกำลังเกิดปัญหาแรงงานขาดแคลน และกลุ่มชาว Baby Boomer ถึงเวลาต้องเกษียณ ด้วยการประกาศรับชาวต่างชาติย้ายถิ่นฐานถึง 5 แสนคนต่อปีต่อเนื่องไปจนถึงปี 2025 เท่ากับว่า แคนาดาตั้งเป้าที่จะรับชาวต่างชาติเข้าประเทศถึง 1.5 ล้านคนภายใน 3 ปีข้างหน้า ซึ่งมากกว่าอัตราการให้สิทธิ์วีซ่าพำนักถาวรของอังกฤษต่อปีถึง 8 เท่า และยังมากกว่าของสหรัฐอเมริกาถึง 4 เท่า

แม้จะเป็นการเปิดโอกาสในการรับแรงงานต่างชาติที่ขาดแคลนเข้าประเทศ แต่จะผลสำรวจความเห็นของชาวแคนาดา ก็ยังมีความกังวลอยู่ไม่น้อยในนโยบายนี้ของรัฐบาล

แคนาดา เป็นอีกหนึ่งประเทศที่พยายามจูงใจชาวต่างชาติที่มีทักษะ เข้ามาพำนักถาวรในประเทศมานานหลายปี จนล่าสุดในปีที่ผ่านมาได้รับชาวต่างด้าวสูงกว่า 4 แสนคน มากที่สุดเท่าที่เปิดรับมา และวันนี้รัฐบาลแคนาดาตั้งเป้าหมายใหม่ในการรับแรงงานต่างชาติให้สูงกว่านั้นอีก

สาเหตุที่แคนาดาเร่งรับชาวต่างชาติเข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ เข้าใจได้ไม่ยาก เนื่องจากแคนาดามีอัตราเด็กเกิดใหม่น้อย และ ย่างเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ปัญหาขาดแคลนแรงงานจึงมีสูงมาก อีกทั้งแคนาดามีประชากรเพียง 38 ล้านคน น้อยกว่าประชากรของอังกฤษเป็นเท่าตัว แต่มีพื้นที่กว้างขวางกว่ามาก จึงทำให้แคนาดามีข้อได้เปรียบในการรับชาวต่างชาติย้ายถิ่น 

และทำให้วันนี้แคนาดากลายเป็นประเทศที่รับชาวต่างชาติมากที่สุดในกลุ่มประเทศ G7 25% ของประชากรแคนาดาเป็นชาวต่างชาติ เป็นอัตราที่สูงกว่าประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนที่หล่อรวมคนหลากหลายเชื้อชาติมากที่สุด ยังมีอัตราส่วนชาวต่างชาติต่อประชากรในประเทศเพียง 14% 

นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ แมดเดอไลน์ ซัมพ์ตัน ผู้อำนวยการสำนักสังเกตการณ์การย้ายถิ่นแห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด มองว่า แม้ประเทศแคนาดาจะมีศักยภาพรองรับประชากรเข้าใหม่มากแค่ไหนก็ตาม แต่อัตราการรับคนต่างด้าวเข้าประเทศในตอนนี้ถือว่ามากเกินไปจนผิดปกติ 

ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ เจฟฟรีย์ คาเมรอน นักรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ มองว่า ถึงแคนาดาจะประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แต่การรับชาวต่างชาติเข้าเมืองในจำนวนขนาดนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนด้วย  

และต้องยอมรับว่าในแต่ละรัฐของแคนาดามีความพร้อมที่จะรับชาวต่างด้าวไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น ในรัฐควิเบก ต้องการรับชาวต่างด้าวได้ไม่เกิน 10% ด้วยเหตุผลว่ารัฐนี้ อนุรักษ์การใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ และเกรงว่าการรับชาวต่างชาติมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่ออัตตาลักษณ์การใช้ภาษาของรัฐนี้ได้ 

นอกจากนี้ เมืองใหญ่อย่างแวนคูเวอร์ และ โตรอนโต ก็ต้องการรับชาวต่างชาติเข้าเมืองไม่เกินปีละ 10% เช่นกัน เพราะปัญหาราคาที่พักอาศัยที่พุ่งขึ้นสูง จนแม้แต่ชาวเมืองในพื้นที่หลายคนยังไม่สามารถหาซื้อบ้านเป็นของตัวเองได้

‘เยอรมนี’ เผย!! จำนวน ‘ผู้แปลงสัญชาติ’ พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ หลังรัฐเอื้อ ‘แรงงานย้ายถิ่น’ ช่วยเคลื่อน ศก. ในยามสูงวัยเกลื่อน

เมื่อวานนี้ (30 พ.ค. 67) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สำนักงานสถิติกลางแห่งเยอรมนี เปิดเผยจำนวนผู้ที่แปลงสัญชาติในเยอรมนีอยู่ที่ราว 200,100 คน ในปี 2023 ซึ่งถือเป็นจำนวนสูงสุดนับตั้งแต่มีการเริ่มบันทึกในปี 2000

จำนวนการแปลงสัญชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งเพิ่มขึ้นแล้วร้อยละ 28 จากในปี 2022 โดยมีผู้คนจาก 157 ประเทศได้รับสัญชาติเป็นพลเมืองเยอรมัน

สำนักงานฯ ระบุว่าพลเมืองที่ได้รับสัญชาติมีอายุเฉลี่ย 29.3 ปี ซึ่งอายุน้อยกว่าอายุของประชากรโดยรวมที่ 44.6 ปีอย่างมีนัยสำคัญ และส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย

อนึ่ง เยอรมนีเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป โดยปัจจุบันมีจำนวนประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้น และจำเป็นต้องพึ่งพากลุ่มแรงงานย้ายถิ่นฐาน

เยอรมนียังเผชิญกับการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะเป็นอย่างมาก ซึ่งรัฐบาลกำลังแก้ไขโดยการแก้ไขกฎหมายการย้ายถิ่นฐานของผู้มีทักษะความสามารถของเยอรมนี (The Skilled Immigration Act) เพื่อให้แรงงานที่มีคุณสมบัติจากต่างประเทศนอกสหภาพยุโรปสามารถหางานทำในเยอรมนีได้ง่ายขึ้น

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา บุนเดสรัต (Bundesrat) หรือสภาสูงของรัฐสภาเยอรมนี อนุมัติการปรับแก้กฎหมายสัญชาติของเยอรมนีให้เป็นสมัยใหม่ โดยปัจจุบันพลเมืองสามารถมีสองสัญชาติได้ และการแปลงสัญชาติอาจใช้เวลาดำเนินการเพียง 3 - 5 ปี หากการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมเป็นไปด้วยดี

แนนซี ฟาเซอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายในของเยอรมนี กล่าวหลังการมีมติของสภาสูงว่ารัฐบาลตระหนักถึงประวัติศาสตร์และความสำเร็จของผู้คนจำนวนมากที่โยกย้ายมาและมีส่วนร่วมในประเทศนี้มาเป็นเวลานานแล้ว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top