Thursday, 24 April 2025
การท่องเที่ยวไทย

ส.ส.เพื่อไทย ขยี้ปม ‘นักท่องเที่ยว’ รอคิวแน่นสุวรรณภูมิ ซัด!! รัฐบาลหวังการท่องเที่ยวฟื้น แต่กลับไม่เตรียมพร้อม

(4 พ.ย. 65) จักรพล ตั้งสุทธิธรรม ส.ส.เชียงใหม่ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หลังจากวันที่ 30 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ปรากฏภาพข่าวจากสื่อต่างประเทศและโซเชียลมีเดีย มีการแชร์ภาพนักท่องเที่ยวจำนวนมากรอเข้ารับการตรวจหนังสือเดินทางที่ด่านขาเข้าของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้น

จากการตรวจสอบพบว่า ขณะนี้มีการให้บริการจากสายการบิน จำนวน 76 เที่ยวบิน เฉลี่ยมีผู้ใช้บริหารชั่วโมงละ 3,000-4,000 คน คิดเป็น 40,000 - 50,000 คน/วัน ส่วนตัวมีความเห็นดังนี้

1.) ถือเป็นสัญญาณที่ดีของการท่องเที่ยวไทย ที่จำนวนนักท่องเที่ยวและจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มมากขึ้น
2.) รัฐบาลที่นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  ไม่มีการเตรียมแผนรองรับตั้งแต่แรก ทั้งที่รัฐบาลเองคาดหวังจะฟื้นฟูเศรษฐกิจผ่านการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น การดำเนินการเป็นไปด้วยความล่าช้าในแต่ละขั้นตอน คนแน่นล้นแออัด จนนักท่องเที่ยวต้องโวยวายจนออกสื่อ จนสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อการท่องเที่ยวไทย

สำหรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของไทย ถือว่าเป็นห้องรับแขกห้องแรกของประเทศที่ไว้คอยต้อนรับและสร้างความประทับใจแรกในการมาเยือน เคยติดอันดับที่ 5 ในปี พ.ศ. 2558 ในฐานะสนามบินที่ดีที่สุดในโลก ในหมวดสนามบินที่ให้บริการผู้โดยสาร 40-50 ล้านคนต่อปี จากการจัดอันดับและมอบรางวัลของ สกายแทร็กซ์ (Skytrax) หากไม่รีบแก้ไข อันดับสนามบินที่ดีของสุวรรณภูมิอาจจะร่วงกว่านี้ไปอีกแน่นอน

'ศาสตรา' ชี้!! ท่องเที่ยวไทย 8 เดือนแรก โกย นทท.18 ล้านแล้ว แนะ!! จากนี้รัฐต้องเกาให้ถูกที่คัน อย่าเดินผิดทาง เป้าหมายไม่หลุด

(12 ก.ย. 66) นายศาสตรา ศรีปาน สส.สงขลา เขต 2 พรรครวมไทยสร้างชาติ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ‘นายศาสตรา ศรีปาน - Sarttra Sripan’ ถึงสภาพการท่องเที่ยวไทย 8 เดือนแรกของปี 2566 ที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาทะลุ 18 ล้านคนแล้ว โดยระบุว่า…

#ท่องเที่ยวไทยลุงตู่ทำไว้8เดือนแรก18ล้านคนจะทะลุเป้าแล้ว เมื่อวานผมได้ฟังนายกฯ ได้แถลงนโยบายเรื่องการท่องเที่ยว เนื่องจากมีเวลาที่จำกัดผมจึงไม่ได้อภิปราย 

ผมจึงขอเพิ่มเติมดังนี้

ด่านยังมีปัญหาเรื่องการอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว และประชาชนคนไทย ยังมีการเรียกเก็บส่วยเข้าออก ? 

ค่าเหยียบแผ่นดินที่สามารถ นำเม็ดเงินมหาศาลเข้าประเทศได้ เป็นค่าประกันรักษา บำรุงธรรมชาติ รวมถึงนำมาใช้เพื่อซ่อมแซ่ม สร้างสถานที่ท่องเที่ยวใน จ.สงขลา และทั่วประเทศ (ดูแลการท่องเที่ยวไทยด้วยตัวเอง) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งตัดสินใจ

Soft power ผมรู้สึกว่ารัฐให้ความสนใจมากแต่ยังเดินผิดทาง การทำงานยังไม่มีกึ๋นเท่าไหร่ โฆษณาแบบ direct sale ไม่ใช่การสอดแทรก ซึมซับ แทรกซึม ซึ่งถ้านำเอาไอเดียความสามารถในคนของเราที่เก่งด้านนี้จริง ๆ ที่เป็นสายครีเอทีฟ ทำหนัง ละคร ทำเพลง บวกงบประมาณจากรัฐลงไปมากกว่านี้ สามารถทำให้การท่องเที่ยวไทยไปไกล

Visa ฟรี ในประเทศที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เห็นด้วย แต่ต้องระวังผลกระทบที่ตามมา ด้านความมั่นคง คุณเศรษฐาต้องป้องกัน ทุนจีน ที่มาทำการท่องเที่ยวในไทยที่เราเรียก ‘ทัวว์ศูนย์เหรียญ’ รอยรั่วของการท่องเที่ยวไทย เงินไม่ตกถึงมือชาวบ้าน

ควรมี Visa ตามเทรนด์ เช่น workation visa 2 ปี คนมาทำงานด้วยพักผ่อนด้วย กรุงเทพคือเป้าหมายอันดับ 1 ของโลก แต่ visa ไม่อำนวยให้นักท่องเที่ยวอยากมา

ควรมี T visa (อันนี้ผมไปดูของเกาหลีมา ใช้ชื่อ K visa) เป็นวีซ่าที่ ให้คนสนใจมาเรียนรู้วัฒนธรรม เกาหลี 2 ปี เช่นเต้น k pop เรียนร้องเพลง เพิ่มยอดนักท่องเที่ยว ของเราก็มวยไทยไง production เราก็สุดเบอร์ แต่ราคาถูกมาก ถ้าดึงทั้งฝั่ง Southeast Asia เข้ามาที่นี่ประเทศไทย จะเกิดเงินหมุนเวียนมหาศาล

‘Sharing economy’ เช่น grab ผู้มีอำนาจควรฟันธงได้แล้ว

Home stay หรือ โรงแรมขนาดเล็ก ควรให้โอกาส Airbnb ควรผลักดัน หรือไม่? เพราะเงินเข้ากระเป๋าชาวบ้านโดยตรง

สร้างสนามบินอย่างเดียวไม่ได้ช่วยให้การท่องเที่ยวดีขึ้น อย่างเต็มประสิทธิภาพ ต้องทำทั้งระบบร้อยเรียงกัน หันมาดูคนตัวเล็ก ผับ บาร์ สถานบันเทิง ความปลอดภัย

ให้ความสำคัญจริง ทำให้จริง เกาให้ถูกที่คันครับ ตั้งเป้าหมายให้ไกลกว่านี้เพื่อเอาเงินเข้าประเทศปากท้องเศรษฐกิจไทยดีขึ้น ที่ตั้งเป้าไว้ 20-25 ล้านคนยังไงก็เกินเป้า #เพราะที่ลุงตู่ทำไว้8เดือนแรกปีนี้ก็18ล้านคนเข้าไปแล้ว

กาสิโน Chapter ใหม่ของการท่องเที่ยวไทย ไว้ใจรัฐ!! ทำเพื่อประโยชน์คนไทยในวงกว้าง

ทีมข่าว THE STATES TIMES ได้พูดคุยกับ อ.พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อดีตปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ระดับประเทศ ที่มาร่วมพูดคุยในรายการ Easy Econ ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิทยุ ส.ทร. FM93.0 MHz และสื่อออนไลน์ ในเครือ THE STATES TIMES ในประเด็น 'กาสิโน Chapter ใหม่ของการท่องเที่ยวไทย' เมื่อวันที่ 7 เม.ย.67 โดย อ.พงษ์ภาณุ กล่าวว่า...

ในที่สุดสถานบันเทิงครบวงจรก็ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแบบไร้เสียงคัดค้าน แต่กระแสคัดค้านน่าจะมาจากสังคมนอกสภา สังคมที่ท่านนายกรัฐมนตรีเรียกว่าเป็นสังคมอีแอบ

นับเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยที่จะมีการลงทุนขนาดใหญ่ หรือ Mega Project ในรอบหลายปี การท่องเที่ยวไทยพึ่งพาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและโบราณสถานเป็น Tourist Attractions มาโดยตลอด จนสถานที่เหล่านั้นเริ่มสึกหรอและเสื่อมทรามลงไปจากความแออัดของนักท่องเที่ยว รัฐบาลในอดีตได้รับรายได้มหาศาลจากภาคการท่องเที่ยว แต่ละเลยที่จะส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเพื่อยกระดับสถานที่ท่องเที่ยวให้เป็นระดับโลก

ครั้งนี้จึงเป็นโอกาสสำคัญของประเทศและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โครงการสถานบันเทิงครบวงจร นอกจากจะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนครั้งใหญ่ใน Man-made Attractions แล้ว ยังเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยสู่สากล และการท่องเที่ยวเชิง MICE (Meeting Incentive Convention and Exhibition) ซึ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงธุรกิจที่ใช้จ่ายเงินสูง และสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศอื่น ๆ มาแล้ว

แน่นอน ผลกระทบทางสังคมที่หลายฝ่ายวิตกกังวล ก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องเตรียมรับมือ แต่ก็ไม่สมควรที่จะหวาดกลัวไปตามแรงกดดันของสังคมอีแอบ เพราะปัจจุบันสังคมไทยก็อยู่กับอบายมุขอยู่แล้ว เพียงแต่เป็นอบายมุขที่ผิดกฎหมาย การนำอบายมุขเหล่านี้ขึ้นมาบนดิน อาจทำให้รายได้ของเจ้าหน้าที่ที่รับส่วยอยู่ในปัจจุบันลดลงหรือหมดไป แต่ก็กลายมาเป็นรายได้ของรัฐบาล ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของประชาชนในวงกว้างต่อไป

ส่วนกลุ่มเปราะบางทางสังคมซึ่งอาจได้รับผลกระทบ เชื่อว่ารัฐบาลเตรียมมาตรการรองรับอยู่แล้ว และกลุ่มรากหญ้าที่ต้องการเล่นการพนันที่ถูกกฎหมายแต่ไม่สามารถเข้าถึงกาสิโนในสถานบันเทิงได้นั้น ก็สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิตอลออนไลน์เข้ามาเสริมการให้บริการและการเข้าถึงในระดับรากหญ้า แต่ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างเคร่งเครียดของรัฐบาล

ประเทศไทยสูญเสียโอกาสและรายได้ไปนานหลายสิบปี ครั้งนี้จึงเป็นวาระสำคัญของประเทศที่คนไทยทุกคนจะร่วมกันผลักดันให้ประเทศเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง

กาสิโน Chapter ใหม่ของการท่องเที่ยวไทย ไว้ใจรัฐ!! ทำเพื่อประโยชน์คนไทยในวงกว้าง

ทีมข่าว THE STATES TIMES ได้พูดคุยกับ อ.พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อดีตปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ระดับประเทศ ที่มาร่วมพูดคุยในรายการ Easy Econ ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิทยุ ส.ทร. FM93.0 MHz และสื่อออนไลน์ ในเครือ THE STATES TIMES ในประเด็น 'กาสิโน Chapter ใหม่ของการท่องเที่ยวไทย' เมื่อวันที่ 14 เม.ย.67 โดย อ.พงษ์ภาณุ กล่าวว่า...

ในที่สุดสถานบันเทิงครบวงจรก็ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแบบไร้เสียงคัดค้าน แต่กระแสคัดค้านน่าจะมาจากสังคมนอกสภา สังคมที่ท่านนายกรัฐมนตรีเรียกว่าเป็นสังคมอีแอบ

นับเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยที่จะมีการลงทุนขนาดใหญ่ หรือ Mega Project ในรอบหลายปี การท่องเที่ยวไทยพึ่งพาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและโบราณสถานเป็น Tourist Attractions มาโดยตลอด จนสถานที่เหล่านั้นเริ่มสึกหรอและเสื่อมทรามลงไปจากความแออัดของนักท่องเที่ยว รัฐบาลในอดีตได้รับรายได้มหาศาลจากภาคการท่องเที่ยว แต่ละเลยที่จะส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเพื่อยกระดับสถานที่ท่องเที่ยวให้เป็นระดับโลก

ครั้งนี้จึงเป็นโอกาสสำคัญของประเทศและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โครงการสถานบันเทิงครบวงจร นอกจากจะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนครั้งใหญ่ใน Man-made Attractions แล้ว ยังเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยสู่สากล และการท่องเที่ยวเชิง MICE (Meeting Incentive Convention and Exhibition) ซึ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงธุรกิจที่ใช้จ่ายเงินสูง และสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศอื่น ๆ มาแล้ว

แน่นอน ผลกระทบทางสังคมที่หลายฝ่ายวิตกกังวล ก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องเตรียมรับมือ แต่ก็ไม่สมควรที่จะหวาดกลัวไปตามแรงกดดันของสังคมอีแอบ เพราะปัจจุบันสังคมไทยก็อยู่กับอบายมุขอยู่แล้ว เพียงแต่เป็นอบายมุขที่ผิดกฎหมาย การนำอบายมุขเหล่านี้ขึ้นมาบนดิน อาจทำให้รายได้ของเจ้าหน้าที่ที่รับส่วยอยู่ในปัจจุบันลดลงหรือหมดไป แต่ก็กลายมาเป็นรายได้ของรัฐบาล ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของประชาชนในวงกว้างต่อไป

ส่วนกลุ่มเปราะบางทางสังคมซึ่งอาจได้รับผลกระทบ เชื่อว่ารัฐบาลเตรียมมาตรการรองรับอยู่แล้ว และกลุ่มรากหญ้าที่ต้องการเล่นการพนันที่ถูกกฏหมายแต่ไม่สามารถเข้าถึงกาสิโนในสถานบันเทิงได้นั้น ก็สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิตอลออนไลน์เข้ามาเสริมการให้บริการและการเข้าถึงในระดับรากหญ้า แต่ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างเคร่งเครียดของรัฐบาล

ประเทศไทยสูญเสียโอกาสและรายได้ไปนานหลายสิบปี ครั้งนี้จึงเป็นวาระสำคัญของประเทศที่คนไทยทุกคนจะร่วมกันผลักดันให้ประเทศเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง

‘ชาวเกาะปันหยี’ น้อมรับเสียงวิจารณ์ ปมดรามาสินค้า-ของฝากแพง วอนโซเชียลเลิกแชร์ข้อมูลปลอมเรียกยอดไลก์ ลั่น!! ไม่หยุดเจอฟ้อง

หลังจากมีประเด็นร้อนในโลกออนไลน์ เมื่อแฟน ๆ ได้ดูคลิปล่าสุดในช่อง ‘Cullen Hateberry’ ของ ‘คัลแลน-พี่จอง’ ยูทูบเบอร์หนุ่มชาวเกาหลี ที่ได้ไปเที่ยวที่เกาะปันหยี จ.พังงา ได้เป็นประเด็นร้อนแรงในโลกออนไลน์ ที่ถูกแคปออกมาวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก

ตั้งแต่เรื่องค่าเรือที่เดินทางไปที่เกาะปันหยี ค่าเรือแพง 1,000 บาท ซื้อของฝากพวกเครื่องประดับ หอยมุก สร้อยข้อมือ 300 บาท เปลือกหอยมุก 500 บาท รวมราคาแล้ว 800 บาท และเมื่อขอลดราคา เจ้าของร้านบอกว่า แถมไป 1 อัน รวมเป็น 1,000 บาท จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าการขายของที่ระลึกในราคานี้ มันแพงเกินเหตุไปหรือไม่

และยังพบว่ามีการคอมเมนต์ต่าง ๆ นานา ในลักษณะของการขายของแพงทั้งเรื่องอาหาร ที่พัก ต่าง ๆ ด้วยจนเป็นกระแสสุดฮอต สร้างความเสียหายให้กับชาวเกาะปันหยีและบรรยากาศการท่องเที่ยวของจังหวัดพังงา

ล่าสุด (24 ก.ค. 67) นางยาวาเราะห์ ประสานพันธ์ เจ้าของร้านปันหยีซีฟู้ด กล่าวว่า ขอชี้แจงในเรื่องของอาหารแพงนั้น ทางร้านอาหารส่วนใหญ่ก็จะมีการแจ้งราคาไว้แล้ว ทั้งแบบรายหัวบุฟเฟต์หรือเมนูตามสั่ง ในส่วนของปลาแพงนั้นก็อาจจะเกี่ยวกับการสั่งปลาเป็น ๆ ที่มีราคาสูงในกระชังขึ้นมาปรุงก็ได้ และยืนยันว่าทางร้านไม่มีการบวกราคาเพิ่มกับลูกค้า

ขณะที่ร้านขายของฝากก็เป็นงานฝีมือซึ่งแต่ละร้านก็ตั้งราคากันเอง และมีอยู่หลายร้าน ซึ่งผู้ซื้อผู้ขายต่อรองราคากันตามพอใจ จึงขอเรียกร้องให้โซเชียลหยุดการแชร์การคอมเมนต์ที่สร้างความเสียหายให้กับชาวเกาะปันหยี เพราะหากกระทบต่อการท่องเที่ยวจะสร้างความเสียหายให้กับชาวบ้านบนเกาะที่ต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวและการประมง

ด้านนายประสิทธิ์ เหมมินทร์ รองนายก อบต.เกาะปันหยี เปิดเผยว่า ตนเองเป็นผู้นำในพื้นที่หลังจากได้ทราบข่าวก็รู้สึกไม่สบายใจ จึงรีบสอบถามข้อมูลทันที ซึ่งพบว่าในเรื่องของค่าเรือ 1,000 บาทนั้น พบว่าใช้บริการที่ท่าเรือบ้านในหงบ เป็นการเหมาเรือไปส่งและไปรับกลับอีกวันหนึ่ง ซึ่งขอบอกว่าเป็นราคาปกติ ซึ่งปกติถ้าตนเองใช้บริการเหมาเรือก็จะอยู่ในราคาประมาณนี้ ขณะราคากลางของทางราชการนั้นอยู่ที่ 1,000 บาท จึงขอบอกว่าเป็นราคาปกติ

ส่วนในเรื่องของฝากจากหอยมุกนั้น สอบถามจากคนขายพบว่าคนซื้อเลือก 2 ชิ้น 800 บาทและอยากได้ของแถม จึงเพิ่มสร้อยข้อมืออีก 1 ชิ้น รวมราคา 1,100 บาท และลดเหลือ 1,000 บาท ไม่ได้มีการยัดเยียดขายแต่อย่างใด

สำหรับเกาะปันหยีนั้นเรามีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวมากว่า 70 ปี แต่ละวันจะมีการต้อนรับนักท่องเที่ยวเข้ามาหลายพันคนได้ ทุกคนจึงให้ความสำคัญกับการรักษาภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวเสมอมา ในเรื่องของกินต่าง ๆ ก็ราคาไม่ต่างจากในเมือง เราไม่อยากจะแก้ตัวหรือแก้ต่างกับกระแสดรามาในโลกโซเชียล ถือเป็นบทเรียนที่พวกเราชาวเกาะปันหยีจะต้องทำอย่างไรต่อไป

เราน้อมรับในกระแสข้อวิจารณ์ที่ใช้เหตุผล ส่วนข้อวิจารณ์ที่ไม่เป็นความจริงและกล่าวหามุสลิมเพื่อต้องการเรียกยอดไลก์และสร้างความเสียหายกับพี่น้องชาวไทยมุสลิมบนเกาะปันหยี ทางเราก็อาจจะพิจารณาใช้กฎหมายดำเนินการต่อไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top