Tuesday, 22 April 2025
กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอี

'สุริยะ' ปลื้ม!! คะแนนประเมินกองทุนฯ เอสเอ็มอีสูงขึ้นต่อเนื่อง เล็งยกระดับ 'กลุ่ม BCG - อุตฯ เป้าหมาย' เพิ่มต่อ

'สุริยะ' เผยผลประเมินการดำเนินงานกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีปีบัญชี 2564 มีผลคะแนนสูงขึ้นต่อเนื่อง หลังดำเนินมาตรการด้านสินเชื่อ และพัฒนาผู้ประกอบการให้มีผลิตภาพเพิ่มขึ้นเป็นไปตามเป้าหมาย ตั้งเป้าพัฒนาต่อยอดธุรกิจกลุ่ม BCG และอุตสาหกรรม S-Curve ในประเทศเพิ่มขึ้น พร้อมปรับปรุงระบบดิจิทัลรองรับการให้บริการกลุ่มเป้าหมาย และใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็วเต็มประสิทธิภาพ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงรายงานผลประเมินการดำเนินงาน ประจำปีบัญชี 2564 ของสำนักงานกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ จากกรมบัญชีกลาง และ บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด ว่า ปีนี้กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ กระทรวงอุตสาหกรรม มีผลคะแนนเท่ากับ 4.098 คะแนน ซึ่งสูงขึ้นจากปีบัญชีก่อนหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถดำเนินมาตรการด้านสินเชื่อได้ตามเป้าหมาย ควบคู่กับการพัฒนาผู้ประกอบการให้มีผลิตภาพเพิ่มขึ้น และที่สำคัญ คือ การปรับปรุงระบบดิจิทัลเพื่อรองรับการให้บริการกลุ่มเป้าหมาย และใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจของผู้บริหารเพื่อกำหนดนโยบายและมาตรการต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 

ก.อุตสาหกรรม ติดปีก SME กว่า 200 ราย หนุนเพิ่มขีดการแข่งขันด้านดิจิทัลดันธุรกิจโตยั่งยืน

(18 พ.ย. 67) กระทรวงอุตสาหกรรม ลุยโครงการพัฒนา SME ภายใต้กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เดินหน้าเต็มสูบหนุนเอสเอ็มอีด้วยโครงการพัฒนาธุรกิจดิจิทัลสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีใหม่ (Digital Transformation) และโครงการยกระดับประสิทธิภาพการผลิตอย่างยั่งยืน (Sustainable Productivity) ด้วยการลดค่าใช้จ่ายพลังงาน เพิ่มรายได้ ขยายโอกาสการค้าของ SME สู่ตลาดสากล คาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 62 ล้านบาท

นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกยุคใหม่ที่มีความผันผวน คาดเดาไม่ได้ ส่งผลให้ธุรกิจ SME ไทย จำเป็นต้องปรับตัว รับมือ Digital Disruption และวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ซึ่งจากผลสำรวจ SME Digital Maturity Survey 2023 ชี้ชัดว่า SME ไทย อยู่ในระดับ "Digital Follower" พร้อมเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในระดับ ปานกลาง โดยเฉพาะ SME ขนาดกลางและภาคการผลิตที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ด้านการตลาด การเงินและบัญชี และการขายมากที่สุด

กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ขานรับนโยบายในการสนับสนุน SME โดยได้อัดฉีดงบกว่า 10 ล้านบาท เพื่อพัฒนา SME ไทย จำนวนกว่า 200 ราย ให้สามารถสร้างรายได้เพิ่ม ลดต้นทุน และรักษาสิ่งแวดล้อม ผ่าน 2 โครงการสำคัญ คือ 1. โครงการพัฒนาธุรกิจด้วยดิจิทัลสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีใหม่ (Digital Transformation) เพื่อยกระดับขีดความสามารถของ SME ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจและ การบริหารจัดการโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีเอสเอ็มอีจำนวน 100 กิจการ ในสาขาอุตสาหกรรม S-Curve ดิจิทัล เกษตรแปรรูป อาหารแปรรูป แฟชั่นและไลฟ์สไตล์ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีความต้องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ 2. โครงการยกระดับประสิทธิภาพการผลิตอย่างยั่งยืน (Sustainable Productivity) เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดต้นทุน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน โดยมีเอสเอ็มอีจำนวน 100 กิจการ ในสาขาอุตสาหกรรม S-Curve ดิจิทัล เกษตรแปรรูป อาหารแปรรูป แฟชั่นและไลฟ์สไตล์ และอุตสาหกรรมอื่นที่มีการใช้พลังงานสิ้นเปลือง หรือมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง 

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับคำปรึกษาแนะนำเพื่อปรับใช้และเตรียมความพร้อมในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล หรือการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ยั่งยืน รวมไปถึงการสนับสนุนด้านเงินทุน ผ่านสินเชื่อ จากกองทุนฯ เพื่อพัฒนาต่อยอดธุรกิจ ด้วยการลดค่าใช้จ่ายพลังงาน เพิ่มรายได้และขยายโอกาสการค้าของ SME ที่เข้าร่วมโครงการสู่ตลาดสากล คาดจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 62 ล้านบาท

“การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์) ที่ต้องการให้ “Save อุตสาหกรรมไทย” เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขัน มุ่งสู่เป้าหมายยกระดับ SME ไทยให้เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง พร้อมรับมือทุกความท้าทาย โดยเสริมสร้างความสามารถทางด้านดิจิทัล ความพร้อมในด้านการผลิตที่ยั่งยืน สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ดอกเบี้ยต่ำ อีกทั้งยังสามารถติดตาม ประเมินผล ด้วย Green Productivity Measurement ที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน และสามารถก้าวไกลได้บนเวทีโลก” ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปิดท้าย

MASTER ผนึก “Lumeo Health” พาร์ตเนอร์อินโดนีเซีย ปักธง ผู้นำศัลยกรรมความงามแห่งภูมิภาคอาเซียน

(18 พ.ย. 67) บมจ. มาสเตอร์ สไตล์ หรือ “MASTER” ปักธงก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางศัลยกรรมความงามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศร่วมมือ “Lumeo Health” พาร์ตเนอร์อินโดนีเซีย ตอกย้ำการขยายตลาดภูมิภาค – เสริมศักยภาพการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง พร้อมมุ่งเน้นนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย - ขยายเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจต่อเนื่อง เพิ่มการแข่งขันในระดับภูมิภาค ผลักดันอุตสาหกรรมศัลยกรรมความงาม และการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์

นายแพทย์ระวีวัฒน์ มาศฉมาดล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER ผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช Specialty Hospital ผู้นำอุตสาหกรรมด้านความงามของประเทศไทยและเอเชีย กล่าวว่า MASTER GROUP มุ่งมั่นที่จะขยายการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงในด้านศัลยกรรมความงามและการแพทย์เฉพาะทาง รวมถึงมีการเพิ่มขึ้นของกำลังซื้อ และความนิยมในหัตถการความงามในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ส่งผลให้ความต้องการบริการขยายตัวอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ ยังมีการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ เช่น อินโดนีเซีย ลาว และกัมพูชา ถือเป็นก้าวสำคัญในการเสริมสร้างความเป็นผู้นำระดับภูมิภาค ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการมอบบริการที่มีคุณภาพระดับสากล โดย MASTER ตั้งเป้าหมายเป็นศูนย์กลางศัลยกรรมความงามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

"มองว่าตลาดภูมิภาคมีการเติบโตสูง และมีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของทั้งนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และคนในท้องถิ่นที่หันมาสนใจศัลยกรรมและความงามมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศอย่างอินโดนีเซีย ลาว กัมพูชา และไทย ซึ่งประชากรที่มีกำลังซื้อสูง มีความสนใจการทำศัลยกรรมความงามเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเราได้เห็นถึงความสำเร็จจากการขยายฐานลูกค้าและการเติบโตที่โดดเด่นของกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ ผ่านการทำงานร่วมกับเครือข่าย Influencer และช่องทางการตลาดออนไลน์ที่ช่วยสร้างความรู้จัก และเพิ่มความไว้วางใจให้กับ MASTER ในฐานะศูนย์กลางศัลยกรรมความงามระดับภูมิภาค โดยเรามุ่งเน้นการนำเทคนิคทางการแพทย์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการให้บริการ และขยายเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการเติบโตและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในระดับภูมิภาค" นายแพทย์ระวีวัฒน์ กล่าว

นางสาวลภัสรดา เลิศภานุโรจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER กล่าวว่า ต่อจากนี้จะเริ่มเห็น MASTER ก้าวเข้าสู่การเป็น "Regional  Company" โดยจะมีความร่วมมือกับ MASTER PARTNER ในระดับภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับความแข็งแกร่งของบริษัทไปยังตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย MASTER ร่วมพิธีลงนามความร่วมมือ หรือ MOU กับ Lumeo Health ซึ่งบริษัทจัดตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย โดยมีสำนักงานในจาการ์ตา ซึ่ง Lumeo Health โดดเด่นในฐานะที่ปรึกษาศัลยกรรมความงามและการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ที่ครบวงจรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับการเติบโตภายในประเทศของบริษัทฯ ถือว่าแข็งแกร่ง โดย MASTER GROUP มีจุดให้บริการมากกว่า 90 แห่งทั่วประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่สำคัญๆ ในทุกภูมิภาค โดยให้บริการที่ครอบคลุมความต้องการในทุกกลุ่มลูกค้า ทั้งด้านศัลยกรรมความงามและการแพทย์เฉพาะทาง ถือเป็นจุดแข็งของเราในการตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลาย และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

Dr. Queencha Chaidy, Chief Executive Officer Lumeo Health กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาร่วมงานกับโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช Specialty Hospital ผู้นำอุตสาหกรรมด้านความงามของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคาดว่าการลงนาม MOU ครั้งนี้จะเป็นการผนึกกำลังอีกขั้นของการพัฒนาด้านศัลยกรรมความงาม ให้เติบโตในระดับภูมิภาค

‘กระทรวงอุตสาหกรรม’ อัดฉีดเงิน 20 ล้านบาท ผ่าน 4 โครงการเด็ด เสริมแกร่ง!! สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขัน รับเศรษฐกิจยุคใหม่

(2 ก.พ. 68) นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอี ตามแนวประชารัฐ เปิดเผยว่า ตามนโยบายการปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ที่ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เน้นย้ำเรื่องการสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SME ไทยนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมเล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 99.5 ของผู้ประกอบการทั้งหมด และมีบทบาทสำคัญในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชากรกว่า 12.8 ล้านคนทั่วประเทศ 

ปัจจุบัน SMEs กำลังเผชิญกับความท้าทายรอบด้าน ทั้งจากสภาวะเศรษฐกิจ การแข่งขันที่รุนแรง และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว กระทรวงอุตสาหกรรมจึงมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือ SMEs อย่างครบวงจร ทั้งในด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ การพัฒนาศักยภาพธุรกิจ และการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ได้รับงบประมาณจำนวน 20 ล้านบาท เพื่อดำเนิน "โครงการส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอี" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับศักยภาพของ SMEs ไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก และเติบโตอย่างยั่งยืน

สำหรับ ‘โครงการส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอี’ ประกอบด้วย 4 โครงการย่อย ที่ครอบคลุม ความต้องการของ SMEs ในทุกมิติ ดังนี้

1. โครงการเสริมแกร่งการเงิน เพิ่มทุนหนุนธุรกิจ (สุขใจ) มุ่งเน้นเสริมสร้างความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับ SMEs ทุกขนาด(Micro/Small/Medium) ในทุกสาขาอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพ SMEs ในด้านการบริหารจัดการ และช่วยให้สามารถเข้าถึง
แหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ กิจกรรมในโครงการประกอบด้วยอบรมเชิงปฏิบัติการ ‘บริหารเงิน ฉบับ SMEs’ การจัด Business Matching เชื่อมโยง SMEs กับแหล่งเงินทุน และการให้คำปรึกษาแนะนำ
ด้านการเงินแบบตัวต่อตัว โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 60 กิจการ และ 300 คน ด้วยงบประมาณ 1.08 ล้านบาท

2. โครงการยกระดับธุรกิจเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน (เปิดใจ) มุ่งเน้นการพัฒนาธุรกิจ SMEs ในอุตสาหกรรมศักยภาพ (S-Curve) สู่ยุคดิจิทัล และปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำเทคโนโลยี นวัตกรรม และโมเดลเศรษฐกิจ BCG มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดต้นทุน และสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยมีกิจกรรมต่างๆ เช่น การอบรม ‘Digital Transformation for SMEs’ การศึกษาดูงานธุรกิจต้นแบบด้าน BCG และการสนับสนุนการเข้าถึงเทคโนโลยีและเครื่องจักรที่ทันสมัย โครงการนี้ตั้งเป้าหมาย ไว้ที่ 200 กิจการ และ 400 คน ด้วยงบประมาณ 10 ล้านบาท

3. โครงการพัฒนาฮาลาลไทย รับรองได้ ขายส่งออกชัวร์ (มั่นใจ) มุ่งพัฒนาศักยภาพธุรกิจฮาลาลของ SMEs ให้ได้มาตรฐานสากล พร้อมขยายตลาดสู่ต่างประเทศ โดยให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการทุกขนาด (Micro/Small/Medium) ในอุตสาหกรรมฮาลาล ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การให้คำปรึกษาแนะนำการขอรับรองมาตรฐานฮาลาล การอบรม ‘เจาะตลาดฮาลาลโลก’ และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และกลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับ
สินค้าฮาลาลเพื่อผลักดันให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 100 กิจการ และ 300 คน ด้วยงบประมาณ 7 ล้านบาท

4. โครงการพลิกชีวิต ฟื้นธุรกิจ ปรับหนี้ให้อยู่รอด (สู้สุดใจ) มุ่งช่วยเหลือ SMEs ที่กำลังประสบปัญหาหนี้สิน ให้สามารถฟื้นฟูกิจการและกลับมาดำเนินธุรกิจได้อีกครั้ง โดยเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ของกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ทุกขนาด (Micro/Small/Medium) ในทุกสาขาอุตสาหกรรมเข้าร่วมโครงการ เพื่อรับคำปรึกษาแนะนำ ในการปรับโครงสร้างหนี้ การเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้กับเจ้าหนี้และการอบรม ‘ปรับแผนธุรกิจ สร้างโอกาสใหม่’ โดยตั้งเป้าหมายช่วยเหลือ SMEs ไว้ที่ 40 กิจการด้วยงบประมาณ 1.92 ล้านบาท

“โครงการส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอีนี้ จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยคาดว่าจะช่วยให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และช่วยให้ลูกหนี้ของกองทุนฯ สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สิน และพลิกฟื้นธุรกิจกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง” ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวทิ้งท้าย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top