Monday, 21 April 2025
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

‘สุริยะ’ สั่งเร่งฟื้นฟูผู้ประกอบการใต้ฝั่งอันดามัน ชู 4 ประเด็นเร่งด่วน - ยกระดับ BCG Model

‘สุริยะ’ สั่งการ ‘ดีพร้อม’ ฟื้นฟูผู้ประกอบการพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน พร้อมชู 4 ประเด็นเร่งด่วนหนุนอุตฯ ศักยภาพ พร้อมรุกนโยบายเสริมแกร่ง ‘BCG Model’

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งติดตามการดำเนินงานผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน พร้อมมอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม ปรับแผนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้พื้นที่ดังกล่าวมีความเข้มแข็ง ทั้งในด้านการยกระดับเศรษฐกิจชีวภาพ - เศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio-Circular-Green Economy รวมถึงการเร่งฟื้นฟูอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของพื้นที่ ผ่าน 4 แนวทางหลัก ได้แก่ 

1.) เพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมผ่านศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 
2.) การยกระดับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน 
3.) การดึงอัตลักษณ์ประจำถิ่นกระตุ้นความต้องการของตลาด 
และ 4.) การพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าชุมชน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2564 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา ระนอง และสตูล) ณ จังหวัดกระบี่ และได้มีการติดตามการดำเนินงานในส่วนของการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รวมถึงการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ซึ่งได้แก่ จังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา ระนอง และสตูล โดยในการดำเนินงานดังกล่าว ได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กำกับและมีบทบาทการยกระดับศักยผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม  

ขณะเดียวกัน ยังร่วมรับฟังความต้องการของผู้ประกอบการ พร้อมนำไปปรับเป็นแผนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งเขตเศรษฐกิจที่เข้มแข็งของประเทศ นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้เร่งปฏิบัติงานด้านการเพิ่มประสิทธิภาพเศรษฐกิจชีวภาพ - เศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio-Circular-Green  Economy : BCG Model รวมถึงสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ การขยายช่องทางการตลาดออนไลน์ และพัฒนานวัตกรรมการผลิตในธุรกิจที่มีศักยภาพเพื่อก้าวไปสู่การเป็นอุตสาหกรรม 4.0

ด้าน นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาดีพร้อม มีแนวทางและแผนการยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน รวมถึงได้มีการติดตามการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการในหลากหลายสาขา โดยเฉพาะที่เป็นกลุ่มไมโครเอสเอ็มอี ซึ่งมีอยู่กว่า 5 แสนราย ไม่ว่าจะเป็น การประมง การปศุสัตว์ การทำเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การประกอบธุรกิจอาหารและเกษตรแปรรูป รวมถึงวิสาหกิจชุมชน ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าและมีอานิสงส์ต่อการจ้างงานของประชากรในพื้นที่ โดยหลังจากได้รับข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ดีพร้อมได้เร่งเตรียมฟื้นฟูและยกระดับผู้ประกอบการด้วยแนวทางที่สำคัญหลากหลายรูปแบบ ดังนี้   

‘ดีพร้อม’ ปล่อยสินเชื่อพิเศษช่วยเอสเอ็มอี เร่งเสริมสภาพคล่องผู้ได้รับผลกระทบโควิด

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ปล่อยสินเชื่อพิเศษดีพร้อมเพย์ เร่งเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 วางกรอบสินเชื่อ สูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อราย 

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากนโยบายของท่าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งหาแนวทางและมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้กลับมาดำเนินกิจการได้อีกครั้ง โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ได้เสนอแนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ผ่านการอนุมัติสินเชื่อพิเศษ “ดีพร้อมเพย์” ภายใต้กรอบวงเงิน 30 ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ และต่อยอดธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยเริ่มยื่นคำขออนุมัติฯ ได้แล้วตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2565

นายณัฐพล กล่าวเพิ่มเติมว่า กลุ่มเป้าหมายของผู้ขออนุมัติสินเชื่อดังกล่าว คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการของดีพร้อม ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565 จำนวนไม่น้อยกว่า 30 ราย กำหนดวงเงินสูงสุดไม่เกิน 5,000,000 บาทต่อราย โดยให้ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 3 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้นแบบขั้นบันไดเริ่มต้นที่ 3% ต่อปี

ดีพร้อม จับมือพันธมิตร ชวนชาวเหนือช็อปสนุก ในงาน ‘DIPROM MOTOR SHOW 2022’

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ‘ดีพร้อม’ จับมือพันธมิตรภาครัฐและเอกชน เชิญชวนทุกท่านร่วมช็อปสินค้าดีมีคุณภาพ กับครั้งแรกในงาน ‘DIPROM MOTOR SHOW 2022’ พื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งภายในงานจะพบกับรถยนต์และจักรยานยนต์ กว่า 20 ค่ายดัง ยกขบวนพาเหรดโปรโมชันพิเศษสุดมาให้เลือกสรรภายในงานไม่ต่ำกว่า 10% พร้อมดาวน์ 0% 
 

‘รมว.ปุ้ย’ ส่ง ‘ดีพร้อม’ เร่งเดินหน้าผุดงานแฟร์ ปลุก ศก.ไทยทั่วประเทศ หลังงานแฟร์นครศรีฯ ตอบรับดี-คนแห่เที่ยวนับแสน รายได้สะพัดกว่า 340 ลบ.

(27 ธ.ค. 66) กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ‘ดีพร้อม’ (DIPROM) เดินหน้าต่อเนื่อง จัดงานแฟร์ ปักหมุด 5 ภาค หวังกระตุ้นเศรษฐกิจทั่วประเทศ หลังกระแสตอบรับ ‘อุตสาหกรรมแฟร์ เมืองใต้ 2023 นครศรีธรรมราช-ชอป ชิม เที่ยวเพลิน เดินหลาด’ ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับจากกลุ่มเป้าหมาย และประชาชนในพื้นที่เข้าชมงานตลอด 5 วัน อย่างล้นหลาม เผยยอดผู้เข้าชมงานกว่า 1 แสนคน โดยเฉพาะผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง ให้ความสนใจเข้ารับบริการโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ กว่า 5,600 คน และเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมกว่า 340 ล้านบาท

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ‘ดีพร้อม’ เป็นหน่วยงานหลักในการเดินหน้าจัดงาน ‘อุตสาหกรรมแฟร์เมืองใต้ 2023 นครศรีธรรมราช’ ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2566 ณ ลานอเนกประสงค์ ตลาดเสาร์อาทิตย์ ถนนพัฒนาการคูขวาง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยผนึกกำลังระดมสุดยอดผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง หน่วยงานพันธมิตรภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน และหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยี สินค้าและบริการที่ทันสมัย ภายใต้แนวคิด ‘การส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจเขตพื้นที่ภาคใต้’ (Southern Industrial Fair) เพื่อแสดงศักยภาพของผู้ประกอบการไทยและกระตุ้นเศรษฐกิจในเชิงพื้นที่ จากการออกร้านของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม เอสเอ็มอี และวิสาหกิจชุมชนกว่า 300 ร้านค้า

รวมถึงเป็นการมอบของขวัญปีใหม่ส่งท้ายปีและช่วยลดค่าครองชีพ ให้กับประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนช่วยพัฒนาพี่น้องประชาชนชาวใต้สู่การเป็นผู้ประกอบการ พร้อมสร้างความเข้มแข็งในชุมชน อันจะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย

สำหรับผลการจัดงานอุตสาหกรรมแฟร์เมืองใต้ 2023 นครศรีธรรมราช ที่ผ่านมา รวมจำนวน 5 วัน ได้รับการตอบรับจากผู้เข้าชมงานเป็นอย่างดี โดยมียอดผู้เข้าร่วมชมงานกว่า 1 แสนคน ยอดผู้เข้าร่วมฟังการสัมมนาเพิ่มองค์ความรู้ จำนวนกว่า 3,000 ราย ขณะที่ยอดขายภายในงาน ซึ่งเน้นการนำสินค้ามาทดสอบตลาดของผู้ประกอบการ ที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับศักยภาพการประกอบการสู่ยุค ‘Now Normal’ มียอดการจำหน่ายรวมทั้งสิ้นกว่า 8 ล้านบาท ยอดรับบริการขอสินเชื่อภายในงาน รวมจำนวนทั้งสิ้น 212 ล้านบาท

ยอดผู้ขอรับบริการคำปรึกษาแนะนำโครงการ/กิจกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรม จำนวน 2,520 ราย แบ่งเป็น โซนสุขสันต์วันทำธุรกิจ Happiness & Business จำนวน 600 ราย โซนดีพร้อมดิจิทัลสร้างฝันให้ธุรกิจเป็นจริง จำนวน 640 ราย โซน AGRO Solution จำนวน 260 ราย โซนสร้างสรรค์เติมฝันให้ดีพร้อม จำนวน 40 ราย โซนขยายธุรกิจด้วยสถาบันการเงิน จำนวน 15 ราย และยอดขอรับบริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องฟรี จำนวนทั้งสิ้น 965 คัน

นอกจากนี้ ยังมีการจับคู่ทางธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการ (Business Matching) จำนวน 60 คู่ ก่อให้เกิดมูลค่ามากกว่า 120 ล้านบาท โดยสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในภาพรวมได้กว่า 340 ล้านบาท

นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวว่า “การจัดงานอุตสาหกรรมแฟร์ฯ ในครั้งนี้ ได้รับกระแสตอบรับจากผู้ประกอบการ และพี่น้องประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างดี นอกจากเป็นของขวัญปีใหม่ส่งท้ายปีให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เพื่อช่วยลดค่าครองชีพแล้ว ยังถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางการตลาดที่ช่วยผลักดัน ฟื้นฟู และกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในเชิงพื้นที่ให้เติบโตมากขึ้น รวมทั้งสอดรับกับ 6 นโยบายสำคัญเพื่อการพัฒนา และยกระดับภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย”

“ทั้งนี้ ในปี 2567 กระทรวงอุตสาหกรรม นอกจากจะเดินหน้ายกระดับศักยภาพภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องด้วยแนวทางการผลักดันอุตสาหกรรมสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้เศรษฐกิจ และสังคมยุคใหม่ รวมทั้งการพัฒนาชุมชน โดยบริบทของอุตสาหกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น กระทรวงอุตสาหกรรม ยังได้วางแผนเดินหน้าจัดงานแฟร์ในพื้นที่ 5 ภาค ทั่วประเทศ เพื่อฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยให้กลับมาคึกคัก โดยจะดึงเอาจุดเด่นและศักยภาพของแต่ละพื้นที่มาเป็นแนวคิดของการจัดงานแฟร์ในแต่ละภาค อันจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับภูมิภาคได้เป็นอย่างดี และคาดว่า จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นกว่า 1,000 ล้านบาท” นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวทิ้งท้าย

‘รมว.ปุ้ย’ สั่งการดีพร้อม ดึงโตโยต้า นำ ‘คาราคูริ ไคเซน’ มาประยุกต์ใช้ เพื่อขับเคลื่อนการเกษตรไทย ไปสู่เกษตรอุตสาหกรรมสมัยใหม่

(7 เม.ย.67) นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สั่งการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม เดินหน้าบูรณาการความร่วมมือ (DIPROM Connection) ผนึกกำลังกับ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เชื่อมโยงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve)สู่ชุมชน เพื่อยกระดับการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่ธุรกิจชุมชนครอบคลุมทุกมิติ ดึงกลไกคาราคูริ ไคเซน (Karakuri Kaizen) เพิ่มประสิทธิภาพ
กระบวนการผลิตและลดต้นทุน หวังเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชนผ่านแนวคิดชุมชนเปลี่ยน พร้อมชูต้นแบบเครื่องทุ่นแรงให้กลุ่มผู้สูงอายุ

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการมอบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทองให้แก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด จ.ชุมพร ว่า ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้สามารถผลิตและส่งออกอาหารได้หลายประเภท อีกทั้ง ยังมีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและ อาหารแปรรูปด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ในระบบการผลิตภาคเกษตรเพื่อให้ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อกระบวนการแปรรูปในภาคอุตสาหกรรม ดังนั้น การพัฒนาภาคเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรมยุคใหม่ จึงมีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีอุตสาหกรรมเข้ามาปรับใช้ในกระบวนการผลิต หรือแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ประกอบกับรัฐบาลเร่งหาแนวการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกรผ่านนโยบายเร่งด่วนต่าง ๆ เชิงพื้นที่ รวมถึงการขับเคลื่อนภาคเกษตรไทยไปสู่เกษตรอุตสาหกรรมสมัยใหม่

ที่เติมเต็มองค์ความรู้และทักษะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้กับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรให้มีความพร้อมในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยลดต้นทุน เพิ่มรายได้ และยกระดับศักยภาพการแข่งขันภาคเกษตรไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง โดยเฉพาะการเสริมศักยภาพภาคเกษตรไทยสู่เกษตรอุตสาหกรรมด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ตั้งแต่แต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยสนับสนุนองค์ความรู้สมัยใหม่ที่ครอบคลุมทุกมิติควบคู่ทักษะที่จำเป็นด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ เช่น การบริหารจัดการธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และ มีมูลค่าเพิ่ม การพัฒนากระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อนำไปสู่การขยายโอกาสทางการตลาด เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม เร่งเดินหน้าส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างต่อเนื่อง

นายภาสกร ชัยรัตน์ กล่าวว่า จากข้อสั่งการของ รมว.อุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อมได้ลงพื้นที่สำรวจความต้องการผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดชุมพร และได้รับทราบข้อมูลจากกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด จ.ชุมพร ผู้ผลิตและส่งออกกล้วยหอมทองปลอดสารพิษไปยังประเทศญี่ปุ่น ว่าปัจจุบันได้ประสบปัญหาการลำเลียงกล้วย เนื่องจากทางกลุ่มมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และการลำเลียงกล้วยมีลักษณะที่ใช้เป็นรางลาก ซึ่งต้องใช้แรงจำนวนมากในการเคลื่อนย้าย ส่งผลให้กระบวนการผลิตเกิดความล่าช้าและไม่เป็นไปตามกำลังการผลิตที่ควรจะเป็น จึงมีความต้องการขอรับการสนับสนุนด้านกระบวนการผลิตกล้วยหอมทองเพื่อส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น รวมถึงระบบการผลิต ลำเลียง และคัดแยกกล้วยหอมทองควบคู่กับการใช้แรงงานคนอีกด้วย

ดีพร้อม จึงเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรม ภายใต้นโยบาย RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ด้วยการมุ่งเน้นการขยายเครือข่ายความร่วมมือ (DIPROM Connection) และบูรณาการความร่วมมือกับ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพรเพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัดผ่านโครงการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรมด้วยการพัฒนากระบวนการผลิตกล้วยหอมทอง โดยการนำหลักการคาราคูริ (Karakuri) ซึ่งเป็นระบบกลไกอัตโนมัติที่ใช้หลักกลศาสตร์เข้ามาประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ หรือกระบวนการผลิตกล้วยหอมทองของกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด อันจะช่วยผ่อนแรงการทำงานได้เป็นอย่างดี

นายภาสกร กล่าวต่อว่า ดีพร้อม ได้ร่วมมือกับ บริษัท โตโยต้าฯ ในการพัฒนาระบบลำเลียงกล้วยผ่านการใช้กลไกคาราคูริ ไคเซน (Karakuri Kaizen) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต การลำเลียง และทุ่นแรงขนย้ายกล้วย ขณะเดียวกัน ยังได้ร่วมมือกันออกแบบและพัฒนาต้นแบบเครื่องลำเลียงกล้วยหอมทอง ซึ่งใช้หลักการทำงานของคาราคุริ (Karakuri) ในการลำเลียงกล้วยจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยไม่ต้องใช้แรงในการลากทำให้เกิดประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตกล้วยหอมทองจากเดิมใช้ระยะเวลาการลำเลียงกล้วยหอมทอง 400 เครือ ต่อ 8 ชั่วโมง มาเป็นลำเลียงได้ 400 เครือ ต่อ 4 ชั่วโมง แทน รวมถึงสามารถลดเวลา ช่วยในการผ่อนแรงสำหรับสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุ และเป็นไปตามมาตรฐานเพื่อการส่งออก ช่วยให้ลดต้นทุนการผลิตลงได้กว่าร้อยละ 30 – 50 ต่อเดือน นอกจากนี้ ยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรในหลักสูตร “คาราคุริและการประยุกต์ใช้งาน การดูแลบำรุงรักษา” เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ดีพร้อมได้วางเป้าหมายขยายผลการบูรณาการความร่วมมือในการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยังผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนทั่วประเทศ รวมทั้งเชื่อมโยงและเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ในรูปแบบพี่ช่วยน้อง หรือ Big Brother เข้ามามีส่วนร่วมและบทบาทในการเปลี่ยนชุมชนด้วยเครื่องมือ กระบวนการ หรือเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับระดับศักยภาพของชุมชนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริม และพัฒนาทักษะการประกอบการในทุก ๆ มิติ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ปรับใช้ให้เหมาะสมเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่เกษตรอุตสาหกรรม อันจะเป็นการสร้างโอกาสทางการตลาดและขยายไปสู่ตลาดสากล รวมถึงการสร้างรายได้ให้ชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก และก่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน โดยคาดว่าจะสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 40 ล้านบาท นายภาสกร กล่าว

'รมว.ปุ้ย' สั่ง 'ดีพร้อม' เร่งเยียวยาพี่น้องประชาชนในพื้นที่มาบตาพุด ระดมของใช้จำเป็น มอบให้คนในพื้นที่และชุมชนใกล้เคียง

(12 พ.ค.67) นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สั่งการให้ นายภาสกรชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เร่งเยียวยาและฟื้นฟูให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการและพี่น้องประชาชนในพื้นที่จากเหตุเพลิงไหม้ถังเก็บวัตถุดิบสารไพโรไลสีส แก๊สโซลีนของบริษัท มาบตาพุดแทงค์เทอร์มินัล จำกัด จ.ระยอง โดยเน้นการเคียงข้าง พัฒนา และช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้ดังกล่าวโดยตรง เพื่อให้พี่น้องประชาชนและชุมชนมีขวัญกำลังใจที่ดี พร้อมทั้งเร่งสำรวจความต้องการในพื้นที่เพื่อเป็นการสร้างศักยภาพเกิดการสร้างรายได้ และอาชีพอย่างยั่งยืนในอนาคต

นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากเหตุเพลิงไหม้ดังกล่าว ทาง รมว.อุตสาหกรรม มีความกังวลและเป็นห่วงพี่น้องประชาชนที่อยู่รอบๆ บริเวณพื้นที่ที่เกิดเหตุ จึงได้สั่งการให้หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเยียวยาและให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างเร่งด่วน 

“กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ขานรับข้อสั่งการดังกล่าว จึงได้มอบหมายให้ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เป็นหน่วยรับผิดชอบในพื้นที่ เร่งลงพื้นที่และบูรณาการความร่วมมือกับอุตสาหกรรมจังหวัด และผู้ประกอบการของดีพร้อม ซึ่งเบื้องต้นจะเร่งระดมของใช้ที่จำเป็น เครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องเวชภัณฑ์ มอบให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่และชุมชนใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้ดังกล่าวโดยตรง เพื่อให้พี่น้องประชาชนและชุมชนมีขวัญกำลังใจที่ดี พร้อมทั้งเร่งสำรวจความต้องการในพื้นที่เพื่อเป็นการสร้างศักยภาพ เกิดการสร้างรายได้ และอาชีพอย่างยั่งยืนได้ต่อไปในอนาคต” นายภาสกร กล่าว

นายภาสกร กล่าวต่อว่า จากผลการสำรวจ ดีพร้อม ได้เตรียมแผนระยะกลาง และระยะยาว ภายใต้โครงการ/กิจกรรมต่างๆ เพื่อฟื้นฟูผู้ประกอบการ ประชาชน ชุมชนโดยรอบและใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะการประกอบธุรกิจให้พี่น้องประชาชน และชุมชนโดยรอบทั้งในด้านทักษะพื้นฐานการผลิต การบริการ และการใช้ความคิดสร้างสรรค์ 

ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้มีการดำเนินการเช่นเดียวกันนี้ ในพื้นที่เทศบาลตำบลภาชี จ.อยุธยา ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้โกดังเก็บสารเคมี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 และในพื้นที่ชุมชนหนองพะวา ต.บางบุตร อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุไฟไหม้โรงงานวิน โพรเสส เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2567 โดย ดีพร้อมเตรียมแผนสำหรับการเยียวยาและฟื้นฟูพร้อมให้ความช่วยเหลือชุมชนอย่างเต็มที่

‘DIPROM’ ดัน ‘Soft Power’ ผ่านบทละครเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยว มอบรางวัลนักเขียนบทไทย พร้อมผลักดัน-ต่อยอดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ

เมื่อวานนี้ (14 ก.ค.67) นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ให้เป็นแม่เหล็กดึงดูดคนทั่วโลกให้เข้ามาท่องเที่ยว ทำงาน และใช้ชีวิตในประเทศไทย และทำให้ประเทศไทยกลายเป็นปลายทางของคนทั่วโลก 

ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้การนำของ นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สนับสนุนนโยบายดังกล่าวอย่างเต็มที่ โดยได้มอบหมายให้ ‘กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม’ หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในทุกด้านเพื่อเพิ่มพลังซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ โดยหนึ่งในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สำคัญ คือ ด้านภาพยนตร์ ละคร และซีรีส์ เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดซอฟต์พาวเวอร์ไทย และโปรโมตภาพลักษณ์ที่ดีสู่สายตาชาวโลก โดยจะเห็นได้จากการที่ภาพยนตร์และละครไทยหลายเรื่อง ได้รับการตอบรับที่ดี มีดาราและศิลปินไทยหลายคนสร้างชื่อเสียงในต่างประเทศ ส่งผลให้วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทยได้รับความสนใจในระดับสากล

นางดวงดาว กล่าวต่อว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ขานรับนโยบายดังกล่าว ผ่านนโยบาย ‘RESHAPE THE FUTURE: โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับ อนาคต’ ของ นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายใต้กลยุทธ์ในด้านการปรับตัวให้ก้าวทันอุตสาหกรรมยุคใหม่ (RESHAPE THE INDUSTRY) โดยการมุ่งเน้นการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ด้านการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย (Creative Economy) ด้วยการจัดกิจกรรม ‘ส่งเสริม Soft Power ผ่านบทละครเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยว’ เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเขียนบทละครให้มีความรู้ มีศักยภาพในการเขียนบทละครเชิงสร้างสรรค์ที่สามารถส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทย กระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวภายในประเทศได้ช่วยยกระดับภาพลักษณ์ของประเทศไปสู่สายตาผู้ชมทั่วโลก

สำหรับการจัดกิจกรรม ‘ส่งเสริม Soft Power ผ่านบทละครเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยว’ เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมไปเมื่อต้นปี 2567 ที่ผ่านมา โดยมีผู้ผ่านเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 23 คน ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับโอกาสในการพัฒนาฝีมือเป็นนักเขียนบทละครรุ่นใหม่ โดยได้รับองค์ความรู้ด้านการเขียนบทแบบครบวงจร ทั้งในด้านการเขียนบทภาพยนตร์ ซิทคอม ละคร หรือ ซีรีส์ รวมไปถึงด้านการผลิตด้วยการปรับกระบวนการคิด ให้หยิบยกความเป็นไทยใส่ไปในบทละครได้อย่างกลมกลืนผ่านความคิดสร้างสรรค์ กลวิธีการสอดแทรกซอฟต์พาวเวอร์ไทยไว้ในบทละครได้อย่างเป็นธรรมชาติ

พร้อมให้ความรู้ในด้านทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ผลงาน โดยได้รับคำปรึกษาแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเขียนบทละครชื่อดังอย่าง คุณอ่อน เอื้องอรุณ, คุณส้วม สุขพัฒน์, คุณบอลรูม วรลักษณ์ และผู้กำกับมากฝีมือ คุณนท พูนไชยศรี ที่จะเข้ามาช่วยฝึกฝนผู้เข้าร่วมกิจกรรมนี้อย่างเข้มข้น เพื่อให้ได้บทละครที่แฝงด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวไทย ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งในด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์และการท่องเที่ยวได้มากกว่า 25 ล้านบาท

พร้อมกันนี้ ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่งผลงานการเขียนบทละครเข้าประกวด เพื่อคัดเลือกสุดยอดผลงาน โดยบทละครที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เรื่อง รักเขา เรา และเหล่าวิญญาณ ซึ่งจะถูกนำมาถ่ายทอดเป็นละครสั้นให้ได้รับชมภายในงาน 

สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัลรองลงมา ได้แก่ บทละครเรื่อง รับซื้อของ (ไม่เคย) เก่า บทละครเรื่อง กุหลาบลั่นถัน และรางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ บทละครเรื่อง 1% นี้ฉันขอนะ และบทละครเรื่อง ค่าตัวตาย 

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรม Pitching กับผู้จัดมากฝีมือ ทั้ง 4 ท่าน คือ คุณเอิน ณิธิภัทร์ เอื้อวัฒนสกุล จาก บริษัทมาสเตอร์วัน วิดีโอ โปรดักชั่น จำกัด, คุณวี วีรภาพ สุภาพไพบูลย์ จากบริษัท มากกว่าฝัน จำกัด, คุณเขตต์ ฐานทัพ และคุณทักษญา ธีญานาถธนันชา จากบริษัท กองทัพ โปรดักชั่น จำกัด ซึ่งถือเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ สร้างโอกาสและต่อยอดความสำเร็จให้กับนักเขียนบทละครที่เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเขียนบทละครได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง เพื่อก้าวไปสู่การเป็นนักเขียนบทมืออาชีพ และก้าวขึ้นมาเป็นกำลังสำคัญให้กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และซีรีส์ไทยต่อไปในอนาคต

‘เอกนัฏ’ สั่ง ‘ดีพร้อม’ เร่งเดินหน้าช่วยผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เยียวยาเร่งด่วน-สนับสนุนเงินทุน-แผนรับมือในอนาคต เพื่อช่วยเหลือให้ครอบคลุมทุกมิติ

(22 ก.ย. 67) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สั่งการให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งเดินหน้าช่วยเหลือผู้ประกอบการในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยผ่าน 3 มาตรการ ประกอบด้วย 1) มาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือผู้ประสบภัยอุทกภัย 2) มาตรการฟื้นฟูหลังน้ำลด และ 3) มาตรการเตรียมความพร้อมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย เพื่อช่วยผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย นอกจากนี้ ยังได้เดินหน้ามาตรการช่วยเยียวยาและฟื้นฟูสถานประกอบการเร่งด่วนผ่านการจัดกิจกรรมทำความสะอาดในสถานประกอบการ (Big Cleaning) พร้อมซ่อมแซม ปรับปรุงอุปกรณ์ และเครื่องจักร รวมถึงผลักดันสถานประกอบการที่ต้องการฟื้นฟูและเยียวยาให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนหมุนเวียนฯ กว่า 20 ล้านบาท

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ส่งผลต่อที่อยู่อาศัย และการประกอบอาชีพของประชาชนทำให้ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังส่งผลต่อผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์ดังกล่าวอีกด้วย ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้สั่งการให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เร่งติดตามสถานการณ์ เพื่อช่วยเหลือและหามาตรการเยียวยาผู้ประกอบการในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งติดตามความเสียหายที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย โดยเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหาย รวมทั้งเตรียมมาตรการต่าง ๆ รองรับสถานการณ์หลังน้ำลด ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นฟูในส่วนที่ได้รับความเสียหาย ตลอดจนแผนในการป้องกันหากเกิดสถานการณ์ดังกล่าวอีกครั้งทั้งในระยะฉับพลัน 

นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้ขานรับนโยบายเร่งด่วนจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยได้ดำเนินการสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น พบว่าผู้ประสบอุทกภัยในหลายพื้นที่มีต้องการความช่วยเหลือ ฟื้นฟู และเยียวยาในกรณีต่าง ๆ ผ่าน 3 มาตรการ ได้แก่ 

1. มาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือผู้ประสบภัยอุทกภัย ผ่าน “ถุงยิ้มพิมพ์ใจ MIND ไม่ทิ้งกัน” ของอุตสาหกรรมรวมใจ ไปยังผู้ประสบภัยด้วยสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น ประกอบด้วย สิ่งของอุปโภค บริโภค และยารักษาโรค พร้อมเตรียมการรถบรรทุกและรถขนส่งสำหรับการบริจาคสิ่งของจากเครือข่ายดีพร้อม ทั้งผู้ประกอบการและสถาบันต่าง ๆ เพื่อส่งมอบให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย พร้อมส่งทีมวิศวกรและนายช่างเทคนิคช่วยซ่อมแซมอุปกรณ์ในเบื้องต้น รวมทั้งทำกิจกรรมทำความสะอาดในสถานประกอบการ (Big Cleaning) เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัยให้กลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว 

2. มาตรการฟื้นฟูหลังน้ำลด ผ่านการให้คำปรึกษาปัญหาธุรกิจอุตสาหกรรมดีพร้อม โดยจัดทีมผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษา เพื่อเข้าประเมินสภาพปัญหาและวางแผน การฟื้นฟูสถานประกอบการ รวมทั้งบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรมผ่านศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมดีพร้อม (DIPROM Business Service Center : DIPROM BSC) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว การฟื้นฟู และปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค หรือ DIPROM CENTER ในพื้นที่ส่วนภูมิภาค จัดกิจกรรมช่วยเหลือ แนะนำในการปรับปรุงซ่อมแซม ฟื้นฟูเครื่องจักร ระบบไฟฟ้า ระบบหล่อลื่น รวมทั้งดำเนินกิจกรรม Re-Layout, Re-Engineering เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตให้กลับมาดำเนินการได้ เช่น การให้คำปรึกษา ปรับปรุง ฟื้นฟู เพื่อให้ระบบคุณภาพ GMP/HACCP/GHP กลับมาดำเนินการได้ปกติ พร้อมยกระดับศักยภาพการประกอบอาชีพสู่ธุรกิจอุตสาหกรรม ผ่านส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่ เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพด้านการผลิต ด้านการบริการ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ส่งเสริมให้ชุมชนเกิดรายได้ ลดรายจ่าย สามารถสร้างอาชีพใหม่ หรือนำไปประกอบอาชีพเสริมเพิ่ม ก่อให้เกิดความยั่งยืนในชุมชน พร้อมทั้งได้บูรณาการผ่านเครือข่ายดีพร้อม (DIPROM Connection) จับมือกับเครือข่ายทางการพัฒนาของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ของ SMEs เข้าสู่ช่องทางการตลาดทั้งรูปแบบออนไลน์ และออฟไลน์ อีกทั้ง ยังมีการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ สามารถได้รับการผ่อนผันการชำระหนี้ ได้รับการลดหย่อนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ มีสิทธิกู้เงินเพิ่มเติม และการขอกู้เงินเป็นกรณีพิเศษสำหรับลูกค้ารายใหม่ โดยวางกรอบวงเงินการช่วยเหลือกว่า 20 ล้านบาท

3. มาตรการเตรียมความพร้อมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ผ่านการจัดทำแผนรองรับการเกิดอุทกภัย เพื่อเตรียมความพร้อมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยจัดทำ Check list เมื่อเกิดเหตุอุทกภัย การสร้างผนังกั้นน้ำ สอนวิธีการป้องกันอุปกรณ์เครื่องจักร เป็นต้น พร้อมติดตามสถานการณ์จากสถานการณ์น้ำท่วม โดยบูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้องระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อประเมินสถานการณ์ เตือนภัย และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และทันท่วงที เพื่อรับฟังปัญหาผลกระทบแบบ Real Time พร้อมให้การช่วยเหลือเฉพาะหน้าแก่สถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็ว 

นายภาสกร ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกด้วยว่า “ดีพร้อม (DIPROM) ได้เร่งดำเนินการช่วยเหลือสถานประกอบการ และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยผ่าน 3 มาตรการดังกล่าว เพื่อให้ความช่วยเหลือนั้นครอบคลุมทุกมิติ และครอบคลุมทั่วประเทศ” นายภาสกร กล่าวทิ้งท้าย

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาในการแข่งขันในตลาดสากล กลุ่มสาขาของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก ปี 2024

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ดำเนินกิจกรรมเพิ่มศักยภาพด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน สาขาของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก ในจังหวัดนครศรีธรรมราช และได้สนับสนุนเพิ่มศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจ โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์สามารถใช้งานได้หลากหลาย (Multifunction Product) ดังนี้

1. กลุ่มคีรี Kiree  >> พัฒนาผลิตภัณฑ์คลุมไหล่ ที่ยังสามารถใช้งาน ผ้าพันคอ และกระเป๋าได้อีกด้วย
2. วิสาหกิจชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงในครัวเรือน >> พัฒนาผลิตภัณฑ์เทียมหอมไล่ยุง สามารถจุดไล่ยุงได้ และช่วยในการผ่อนคลาย ช่วยในการฝึกสมาธิ และผลิตจากไขถั่วเหลือง 100% ที่ยังสามารถนำน้ำตาเทียน มาทาบนผิวหนังให้ชุ่มชื่น
3. วิสาหกิจเกษตรกรชาวสวนบ้านต้นมะม่วง >> พัฒนาผลิตภัณฑ์ถ่านดับกลิ่นจากเปลือกมังคุด เป็นรูปมโนราห์ จัดเป็นนาฏศิลป์พื้นถิ่น เพื่อขจัดกลิ่นและไล่แมลงที่ไม่พึงประสงค์ได้ ในรถ ตู้เย็น ในห้องพัก และยังสามารถวางตกแต่งเพื่อความสวยงาม

‘กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม’ จัดนิทรรศการ!! แสดงผลงาน ‘เซรามิกล้านนา’ เพื่อสร้างนักออกแบบรุ่นใหม่ ในกรอบการพัฒนา อุตสาหกรรมสร้างสรรค์

(2 ก.พ. 68) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ได้เล็งเห็นศักยภาพและโอกาสในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ได้แก่จังหวัด เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ได้จัดนิทรรศการแสดงผลงานเซรามิก กิจกรรม’ยกระดับอัตลักษณ์เซรามิกล้านนาด้วยทุนทางวัฒนธรรม’ ภายใต้โครงการยกระดับฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ล้านนาสู่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Creative LANNA Forward) เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2568 ณ โรงแรม แอท นิมมาน จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในกรอบการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry) เพื่อสร้างนักออกแบบรุ่นใหม่ (Young & Smart Designer) รองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกอัตลักษณ์ล้านนาให้สามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ เน้นการพัฒนาต่อยอดทางทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกอัตลักษณ์ล้านนาที่มีมูลค่าสูงด้วยความคิดสร้างสรรค์ เผยแพร่ผลงานการออกแบบและสามารถต่อยอดสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) 

โดยผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางได้มอบหมายให้ นายประสิทธิ์ ศรีพรหม อุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน และนายภาสันต์ วิชิตอมรพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กล่าวรายงานในกิจกรรม ภายในงานผู้มีเกียรติทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ นายกษิต พิสิษฐ์กุล กรรมการบริหารและรองเลขาธิการสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน นายจิตรเทพ เนื่องจำนงค์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทซีดีไอพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ดร.สิทธิชัย แดงประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี  (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) นายองอาจ กิตติคุณชัย ประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ นายปรกฤษฎิ์ สายหัสดี ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กรรมการเลขาธิการ นายสมิต ทวีเลิศนิธ รองประธาน ฝ่ายอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอื่นๆสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ นายวิเชียร เชิดชูตระกูลทอง รองประธานฝ่ายนวัตกรรมและไอที สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ นายชัดชาญ เอกชัยพัฒนกุล รองประธาน ฝ่ายเศรษฐกิจและการลงทุน สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ นายปรีชา ศรีมาลา นายกสมาคมเครื่องปั้นดินเผาลำปาง นายปรัชญ์ชา ธณาธิปศิริสกุล อาจารย์ชมรมครูทัศนศิลป์จังหวัดลำปาง และนายณัฐนนท์ ภู่อริยพงศ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคลำปาง 

ในงานมีกิจการที่เข้าร่วมทั้งหมด 23 กิจการ โดยมีการประกวดนำเสนอยกระดับอัตลักษณ์เซรามิกล้านนาด้วยทุนทางวัฒนธรรม ผู้ได้รางวัลชนะเลิศในการประกวด ได้แก่ เตาหลวงสตูดิโอ เงินรางวัลมูลค่า 5,000 บาท เงินรางวัลรวมทั้งสิ้นมูลค่า 16,000 บาท และการเสวนาในหัวข้อ ‘การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเซรามิกสร้างสรรค์อัตลักษณ์เซรามิกล้านนา’ ตลอดทั้งงานมีการจัดแสดงผลงานอัตลักษณ์เซรามิกล้านนาของกิจการที่เข้าร่วม ทำให้มีคนสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top