Thursday, 8 May 2025
การรถไฟ

เชื่อมต่อแล้ว!! ‘สะพานขึง’ ข้ามแม่น้ำแม่กลอง แลนด์มาร์กใหม่แห่งราชบุรี 'สร้างงาน-ดึงดูดนทท.'

ไม่นานมานี้ เฟซบุ๊กเพจ 'โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure' ได้โพสต์ความคืบหน้าอีกโครงการใหญ่ของไทย ด้วยการพาไปทำความรู้จักกับ สะพานรถไฟขึง หลบระเบิด ข้ามแม่น้ำแม่กลอง บนโครงการทางคู่สายใต้ Landmark แห่งใหม่ของจังหวัดราชบุรี ระบุว่า...

วันนี้ขอมาเล่ารายละเอียด อีกหนึ่ง Highlights ของโครงการรถไฟทางคู่ ที่กำลังก่อสร้างกันอยู่ นั่นก็คือ 'สะพานรถไฟขึง' แห่งแรกของไทย ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อข้ามแม่น้ำแม่กลอง 

โดยสะพานแห่งนี้ เป็นรูปแบบสะพานคอนกรีตขึง (Extradose Bridge) เพื่อแก้ปัญหาทางกายภาพ อย่างการหลบระเบิดที่นอนอยู่ก้นแม่น้ำแม่กลอง กลางเมืองราชบุรี ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 

***คลิปอธิบายที่มาที่ไปและข้อจำกัดต่างๆ ของโครงการจาก นายช่างมีน หนึ่งในหัวหน้าวิศวกรคุมงาน ของการรถไฟ ได้จากลิ้งค์นี้ >> https://youtu.be/4o0uV8EqhTc

***โพสต์พาชมสะพานขึงนี้ เมื่อปีที่แล้ว >> https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1291848297920313/?d=n

ทีนี้ลองมาทำความรู้จัก สะพานรถไฟขึง แห่งแรกของไทยนี้ให้ลึกยิ่งขึ้น

สะพานรถไฟขึงนี้ อยู่ในโครงการรถไฟทางคู่สายใต้ สัญญาที่ 1 ช่วง นครปฐม-หนองปลาไหล 

โดยตัวสะพานได้ก่อสร้างคู่ขนานกับ 'สะพานจุฬาลงกรณ์' ซึ่งเป็นสะพานเดิม ที่เป็นรูปแบบสะพานเหล็กโครงถัก 

แต่สะพานใหม่นี้ จำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบสะพานขึง เนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่ ซึ่งมีระเบิดที่จมอยู่กลางแม่น้ำแม่กลอง ใกล้กับพื้นที่ก่อสร้างสะพานใหม่ 

ส่วนระเบิดนี้เกิดขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตร ต้องการตัดเส้นทางการเดินทาง ของกองทัพญี่ปุ่น เพื่อใช้เส้นทางรถไฟเป็นเส้นทางหลักในการเดินทาง

ซึ่งในช่วงสงคราม มีการทิ้งระเบิดในบริเวณสะพานจุฬาลงกรณ์ และสถานีรถไฟราชบุรี (ติดกัน) ไม่น้อยกว่า 10 ครั้ง และในปัจจุบัน มีระเบิดที่จมอยู่ในดินใต้แม่น้ำแม่กลอง ที่สำรวจเจอ 'ขนาดใหญ่' อย่างน้อย 3 ลูก ซึ่งมีความเสี่ยงในการเก็บกู้ 

ดังนั้น ทางแก้ปัญหา ก็จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนจากการก่อสร้างในพื้นที่แม่น้ำให้มากที่สุด จึงต้องเปลี่ยนเป็น 'สะพานคอนกรีตขึง' (Extradose Bridge) นั่นเอง

สำหรับโครงการนี้ ทางการรถไฟฯ ได้ทำพิธีเชื่อมต่อสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลอง สะพานรถไฟแบบขึงแห่งแรกของไทยไปเมื่อ 24 มิ.ย.65 ที่ผ่านมา

โดยมี นายจเร รุ่งฐานีย รองผู้ว่าการกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน การรถไฟแห่งประเทศไทย และนายอุดม เพชรคุต รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานในพิธีเชื่อมต่อสะพานรถไฟช่วงสุดท้ายข้ามแม่น้ำแม่กลอง สะพานรถไฟแบบขึงแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทางสายใต้ ช่วงนครปฐม–หัวหิน โดยมีพลตรีวิกร เลิศวัชรา รองเจ้ากรมการทหารช่าง และนายดนุช ยนตรรักษ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เอ.เอส. แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด พร้อมด้วยหน่วยงานจังหวัดราชบุรีเข้าร่วมพิธี 

นายจเร เปิดเผยว่า การสร้างสะพานรถไฟแบบขึงข้ามแม่น้ำแม่กลอง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-หัวหิน สัญญาที่ 1 ช่วงนครปฐม – หนองปลาไหล โดยได้มีการสร้างสะพานรถไฟคู่ขนานกับสะพานรถไฟเดิมหรือสะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ เพื่อรองรับการให้บริการรถไฟทางคู่สายใต้ พร้อมกับมีการออกแบบด้วยเทคนิคทางวิศวกรรมพิเศษให้โครงสร้างสะพานรถไฟใช้คานขึง ที่มีตอม่ออยู่บนฝั่งแม่น้ำทั้ง 2 ฝั่ง แทนรูปแบบเดิมที่มีตอม่อกลางแม่น้ำ 

เนื่องจากก่อนที่จะมีการก่อสร้างสะพานรถไฟดังกล่าว การรถไฟฯ ได้ทำการสำรวจพื้นที่แล้วพบวัตถุระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ขนาด 1,000 ปอนด์ จำนวน 7 ลูก จมอยู่ในแม่น้ำแม่กลองบริเวณใต้สะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ ตรงกับแนวเขตการก่อสร้างสะพานรถไฟ หากจะก่อสร้างสะพานในรูปแบบเดิม จำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดออกจากพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตราย

ดังนั้นจึงต้องให้ผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการฯ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้างสะพานรถไฟใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงจากวัตถุระเบิด จึงเป็นที่มาของรูปแบบการสร้างสะพานรถไฟแบบขึง (Extradosed Bridge) หรือ เรียกสั้นๆ ว่า 'สะพานขึง' ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการขอพระราชทานชื่อสะพาน 

ไขข้อสงสัย!! ‘รถไฟฟ้า’ แต่ละสาย มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการพัฒนาและบำรุงรักษาเป็นหน่วยงานใดบ้าง 🚈✨

ไขข้อสงสัย!! ‘รถไฟฟ้า’ แต่ละสาย มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการพัฒนาและบำรุงรักษาเป็นหน่วยงานใดบ้าง 🚈✨

หมายเหตุ : ข้อมูลนี้เป็นของรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วเท่านั้น สำหรับรถไฟฟ้าที่จะเปิดให้บริการในอนาคต ต้องรอดูความคืบหน้าในการเลือกสังกัดหน่วยงานรับผิดชอบอีกครั้ง

‘การรถไฟไทย-มาเลฯ’ เห็นชอบเปิดเดินรถ ‘กรุงเทพอภิวัฒน์-บัตเตอร์เวอร์ธ’ เชื่อมต่อการเดินทาง-กระตุ้นท่องเที่ยว-เศรษฐกิจ ระหว่าง 2 ประเทศ

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 13-16 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา นายอวิรุทธ์ ทองเนตร รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนการรถไฟฯ เดินทางเข้าประชุมร่วมระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทยและการรถไฟมาเลเซีย ครั้งที่ 42 (42nd KTMB - SRT Joint Conference) ณ เมืองโคตา คินาบาลู รัฐซาบาห์ สหพันธรัฐมาเลเซีย เพื่อขยายความร่วมมือการให้บริการเดินรถเชื่อมต่อระหว่างไทย-มาเลเซีย อำนวยความสะดวกการเดินทางแก่ประชาชน การขนส่งสินค้าของทั้งสองประเทศแบบไร้รอยต่อ และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยวตามนโยบายของ นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐบาล

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสำนักงานผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การเดินทางไปร่วมประชุมฯ ของนายอวิรุทธ์ ทองเนตร รองผู้ว่าการการรถไฟฯ และคณะผู้แทนการรถไฟฯ กับการรถไฟมาเลเซียครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความร่วมมือการให้บริการขนส่งทางรางของทั้ง 2 ประเทศร่วมกันในทุกมิติ ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบหลักการจัดเดินขบวนรถจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์-ปาดังเบซาร์-บัตเตอร์เวอร์ธ รัฐปีนัง สหพันธรัฐมาเลเซีย เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางของชาวไทยและชาวมาเลเซียให้ไปมาหาสู่กันแบบไร้รอยต่อ ซึ่งเป็นการช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศอีกด้วย

นอกจากนี้ ยังได้เห็นชอบให้มีการขยายเส้นทางขบวนรถไฟท่องเที่ยว MySawasdee จากมาเลเซียมาไทย จากเดิมเปิดให้บริการถึงสถานีชุมทางหาดใหญ่ ให้ขยายมาถึงสถานีสุราษฎร์ธานี หลังขบวนรถท่องเที่ยว MySawasdee ได้รับผลตอบรับที่ดีเยี่ยม มีจำนวนผู้โดยสารเต็มทุกเที่ยว การขยายเส้นทางรถไฟท่องเที่ยวนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อการช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว และนำรายได้เข้าสู่ประเทศเพิ่มขึ้น โดยหลังจากนี้ทั้ง 2 หน่วยงานจะมีการตกลงรายละเอียด และระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป

ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ประชุมฯ เห็นชอบในหลักการแล้ว จะได้มีการตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อพิจารณาการเปิดให้บริการขบวนรถไฟเส้นทางต่อขยายจากสถานีกลางกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ ไปยังสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ โดยในช่วงแรกจะเป็นการทดลองการเดินรถเป็นระยะเวลา 6 เดือน  


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top