Tuesday, 6 May 2025
TheStatesTimes

‘มาเลเซีย’ ไม่เคยมีดินแดน หรือพรมแดนทางด้านเหนือ มากกว่าที่มีอยู่ ‘มลายา’ ไม่ได้เป็นประเทศเดียว หรือรัฐที่รวมศูนย์ แต่เป็น กลุ่มรัฐอิสระ 

(5 พ.ค. 68) อ.แพท แสงธรรม ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ...

SODOMIZED NARRATIVE:
คำพูดของมหาเธร์ คือ วาทกรรม กะโหลกกะลา มาเลเซียไม่เคยมีดินแดน หรือพรมแดนทางด้านเหนือมากกว่าที่มีอยู่ และก่อนปี พ.ศ. 2329 ดินแดนที่เป็น มลายา หรือคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน ไม่ได้เป็นประเทศเดียวหรือรัฐที่รวมศูนย์ แต่เป็น กลุ่มรัฐอิสระ ที่มีระบบการปกครองของตนเอง โดยส่วนใหญ่เป็น รัฐสุลต่านมลายู ซึ่งมีความสัมพันธ์กับจักรวรรดิใหญ่โดยรอบ เช่น จักรวรรดิมลายู เมืองมะละกา, อโยธยา, และ จักรวรรดิอิสลามในชวา ดินแดนที่อ้างว่าเสียให้ไทย ตกไปเป็นของอังกฤษ และก็ได้คืนไปแล้ว จึงได้ก่อตั้งประเทศมาเลเชีย เมื่อ 62 ปีก่อน (พ.ศ. 2506) ผู้ที่เป็นเด็กในยุคก่อนนั้น จะรู้จักแต่ มาลายู หรือ มาลายา ไม่มี "มาเลเซีย" 

มหาเธร์ เป็นผู้นำของมาเลเซีย ที่ชาวมาเลเซีย ถือว่ายิ่งใหญ่ นำความเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาประเทศในหลายมิติให้กับมาเลเชีย ไม่ยอมอ่อนข้อให้ใคร ไม่เกรงกลัวอิทธิพลตะวันตก แต่ในการเป็นนายกรัฐมนตรี 2 ครั้ง(ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2525-2539 และครั้งที่สองในปี 2552-2562) ก็มีข้อสงสัยและการต่อต้าน ด้วยพฤติกรรมใช้อำนาจแบบเผด็จการ ปิดปากฝ่ายตรงข้ามและสื่อมวลชน มีกรณีเรื่องคอรัปชั่น และรัฐบาลของเขา เป็นผู้ดำเนินคดีกับนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของมาเลเซีย ด้วยคดีคอรัปชั่นและคดีร่วมเพศทางทวารหนัก (มีเซ็กส์กับผู้ชาย) จนนายอันวาร์ ถูกตัดสินจำคุก 6 ปีในข้อหาคอร์รัปชัน และอีก 9 ปีในข้อหาการร่วมเพศกับบุรุษ 

คำตัดสินในคดีของอันวาร์ได้รับการวิจารณ์อย่างกว้างขวางจากองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและรัฐบาลต่างประเทศ ซึ่งมองว่าการพิจารณาคดีเหล่านั้นมีแรงจูงใจทางการเมือง ในปี 2004 ศาลสูงสุดของมาเลเซียได้ให้คำตัดสินในคดีร่วมเพศกับบุรุษเป็นโมฆะ ส่งผลให้อันวาร์ได้รับการปล่อยตัว แต่เขาถูกตัดสินจำคุกอีกครั้งในข้อหาคล้ายกันในปี 2015 แต่ได้รับการอภัยโทษจากกษัตริย์ในปี 2018 (“ยังก์ดีเปอร์ตวนอากง" Yang di-Pertuan Agong หมุนเวียนจากรัฐต่างๆ ทุก 5 ปี)

ในขณะนั้น ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด (Mahathir Mohamad) เป็นนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย และเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินคดีต่ออันวาร์ แม้ว่ามหาเธร์จะไม่ได้เป็นผู้ยื่นฟ้องโดยตรง แต่เขามีอำนาจในการตัดสินใจทางการเมืองในช่วงเวลานั้น.... อาการฟูมฟายโทษประเทศไทยเรื่องดินแดนที่มีขนาดเท่าที่เห็น อาจจะเกิดจากความโหยหา การร่วมเพศทางประตูหลัง ที่ขาดแคลนมานาน
**

คาบสมุทรมลายู (ซึ่งในอดีตมักเรียกว่า "มลายา") ค่อย ๆ ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 โดยสามารถสรุปเหตุการณ์สำคัญได้ดังนี้

ปี 1786 (พ.ศ. 2329 ตรงกับรัชสมัยของ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1)) – บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษได้รับสิทธิ์ครอบครอง เกาะปีนัง จากสุลต่านแห่งเกอดะฮ์ (ไทรบุรี) นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้ามาของอังกฤษในภูมิภาคนี้

ปี 1819 (พ.ศ. 2362) – เซอร์สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ ก่อตั้ง สิงคโปร์ ขึ้นเป็นศูนย์กลางการค้าแห่งใหม่ของอังกฤษ

ปี 1824 (พ.ศ. 2367) – สนธิสัญญาอังกฤษ–ดัตช์ กำหนดให้พื้นที่คาบสมุทรมลายูอยู่ภายใต้อิทธิพลของอังกฤษ ส่วนดัตช์ (เนเธอร์แลนด์) ได้ครอบครองหมู่เกาะอินโดนีเซียในปัจจุบัน ถือเป็นการแบ่งเขตอิทธิพลอย่างเป็นทางการ

ปี 1826 (พ.ศ. 2369) – อังกฤษจัดตั้งอาณานิคมที่เรียกว่า นิคมช่องแคบ (Straits Settlements) ซึ่งรวมปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ไว้ด้วยกัน

ปี 1874 (2417) – สนธิสัญญาปังโกร์ ทำให้อังกฤษเริ่มเข้ามาแทรกแซงการปกครองภายในของรัฐมลายู โดยเริ่มจากรัฐ เประ ภายใต้ข้ออ้างในการยุติความขัดแย้งภายใน

ปี 1895 (พ.ศ. 2438) – อังกฤษรวมรัฐมลายูบางส่วน (เประ เซอลาโงร์ เนกรีเซมบิลัน และปะหัง) เข้าด้วยกันเป็น สหพันธรัฐมลายู (Federated Malay States) โดยมีข้าหลวงอังกฤษประจำแต่ละรัฐ ปกครองผ่านระบบ “อาณานิคมโดยอ้อม”

ปี 1909 (พ.ศ. 2452 ในรัชสมัยของ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5)) – สนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม โอนรัฐมลายูทางเหนือ ได้แก่ เคดาห์ กลันตัน ปะลิส และตรังกานู จากอิทธิพลของสยามไปอยู่ภายใต้อังกฤษ - รัฐทั้ง 4 รัฐนี้ มีสถานะเป็นรัฐบรรณาการของสยาม มีผู้ปกครองของตนเอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการและยอมรับอำนาจอธิปไตยของสยาม สยามไม่ได้ปกครองรัฐเหล่านี้โดยตรงในลักษณะของอาณานิคม แต่มีอิทธิพลทางการเมืองและวัฒนธรรมในพื้นที่เหล่านี้มาเป็นเวลาหลายศตวรรษ

ภายในปี 1910 (พ.ศ. 2453) - ดินแดนส่วนใหญ่ในคาบสมุทรมลายูก็ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ทั้งทางตรง (เช่น นิคมช่องแคบ) และทางอ้อม (รัฐมลายูต่าง ๆ)

ก่อนปี พ.ศ. 2329 ดินแดนที่เป็น มลายา หรือคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน ไม่ได้เป็นประเทศเดียวหรือรัฐที่รวมศูนย์ แต่เป็น กลุ่มรัฐอิสระ ที่มีระบบการปกครองของตนเอง โดยส่วนใหญ่เป็น รัฐสุลต่านมลายู ซึ่งมีความสัมพันธ์กับจักรวรรดิใหญ่โดยรอบ เช่น จักรวรรดิมลายู เมืองมะละกา, อโยธยา, และ จักรวรรดิอิสลามในชวา

‘ดร.เสรี วงษ์มณฑา’ ตอบโต้คอมเมนต์!! ‘แก่แล้ว ปล่อยวางบ้าง’ ย้ำ!! การวิพากษ์ เสนอแนะ คือหน้าที่ของ ‘สื่อวิเคราะห์’

(5 พ.ค. 68)  ดร.เสรี วงษ์มณฑา  นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร  โพสต์เฟซบุ๊กว่า เราเป็นสื่อประเภทวิเคราะห์ คือเมื่อมีอะไรเกิดขึ้นเป็นข่าว เราจะวิเคราะห์ว่าเรื่องต่างๆมันเป็นเช่นนั้นได้ไง มันจะส่งผลอะไร และเราควรจะทำอะไร

แนวทางการทำงานของเราคือ "แน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด" คืออะไรไม่ดี จะไม่ปล่อยผ่าน ที่ควรตำหนิก็จะตำหนิอย่างสุภาพแล้วเสนอแนะแนวทางในการแก้ไข

เป็นการแสดงทัศนะส่วนตัวประการหนึ่ง หวังจะประเทืองปัญญาเพื่อนร่วมชาติให้ช่วยกันป้องกันประเทศชาติ ไม่ให้ใครทำลาย

วันนี้มีคนมา comment การทำงานของเราว่า "ปล่อยวางบ้างเถอะ แก่แล้ว" เรื่องบ้านเมือง ถ้ามีคนคิดแบบนี้เยอะๆ ประเทศของเราน่าห่วงนะคะ

การปกป้องประเทศด้วยความกตัญญูต่อแผ่นดินเป็นหน้าที่ของทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยนะคะ เห็นสิ่งผิด แล้วนิ่งเฉย ไม่น่าจะถูกต้องนะคะ

ชาวทุ่งหวังเฮ ขอบคุณ ‘เจือ ราชสีห์’ ผลักดันงบ 72 ล้าน ขยายถนน ปรับปรุงผิวจราจร เส้นทางมุ่งสู่ ‘วัดทรายขาว’

(6 พ.ค. 68) นายเจือ ราชสีห์ ที่ปรึกษาของรองนายกรัฐมนตรีและของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย พระครูสังฆรักษ์พิเชษฐ์ จิตตปาโล เจ้าอาวาสวัดทรายขาว พร้อมด้วยนายสัตยา ปล้องใหน่ นายช่างโยธา นายภูริเดช รัตนะ วิศวกร ตัวเเทนจากกรมทางหลวงชนบท และพี่น้องประชาชนในพื้นที่ตำบลทุ่งหวัง ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการ 

พร้อมแจ้งข่าวดีให้พี่น้องชาวตำบลทุ่งหวังได้รับทราบหลังได้รับข่าวดีเกี่ยวกับงบประมาณสนับสนุนโครงการขยายถนนเเละปรับปรุงผิวจราจร ถนนสายทางหลวงชนบทหมายเลข สข.3005 ในช่วงเเยกไฟเเดงวัดทุ่งหวังใน -ผ่านทางหน้าวัดทรายขาว สิ้นสุดการก่อสร้างบริเวณทางขึ้นวัดเขาหลง หมู่6-หมู่8 ตำบลทุ่งหวัง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นระยะทาง 3 กิโลเมตรเเละความกว้างเดิมของถนน 8 เมตร ขยายเป็นความกว้าง 12 เมตร ปรับผิวจราจรพร้อมติดตั้งไฟส่องสว่างตลอดเส้นทาง ด้วยงบประมาณรวม 72 ล้านบาท

โครงการนี้จะช่วยเพิ่มความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาสักการะหลวงปู่ทวด ณ วัดทรายขาว ตำบลทุ่งหวัง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นแหล่งศรัทธาสำคัญของจังหวัด

ความคืบหน้านี้เกิดจากการประสานงานและผลักดันตั้งแต่ต้นโดยนายเจือ ราชสีห์ ในขณะดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งได้ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดจนสามารถผลักดันงบประมาณมาดำเนินการได้สำเร็จ ล่าสุด นายเจือ ราชสีห์ ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามการเตรียมการก่อสร้าง  ได้ดำเนินงานจะเป็นไปตามแผนและสามารถเริ่มได้ในเร็วๆ นี้ เเละผมขอเเสดงความยินดีกับพี่น้องชาวตำบลทุ่งหวังด้วยครับ

‘ดร.อธิป’ เผย!! Jensen Huang ประธานบริษัท NVIDIA ผู้นำด้านชิปประมวลผล ให้ข้อมูลสำคัญ!! ‘จีน’ กำลังไล่ทัน ‘สหรัฐฯ’ ในเทคโนโลยี AI แล้ว

(5 พ.ค. 68) ดร.อธิป อัศวานันท์ นักเขียน อาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยชั้นนำ ผู้ก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพทางอินเทอร์เน็ต ที่ประสบความสำเร็จ ไดโพสต์คลิป โดยมีใจความว่า …

Jensen Huang ประธานบริษัท NVIDIA เพิ่งเปิดเผยว่าจีนกำลังไล่ทันสหรัฐในเทคโนโลยี AI แล้ว!!
ประเทศไทยของเรา โดยเฉพาะบอร์ด AI แห่งชาติ ควรจะเรียนรู้อะไรบ้างจากตรงนี้?

1: การทุ่มงบสนับสนุนสตาร์ทอัพด้าน AI! ... จีนตั้งกองทุนขนาดยักษ์กว่า 4.5 ล้านล้านบาทเพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพด้าน AI โดยเฉพาะ!
แล้วไทยล่ะ? เรายังทำแบบเล็กๆ แค่ร้อยถึงพันล้านบาทเท่านั้น ไม่ต้องเทียบกับจีน เทียบกับเพื่อนบ้านเราก็ยังสู้ไม่ได้
และไม่ใช่แค่ให้เงิน แต่เราต้องสร้างระบบนิเวศที่สมบูรณ์ ตั้งแต่การลดภาษี จัดตั้งเขตนวัตกรรมพิเศษ ดึงผู้เชี่ยวชาญต่างชาติมาร่วมงาน และมี Sandbox ให้ทดลองผลิตภัณฑ์ AI ได้จริง

2: ลงทุนสร้าง "ทุนทางปัญญา"! ... Jensen Huang เน้นย้ำว่า "นักวิจัย AI ราว 50% ของโลกเป็นชาวจีน" และในสหรัฐเองก็มีนักวิจัย AI จีนมากกว่านักวิจัยอเมริกัน!!

นี่คือจุดเปลี่ยนเกม - ทุนมนุษย์สำคัญกว่าเทคโนโลยี!
ไทยต้องมีโครงการทุนการศึกษาระดับแสนคนต่อปีในด้าน AI ตั้งแต่มัธยมถึงปริญญาเอก
มีโครงการดึงคนเก่งกลับประเทศด้วยค่าตอบแทนที่แข่งขันได้จริงๆ
และสร้างสถาบันวิจัยด้าน AI แห่งชาติที่ให้เงินเดือนนักวิจัยแข่งกับบริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่ได้!
และเราต้องปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาทั้ง ระบบให้เน้น AI, Coding และ Data Science ตั้งแต่ประถม เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ที่คิดเป็นระบบ และพร้อมนำ AI ไปใช้ในทุกสาขาอาชีพ!!

3: เล่นเกมระยะยาวไร้เส้นชัย! ... Jensen Huang บอกว่า AI คือ "เกมที่ไม่มีวันจบ" ไม่มีวันที่คนใดคนหนึ่งจะชนะตลอดกาล!
ไทยต้องวางยุทธศาสตร์ AI 20 ปี ที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามรัฐบาล

มีการลงทุนอย่างต่อเนื่องที่ไม่หวังผลเร็ว และมีความอดทนสูง เหมือนที่เกาหลีใต้ทำกับอุตสาหกรรม K-Pop ที่ใช้เวลากว่า 20 ปีกว่าจะประสบความสำเร็จระดับโลก!!

ต้องสร้างวิสัยทัศน์ร่วมของชาติด้าน AI ที่ทุกภาคส่วนเห็นพ้องต้องกัน และยึดมั่นในเป้าหมายระยะยาว แม้จะมีอุปสรรคหรือความล้มเหลวระหว่างทาง
เพราะการพัฒนา AI ไม่ใช่การวิ่ง 100 เมตร แต่เป็นมาราธอนที่ต้องอาศัยความอดทนและการปรับตัวตลอดเวลา!
ถ้าจีนทุ่มงบกว่า 4 ล้านล้านบาทให้สตาร์ทอัพ AI ไทยจะให้แค่พันล้านไม่ได้อีกแล้ว! เราต้องทุ่มงบพัฒนาคนและสตาร์ทอัพแบบจริงจัง!
ถ้าเราไม่เริ่มตอนนี้ เราจะเป็นได้แค่ผู้บริโภคเทคโนโลยี ไม่ใช่ผู้นำด้านนวัตกรรม! และในยุคที่ AI กำลังเปลี่ยนโลก ประเทศที่ไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองได้ จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังอย่างไม่มีทางตามทัน!!

ขอบคุณสำหรับทุกความเห็น และเราจะร่วมกันผลักดันต่อเพื่อประเทศไทยของเราครับ

มิ้นท์ I Roam Alone ประสบอุบัติเหตุร้ายแรง ขณะขี่ม้าท่องเที่ยวในประเทศเนปาล เผย!! อยากกลับไปเที่ยวที่ ‘เทือกเขาหิมาลัย’ อีก แต่ไม่ขอขี่ม้าอีกแล้ว

(5 พ.ค. 68) ทำเอาแฟนคลับใจหายใจคว่ำอีกครั้ง เมื่อนักเดินทางสาวชาวไทยชื่อดัง อย่าง "มิ้นท์ I Roam Alone" ประสบอุบัติเหตุร้ายแรงขณะขี่ม้าท่องเที่ยวในประเทศเนปาล แต่กลับรอดชีวิตมาได้อย่างน่าเหลือเชื่อ พร้อมบาดแผลเพียงเล็กน้อย

เหตุการณ์ระทึกขวัญเกิดขึ้นหลังจากมิ้นท์ขึ้นขี่ม้าได้เพียงไม่นาน ม้าเกิดอาการตื่นตกใจและสะบัดอย่างรุนแรง จนมิ้นท์พลัดตกลงจากหลังม้า เท้าซ้ายของเธอติดอยู่กับที่พักเท้า ทำให้ถูกม้าลากไปกับพื้นขรุขระและเต็มไปด้วยหิน เป็นระยะทางยาวนาน ท่ามกลางความตกใจของผู้ที่เห็นเหตุการณ์ ซึ่งต่างคิดว่าเธอคงไม่รอดชีวิต หรือหากรอดก็คงบาดเจ็บสาหัส

โดย มินท์ ได้โพสต์เล่าเหตุการณ์ระทึก หลังประสบอุบัติเหตุที่เนปาล โดยระบุข้อความว่า …

มิ้นท์ประสบอุบัติเหตุรุนแรงที่เนปาลค่ะ

คนที่เห็นเหตุการณ์ไม่มีใครคิดว่าจะมีชีวิตรอดมาได้ หรือถ้ารอดมาก็ไม่น่าจะเป็นเหมือนเดิม สิ่งที่เกิดขึ้นเร็วมากเลยล่ะ หลังจากขึ้นม้าไปได้ไม่ถึง 2 นาที เพิ่งจะลูบขนม้าเบาๆบอกกับม้าว่า ‘เป็นเด็กดีนะลูก’ ผ่านไปแป๊บเดียวก่อนเข้าทางเดินเล็กๆเลียบผา เจ้าม้าก็ตัดสินใจกระโดดเตะเข้าหน้าเจ้าของ (คนจูง) แล้วก็เตะซ้ำอีกทีที่สะโพกจนเจ้าของล้มลง เขาเลยปล่อยเชือกจูงม้าที่มิ้นท์อยู่บนหลังไป

ม้าที่ตื่นตกใจก็วิ่งๆกระโดดๆไปจนมิ้นท์ตกลงมา แต่ด้วยความที่เรารักสัตว์มาก(มั้ง) เท้าซ้ายเลยตัดสินใจรั้งม้าไว้ติดอยู่กับที่พักเท้าไม่หลุดออกมาด้วย ในขณะที่ม้าพยายามจะไป จะพยายามจะสะบัด สุดท้ายมิ้นท์เลยโดนลากไปกับม้า ตัวฟาดไปฟาดมากับพื้นอยู่นาน ข้างซ้ายหิน ขวาก็หินและเป็นเหวลงไปด้วย คนเห็นร้องไอ้หยา! คิดว่าตายแน่ๆ ดูยังไงก็ไม่รอด มิ้นท์ใช้สติเป็นเครื่องมือ คว้าหางม้าหรือขนก้นม้าไว้ซักอย่าง เกร็งตัวขึ้นมาแล้วเอาขาซ้ายออกมาได้สำเร็จ! แต่ผลก็คือแผ่นหลังสะบักสะบอม ฝุ่นตลบไม่รู้ว่าช้ำในอะไรตรงไหน

ส่วนใบหน้าปลอดภัยเหมือนอยู่คนละเหตุการณ์กัน ไม่มีริ้วรอยใดนอกจากตีนกาเลย

ความควายยังไม่ทันหาย ความกระทิงก็เข้า ประกันภัยพิเศษที่ซื้อมาสำหรับการอพยพโดยเฮลิคอปเตอร์โดยเฉพาะ (ไม่ใช่ของไทยนะคะ) เลือกรอเฮลิคอปเตอร์ที่ ‘ไกลที่สุด’ ของตัวเอง ทำให้กู้ภัยแทบจะกลายเป็นกู้ร่าง กว่าจะถึงหลังคาโรงพยาบาลก็ผ่านไปแล้ว 10 ชั่วโมง 
ไว้จะมาเล่าให้ฟังละเอียดอีกครั้งเพื่อคนอื่นจะได้ไม่เจอเหมือนกันเนอะ

ถึงจะรอเฮลิคอปเตอร์กู้ภัยนานมาก แต่ดวงแข็งเป็นทุนเดิม (จนคิดอยากจะทำของขลังให้คนบูชารุ่น ‘ดีนะที่ไม่ตาย’) ประกอบกับแม่บอกว่า ‘หมอดูบอกว่าแกอายุยืน’ ก็เลยรอดกลับมารักษาตัวที่ไทยได้ 

ทุกคนบอกว่านี่คือปาฏิหาริย์แม้แต่คุณหมอเอง เพราะจริงๆถ้าก้มดูร่างกายตัวเองแล้ว มิ้นท์รอดจากอุบัติเหตุรุนแรงด้วยบาดแผลที่น้อยที่สุดเท่าที่คนคนนึงจะโชคดีได้

ถึงตอนนี้จะยังมีรอยช้ำนิดหน่อย และปวดกล้ามเนื้ออยู่บ้าง แต่ก็ถือว่าโชคดีมากที่ไม่ตายจริงๆ ไว้จะมาคอยอัพเดทเนอะ

อยากกลับไปอีกอาณาจักรที่แสนพิเศษกลางเทือกเขาหิมาลัยแห่งนี้อีก แต่รอบหน้าไม่ม้าแล้ว ฮี่ๆๆๆๆ

สส.ภูเก็ต' ซัดเดือดใส่!! ‘กรณ์’ อดีต รมว.คลัง ไร้วิสัยทัศน์เลอะเทอะ ไม่เข้าใจคนในพื้นที่

(5 พ.ค. 68) นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สส.ภูเก็ต เขต 3 พรรคประชาชน กล่าวตอบโต้กรณีนายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง โพสต์เฟซบุ๊กตำหนิภูเก็ตเมืองโทรมไม่สะอาดรถติดมาก

โดยระบุว่า หลังจาก กรณ์ จาติกวณิช - Korn Chatikavanij โพสท์ในเฟสบุ๊ก ว่า.. ผมไปภูเก็ตมา 2 วัน 1 คืน เป็นครั้งแรกที่กลับไปในรอบ 2 ปี ไปทีไรก็แฮปปี้ ชอบบรรยากาศของที่นี่ เที่ยวนี้ขอยืนยันว่า

1. รถโคตรติด กรุงเทพชิดซ้ายเลย จากสนามบินไปป่าตอง 1 ชม. 20 นาที – ในบ่ายวันหยุด! ทานข้าวเย็นในตัวเมือง ใช้เวลาเดินทางชั่วโมงกว่า (ตอน 3 ทุ่ม!) เพื่อไปที่พักที่ป่าตอง
2. เมืองดูโทรม เส้นทางถนน ทางเดิน ร้านค้าริมทาง ดูโทรมมาก
3. หาดไม่สะอาดเหมือนแต่ก่อน
4. แต่ในแง่โอกาสทางเศรษฐกิจ ไม่มีเมืองไหนในประเทศไทยที่สู้ได้
5. แรงงานบริการเป็นชาวต่างชาติเยอะมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภาษาเขาดีกว่า
6. ชาวรัสเซียมีอิทธิพลกับเศรษฐกิจภูเก็ตมากขึ้นเรื่อยๆ

ผมขอขอบคุณสำหรับคำติชมครับ และทุกปัญหาที่ว่ามา พวกเรา สส.ภูเก็ต รับทราบ และกำลังดำเนินการแก้ไข แต่ด้วยกลไกรัฐบาลที่ไร้ความใส่ใจ การแก้ปัญหาร่วมกันนั้น ทำให้บางปัญหา ไม่ได้รับการแก้ไข ตั้งกระทู้ไป ก็ไม่มาตอบ

และ ผมขอแลกเปลี่ยนประเด็นครับ ว่า หากมีข้อเสนอแนะ ที่เป็นประโยชน์ ก็จะรับไว้เพื่อนำไปปรับปรุง แก้ไข แต่ มีแต่คำติ ผมก็ขอ แสดงความคิดเห็น ในมุมของคนในพื้นที่ครับ ว่า บางส่วนของความคิดเห็น ที่คุณกรณ์ เสนอนั้น ไม่เหมาะสม ในฐานะ อดีตขุนคลัง ไร้ซึ่งวิสัยทัศน์

เช่นเรื่อง ให้เลิกคิด เรื่องรถไฟฟ้า แล้วให้ทำถนนแบบ Overpass และ การเพิ่มโรงพยาบาลเอกชน ที่ราคาไม่โหดเกินไป นั้น เป็นความคิดที่เลอะเทอะ ไม่เข้าใจคนในพื้นที่ 

ประการแรก : ไม่ใช่เพิ่มโรงพยาบาลเอกชน แต่ คือ การยกระดับมาตรฐาน โรงพยาบาลรัฐ ให้มีคุณภาพเทียบเท่าเอกชน ซึ่ง ในอดีตรัฐบาลที่ผ่านๆ มา ก็ไม่เคยคิดที่จะแก้ไข

ประการต่อมา : การสร้างถนนยกระดับ (Overpass) แต่ แม้เรามีถนนยกระดับ สัก 3 ชั้น ก็แก้รถติดไม่ได้ครับ และ หากมีการก่อสร้างจริง ทั้งๆ ที่เราไม่มีการลดปริมาณรถยนต์ส่วนตัวลง จะเกิดปัญหาการจราจรอย่างหนัก เพราะภูเก็ต มีถนนเส้นหลัก เพียงเส้นเดียว อีก 2 เส้น ก็กำลังขยายเลนการจราจร หนึ่งในปัญหารถติด เพราะ เรามีรถยนต์ส่วนตัวมากเกินไป การเพิ่มขนส่งสาธารณะ จึงควรเป็นเรื่องหลักในการแก้ปัญหาการจราจรติดขัด มาห้ามคนภูเก็ต มีรถไฟฟ้านี่ อยากถามครับว่า ไม่อยากเห็นภูเก็ตพัฒนาเป็นเมืองระดับโลก ใช่ไหม ครับ?

ที่สำคัญที่สุด เรื่อง การกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นเรื่องที่คนภูเก็ตเรียกร้อง มาตลอด ต้องไม่ใช่แค่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือ แค่เลือกผู้ว่าฯ ได้เอง แต่หมายรวมถึง การแก้ไข ปรับปรุง กฎหมาย และโครงสร้างการกระจายอำนาจทั้งหมดครับ ไม่งั้น ก็จะเหมือน กรุงเทพ ที่สุดท้ายก็ติดล็อกในข้อกฎหมายอยู่ดี และ เสียดายครับ รัฐบาลที่ผ่านๆมา ชอบพูดสวยหรู เรื่อง กระจายอำนาจ เรื่องภูเก็ตจัดการตนเอง แต่พอมีอำนาจ เรื่องนี้ก็ไม่เคยนำมาแก้ไขให้สำเร็จ ท่าน เคยเป็นอดีตรัฐมนตรี คงเล่าให้ฟังได้ว่า สมัยนั้น ทำไม ไม่ทำ

‘โดนัลด์ ทรัมป์’ สั่งขึ้น!! ภาษีนำเข้าภาพยนตร์ที่สร้างนอกสหรัฐฯ 100% ส่งผลกระทบต่อ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ในออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

(5 พ.ค. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘Jaroensook Limbanchongkit Pone’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า … 

การที่ทรัมป์สั่งขึ้นภาษีนำเข้าภาพยนตร์ที่สร้างนอกสหรัฐฯ 100% สร้างความปั่นป่วนให้กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

นายโทนี่ เบิร์ค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลีย ตอบโต้กลับโดยระบุว่า พวกเขาจะปกป้องอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของตนอย่าง "ชัดเจน"
ด้านนายกรัฐมนตรีคริสโตเฟอร์ ลักซอน ของนิวซีแลนด์ กล่าวว่า พวกเขากำลังรอรายละเอียดอยู่ แต่ไม่ต้องกังวล พวกเขาจะเป็น "แชมป์เปี้ยนที่ยิ่งใหญ่" สำหรับทีมงานภาพยนตร์ของพวกเขา

หมายเหตุ : ประมาณ 20-30% ของภาพยนตร์อเมริกัน โดยเฉพาะภาพยนตร์ที่ใช้งบสูง จะถ่ายทำในต่างประเทศ เพื่อใช้ประโยชน์จากต้นทุนที่ต่ำกว่า แรงจูงใจทางภาษี และสถานที่ถ่ายทำที่หลากหลาย

‘ดร. โสภณ’ โพสต์ติง!! ‘ลิซ่า’ ให้ออกมาขอโทษ ปม!! เต้นท่าหมาร่วมรัก โดนชาวเน็ตจวกหนัก ลุงเป็นไบโพล่าเหรอ ส่องโพสต์ล่าสุด รีบกลับลำอวยเฉย

(5 พ.ค. 68) ประเด็นร้อนแรงของวันนี้ ดร.โสภณ พรโชคชัย นักวิชาการด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่กลายเป็นที่วิจารณ์อย่างหนักในโลกโซเชียล เมื่อเขาโพสต์ข้อความเหน็บแนม "ลิซ่า BLACKPINK" เกี่ยวกับท่าเต้นและการแสดง โดยมีเนื้อหาทำนองตั้งคำถามถึงคุณค่าหรือความเหมาะสมของท่าเต้นที่ลิซ่าแสดงบนเวที ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นการ "เหยียด-ดูแคลน" ศิลปินหญิงไทยที่ประสบความสำเร็จระดับโลก

โดยงานนี้จุดประเด็นดราม่าเริ่มจาก  ดร. โสภณ พรโชคชัย โพสต์ข้อความรัวๆส่งสารถึง สาวลิซ่า หลายโพสต์มาก!!
ยัยดาราอาบน้ำโชว์ยังไม่อุจาดเท่า ลิซ่าเต้นท่าหมาร่วมรัก

ดาราที่เรารัก ถ้าทำไม่เหมาะในที่สาธารณะ ต้องเตือนได้ อย่ายึดตัวบุคคล ต้องยืนยันในหลักการครับ ขอให้ทุกท่านมีสุขสวัสดิ์

ลิซ่าควรออกมาขอโทษสังคม และเลิกเต้นท่าหมาอีกนะครับ 

แม้ว่าล่าสุด ดร.โสภณ  ออกมาโพสต์อวย "ลิซ่า BLACKPINK" โดยระบุข้อความว่า ลิซ่าเป็นคนรุ่นใหม่ ลงทุนในอสังหาฯ เป็นแบบอย่างที่ดีในการลงทุน ไม่ได้โดนหลอกไปซื้อBTC เช่นคนอื่น แต่ดูเหมือนจะไม่ทันแล้ว!! เพราะงานนี้แฟนคลับไม่พอใจอย่างแรงกับข้อความก่อนหน้านี้ที่  ดร.โสภณ โพสต์ถึงศิลปินที่คนไทยรัก

โพสต์ดังกล่าวของ ดร.โสภณ ใช้ภาษาที่ประชดประชันอย่างรุนแรง เช่น เปรียบเทียบท่าเต้นกับสิ่งล่อแหลม หลายคนมองว่าเจตนาเหมือนต้องการ ปั่นกระแสเพื่อให้คนมาแสดงความคิดเห็น หรือสร้างเอ็นเกจเมนต์ (engagement bait) โดยชาวเน็ตและแฟนคลับลิซ่าจำนวนมากมองว่าเป็นการดูถูกผลงานและความสามารถของศิลปินที่ทำให้คนไทยภูมิใจในเวทีโลก มีผู้วิจารณ์ว่าการออกความเห็นในลักษณะนี้ “ไม่เหมาะสม” และสะท้อนทัศนคติที่ล้าหลังต่อผู้หญิงและศิลปะการแสดงสมัยใหม่

อ.วิศวะ ม.เกษตร โพสต์ข้อความ!! สะท้อนปัญหา ในมหาวิทยาลัยยุคปัจจุบัน เผย!! มีงานวิจัยมากมาย มีศาสตราจารย์ท่วมท้น แต่ไม่ผลิตบัณฑิตที่ตอบโจทย์สังคม

(5 พ.ค. 68) รศ.ดร.พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ...

Failed University 
ep2

มหาวิทยาลัยที่ล้มเหลว ไม่ได้แปลว่าตึกพัง
แต่มันคือการเลือกเดินทางผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทั้งที่รู้ตัว
- มุ่งแต่ ranking ที่สะท้อนประโยชน์ของต่างชาติ
- มีงานวิจัยมากมาย
- มีศาสตราจารย์ท่วมท้น
- แต่กลับไม่ผลิตบัณฑิตที่ตอบโจทย์สังคม อย่างเพียงพอ
หน่วยงานนี้ยังถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยหรือไม่
แต่ สิ่งที่ขยันทำที่สุดกลับกลายเป็น...

จัด event และพิธีกรรมแทบทุกเดือน
ทั้งไหว้ครู ครบรอบหน่วยงาน วันมหาลัย วันผ้าไหม วันออกกำลังกาย
(เด็กตกวิชาแกน ไม่มีคนช่วยติว)

ตั้งผู้บริหารเต็มไปหมดเพื่อจัดอีเว้นท์ หรือ เป็นกรรมการเรื่องเฉพาะ
แต่ได้ค่าตอบแทนรายเดือน แล้วใครวัดว่าคุ้ม?

ประกวดคลิป-เพจ-ภาพถ่าย-หนังสั้น
หัวข้อ “มหาวิทยาลัยในฝัน” (ทั้งที่ชีวิตจริงไม่ฝันขนาดนั้น)
ทำโปสเตอร์เยี่ยม วิดีโอ 4K ทุกกิจกรรม
แต่รูปส่วนใหญ่มีแค่ผู้บริหารถ่ายเป็นแผง
เสียงบรรยาย “มุ่งสู่ความเป็นเลิศ”
แต่อาจารย์ต้องซื้อคอมพิวเตอร์เอง

ขยันเซ็น MOU ทั่วโลก
แต่ในคณะตัวเองยังไม่รู้จะทำงานร่วมกันเรื่องอะไร

โฆษณาจุดเด่นเฉพาะทาง Niche ที่ไม่มีใครสนใจ
(และไม่มีอาจารย์ประจำอยู่จริง)

เน้นเชิญคนดังมาพูดสร้างแรงบันดาลใจ
แต่เคยฟังคนในองค์กรดัง ๆ มาเล่าเรื่องของเขาบ้างไหม?
แทนที่จะสร้างแรงบันดาลใจจากการสอนที่ดีจริง ๆ

ประชุมตัวชี้วัดละเอียดจนเหนื่อย
ยุ่งยาก วุ่นวาย แต่สุดท้ายก็ “ทำให้ผ่าน”
บ่นไปก็ไม่มีใครฟัง เพราะรู้อยู่แล้วว่า “ยังไงก็ผ่าน”

พาผู้บริหารไปสร้างเครือข่าย
บินต่างประเทศ กินข้าว ถ่ายรูป
แล้วคอยตอนเขาเรียกเข้าทีมบริหาร

จัดของขวัญ กิจกรรมสร้างความสุข
แจกเสื้อ เลี้ยงปีใหม่ เอาเรื่องที่ควรทำ
มาใช้เป็น favor ให้คนที่อาจต้อง "โหวต" เร็ว ๆ นี้

ถ่ายภาพมอบโล่ ยืนยิ้ม ยกนิ้ว ให้สิทธิประโยชน์
โดยเฉพาะช่วงเตรียมเลื่อนตำแหน่ง หรือขอทุนรอบใหม่

ทั้งหมดนี้...

ขยันกันมาก — มากกว่าสอนหนังสือ มากกว่าสร้างคน
และไม่เคยสนใจ “โครงสร้าง” ที่ทำให้ระบบดีขึ้นจริง

คำถามคือ...
มหาวิทยาลัยของคุณ เป็นแบบนี้หรือเปล่า?
แล้วเราจะทำอะไรกับมันดี?

ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามความคิดเห็นของผมครับ
อย่างน้อยมันทำให้ผมรู้ว่า… “ความหวังของสังคมยังมีอยู่”
แต่อาจต้องมีใครบางคนเริ่มพูด และเริ่มจัดการกับสิ่งที่ควรเปลี่ยนแปลง
สิ่งที่เขียนทั้งหมดนี้ เป็นเพียงการพูดจากประสบการณ์ส่วนตัว
และการสังเกตภาพรวมเท่าที่มองเห็น ไม่ได้พาดพิงมหาวิทยาลัยใดโดยเฉพาะ
ผมเขียนเพราะอยากชวนให้สังคมหันกลับมามองภาพรวม
ตั้งคำถามกับสิ่งที่เคยชิน
และกล้าคิดร่วมกันว่า เราจะแก้ไขมันอย่างไร

สุดท้าย…
ผู้อ่านต่างหากที่เป็นคนตัดสินว่า สิ่งที่เห็นอยู่รอบตัว
มัน “ใช่” หรือ “ไม่ใช่”

‘โดนัลด์ ทรัมป์’ สั่งเปิด ‘คุกอัลคาทราซ’ อีกครั้ง หลังปิดไป 60 ปี เตรียม!! ขังอาชญากรโหด

(5 พ.ค. 68) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ เผยว่า ได้สั่งการให้รัฐบาลเปิดและต่อเติมอัลคาทราซ อดีตเรือนจำชื่อกระฉ่อน ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะนอกชายฝั่งซานฟรานซิสโก ที่ปิดมานานกว่า 60 ปีอีกครั้ง

ทรัมป์ระบุผ่านโพสต์บนทรูธ โซเชียล (Truth Social) ว่า "นานเกินไปแล้วที่อเมริกาเต็มไปด้วยอาชญากรที่โหดร้าย รุนแรง และกระทำผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า พวกเดนสังคมที่ไม่เคยทำอะไรนอกจากสร้างความเจ็บปวดและทุกข์ยาก เมื่อก่อนตอนที่เราเป็นชาติที่จริงจังกว่านี้ เราไม่เคยลังเลที่จะกักขังอาชญากรอันตรายเหล่านี้และกีดกันให้พวกเขาออกจากใครก็ตามที่เขาจะทำร้ายได้ นั่นคือสิ่งที่ควรจะเป็น นั่นคือเหตุผลว่าทำไม วันนี้ผมจึงได้สั่งการให้กรมราชทัณฑ์ ร่วมกับกระทรวงยุติธรรม เอฟบีไอ (FBI) และกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ เปิดเรือนจำอัลคาทราซ ที่ได้รับการต่อขยายและบูรณะขึ้นมาใหม่เกือบทั้งหมด เพื่อใช้คุมขังผู้กระทำความผิดที่โหดเหี้ยมและรุนแรงที่สุดในอเมริกา"

โดยคำสั่งดังกล่าวของทรัมป์ถือเป็นความพยายามล่าสุดในการยกเครื่องวิธีการและสถานที่คุมขังนักโทษของรัฐบาลกลางและผู้ต้องขังในคดีตรวจคนเข้าเมือง แต่การดำเนินการดังกล่าวน่าจะมีความยากลำบากและค่าใช้จ่ายที่สูงจากโครงสร้างพื้นฐานที่ทรุดโทรมและต้นทุนในการซ่อมแซมและจัดหาสิ่งของต่างๆที่สูง เนื่องจากต้องขนทุกอย่างตั้งแต่เชื้อเพลิงไปจนถึงอาหารมาทางเรือ

ทั้งนี้ เรือนจำอัลคาทราซแห่งนี้ปิดตัวลงตั้งแต่ปี 2506 และได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top