Monday, 21 April 2025
WFH

'อีลอน' เสียงอ่อย หลังพนักงานทวิตเตอร์ 'อยากออก' เยอะเกินคาด!! ยอมถอยให้ WFH ให้ผจก.รับผิดชอบ ไม่เวิร์ก โดนออกเอง

(18 พ.ย.65) เพจ 'เดือดทะลักจุดแตก' โพสต์ความเคลื่อนไหวล่าสุดของทวิตเตอร์ หลังพนักงานพร้อมลาออกกันเยอะเกินคาด ว่า...

ทำไปทำมา คนจะออกกันทั้งบริษัท 

กระแสตีกลับ ทำไปทำมา มันชักจะใหญ่จนพอจะโหมพลิกเรือได้แล้วน่ะสิครับ ปั่นป่วนวุ่นวายกันไปหมดแล้ว

ไม่โพสต์ซ้ำแล้วนะครับ เรื่องที่อีลอน มัสก์ต้องการให้คนของเขาทำอะไรบ้าง --- พนักงานทวิตเตอร์รู้สึกเหลือทน จากที่ตอนแรกกริ่งเกรงจะต้องเสียงาน ทว่าตอนนี้ มาทำนองว่า "ออก ก็ออกสิวะ! ออกยกไปกันแ_งให้หมดเลย"

แต่ อีลอน มัสก์ เริ่มมีผ่อนปรนนะครับ (แน่นอนว่าเรื่องชั่วโมงทำงานแบบ "ฮาร์ดคอร์" นั้นไม่มีทางผ่อน)

ปตท. ร่วมแก้วิกฤตฝุ่น PM 2.5 หนุนพนักงาน Work from Home

เมื่อวันที่ 3 ก.พ.66 นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.)  กล่าวว่า จากสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศที่นิ่งและปิด ทำให้ฝุ่นละอองสะสมตัวมากขึ้น และส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในวงกว้าง ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานของคนไทย เราตระหนักถึงปัญหาจึงมีนโยบายให้พนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร, ปทุมธานี, นครราชสีมา, พระนครศรีอยุธยา, ระยอง, ราชบุรี และขอนแก่น ปฏิบัติงานในที่พัก (Work from Home) ระหว่างวันที่ 3 – 5 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อร่วมลดผลกระทบที่เกิดจากการสัญจร

ทั้งนี้ ปตท. ยึดมั่นดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการดูแลสังคม ชุมชม และสิ่งแวดล้อม พร้อมตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) ซึ่งเร็วกว่าที่ประเทศกำหนด ด้วยกลยุทธ์เชิงรุก 'ปรับ เปลี่ยน ปลูก' ปรับกระบวนการผลิต ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการให้ได้สูงสุด เปลี่ยนสู่ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มสัดส่วนการลงทุนโดยมุ่งธุรกิจพลังงานสะอาด อาทิ พลังงานหมุนเวียน ระบบกักเก็บพลังงาน และธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร ปลูกป่าเพิ่ม 2 ล้านไร่ โดย ปตท. เป็นแกนหลักในการปลูก 1 ล้านไร่ ภายในปี 2573 (ค.ศ. 2030) และกลุ่ม ปตท. อีก 1 ล้านไร่ เพื่อเพิ่มปริมาณการดูดซับก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศด้วยวิธีทางธรรมชาติ

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ หนุน ‘WFH’ เป็นธรรม ลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธการสื่อสารหลังเลิกงาน มีผล 18 เม.ย.นี้

ข่าวดี! พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ หนุนทำงานแบบ WFH เริ่มบังคับ 18 เม.ย.นี้ เปิดทางนายจ้าง-ลูกจ้างตกลงเวลาทำงาน พักผ่อน วันลาให้ชัดเจน ให้สิทธิงานได้ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงาน

เมื่อวันที่ (23 มี.ค.2566) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรณี พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสม กับสภาพการณ์ในปัจจุบันที่รูปแบบการทำงานในองค์กรธุรกิจต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปมาก โดยมีการทำงานจากที่พักอาศัยของลูกจ้างหรือเวิร์กฟอร์มโฮม (WFH) หรือจากสถานที่อื่น ๆ ซึ่งอยู่นอกสถานประกอบการของนายจ้างมากขึ้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ขณะนี้จึงมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและออก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2566 ซึ่งได้เพิ่มเติมบทบัญญัติที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตของลูกจ้างให้ได้ความคุ้มครอง เป็นประโยชน์ในการประกอบกิจการของนายจ้าง ตลอดจนมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาจราจร ลดการใช้พลังงานและเชื้อเพลิงด้วย โดยได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมา และจะมีผลบังคับเมื่อพ้น 30 วันนับแต่วันประกาศ หรือ มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย.นี้ 

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า กฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ได้เพิ่มบทบัญญัติ มาตรา 23/1 ซึ่งมีสาระสำคัญให้นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงให้ลูกจ้างนำงานในทางการที่จ้างที่ลูกจ้างสามารถปฏิบัติงานนอกสถานประกอบการหรือนอกสำนักงานของนายจ้าง ไปทำที่บ้านหรือที่พักอาศัยของลูกจ้าง หรือตกลงให้ลูกจ้างทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานที่ใด ๆ ได้

ทั้งนี้ ในการตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างนั้น อาจตกลงให้มีรายละเอียด เช่น ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการตกลง วัน เวลาทำงานปกติ เวลาพัก และการทำงานล่วงเวลา การลา ขอบเขตหน้าที่ของลูกจ้าง การกำกับควบคุมของนายจ้าง ภาระหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์การทำงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จำเป็น อันเนื่องจากการทำงาน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top