Monday, 21 April 2025
การไฟฟ้า

หลงรักภูเขาทอง สื่อรักรูปหัวใจจาก 'การไฟฟ้า’ ผ่านมุมมองฟากฝั่ง ‘คลองสาน'

หลงรักภูเขาทอง
ภาพนี้ถ่ายที่คลองสาน
ส่วนหัวใจสีเขียวแดงมาจากตึกของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตที่บางกรวย


ที่มา : https://www.facebook.com/532544466865594/photos/a.532552690198105/4493489827437685/


👍 มาหลงกรุงไปด้วยกันได้ที่ : https://thestatestimes.com/tag/หลงกรุง

‘ชัชชาติ’ ชม ‘กฟน.’ หลังจัดระเบียบสายรุงรัง พระราม 4  อึ้ง!! เจอสายตายเพียบ ต้องตัดทิ้งกว่า 90%

(13 พ.ค. 66) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไลฟ์ผ่านเฟซบุ๊ก ขณะร่วมวิ่ง City Run กับเพื่อนๆ นักวิ่ง

ในตอนหนึ่ง นายชัชชาติวิ่งมาถึงสะพานลอยตรงข้ามโรงพยาบาลเมดพาร์ค เขตคลองเตย นายชัชชาติกล่าวว่า ถนนพระรามที่ 4 มีการจัดระเบียบสายสื่อสารใหม่ โดยการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้ติดตั้งคอเหล็กไว้สำหรับร้อยสายไฟเบอร์ออปติกที่ผู้ให้บริการได้รับการอนุญาตแล้ว ส่วนสายเก่าที่ไม่ได้ใช้งานก็มีการตัดทิ้ง ซึ่งพบว่ามีกว่า 90%

“จะเห็นได้ว่าพอเรารวบสายก็ดีขึ้นเยอะเลย โปรเซสในอนาคตต่อไปคือการเอาลงดิน การนำสายลงดินต้องเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป” นายชัชชาติกล่าว

นายชัชชาติกล่าวต่อว่า กทม.เป็นผู้ประสานงานหลัก ที่ต้องพูดคุยกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) หรือโอเปอเรเตอร์ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง โดยแต่ก่อนมีการพาดสายมั่วกันไปหมด

“อย่างที่เคยบอก ไม่ใช่งานของ กทม.เพียงคนเดียว เราไปตัดสายคนอื่นไม่ได้ มีกฎหมายควบคุมอยู่” นายชัชชาติกล่าว

กฟผ. ยืนยันเขื่อนใหญ่ทั่วประเทศปลอดภัยจากแผ่นดินไหว มีเทคโนโลยี ICOLD ตรวจสอบล้ำสมัย เฝ้าระวังพฤติกรรมเขื่อนแบบเรียลไทม์

(18 เม.ย. 68) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยืนยันเขื่อนขนาดใหญ่ภายใต้การดูแลมีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยสูงสุด โดยได้รับการออกแบบให้รองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว พร้อมดำเนินการเฝ้าระวังและตรวจสอบพฤติกรรมเขื่อนตามมาตรฐานสากลอย่างเคร่งครัด ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อนได้ผ่านแอปพลิเคชัน 'EGAT ONE'

นายชวลิต กันคำ ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน กฟผ. เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในประเทศเมียนมา และส่งผลกระทบต่ออาคารบ้านเรือนในหลายจังหวัดของไทย ทำให้ประชาชนบางส่วนเกิดความกังวลต่อความมั่นคงของเขื่อนขนาดใหญ่ในประเทศ ซึ่ง กฟผ. ขอยืนยันว่าเขื่อนทุกแห่งได้รับการออกแบบให้รองรับแผ่นดินไหวไว้ล่วงหน้าแล้ว อีกทั้งมีระบบเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และติดตามพฤติกรรมเขื่อนด้วยเครื่องมือวัดเฉพาะทางตามมาตรฐานสากลขององค์การเขื่อนใหญ่ระหว่างประเทศ (ICOLD)

จากการตรวจวัดของเครื่องมือวัดอัตราเร่งพบว่า เขื่อนขนาดใหญ่ของ กฟผ. ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนี้ โดยมีค่าที่ตรวจวัดได้อยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับค่าที่ออกแบบไว้ ตัวอย่างเช่น

เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ (ห่างศูนย์กลางแผ่นดินไหว 546.36 กม.) ตรวจวัดได้ 0.00074g 

เขื่อนภูมิพล จ.ตาก (ห่าง 482.82 กม.) ตรวจวัดได้ 0.00457g 

เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี (ห่าง 820 กม.) ตรวจวัดได้ 0.00473g 

เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี (ห่าง 809.8 กม.) ตรวจวัดได้ 0.02590g

ในขณะที่เขื่อนทุกแห่งของ กฟผ. ได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับแผ่นดินไหวที่มีอัตราเร่งถึง 0.1–0.2g ซึ่งถือว่าสูงกว่าค่าที่เกิดขึ้นจริงหลายเท่า

ด้านมาตรการดูแลความปลอดภัย เขื่อนและอ่างเก็บน้ำของ กฟผ. ได้ดำเนินการตรวจสอบอย่างเข้มงวดใน 3 ระดับ ได้แก่

ตรวจสอบแบบประจำ – ดำเนินการทุกสัปดาห์ โดยเจ้าหน้าที่เฉพาะทางติดตามข้อมูลจากเครื่องมือ

ตรวจวัด ตรวจสอบแบบเป็นทางการ – ทุก 2 ปี โดยคณะกรรมการประเมินความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อน 

ตรวจสอบกรณีพิเศษ – เมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ เช่น แผ่นดินไหวรุนแรง น้ำหลาก หรือฝนตกหนัก

ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านความปลอดภัยได้อย่างรวดเร็ว กฟผ. ได้พัฒนาแอปพลิเคชัน EGAT ONE รองรับทั้งระบบ iOS และ Android สำหรับติดตามสถานการณ์น้ำ ข้อมูลเขื่อน และการแจ้งเตือนต่าง ๆ โดยตรงจาก กฟผ. ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top