Sunday, 18 May 2025
TheStatesTimes

'เจิมศักดิ์' เตือน!! 'สมศักดิ์' ระวัง!! ไม่มีที่ยืนในสังคม ชี้!! ควรดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา แม้ทักษิณไม่พอใจ

(18 พ.ค. 68) รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความว่า ข่าวว่ารัฐมนตรีสมศักดิ์ตั้งแพทย์จำนวน 10 คนกลั่นกรองและให้ความเห็นว่าคุณสมศักดิ์ควรจะใช้สิทธิ์วีโต้แพทยสภาหรือไม่ กรณีทักษิณไม่ป่วยหนักวิกฤตจริง จนต้องรักษาตัวอยู่โรงพยาบาล ตำรวจ ชั้น 14 นานถึง 181 วัน

หากผมเป็นแพทย์ 10 คนที่รัฐมนตรีสมศักดิ์ตั้งให้ช่วยกลั่นกรองให้ความเห็นเรื่องนี้

พวกผมจะบอกรัฐมนตรีสมศักดิ์ ว่า

อย่าเสียเวลาใช้งานพวกผมเลยเพราะหากพวกผมมีความเห็นแย้งกับมติของแพทย์สภาอันประกอบไปด้วย แพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้หลักผู้ใหญ่ที่น่าเชื่อถือ ก็จะไม่มีใครเชื่อถือความเห็นของพวกผม  หากจะอ้างว่าได้ข้อมูลใหม่จากรัฐมนตรีก็ฟังไม่ขึ้น เพราะทำไมจึงไม่ให้ข้อมูลกับแพทยสภาตั้งแต่เมื่อครั้งมีการพิจารณา ตัวรัฐมนตรีสมศักดิ์ ก็จะนำความเห็นไปอ้าง เพื่อวีโต้ช่วยนักโทษทักษิณได้ยาก เพราะขาดน้ำหนัก ขาดความน่าเชื่อถือ คนจะเชื่อแพทย์สภามากกว่าความเห็นของพวกผม 10 คน ทำให้ถูกสังคมเย้ยหยัน ทั้งตัวรัฐมนตรีและพวกผมไปเปล่าๆ

หากพวกผมมีความเห็นผมพ้องกับแพทยสภา รัฐมนตรีสมศักดิ์ก็จะยิ่งลำบากใจเพราะถ้าลงนามเห็นชอบตามข้อเสนอโดยไม่วีโต้  คุณทักษิณก็อาจจะ โกรธและด่าคุณสมศักดิ์ อยู่ดี แต่หากคุณสมศักดิ์จะใช้สิทธิ์วีโต้แพทยสภาก็จะยิ่งยากลำบากมากขึ้นเพราะ สังคมโดยเฉพาะศาล ก็จะยิ่งเชื่อถือมติแพทยสภา เพราะพวกผมก็เห็นพ้องต้องกับมติแพทย์สภา

แพทย์สภายิ่งต้องยืนยันตามมติเดิมด้วยคะแนนสองในสาม รัฐมนตรีสมศักดิ์ยิ่งไม่มีที่ยืนในสังคม ยกเลิกการแต่งตั้งให้พวกผมกลั่นกรองให้ความเห็น แล้วดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา แม้จะถูกนักโทษทักษิณไม่พอใจแต่ก็คุ้มค่าตัดสินใจครั้งนี้เหมือนแทงพนัน แม้ ท่านจะคุ้นเคย แต่หากไม่ซื่อตรง ก็หมดตัวได้ในคราวนี้

อดีต สว.วันชัย ยกอุทธาหรณ์!! ข่าวฉาวเจ้าคุณแย้ม ‘สตรีกับสตังค์’ ทำเจ้าคณะพระผู้ใหญ่ พังพินาศ

(18 พ.ค. 68) อดีต สว.วันชัย สอนศิริ อดีตสมาชิกวุฒิสภา ได้โพสต์ข้อความเรื่อง “สตรีกับสตังค์” ในเพจเฟซบุ๊ก "ทนายวันชัย สอนศิริ" แสดงความเห็นกรณีข่าวฉาวโฉ่อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมถูกจับสึก โดยระบุว่า...

สตรีกับสตังค์

ในวงการพระสงฆ์เขารู้กันว่าพระผู้หลักผู้ใหญ่ พระที่มีชื่อเสียงมียศมีตตำแหน่งที่พังๆนั้นมาจากสตรีกับสตังค์ แต่ส่วนใหญ่มันจะเริ่มจากสตรีก่อนแล้วสตรีก็เรียกสตังค์ หรือไม่ก็หาสตังค์ไปให้สตรี ต้องยอมรับว่าสตรีนั้นเป็นอันตรายต่อพรหมจรรย์ พระวินัยสงฆ์จึงบัญญัติข้อห้ามระหว่างสตรีกับพระภิกษุไว้มากมายเพราะมันเป็นอันตรายต่อความเป็นพระและความวินาศต่อความเป็นพรหมจรรย์ของพระอย่างยิ่ง 

สตรีมี ”อวัยวะเพศ” และมีสิ่งกำเนิดแห่งกามราคะให้บุรุษเพศลุกโชนได้ตลอดเวลา พระสงฆ์องค์เณรผู้ยังไม่บรรลุก็จะติดกับดักแห่งอวัยวะกามราคะ ยากที่จะหลุดพ้น ขนาดเจ้าโลกก็ถูกอวัยวะเพศแห่งสตรีกลืนกินไปจนหมดสิ้น ยศฐาบรรดาศักดิ์ตำแหน่งแห่งหนเงินทองทรัพย์สินชื่อเสียงเกียรติยศ อวัยวะเพศแห่งสตรีก็ทำให้กระเด็นมาแล้วหลายต่อหลายคนไม่ว่าพระสงฆ์องค์เจ้าก็อยู่ในวังวนนี้

ต้องยอมรับว่าอวัยวะเพศแห่งสตรีมีอิทธิพลสูง จึงไม่แปลกเลยที่เจ้าคณะใหญ่ๆดังๆหลายต่อหลายองค์ ต้องยอมสยบอย่างราบคาบ จะร้อยล้านพันล้านเธอก็กลืนกินได้ เรื่องวัดไร่ขิงจึงไม่ใช่เรื่องใหม่เรื่องแรก และก็ไม่ใช่เรื่องสุดท้าย ยังจะมีเรื่องในทำนองนี้อยู่อีกต่อไป ตราบใดที่ยังมีสตรีและยังมีโมฆะบุรุษอาศัยอยู่ในวัดวาอารามต่างๆ สตรีและสตังค์ก็ยังจะพังพระสงฆ์องค์เจ้าได้อีกหลายต่อหลายองค์.... 

อวัยวะเพศหญิง มันยิ่งใหญ่ เหนือโลกเหนือมนุษย์ 

‘ดร.สุวินัย’ เผย!! วิกฤตเด็ก Gen Z ในยุคดาต้านิยม ชี้!! พ่อแม่เขียนโปรแกรม ทำให้เด็กเปราะบาง

(18 พ.ค. 68) ศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า

หากเด็กไทยสมัยนี้โตขึ้นมา โดยไม่เคยได้วิ่งเล่นล้มเข่าถลอก ไม่มีเพื่อนบ้าน ไม่มีต้นไม้ให้ปีน

มีแต่เพียงหน้าจอมือถือหรือแทบเลตที่คอยบอกว่าใครชอบเขา ใครลืมเขา และเขาดีพอหรือยัง

หากเป็นแบบนี้ จงรู้ไว้เถิดว่า เราไม่ได้แค่เปลี่ยนวิธีเลี้ยงลูก เรากำลัง “เขียนโปรแกรมของเด็ก” ใหม่ทั้งระบบ!

และผลลัพธ์ที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็คือ "เด็กไทยสายพันธุ์ใหม่" ที่วิตกกังวล สับสน และเปราะบางกว่าทุกยุคก่อนหน้านี้มาก

เด็กในยุคดาต้านิยม (dataism) ต่อจากนี้ คงต้องเติบโตในโลกที่ไม่เคยทดสอบกับมนุษย์มาก่อน

1. คลื่นแห่งความทุกข์ที่โหมกระหน่ำแต่วัยเยาว์

เด็กยุคก่อนเคยเติบโตท่ามกลางจักรยาน เพื่อนบ้าน และลานดิน

แต่เด็ก Gen Z เติบโตท่ามกลางฟีดที่ไม่มีวันจบ การแจ้งเตือนที่ไม่เคยหลับ และภาพเปรียบเทียบตัวเองตลอด 24 ชั่วโมง นี่คือ “ดาวอังคาร” สำหรับวัยรุ่น เป็นพื้นที่ใหม่ที่พัฒนาการมนุษย์ยังไม่เคยถูกทดสอบ ไม่มีระบบนิเวศทางอารมณ์ที่เข้าใจได้ และไม่มีผู้ใหญ่คนไหนรู้วิธีอยู่รอดจริง ๆ

และผลลัพธ์ก็คือเกิดการ “การเขียนโปรแกรม” วัยเด็กครั้งใหญ่ที่ทำให้ อัตราความเครียด ความซึมเศร้า และการทำร้ายตัวเองของวัยรุ่นพุ่งขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงปี 2010–2015

2. โลกออนไลน์เปลี่ยนวัยเด็กไปตลอดกาล

จุดเริ่มต้นของวิกฤตคือช่วงต้นทศวรรษ 2010 ซึ่งมีจุดเปลี่ยนสำคัญ 3 อย่าง:

2.1 การระบาดของสมาร์ตโฟน – เมื่อไอโฟน 4 เปิดตัวในปี 2010 พร้อมกล้องหน้า โลกแห่ง “เซลฟี่” ก็เริ่มต้น

2.2 การครองเมืองของโซเชียลมีเดีย – การมาถึงของ “ปุ่มไลก์” และ “แชร์” ใน Facebook และ Instagram เปลี่ยนพฤติกรรมออนไลน์ให้กลายเป็นสนามประลองการยอมรับ

2.3 การลดลงของการเล่นนอกบ้าน – การเลี้ยงลูกแบบ Overprotective และการหายไปของ “play-based childhood” ทำให้เด็กไม่มีพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อฝึกใจ ฝึกสังคม

เด็กยุคนี้จึงต้องโตในโลกที่มี “หน้าต่างพลังงาน” ส่งสารพลังทำลายสมองเข้าสู่ตลอด 24 ชั่วโมง และไม่มีใครเตือนพวกเขาว่ามันอันตรายแค่ไหน

3. โรคทางใจที่พุ่งไม่หยุด

ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา อัตราโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นอเมริกันเพิ่มขึ้นถึง 150% โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กผู้หญิงวัย 10–14 ปี ที่อัตราทำร้ายตัวเองเพิ่มขึ้นถึง 300% ในหนึ่งทศวรรษ

นี่ไม่ใช่เพียงการรายงานความรู้สึก (self-reporting) เท่านั้น แต่สะท้อนผ่านข้อมูล:

อัตราการเข้าห้องฉุกเฉิน ด้วยการทำร้ายตัวเอง (Emergency Room Visits for Self-Harm)

อัตราการฆ่าตัวตาย ในวัยรุ่นอายุ 10–14 ปี ที่พุ่งขึ้นตั้งแต่ปี 2012

การใช้ยาและการวินิจฉัยภาวะซึมเศร้า ในระดับวิทยาลัยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

และที่สำคัญ เด็กผู้ชายก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน แม้จะชัดเจนน้อยกว่าก็ตาม

4. ความแตกต่างระหว่าง “ความกลัว” กับ “ความวิตกกังวล”

ความกลัว (fear) คือการตอบสนองต่อภัยอันตรายจริงในปัจจุบัน ส่วนความวิตกกังวล (anxiety) คือ การคาดการณ์ภัยที่ยังมาไม่ถึง... และไม่แน่ว่าจะมาด้วยซ้ำ

แต่เมื่อสมองของวัยรุ่นถูกฝึกให้ “สแกนหาอันตราย” ตลอดเวลา ผ่านโพสต์ ติ๊ดแจ้งเตือน ไลก์ที่หายไป — อะไร ๆ ก็กลายเป็นภัย ทั้งคำพูดของเพื่อน รูปร่างตัวเอง หรือแม้แต่การถูก “อ่านแล้วไม่ตอบ”

ระบบประสาทถูกรีไวร์ให้ตื่นตลอดเวลา — กลายเป็น โหมดเอาตัวรอดทางสังคมถาวร (Chronic Social Survival Mode)

5. เด็ก Gen Z ไม่ได้ซึมเศร้าเพราะโลกร้อน... แต่เพราะ “อยู่คนเดียว”

มีคำอธิบายมากมายที่พยายามจะโยนปัญหาไปที่ "สภาพโลก":

ความขัดแย้งทางการเมือง

ภัยโลกร้อน

โรคระบาด COVID-19

สภาพเศรษฐกิจ

แต่จริง ๆ แล้ว... สาเหตุเหล่านี้ “ไม่ตรงกับไทม์ไลน์” ของวิกฤตสุขภาพจิตเลย

วิกฤตปี 2008 ไม่ทำให้เด็กยุคมิลเลนเนียลเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงที่แรงที่สุดเกิดในปี 2012–2013 — ไม่ใช่ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ

ถ้าโลกแย่ลงจริง ๆ เด็กควรจะ “รวมพลัง” สู้ภัย ไม่ใช่แยกตัวจนซึมเศร้า

สิ่งที่ต่างออกไปในยุคนี้คือ... วัยรุ่นไม่ได้ออกไปประท้วง แต่เลื่อนนิ้วดูชีวิตคนอื่นที่ดูดีกว่าตัวเองตลอดเวลา

6. “พ่อแม่ไม่อยากให้ลูกโตบนโทรศัพท์... แต่เหมือนไม่มีทางเลือก”

เสียงจากพ่อแม่ทั่วอเมริกา:

พ่อแม่ที่เห็นลูกสาวเปลี่ยนไปหลังใช้ Instagram และฟื้นคืนตัวตนเมื่อได้ไปแคมป์ไร้โทรศัพท์

พ่อที่เห็นลูกชายที่เคยร่าเริง กลายเป็นเด็กที่เอาแต่เล่นเกม และหงุดหงิดเมื่อโดนห้าม

ความรู้สึกหลักของพ่อแม่เหล่านี้คือ…

“เราสูญเสียลูกของเราไปให้โลกที่เราเข้าไม่ถึง นี่เป็นโลกที่เราไม่มีสิทธิ์ควบคุม”

ผลลัพธ์คือ ‘ลูกโดดเดี่ยว’

7. The Great Rewiring: จุดเริ่มต้นของวัยรุ่นดาวอังคาร

การรีไวร์ครั้งใหญ่ของวัยเด็กเริ่มต้นขึ้นระหว่างปี 2010–2015

จากวัยเด็กที่เต็มไปด้วย “การเล่นเสี่ยงภัย” และ “การลองผิดลองถูก” สู่วัยเด็กที่ต้องสแกนฟีด สร้างแบรนด์ตัวเอง และเปรียบเทียบไม่รู้จบ

การใช้ชีวิตแบบ “อยู่ตรงนี้ แต่จิตใจอยู่ที่อื่น” กลายเป็นบรรทัดฐาน และมันไม่ได้ฝึกความสามารถสำคัญใด ๆ ที่มนุษย์ควรได้เรียนรู้ในวัยเด็กเลย

8. จุดจบของวัยเด็กแบบเล่นสนุก (The Play-Based Childhood)

ก่อนที่โลกจะกลายเป็นหน้าจอ ทุกชีวิตต่างรู้ดีว่า "การเล่น" คือระบบการเรียนรู้โดยธรรมชาติ เราเรียนรู้ที่จะสู้ เรียนรู้ที่จะสมานฉันท์ เรียนรู้ความกลัวและความกล้าหาญ ผ่านการวิ่งไล่ จับ โดนล้อ และตีกันแล้วก็คืนดีกันได้ใน 5 นาที

แต่โลกหลังยุค 1980s กลับเริ่มลดพื้นที่ของการเล่นแบบนั้นลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งในที่สุด เด็ก Gen Z กลายเป็น มนุษย์ยุคแรกในประวัติศาสตร์ที่โตขึ้นโดยไม่มีสนามให้เล่น ไม่มีความเสี่ยงให้ลอง และไม่มีเสรีภาพที่จะล้ม

และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการทำลายภูมิคุ้มกันทางจิตใจโดยที่ไม่มีใครตั้งใจ

9. พ่อแม่ยุคใหม่: ห่วงมาก... จนบั่นทอน

การเลี้ยงลูกแบบ “Overprotective Parenting” ที่เริ่มมากขึ้นในยุค 1990s คือหนึ่งในเหตุผลหลักที่เด็กไม่ได้รับ “วัคซีนทางประสบการณ์”

ยุคที่ข่าวลักพาตัวกลายเป็นหัวข้อข่าวรายวัน ทำให้สังคมเชื่อว่าโลกภายนอกคืออันตราย สวนสาธารณะคือกับดัก และถ้าปล่อยลูกเดินไปโรงเรียนเอง เท่ากับปล่อยลูกไปหาโจรโรคจิต

แม้ความจริงคือ สถิติอาชญากรรมต่อเด็กไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่ความกลัวของพ่อแม่กลับเพิ่มขึ้นแบบไม่มีเพดาน และนั่นทำให้เด็กค่อย ๆ สูญเสีย "พื้นที่เสรีเพื่อเติบโต"

10. เล่นเสี่ยงภัยคือห้องทดลองทางอารมณ์

เด็กไม่ได้เปราะบางเพราะหกล้ม เด็กเปราะบางเพราะไม่เคยได้หกล้มเลยต่างหาก การเล่นที่มีความเสี่ยงพอสมควร เช่น ปีนต้นไม้ วิ่งไล่กัน ล้อกันแรง ๆ หรือทะเลาะกับเพื่อน เป็นสิ่งที่ “ฝึกหัวใจให้รับแรงกระแทก”

เด็กจะเรียนรู้การ “ควบคุมความกลัว” ฝึกทักษะทางสังคมโดยไม่ต้องมีผู้ใหญ่แทรกกลาง เรียนรู้การสร้างกฎ การเจรจา และการยอมแพ้อย่างมีศักดิ์ศรี

แต่วิธีเลี้ยงลูกแบบกลัวลูกเจ็บ กลัวลูกแพ้ กลัวลูกเศร้า กลายเป็นการบ่ม “ความเปราะบาง” อย่างไม่รู้ตัว

11. เด็กยุคใหม่ไม่ได้โต “ด้วยกาย” แต่โต “ด้วยการเลื่อนจอ”

ในอดีต เด็กอายุ 10–12 จะเข้าสู่ “Discover Mode” ซึ่งคือช่วงที่สมองเปิดกว้างที่สุดสำหรับการลองผิดลองถูก การหา “จุดแข็งของตัวเอง” และการเผชิญความเสี่ยงในระดับปลอดภัย

แต่ในยุคใหม่… เด็กวัยเดียวกันนี้ใช้เวลากับหน้าจอแทนการปั่นจักรยาน หัดตัดต่อคลิปก่อนหัดเจรจากับเพื่อน พูดกับ AI เก่งขึ้น แต่พูดกับคนแปลกหน้าไม่กล้า

ระบบรางวัลในสมองได้เปลี่ยนไปจาก “การลงมือทำจริง” → “การได้รับไลก์จากการโพสต์”

ผลคือ เด็กจำนวนมากโตโดยไม่ได้สร้าง self-efficacy (ความเชื่อว่าตนควบคุมชีวิตได้) แต่กลับฝึก self-branding แทน และนั่นคือรากแห่งความไม่มั่นคงในจิตใจของวัยรุ่นยุคนี้

12. วัยรุ่นโตขึ้น... แต่ไม่มีพิธีกรรมแห่งการ “เปลี่ยนผ่าน”

ในสังคมดั้งเดิม แทบทุกวัฒนธรรมมี “Rite of Passage” — พิธีกรรมที่ประกาศว่า เด็กคนหนึ่ง “ผ่านพ้น” สู่ความเป็นผู้ใหญ่เช่น

- พิธีบรรลุนิติภาวะ

- การฝึกทหาร

- การเรียนรู้กับครูหรือช่างฝีมือ

- การได้สิทธิ์ใหม่ เช่น ขับรถ หรือหารายได้เอง

แต่ในยุคปัจจุบัน วัยรุ่นกลับ “ถูกดองไว้” ในสภาวะครึ่งเด็กครึ่งผู้ใหญ่

- ไม่มีภาระอะไรจริงจังให้รับผิดชอบ

- ไม่มีอำนาจในการกำหนดชีวิต

- มีหน้าที่แค่ “เรียนเพื่อคะแนน” ไปเรื่อย ๆ

เป็นช่วงวัยที่เปราะบางที่สุดทางสมอง แต่กลับไม่มีโครงสร้างใดรองรับให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่จริง ๆ

13. วัยเด็กที่หายไป ถูกแทนที่ด้วยชีวิตในโลกผู้ใหญ่ปลอม ๆ

ขณะเดียวกันที่เด็กไม่มีโอกาสเสี่ยงในโลกจริง พวกเขากลับมี อิสระเต็มที่ในโลกออนไลน์ แบบไม่มีใครกรอง

- เข้าถึงเนื้อหาผู้ใหญ่ทุกประเภท

- ได้รับข้อความจากใครก็ได้บนโลก

- เห็นความเกลียดชัง ความแกล้งกัน การคุกคาม ตั้งแต่วัย 9 ขวบ

เด็กยุคใหม่จึงโตมากับความรู้สึกสับสนระหว่าง…

- โลกจริงที่อิสระถูกพรากไป

- โลกเสมือนที่อิสระไร้ขอบเขตจน “จิตใจกลายพันธุ์”

14. สี่พิษร้ายแห่งวัยเด็กบนหน้าจอ

วัยเด็กคือช่วงเวลาที่สมองกำลัง “ตั้งค่า” วิธีมองโลกและใช้ชีวิตในโลกนี้

แต่ในยุคที่วัยเด็กกลายเป็นการ “อยู่หน้าจอ 7 ชั่วโมง/วัน” สิ่งที่สมองของเด็กเรียนรู้กลับกลายเป็น…

- ตอบสนองสิ่งกระตุ้นไวขึ้น แต่จดจ่อกับสิ่งใดลึก ๆ ได้น้อยลง

- มีความสัมพันธ์มากมาย แต่ตื้น และบอบบาง

- รับการให้รางวัลแบบสุ่มถี่ เหมือนทดลองกับหนูในห้องแล็บ

ผลลัพธ์คือ ระบบพัฒนาการของเด็ก “ถูกรีไวร์” จนผิดเพี้ยน และนำไปสู่ 4 ผลร้ายรุนแรงระดับโครงสร้างที่เรียกว่า…

→ Social Deprivation (ความสัมพันธ์ที่บกพร่อง)

→ Sleep Deprivation (นอนหลับน้อยลง)

→ Attention Fragmentation (สมาธิสั้น)

→ Addiction (ติดโซเชียล)

15. Social Deprivation: ความสัมพันธ์ที่พร่องลึกลงไปเรื่อย ๆ

หนึ่งในภัยที่ร้ายแรงที่สุดของวัยเด็กบนหน้าจอคือ “การพรากออกจากโลกแห่งร่างกาย”

เด็กในอดีตเรียนรู้การเข้าสังคมผ่าน…

-การสบตา

-การเล่นสมมติ

-การล้อกัน

-การให้อภัยและสร้างสัมพันธ์ใหม่

แต่เด็กยุคใหม่...

- แชทมากกว่าเล่น

- ตอบเร็วกว่าเข้าใจ

- สื่อสารแบบ asynchronous (คนละเวลา คนละอารมณ์) ซึ่งไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์

ผลคือ แม้จะมีเพื่อนหลายร้อยในออนไลน์ แต่เด็กกลับ “โดดเดี่ยวในใจ” มากกว่าที่เคยมีบันทึกในประวัติศาสตร์

16. Sleep Deprivation: เด็กหลับน้อยลงกว่าทุกยุคที่ผ่านมา

อัตราการนอนหลับของวัยรุ่น “ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ” หลังปี 2010

-วัยรุ่นจำนวนมากนอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อคืน (ต่ำกว่ามาตรฐานที่แนะนำไว้คือ 8–10 ชั่วโมง)

-สาเหตุหลักคือ โทรศัพท์อยู่บนเตียง → ใช้จนดึก → สมองถูกแสงกระตุ้นจนหลับยาก

-การแจ้งเตือนที่ไม่สิ้นสุดจากมือถือ ทำให้ร่างกายไม่เข้าสู่ภาวะ “ปิดตัว”

และเมื่อเด็กอดนอน อารมณ์จะไม่เสถียร และซึมเศร้าง่าย

วงจรนี้จะหมุนวนซ้ำ ๆ จนกลายเป็นกับดักที่ยากจะแก้ไข

17. Attention Fragmentation: สมาธิสั้น จิตใจฟุ้งซ่าน

เด็กที่โตมากับ TikTok, Instagram, Reels และ YouTube Shorts กลายเป็นมนุษย์ที่ “ใช้เวลาในแต่ละคลิปเพียง 6 วินาทีโดยเฉลี่ย” ก่อนจะเลื่อนผ่าน

นี่คือการฝึกสมองให้...

คิดแบบไม่ต่อเนื่อง

เสพข้อมูลแบบส่วนเสี้ยว

ขาดสมาธิในการเรียนหรืออ่านหนังสือที่ลึกขึ้นเรื่อย ๆ

และเมื่อเด็กไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดได้...

ความสามารถในการ “สร้างตัวตน” ผ่านความต่อเนื่องของความคิดก็ถูกทำลายไปด้วย

ความคิดแบบลึกซึ้ง (deep work) จึงถูกแทนที่ด้วยความวุ่นวายภายในจิตใจที่ไม่มีทางออก

18. Addiction: เสพติดโซเชียล จนระบบรางวัลในสมองถูกรบกวนอย่างถาวร

เด็ก Gen Z ไม่ได้ “เล่นมือถือ”

พวกเขา “โดนมือถือเล่นงาน” ต่างหาก

บริษัทเทคโนโลยีใช้วิธีการ operant conditioning (แบบเดียวกับการฝึกลิงหรือหมา) ด้วยการออกแบบให้...

ทุกครั้งที่เราเปิดแอป → มีอะไรใหม่เสมอ (variable reward)

ทุกครั้งที่คุณได้ไลก์ → สมองหลั่งโดพามีน

ทุกครั้งที่คุณเลื่อน → เหมือนได้รางวัลเล็ก ๆ ทำให้เลิกยาก

ระบบนี้คล้ายการพนัน ที่คุณติดไม่ใช่เพราะมันให้รางวัลใหญ่ แต่เพราะมันให้รางวัล “เล็ก ๆ น้อย ๆ แบบสุ่ม”

เด็กจำนวนมากจึงมีอาการ...

-วิตกกังวลเมื่ออยู่ห่างจากโทรศัพท์ (nomophobia)

-หงุดหงิดเมื่อต้องปิดหน้าจอ

-สูญเสียแรงจูงใจในการทำกิจกรรมที่ไม่ใช่หน้าจอ เช่น กีฬา ดนตรี งานฝีมือ

19. เด็กหญิงโดนหนักกว่าเด็กชายอย่างไร?

เด็กหญิงโตขึ้นมาในระบบที่...

-ยึดโยงคุณค่ากับรูปร่างหน้าตา

-ถูกฝึกให้ “สร้างแบรนด์” ผ่านภาพถ่ายและคำบรรยาย

-ต้องคอยตรวจสอบว่าใครเมนต์อะไร ใครไลก์ใครบ้าง

Instagram, TikTok กลายเป็น เครื่องวัดสถานะทางสังคมแบบเรียลไทม์ ที่ทำให้เด็กหญิงรู้สึก...

-ไม่ดีพอ

-ถูกจับจ้อง

-ถูกเปรียบเทียบอย่างไม่หยุดหย่อน

ผลคือ อัตราโรคซึมเศร้า วิตกกังวล และ self-harm ของเด็กหญิงพุ่งสูงกว่าผู้ชายอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในช่วงอายุ 10–14 ปี

20. เด็กชายก็ไม่รอด — แค่เส้นทางต่างกัน

เด็กชายไม่ได้จมอยู่ใน Instagram หรือ TikTok เท่าเด็กหญิงก็จริง

แต่พวกเขาจมอยู่ใน...

-วิดีโอเกมแบบ multiplayer

-YouTube แบบ endless scroll

-สื่อลามกสุดโต่งที่เข้าถึงได้ตั้งแต่ประถม

เด็กชายจำนวนมากจึงไม่ได้เผชิญภาวะวิตกกังวลแบบเด็กหญิง

แต่เจอปัญหาแบบ “หายไปจากโลกจริง” เช่น...

-วัยรุ่นที่ไม่เข้าสังคม (hikikomori)

-ไม่เรียนต่อ ไม่ทำงาน (NEET)

-ขาดความสามารถในการสื่อสารพื้นฐาน

21. Spiritual Degradation: จิตวิญญาณเสื่อมถอย

ปัญหาไม่ได้อยู่แค่สุขภาพจิต แต่อยู่ที่สุขภาวะของ “จิตวิญญาณ” (ในความหมายกว้าง) ด้วย

โลกออนไลน์ทำให้เรา...

เสพสารกระตุ้นอารมณ์รุนแรงตลอดเวลา

สูญเสีย “ความเงียบ” ที่จำเป็นต่อการคิดลึก

ไม่มีพื้นที่ว่างในการใคร่ครวญหรือจดจ่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในชีวิต

22. “แนวปฏิบัติ 6 ด้านเพื่อฟื้นฟูชีวิตภายใน” ได้แก่:

Awe – ความตื่นตะลึงทางจิตวิญญาณ

เช่น การมองท้องฟ้า ป่าเขา ดนตรี หรือศิลปะที่ทำให้ “ตัวตนหดลง โลกขยายออก”

Gratitude – การรู้สึกขอบคุณ

การฝึกมองเห็นความดีเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวัน ทำให้จิตสงบและพ้นจากวงจรเปรียบเทียบ

Prayer / Meditation – การภาวนา / สมาธิ

ไม่จำเป็นต้องผูกกับศาสนาเสมอไป แต่เป็นการคืนจิตให้จดจ่อกับปัจจุบันขณะ

Self-transcendence – การก้าวข้ามตัวตน

การทำสิ่งที่ไม่ได้เพื่อ “ตัวเอง” เช่น การอาสา การให้ หรือการทำเพื่อชุมชน

Silence and Solitude – ความเงียบและการอยู่กับตัวเอง

การอยู่ลำพังอย่างตั้งใจเพื่อฟัง “เสียงข้างใน” ซึ่งถูกกลบด้วยเสียงแจ้งเตือนทั้งวันจากมือถือ

Embodied Practices – การกลับมาใช้ร่างกาย

เช่น การเดินป่า ทำสวน ฝึกโยคะ หรือแม้แต่งานฝีมือ ที่ช่วยยึดโยงเราไว้กับโลกจริง

23. บริษัทเทคโนโลยี ควรเปลี่ยนจาก “ทำเพื่อ engagement” → “ทำเพื่อ well-being”

บริษัทเทคโนโลยีมิได้เลวร้ายโดยเนื้อแท้ แต่โมเดลธุรกิจที่วัด “ความสำเร็จ = เวลาที่คนอยู่บนแพลตฟอร์ม” คือสิ่งที่ต้องเปลี่ยน

Tech ควรเลิก “ติดตั้งการเสพติด” เป็นค่าเริ่มต้น (default)

แต่ควรสร้างฟีเจอร์ช่วย “เลิกใช้” ง่ายขึ้น เช่น ปิดการแจ้งเตือนอัตโนมัติหลัง 1 ชั่วโมง

ควรยอมเปิดเผยข้อมูลให้หน่วยงานวิจัยอิสระ เพื่อตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพจิต

และถ้าบริษัทเทคไม่ขยับ — เราควรเรียกร้องให้ นักพัฒนาลาออกจากบริษัทเทคเหล่านั้น และร่วมสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เคารพ “ชีวิตมนุษย์” แทน

24. เราไม่ได้ปกป้องเด็กจากเทคโนโลยี แต่เราทิ้งเขาให้จัดการคนเดียว

เทคโนโลยีให้ประโยชน์กับผู้ใหญ่ในหลายด้านก็จริง

แต่กับเด็ก มันกลายเป็นสนามทดสอบที่ไม่มีคู่มือ ไม่มีรั้ว ไม่มีผู้ปกครอง

ผู้ใหญ่สามารถควบคุมตัวเองเวลาใช้ social media ได้บางส่วน

แต่เด็กวัย 11 ที่สมองยังไม่พัฒนาเต็ม → ถูกปล่อยเข้าสู่โลกแห่งความเปรียบเทียบ รางวัลแบบสุ่ม และแรงกดดันทางสังคมแบบไม่หยุดพัก

25. ความผิดพลาด 2 ประการ

สรุปว่า เราทำ “พลาดอย่างรุนแรง” 2 ข้อพร้อมกัน:

1. Overprotecting in the Real World

– เรา “หวง” เด็กจากโลกจริงจนเขาไม่ได้ออกไปลองผิดลองถูก

– พ่อแม่กลัวลูกเดินไปโรงเรียนเอง แต่ไม่กลัวลูกเล่น หรือสนทนากับคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์

2. Underprotecting in the Virtual World

– เรา “ปล่อย” เด็กให้จมหายอยู่ในโลกออนไลน์โดยไม่มีเกราะป้องกัน

– โลกออนไลน์กลายเป็นทั้งเพื่อน ทั้งครู ทั้งศัตรู และทั้งแหล่งเปรียบเทียบตลอด 24 ชั่วโมง

และผลก็คือ เด็ก Gen Z กลายเป็นมนุษย์ที่ “หลุดออกจากโลกแห่งพัฒนาการปกติ” โดยไม่มีใครตั้งใจ

26. ปัญหาทางจิตของเด็กจึงไม่ได้จบแค่โรค แต่มันคือการสั่นคลอนแก่นกลางแห่งความเป็นมนุษย์ของตัวเด็กเอง

วิกฤตสุขภาพจิตของเด็กยุคนี้ มิใช่แค่ “โรคซึมเศร้า” หรือ “ภาวะวิตกกังวล” เท่านั้น แต่คือการเปลี่ยนระดับการรับรู้ของมนุษย์อย่างถึงราก

เราเสพข้อมูลมากกว่าที่เราสามารถตีความได้

เราสร้างตัวตนเพื่อให้ถูกมอง มากกว่ามีตัวตนที่ลึกจริง

เราอยู่ในสถานะ “ระแวดระวังทางสังคม” ตลอดเวลา โดยไม่รู้ตัว

และในความวุ่นวายนี้ เราสูญเสียความสามารถพื้นฐานของมนุษย์ 3 อย่าง:

จดจ่อ (Attention)

เชื่อมโยง (Connection)

ไตร่ตรอง (Reflection)

27. สิ่งที่ Gen Z ทำได้ และเราควรสนับสนุน

Gen Z อาจไม่ใช่เหยื่อผู้พ่ายแพ้ แต่คือ “รุ่นผู้ตื่นรู้” รุ่นแรกของมนุษยชาติ

หากพวกเขา...ได้เห็นกับตาว่าอะไรทำลายจิตใจตนเอง

หากพวกเขา...ได้เริ่มต่อต้าน algorithm ที่ควบคุมพฤติกรรม

หากพวกเขา...ได้เริ่มกลับสู่การอ่านหนังสือกระดาษอย่างจริงจัง

หากพวกเขา...ได้หันไปคบเพื่อนแบบสนิทกันจริง ๆ

หากพวกเขา...ได้หันกลับมาใช้ชีวิตออฟไลน์ด้วย

วัยเด็กไม่ควรเป็นสนามทดลองของบริษัทเทคโนโลยี

การปกป้องที่ดีที่สุด ไม่ใช่การห้ามทุกอย่างที่เสี่ยง

แต่คือการกล้าให้เด็กได้สัมผัสโลกจริง

ก่อนที่โลกเสมือนจะหลอมเขาให้หายไปจากความเป็นมนุษย์

~ เก็บความจาก The Anxious Generation ของ Jonathan Haidt

เครดิต : เพจ Success Strategies กลยุทธ์แห่งความสำเร็จ

จากเพจ นัทแนะ

วันนี้ผมขอนำเรื่องของคุณครูสาวชาวอเมริกันมาเล่าสู่กันฟัง

ครูสาวสวยคนนี้เธอชื่อว่า “แฮนน่า มาเรีย - Hanna Maria" เป็นครูสอนภาษาอังกฤษอยู่ที่โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในอเมริกา ซึ่งเธอเข้ามาสอนได้ 3 ปีแล้ว และก็เพิ่งลาออกมาหมาด ๆ

และเมื่ออาทิตย์ที่แล้วคุณครูเธอได้โพสท์ติ๊กต่อกระบายความในใจเกี่ยวกับบรรดาอดีตลูกศิษย์ของเธอดังนี้

”เด็ก ๆ พวกนี้ไม่รู้จักการอ่านหนังสือ เพราะทุกวันนี้แค่กดคลิกปุ่มบนหน้าจอ เครื่องก็อ่านให้พวกเขาฟังได้เลย

ฉันคิดว่าพวกเขาไม่แคร์ด้วยซ้ำไป เขาไม่สนใจที่จะหัดเขียนใบประวัติเพื่อสมัครงาน (Resume) หรือกระทั่งเขียนจดหมายแนะนำตัว

นั่นเพราะ ChatGPT สามารถเขียนให้เขาได้หมด

ฉันคิดว่าเราควรจะตัดเทคโนโลยีพวกนี้ออกจากเด็ก ๆ จนกว่าจะเข้ามหาวิทยาลัย“

คลิปติ๊กต่อกนี้กลายเป็นไวรัลในอเมริกา มีคนชมเป็นล้าน จนกระทั่งสำนักข่าวฟอกซ์นิวส์ต้องไปขอสัมภาษณ์คุณครูแฮนน่าว่าเธอคิดเห็นอย่างไรถึงได้ทำโพสท์นี้ขึ้นมา คุณครูเล่าว่า

“ฉันอยากจะจุดประเด็นเรื่องของเทคโนโลยีและเอไอที่มีผลกระทบต่อเด็ก ๆ ขึ้นมาค่ะ แม้ว่าจริง ๆ แล้วเด็ก ๆ หลายคนในคลาสของฉันก็มีเด็กที่เก่งและหัวดีก็ตาม

ในคลาสที่ฉันสอนภาษาอังกฤษนั้น บ่อยครั้งที่ฉันขอให้เด็ก ๆ เขียนเรื่องราวเป็นคำตอบสั้น ๆ ความยาวแค่เพียง 5 ประโยคก็ได้

และก็บ่อยครั้งมากเช่นกันที่เด็ก ๆ จะเขียนตอบมาแค่ 2 ประโยคแล้วบอกว่า “คิดอะไรไม่ออกแล้ว” บางคนก็เขียนไม่จบประโยคแล้วก็แย้งกับฉันว่า จะต้องเขียนให้จบประโยคทำไม เขียนแค่นี้ก็สื่อกันเข้าใจแล้วนี่นา

บางครั้งฉันสั่งการบ้านให้เด็ก ๆ เขียนบทความสั้น ๆ หรือ essay และเมื่อนักเรียนเอาการบ้านนี้กลับมาส่งนั้น ฉันต้องบอกก่อนว่า ฉันรู้จักและจำวิธีการเขียนของนักเรียนแต่ละคนได้จากการนั่งเขียนในห้องเรียน

และฉันรู้ดีว่าลักษณะการเขียนของเด็กชั้นมัธยมนั้นเป็นอย่างไร

เมื่อฉันได้อ่านการบ้านของเด็ก ๆ ในคลาสแล้ว มีหลายคนที่ฉันต้องเรียกมาถามว่าได้ให้ ChatGPT เขียนให้หรือเปล่า?

เด็ก ๆ กลับตอบฉันว่า “ถ้าต้องเอาการบ้านกลับไปแก้ใหม่ จะกระทบเกรดสักแค่ไหน? ขอเอาแค่ศูนย์ก็ได้“

ฟังมาถึงตอนนี้ นักข่าวก็ร้องว้าวแล้วถามคุณครูว่า ”นี่มันแค่ว่าเด็กขี้เกียจหรือเปล่าคะคุณครู?“

ครูแฮนน่าตอบว่า ”นักเรียนเขามีความคิดว่า เอไอสามารถทำงานแทนพวกเขาได้น่ะค่ะ คือฉันต้องออกตัวก่อนว่าในชั้นเรียนระดับสูง ๆ นั้น เอไอสามารถเอามาใช้ให้มีประโยชน์ในห้องเรียนได้นะคะ“

”แต่ถ้าเราอนุญาตให้นักเรียนใช้เอไอได้อย่างไม่มีข้อจำกัด พวกเขาก็จะไม่ทำงานทำการบ้านเองค่ะ“

และตอนนี้คุณครูแฮนน่าเธอก็ลาออกจากโรงเรียนแล้ว หลังจากที่สอนมาได้ 3 ปี

สำหรับผมแล้ว ผมเห็นด้วยกับคุณครู 100% ทักษะการฟังพูดอ่านเขียนและกระบวนการคิดที่ดี คือพื้นฐานของผู้มีการศึกษา

เอไอไม่ได้มีประโยชน์อะไรมากมายสำหรับเด็ก ๆ อย่าเอามาใช้ในวัยที่กำลังพัฒนาทักษะเหล่านี้เลย

‘ทรัมป์ – ปูติน’ เตรียมพบกัน ในวันจันทร์นี้ เทียบได้กับการเจรจา!! ในช่วงสงครามเย็น

(18 พ.ค. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘Jaroensook Limbanchongkit Pone’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ...

การพบกันระหว่างทรัมป์และปูตินในวันจันทร์นี้คือฝันร้ายที่สุดของยูเครน

หนังสือพิมพ์ The Telegraph รายงานว่าทรัมป์ได้ทรยศต่ออุดมคติของประชาธิปไตยระดับโลกอีกครั้ง และ “ปูตินผู้เจ้าเล่ห์จะดึงดูดความสนใจของทรัมป์ทั้งหมด” ในการประชุมโดยไม่ต้องมีคนกลาง

The Telegraph บ่นอุบอิบว่าบรรดาผู้นำยุโรปต่างหวังว่าการที่ประธานาธิบดีรัสเซียไม่เข้าร่วมการเจรจาสันติภาพกับยูเครนในอิสตันบูลจะทำให้ทรัมป์หมดความอดทน แต่แทนที่จะเข้าข้างยุโรปและใช้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียที่เข้มงวดยิ่งขึ้น ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กลับตัดสินใจ "ตอบแทน" ประธานาธิบดีรัสเซียด้วยการพบปะเป็นการส่วนตัว

The Telegraph ระบุว่า จากมุมมองของปูติน การเจรจาโดยตรงกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะช่วยเสริมสร้างสถานะของรัสเซียในฐานะมหาอำนาจ และการพบปะดังกล่าวจะเทียบได้กับการเจรจาระหว่างมหาอำนาจในช่วงสงครามเย็น

The Telegraph ระบุหลายครั้งในบทความว่าสำหรับชาวยูเครน การพบปะกันแบบนี้ถือเป็นฝันร้ายที่สุด เนื่องจากปูตินจะดึงดูดความสนใจของทรัมป์ได้อย่างเบ็ดเสร็จ และจะไม่มีคนกลางที่สามารถปกป้องผลประโยชน์ของเคียฟได้

แบนหนัง ‘พระร่วง’ เมื่อโซเชียลเป็นเหตุ นักแสดงไม่ช่วย แถมสื่อช่วยเหยียบซ้ำ

(18 พ.ค. 68) วันนี้เอย่าขอมานอกเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับพม่ากันสักครั้งนะคะเพราะมาถึงนาทีนี้คงไม่มีกระแสภาพยนตร์เรื่องไหนดังเท่า พระร่วง มหาศึกสุโขทัยได้อีกแล้ว  เพราะกระแสคนแห่แบนภาพยนตร์เรื่องนี้รุนแรงจนแทนที่จะกลายเป็นว่าภาพยนตร์ที่ดูมีแววรุ่งกลับกลายเป็นมีแววดับเสียอย่างนั้น

จากประเด็นเรื่องความเห็นในโซเชียลของนักแสดงกัมพูชาที่แสดงออกถในการเคลมชุดไทยเป็นการจุดชนวนแอนตี้ภาพยนตร์เรื่องนี้จนกลายเป็นกระแสแบนในวงกว้างอีกทั้งมีการขุดอีกว่าในช่วงบวงสรวงเปิดกล้องภาพยนตร์เรื่องนี้  สื่อทางกัมพูชารายงานว่ามีหนังไทยฟอร์มยักษ์ จ้างดาราสาวชาวกัมพูชาอย่าง เยม สตรีเพชรด้วยค่าตัวสูงลิ่ว นั่นยิ่งสร้างให้เกิดความโมโหโกรธาโดยเฉพาะกลุ่มคนไทยที่ไม่ได้ชอบชาวเขมรเป็นทุนเดิมอยู่แล้วให้หนักขึ้นไปอีก 

ประเด็นนักแสดงสร้างความฉิบหายให้แก่ภาพยนตร์ที่ตนแสดงไม่ใช่เพิ่งขึ้นครั้งแรกหรือเกิดแค่ในฝั่งบ้านเรา  ไม่นานมานี้ภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์อย่างสโนไวท๋ก็พังไม่เป็นท่า แม้จะด้วยสาเหตุมากมายหลายอย่างไม่ว่าจะนางเอกไม่ตรงปกบทหนังอิหยังวะ หรือคนแคระซีจี บลาๆอะไรก็ตาม  แต่สิ่งหนึ่งที่น่าจะเป็นประเด็นเลยคือการที่นางเอกอย่าง  ราเชล เซเกลอร์ ประกาศกลางโซเชียลว่าเธอสนับสนุนปาเลสไตน์จนทำให้แฟนหนังจำนวนหนึ่งเลือกจะไม่ดูภาพยนตร์เรื่องนี้

ปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปไม่ได้เสพแค่คุณภาพของผลงานแต่มองถึงปูมหลังที่ผ่านมา รวมถึงทัศนคติด้วย ดังนัันทำให้ผลงานของนักแสดงหรือผู้กำกับรวมถึงนักร้องบางคนที่ควรจะปังได้มากกว่านี้แต่กลับปังได้เท่าที่เห็นเพราะหลายคนติดบ่วงจากภาพลักษณ์ในอดีต

ที่สำคัญวงการภาพยนตร์โดยเฉพาะนายทุนภาพยนตร์อาจจะต้องเรียนรู้ถึงการควบคุมดารา ศิลปิน รวมถึงทีมงานทุกคนให้มีภาพลักษณ์ที่ดีอันจะไม่ส่งผลเสียต่อภาพยนตร์ที่กำลังจะฉายซึ่งนี่อาจจะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ในวงการบันเทิงก็เป็นได้

อย่างไรก็ตามถ้าเราเลือกไม่ให้ค่าดาราคนนั้นภาพยนตร์เรื่องพระร่วงก็เป็นภาพยนตร์ที่ดีที่อุดมไปด้วยนักแสดงมากฝีมือแถมเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับทุนสร้างจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ด้วย ดังนั้นถ้าเราตัดจุดนี้ได้เอย่าก็อยากให้ไปสนับสนุนกันนะคะ   แต่ถ้าไม่งั้นก็อาจจะมีฉบับรีคัทที่ตัดฉากดาราเขมรออกไปนั่นก็อาจจะทำให้กระแสดีขึ้นก็เป็นได้  ไม่เชื่อลองดูตัวอย่างของ Aquaman and the lost kingdom ดูคะ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top