Monday, 5 May 2025
TheStatesTimes

รมว.คลังสหรัฐฯ แนะประเทศทั่วโลก ‘อย่าตอบโต้ นั่งนิ่งๆ และยอมรับมัน’ เพื่อป้องกันการยกระดับความขัดแย้ง หลังทรัมป์ประกาศมาตรการภาษีใหม่

(3 เม.ย. 68) สก็อตต์ เบสเซนต์ (Scott Bessent) รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้แสดงความเห็นในระหว่างการประชุมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศว่า ประเทศต่างๆ ควรหลีกเลี่ยงการตอบโต้มาตรการภาษีที่ประกาศโดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งได้กำหนดภาษีพื้นฐาน 10% สำหรับสินค้านำเข้าจากทั่วโลก เพื่อป้องกันการยกระดับความขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศ

เบสเซนต์กล่าวว่า “คำแนะนำของผมสำหรับทุกประเทศในตอนนี้คืออย่าตอบโต้ นั่งนิ่งๆ ยอมรับมัน แล้วมาดูกันว่ามันจะเป็นอย่างไร เพราะถ้าคุณตอบโต้ สถานการณ์จะยิ่งเลวร้ายลง” โดยเบสเซนต์กล่าวในการสัมภาษณ์ในรายการ Special Report ไม่นานหลังจากการประกาศดังกล่าว 

ในระหว่างการประชุม เบสเซนต์เน้นย้ำว่า การตอบโต้ภาษีของทรัมป์อาจไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายต่อการค้าระหว่างประเทศ แต่ยังส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระยะยาว ทำให้เศรษฐกิจโลกเผชิญกับความไม่แน่นอนสูง “ถ้าคุณไม่ตอบโต้ นี่คือจุดสูงสุด” 

ก่อนหน้านี้ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ประกาศมาตรการภาษีใหม่เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ และลดการขาดดุลทางการค้ากับประเทศต่างๆ ซึ่งทำให้หลายประเทศตั้งคำถามเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และบางประเทศได้แสดงท่าทีที่ต้องการตอบโต้

ขณะที่สหรัฐฯ ยังคงยืนยันในความจำเป็นของมาตรการดังกล่าว เบสเซนต์เตือนว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอาจยืดเยื้อและขยายวงกว้าง หากไม่มีการเจรจาและหาทางออกที่สมดุลและยุติธรรมต่อทุกฝ่าย

นอกจากนี้ เบสเซนต์กล่าวกับเบร็ต ไบเออร์ หัวหน้าผู้ประกาศข่าวสายการเมืองของ Fox News ว่าเป้าหมายของการเก็บภาษีศุลกากรคือการสร้างรากฐานสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว “เรากำลังกลับสู่วิถีทางที่ดี” เขากล่าว โดยโจมตีรัฐบาลของไบเดนเรื่องการใช้จ่ายรัฐบาลที่ “มหาศาล” 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวเสริมว่า รัฐสภากำลังดำเนินการเพื่อให้ผ่านร่างกฎหมายภาษี เนื่องจากฝ่ายบริหารกำลังพยายามทำให้ การลดหย่อนภาษีของทรัมป์ในปี 2017 เป็นแบบถาวร

“ยิ่งเราสามารถได้รับความแน่นอนเรื่องภาษีได้เร็วเท่าไหร่ เราก็สามารถเตรียมการสำหรับการกลับมาเติบโตได้เร็วเท่านั้น” เบสเซนต์กล่าว

เปิดชื่อ ‘189 อดีตสว.’ แถลงต้านรัฐบาลดัน ‘กม.กาสิโน’ พร้อมกาง 6 ข้อเตือน ชี้! ไม้ขีดก้านเดียวทำไฟไหม้บ้านพินาศได้

เปิดชื่อ"189 อดีตสว." แถลงต้านรัฐบาลดัน "กม.กาสิโน" กาง 6 ข้อเตือน! ไม้ขีดก้านเดียวทำไฟไหม้บ้านพินาศ
(3 เม.ย. 68) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มอดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) จำนวน 189 คน ออกแถลงการณ์กรณีที่รัฐบาลเร่งรีบบรรจุวาระร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยระบุว่า

คำแถลงของอดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) เรียนประธานรัฐสภา หัวหน้าพรรคการเมือง และพี่น้องประชาชนไทย เรื่องคัดค้านร่าง พ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจร และร่างกฎหมายการพนันออนไลน์ มีเนื้อหาดังนี้

ข้าพเจ้า อดีตสมาชิกวุฒิสภา ตามรายชื่อที่ปรากฏข้างท้ายนี้ ขอแถลงว่า ในฐานะประชาชนที่มีความห่วงใยประเทศชาติ และในฐานะผู้เคยทำหน้าที่นิติบัญญัติแห่งรัฐสภา มีความเห็นร่วมกันว่าร่างกฎหมายสถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex) และร่างกฎหมายการพนันออนไลน์ ที่จะนำเข้าสู่การรับรองของสภาผู้แทนราษฎร ในระยะใกล้นี้ จะเป็นหายนะภัยอย่างยิ่งต่อประเทศชาติ ประชาชน และต่ออนาคตของลูกหลานคนไทยทั้งปวง เราขอแสดงทัศนะ ดังนี้

1.กาสิโนและการพนัน ไม่ใช่นโยบายที่พรรคร่วมรัฐบาลเคยประกาศรณรงค์ ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา แต่เป็นโครงการงอกขึ้นมาใหม่แบบผิดปกติ ซึ่งรัฐบาลกลับเห็นเป็นเรื่องเร่งด่วนและสำคัญ โดยจะเร่งนำเข้าสู่การประชุมสภาผู้แทนราษฎรให้ทันก่อนปิดสมัยการประชุมสภา ในวันที่ 10 เมษายน 2568 ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องรอได้ เมื่อเทียบกับปรากฏการณ์แผ่นดินไหว เมื่อ 28 มีนาคม 2568 ที่ประชาชนทั้งประเทศตระหนกตกใจ และเรียกหามาตรการป้องกันภัยพิบัติในอนาคตอย่างเร่งด่วน แต่กลับไม่ได้รับความใส่ใจจากรัฐบาล

2.ข้ออ้างของรัฐบาล เรื่องจะใช้พื้นที่สำหรับกาสิโนเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ถือว่าไม่มีเหตุผลเพียงพอ เพราะกาสิโนมีฤทธิ์แรงร้ายที่ทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง ไม้ขีดก้านเดียวทำให้ไฟไหม้บ้านพินาศทั้งหลังได้ การพนันออนไลน์ไม่ต้องมีพื้นที่ทางกายภาพแม้เพียงตารางนิ้วเดียว แต่ทำให้เหยื่อสิ้นเนื้อประดาตัวได้ เชื้อมะเร็งที่ปอดขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว แต่ก็ลุกลามทำลายร่างกายให้เจ็บและเสียชีวิตได้ พื้นที่มากน้อยจึงไม่สำคัญเท่าพิษสงของการพนัน
3.อำนาจการพิจารณาอนุญาตและการบริหารจัดการในรายละเอียด เช่น การกำหนดพื้นที่และสัดส่วน หลักเกณฑ์การควบคุมป้องกันอบายมุขอื่นๆ การเก็บภาษี การยกเลิกกฎหมายและกฎระเบียบ ค่าธรรมเนียมในอนาคต การตรวจสอบถ่วงดุล ฯลฯ เหมือนโอนลอยอำนาจไปอยู่ในมือของคณะกรรมการนโยบายที่เปิดทาง และเอื้อประโยชน์ให้กับผู้มีอำนาจ ทุจริตได้อย่างไร้ขอบเขตทำให้ไม่สามารถวางใจได้ว่าโครงการจะดำเนินไปอย่างโปร่งใสสุจริต มาตรฐานการป้องกันและตรวจสอบการทุจริตของไทยนั้น ไม่อาจเทียบได้เลยกับสิงคโปร์ ดังที่รับทราบกันโดยทั่วไปอยู่แล้ว

4.โครงการการพนันครบวงจรตามกฎหมายสองฉบับนี้ ไม่สามารถสร้างเม็ดเงินทางเศรษฐกิจได้จริงตามที่กล่าวอ้างสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ศสช.) ชี้ไว้แล้วว่า การพนันไม่ได้มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของ GDP เพราะปราศจากการผลิตใดๆ เป็นเพียงการย้ายเงินจากมือคนหนึ่งไปสู่มืออีกคนหนึ่งเท่านั้น การพนันจึงเป็นกิจกรรมเสี่ยง ที่สร้างนักพนันเสพติด ทำให้คนเล่นหรือเหยื่อหมดเนื้อหมดตัว มีแต่เจ้ามือที่ร่ำรวย ใครเล่นได้ก็เล่นซ้ำ เพราะอยากได้เพิ่ม คนเล่นเสียก็เล่นซ้ำเพราะต้องการ ทวงคืนไม่มีนักพนันคนไหนมั่งคั่งขึ้นมาจากการพนัน ตรงกันข้ามกลับต้องเป็นหนี้ ต้องขายทรัพย์สิน แม้แต่ต้องฆ่าตัวตายเพื่อหนีหนี้

5.แหล่งกาสิโนและการพนันออนไลน์ คือ ที่รวมของการฉ้อฉลคดโกงทั้งปวง เช่น คอลเซนเตอร์ นักหลอกลวงให้ลงทุน (Scammer)  อาชญากรข้ามชาติ ยาเสพติด ค้ามนุษย์ ค้าประเวณี โจร นักตีชิงวิ่งราว และเป็นแหล่งเพาะอบายมุขทั้งปวง ที่ชุมนุมกันอยู่ตามบ่อนชายแดนให้รู้เห็น กันโดยทั่วไป แล้วถึงขั้น รัฐบาลต้องตัดไฟ ตัดการสื่อสาร ตัดการส่งพลังงาน แล้วเหตุใดรัฐบาลยังไม่ตระหนักถึงมหันตภัยเหล่านี้

6.กาสิโนไม่ได้ทำให้ประเทศร่ำรวยจริงตามคำโฆษณาของรัฐบาล ฟิลิปปินส์มีกาสิโน 50 แห่ง นับตั้งแต่ 50 ปีก่อน อีก 3 ประเทศ เริ่มมีกาสิโนตั้งแต่ 30 ปีก่อน คือ เมียนมามี 230 แห่ง ลาวมี 2 แห่ง กัมพูชามี 150 แห่ง ถ้ากาสิโนทำให้ประเทศมั่งคั่งขึ้นมาจริง ผู้คนในประเทศเพื่อนบ้านนับแสนนับล้านคน ทำไมต้องอพยพมาทำงานในประเทศไทย นักพนันมีแต่อนาคตที่จะวิบัติสถานเดียว ดังที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อ 100 กว่าปีล่วงมาแล้ว ว่า "ข้อที่เข้าใจกันว่าเล่นไม่สนุกนั้นไม่จริงเลย สนุกยิ่งกว่าอะไรๆ หมด ถ้าชาวบางกอกรู้ ได้ไปเล่นแล้ว ฉิบหายกันไม่เหลือ ถ้าหากไปถึงเมืองเราเข้าเมื่อไร จะรอช้าสักวันเดียวก็ไม่ควร ต้องห้ามทันที"

ถ้ารัฐบาลเห็นว่า คนไทยทั้งประเทศสมควรตกเป็นทาสการพนัน ที่จะเสียไร่ เสียนา เสียรถ เสียทรัพย์สิน ครอบครัวพินาศ สังคมเสื่อมทราม ก็จงเดินหน้าต่อไป แต่ถ้ารัฐบาลตระหนักถึงบาปบุญ คุณโทษ ที่คนรุ่นหลังจะต้องเผชิญกับมรดกบาปของแผ่นดิน ก็จงน้อมรับพระราชปณิธานของพระพุทธเจ้าหลวงใส่เกล้าใส่กระหม่อมฯ ด้วยการถอนกฎหมาย ทั้ง 2 ฉบับ ออกไปโดยเร็วเถิด

ด้วยจิตคารวะและปรารถนาดี ลงชื่อ :

1. พล ต.อ.ประทิน สันติประภพ (สว.2543)
2. รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง (สว.2543)
3. พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ (สว.2543)
4. สมชาย แสวงการ (สว.2551,2554,2562)
5. รศ.แก้วสรร อติโพธิ (สว.2543)
6. ขวัญสรวง อติโพธิ (สว.2549)
7. ประสาร มฤคพิทักษ์ (สว.2551,2554)
8. พิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ (สว.2551,2562)
9. มาลีรัตน์ แก้วก่า (สว.2543)
10.นพ.พลเดช ปิ่นประทีป (สว.2562)

11.สมชาย เสียงหลาย (สว.2562)
12.ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม (สว.2562)
13.วัลลภ ตังคณานุรักษ์ (สว.2539,2543,2562)
14.คุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ (สว.2562)
15.วรารัตน์ อติแพทย์ (สว.2562)
16.นส. รสนา โตสิตระกูล (สว.2549,2551)
17.พลเอก วลิต โรจนภักดี (สว.2562)
18.สุนี  จึงวิโรจน์ (สว.2562)
19.พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ (สว.2562)
20.จินตนา ชัยยวรรณาการ (สว.2562)

21.กำพล เลิศเกียรติดำรงค์ (สว.2562)
22.รณวฤทธิ์ ปริยฉัตรตระกูล (สว.2562)
23.รศ ดร.ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร (สว.2562)
24.พลเอก มารุต ปัชโชตะสิงห์ (สว.2562)
25.ผศ ดร. สมเกียรติ อ่อนวิมล (สว.2543)
26.รศ พญ พรพันธุ์ บุญรัตพันธุ์ (สว.2551,2554)
27. พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร (สว.2562)*
28. พิไลพรรณ สมบัติศิริ (สว.2554)
29.วิชัย ทิตตภักดี (สว.2562)
30.กอบกุล อาภากรณ์ ณ อยุธยา (สว.2562)

31.กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ (สว.2562)
32.ประดิษฐ์ เหลืองอร่าม (สว.2562)
33.คำนูณ สิทธิสมาน (สว.2551, 2554, 2562)
34.จิรชัย มูลทองโร่ย (สว.2562)
35.นพ.ทวีวงษ์ จุลกมนตรี (สว.2562)
36.พิชัย ขำเพชร (สว.2543)
37.วีระพล วัชรประทีป (สว.2543)
38.จัตุรงค์ เสริมสุข (สว.2562)
39.ศ.พิเศษ กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ (สว.2562)
40.หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล (สว.2562)

41.จรินทร์ จักกะพาก (สว.2562)
42.ทพ. อนุศักดิ์ คงมาลัย (สว.2551,2562)
43.ประพันธ์ คูณมี (สว.2562)
44.อภิรดี ตันตราภรณ์ (สว.2562)
45.บรรชา พงศ์อายุกูร (สว.2551,2562)
46.อนุมัติ อาหมัด (สว.2562)
47.เพ็ญพักตร์ ศรีทอง (สว.2562)
48.อำพล จินดาวัฒนะ (สว.2562)
49.ถาวร เทพวิมลเพชรกุล) (สว.2562)
50.จเด็จ อินสว่าง (สว.2562)

51.พลเอก สราวุฒิ ชลออยู่ (สว.2562)
52.วงศ์สยาม เพ็งพานิชภักดี (สว.2562)
53.มหรรณพ เดชวิทักษ์ (สว.2554,2562)
54.เสรี สุวรรณภานนท์ (สว.2562)
55.วิทวัส บุญญสถิตย์ (สว.2551,2554)
56.มีชัย วีระไวทยะ (สว.2543)
57.พล ต.ต.วีระ อนันตกูล (สว.2543)
58.ถาวร เกียรติไชยากร (สว.2543)
59. สุวัฒน์ จิราพันธุ์ (สว.2562)
60.ชาญวิทย์ ผลชีวิน (สว.2562)

61.พลเอก จีระศักดิ์ ชมประสพ (สว.2562)
62.ศ.พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย (สว.2562)*
63.ถวิล เปลี่ยนศรี (สว.2562)
64.จารุพงศ์ จีนาพันธ์ (สว.2554)
65.พล.ต.อ. ชัชวาลย์ สุขสมจิตร (สว.2562)
66. พลเอก สมเจตน์ บุญถนอม (สว.2554,2562)
67. รศ ดร. ทัศนา บุญทอง (สว.2551 /2554)*
68.พลเอก สำเริง ศิวาดำรงค์ (สว.2562)
69.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ (สว.2562)
70.พลเอก ธีรเดช มีเพียร (สว.2522,2554,2562)*

71.วิทยา ผิวผ่อง (สว.2562)
72.นพ. เจตน์ ศิรธรานนท์  (สว.2551,2554,2562)
73. สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย (สว.2551,2554,2562)*
74. ยงยุทธ สาระสมบัติ (สว.2539, 2562)
75. ดวงพร รอดพยาธิ์ (สว.2562)
76.ร.อ.ประยุทธ เสาวคนธ์ (สว.2562)
77. กีรณา สุมาวงศ์ (สว.2539,2551,2554)
78.พล.อ.ศุภรัตน์ พัฒนาวิสุทธิ์ (สว.2562)
79.พล.ต.ท.วิบูลย์ บางท่าไม้ (สว.2562)
80.ตวง อันทะไชย (สว.2551,2554,2562)

81. ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร (สว.2562) 
82.เตือนใจ ดีเทศน์ (สว.2543)
83.พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ (สว 2562)
84.พล.อ.อ.สุจินต์ แช่มช้อย (สว.2562)
85.สำราญ ครรชิต (สว.2562)
86.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ (สว.2562)
87.สมชาย ชาญณรงค์กุล (สว.2562)
88.ชลิต แก้วจินดา (สว.2562)
89 เชิดศักดิ์ จำปาเทศ (สว.2562)
90.ศรีศักดิ์ วัฒนพรมงคล (สว.2562)

91.บุญมี สุระโคตร (สว.2562)
92.ประยูร เหล่าสายเชื้อ (สว.2562)
93.พล.อ.ชูศักดิ์ เมฆสุวรรณ์ (สว.2562)
94. ธานี สุโชดายน (สว.2562)
95.ณรงค์ รัตนานุกูล (สว.2562)
96.พล.ร.ท.สนธยา น้อยฉายา (สว.2562)
97.สุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ (สว.2562)
98. ปรีชา บัววิรัตน์เลิศ (สว.2562)
99.พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ (สว.2562)
100.ถาวร ลีนุตพงษ์ (สว.2551/2554)

101.พลเอก อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ (สว.2562)
102.พลโท อำพน ชูประทุม (สว.2562)
103.พลเอก วสันต์ สุริยมงคล (สว.2562)
104.ศ.นพ.วิรัติ พาณิชย์พงษ์ (สว.2551,2554)
105.พลเอก ประสาท สุขเกษตร (สว.2562)
106.ถนัด มานะพันธุ์นิยม (สว.2562)
107.ดุสิต เขมะศักดิ์ชัย (สว.2562)
108.พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ (สว.2562)
109.รศ.ดร ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ (สว.2562)
110.พล.อ.อ.อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ (สว.2562)
111.พลเอก วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล (สว.2562)
112.สมพล พันธุ์มณี (สว.2554)
113.มรว.ปรียนันทนา รังสิต (สว.2551)
114.กิตติ วสีนนท์ (สว.2562)
115.พลเอก ปฐมพงศ์ ประถมภัฏ (สว.2562)
116.เฉลียว เกาะแก้ว (สว.2562)
117.พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร (สว.2562)
118.พลอากาศเอก วีรวิท คงศักด์ ( สว.2551,2554)
119.ลักษณ์ วจนานวัช (สว.2562) 
120.พลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป (สว.2562)

121.พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ (สว.2554,2562)
122.วีระศักดิ์ ภูครองหิน (สว.2562)
123.ดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์ (สว 2562)     
124.พล.ร.อ.อิทธิคมน์ ภมรสูต (สว.2562)
125.ปิยะพันธ์ นิมมานเหมินทร์ (สว.2554,2562)
126.เชิดศักดิ์ สันติวรวุฒิ (สว.2562)
127.พิเชต สุนทรพิพิธ (สว.2551,2554)
128.ณรงค์ อ่อนสะอาด (สว.2562)
129.พล.อ.สุนทร ขำคมกุล (สว.2562)
130.สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ (สว.2562)

131.พลเอก ธงชัย สาระสุข (สว.2562)
132.พลเอก ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข (สว.2562)
133.พลเอก ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ (สว.2562)
134.นิอาแซ ซีอุเซ็ง (สว.2562)
135.ภาณุ อุทัยรัตน์ (สว.2562)
136.วิรัตน์ เกสสมบูรณ์ (สว.2562)
137.พลเรือเอก ชัยวัฒน์ เอี่ยมสมุทร (สว.2562)
138.พลเอก สสิน ทองภักดี (สว.2562)
139.พล.อ.อาชาไนย ศรีสุข (สว.2562)
140.พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง (สว.2562)

141.ดร.ภาณุวัฒน์ พันธุ์วิชาติกุล (สว.2562)
142.พล.อ.นิวัตร มีนะโยธิน (สว.2562)
143.พล.อ.อักษรา เกิดผล (สว.2562)
144.สมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ (สว.2562)
145.พลเอก พล.อ.ชาตอุดม ติตถะสิริ (สว.2562)
146.พลเอก ทวีป เนตรนิยม (สว.2562)
147.พิศาล มาณวพัฒน์ (สว.2562) 
148.พลตำรวจโท พิสัณห์ จุลดิลก (สว.2562)
149.สมบูรณ์ ทองบุราณ (สว.2543)
150.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ (สว.2562)

151.พล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ (สว.2562) 
152.พล.ร.อ.กฐนิธ กิตติอำพน (สว.2562)
153.เพิ่มพงษ์ เชาวลิต (สว.2562)
154.พล.ร.อ.พัลลภ ตมิสานนท์ (สว.2562)
155.ศ.เกียรติคุณ ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ (สว.2562)
156.รศ.นรีวรรณ จินตกานนท์ (สว.2554)
157.ไพโรจน์ พ่วงทอง (สว.2562)               
158.พล.อ.วินัย สร้างสุขดี (สว.2562)
159.นพ.เฉลิมชัย เครืองาม (สว.2554/2562)
160.พล.อ.ดนัย มีชูเวท (สว2562)

161.นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ (สว.2562)
163.พล.อ.เกษมศักดิ์ ปลูกสวัสดิ์ (สว.2551)
164.พล.อ.สมหมาย เกาฏีระ (สว.2562 )
165.พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ (สว.2562)
166.นายอุดม  วรัญญูรัฐ (สว.2562)
167.พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร (สว.2543)*
168.พล.ต.โอสถ ภาวิไล (สว.2562)
169.พล.อ.บุญธรรม โอริส (สว.2562)
170.อนุศาสน์ สุวรรณมงคล (สว.2551,2554,2562)

171.พล.ต.อ.สุนทร ซ้ายขวัญ (อดีต สว.2551)
172.วรวิทย์ วงษ์สุวรรณ (สว.2551)
173.พล.ต.ท.สานิตย์ มหถาวร (สว.2562)
174.นายประมาณ สว่างญาติ (สว.2562)
175.พล.อ.สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล (สว.2562)
176.พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร (สว.2562)
177.นายอมร นิลเปรม (สว.42,สว.62)
178.ดิเรก ถึงฝั่ง (สว.2551)
179.บุญชัย โชควัฒนา (สว.2551,2554)
180.สุโข วุฑฒิโชติ (สว.2551)

181.เกียว แก้วสุทอ (สว.012 , 2562)
182.ปัญญา งานเลิศ (สว.2562)
183.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (สว.2562)
184.สุมล สุตะวิริยวัฒน์ (สว.2551)
185.สงคราม ชื่นภิบาล (สว.2551)
186.ประดิษฐ์ ตันวัฒนะพงษ์ (สว.2551)
187.พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย (สว.2562)
188.ทรงเดช เสมอคำ (สว.2562)
189.พล.ร.อ.นพดล โชคระดา (สว.2562)

ทั้งนี้ แถลงการณ์ของอดีต สว.ดังกล่าว มี 3 อดีตประธานวุฒิสภา 3 คน ร่วมลงชื่อ คือ พลตรีมนูญกฤต รูปขจร อดีตประธานวุฒิสภา ชุด 2543 , พลเอกธีรเดช มีเพียร อดีตประธานวุฒิสภา ชุด 2554 และ ศ.พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย อดีตประธานวุฒิสภาชุด 2562
และอดีตรองประธานวุฒิสภา 3 คน ร่วมลงชื่อ คือ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย อดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 สมัย 2554 , รศ.ดร.ทัศนา บุญทอง อดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 สมัย 2551 และ พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร อดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 สมัย 2562

นอกจากนี้ ยังมีอดีต สว.2539 ร่วมลงชื่อ อาทิ วัลลภ ตังคณานุรักษ์ , กีรณา สุมาวงศ์

อดีต สว.2543 ร่วมลงชื่อ อาทิ พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล เตือนใจ ดีเทศน์ รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง แก้วสรร อติโพธิ มาลีรัตน์ แก้วก่า มีชัย วีระไวทยะ พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ พล.ต.ต.วีระ อนันตกูล ถาวร เกียรติไชยากร พิชัย ขำเพชร วีระพล วัชรประทีป เสรี สุวรรณภานนท์

อดีต สว.2549 อาทิ รสนา โตสิตระกูล ขวัญสรวงค์ อติโพธิ

อดีต สว.2551 มีทั้งเลือกตั้งและสรรหาร่วมลงชื่อ อาทิ สมชาย แสวงการ ประสาร มฤคพิทักษ์ รศ.พญ.พรพันธุ์ บุญรัตพันธุ์ พิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ดิเรก ถึงฝั่ง สุขโข วุฒิโชติ บุญชัย โชควัฒนา พล.ต.อ.สุนทร ซ้ายขวัญ มรว.ปรียนันทนา รังสิต สงคราม ชื่นภิบาล พิเชต สุนทรพิพิธภัณฑ์ อนุศาสน์ สุวรรณมงคล ตวง อันทะไชย คำนูณ สิทธิสมาน พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ ศ.นพ.วิรัติ พาณิชย์พงษ์

อดีต สว.2554 ร่วมลงชื่อ อาทิ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ พิไลพรรณ สมบัติศิริ สมพล พันธ์มณี ถาวร ลีนุตพงษ์ พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ นพ.เฉลิมชัย เครืองาม วิทวัส บุญญสถิตย์

อดีต สว.2562 ร่วมลงชื่อจำนวนมาก อาทิ คุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ หม่อมหลวง ปนัดดา ดิศกุล พล.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย พล.ร.อ.ฐนิต กิตติอำพนธ์ พล.อ.สมหมาย เกาฏีระ พล.อ.สุรพงศ์ สุวรรณอัตถ์ พล.อ.วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร พล.ต.ท.วิบูลย์ บางท่าไม้ พล.ต.ท.สานิตย์ มหถาวร นพ.พลเดช ปิ่นประทีป วิบูลย์รักษ์ ร่วมลักษณ์ ประพันธ์ คูณมี ศ.พิเศษ กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ จเด็จ อินสว่าง ถวิล เปลี่ยนศรี ชาญวิทย์ ผลชีวิน เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ อภิรดี ตันตราภรณ์ วีรศักดิ์ โคว้สุรัตน์ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ดร.ภาณุวัฒน์ พันธุ์วิชาติกุล กอบกุล อาภากรณ์ ณ อยุธยา นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ ลักษณ์ วจนานวัช พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ฯลฯ

รวมอดีต สว.ที่ร่วมลงชื่อเบื้องต้น 189 คน และกำลังทะยอยลงชื่อสมทบเพิ่มเติม อีกจำนวนมาก

'สุวรรณโอสถ’ รีแบรนด์สู่ 'เครื่องบินลูกโลก' พร้อมส่งไม้ต่อทายาทรุ่นที่ 3 นั่งแท่นบริหารเต็มตัว

‘สุวรรณโอสถ โค้ว เตีย หมง’  เปลี่ยนชื่อเป็น ‘เครื่องบินลูกโลก’ พร้อมส่งไม้ต่อทายาทรุ่น 3 บริหารธุรกิจเต็มตัว

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 68 บริษัท สุวรรณโอสถ (โค้วเตียหมง) ผู้ผลิตยาหอมเครื่องบินลูกโลก ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท เครื่องบินลูกโลก จำกัด ซึ่งเป็นชื่อเดียวกันกับชื่อผลิตภัณฑ์ของบริษัท 

พร้อมทั้งได้มีการส่งต่อการบริหารงานทั้งหมดให้กับ นายประวิทย์ สุวรรณสัญญา รองประธานบริษัท ซึ่งเป็นทายาทรุ่นที่ 3 ขึ้นมาเป็นผู้บริหารต่อจากรุ่นพ่อ ซึ่งก็คือนายอนันต์ สุวรรณสัญญา ที่แม้จะดำรงตำแหน่งประธานบริษัท แต่ก็จะวางมือจากการบริหารมาเป็นที่ปรึกษาให้กับบุตรชายแทน

นายประวิทย์ กล่าวว่า ตนจะมุ่งมั่นสานธุรกิจครอบครัว และมั่นใจว่าจะนำพาผลิตภัณฑ์ของบริษัทไปอยู่ในใจคนทุกรุ่นทุกวัย โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่  โดยจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสต่อยอดทางธุรกิจ 

โดยแนวทางการบริหารธุรกิจในยุคของนายประวิทย์นั้น ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายในวัยทำงานให้มากขึ้น จากเดิมเป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้สูงวัย ขณะเดียวกัน ยังจะปรับกลยุทธ์ด้านการตลาดเข้าสู่ตลาดออนไลน์มากขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในสถานการณ์ปัจจุบันที่การตลาดมีการแข่งขันกันสูง พร้อมทั้งเตรียมปล่อยตัวสินค้าใหม่ในยุค 3 มาวางจำหน่ายเร็ว ๆ นี้

‘ทริสเรทติ้ง’ คงอันดับเครดิต ‘OR’ ระดับ AA+ แนวโน้มคงที่ 3 ปีติด สะท้อนความแข็งแกร่งบริษัทในฐานะผู้นำตลาดค้าปลีกน้ำมัน

(3 เม.ย. 68) บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ได้รับการคงอันดับเครดิตองค์กรที่ระดับ "AA+" ด้วยแนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" จากทริสเรทติ้ง (TRIS Rating) สถาบันจัดอันดับเครดิตชั้นนำของประเทศไทย ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของบริษัทในฐานะผู้นำตลาดค้าปลีกน้ำมันของประเทศ

หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร OR เปิดเผยว่า OR ได้รับการจัดอันดับเครดิตองค์กรจาก TRIS ที่ระดับ AA+ ด้วยแนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” ต่อเนื่องเป็นปีที 3 ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจ และตอกย้ำความเป็นผู้นำของ OR ในธุรกิจค้าปลีกน้ำมันและการจำหน่ายเชิงพาณิชย์ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในประเทศไทย และเป็นหลักสำคัญในการกระจายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของกลุ่ม ปตท. ควบคู่ไปกับนโยบายบริหารการเงินที่มีความรอบคอบและมีประสิทธิภาพ

TRIS ให้ความเชื่อมั่นสูงใน OR โดยพิจารณาจากจุดแข็งหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการเป็นองค์กรที่เป็นผู้นำด้านธุรกิจค้าปลีกน้ำมันและความสามารถในการจัดหาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม รวมทั้งเครือข่ายสถานีบริการและช่องทางกระจายสินค้า รวมไปถึงความแข็งแกร่งของแบรนด์ PTT Station ที่มีสถานีบริการที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ด้วยกลยุทธ์ที่มุ่งให้ PTT Station เป็นศูนย์กลางในการเติมเต็มทุกความสุขและเติบโตไปพร้อมกับชุมชนอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและการขยายธุรกิจไลฟ์สไตล์ของ OR ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เสริมความแข็งแกร่งให้กับองค์กร ทำให้ OR สามารถรักษาตำแหน่งผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดค้าปลีกน้ำมันและตลาดปิโตรเลียมเชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่เอาไว้ได้

ในช่วงที่ผ่านมา OR ได้เพิ่มความหลากหลายของสินค้าและบริการ ขยายพื้นที่ และเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่บริษัท การจัดอันดับของ TRIS ครั้งนี้แสดงถึงความเชื่อมั่นต่อการดำเนินธุรกิจ กระแสเงินสด และสภาพคล่องที่แข็งแกร่งของ OR แม้จะเผชิญกับความท้าทายจากความผันผวนของราคาน้ำมัน และสภาวะการแข่งขันระหว่างผู้ค้าปลีกน้ำมันที่เข้มข้นยิ่งขึ้น ทั้งนี้ OR ยังคงมุ่งมั่นสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งบริหารสถานะทางการเงินให้มีความเข้มแข็งและพร้อมรับมือกับความท้าทาย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียอย่างยั่งยืน

อีลอน มัสก์ จ่อถอนตัวจากบทบาท ‘พนักงานรัฐบาลพิเศษ’ หลังพบแรงต้านในกลุ่มรัฐบาลสหรัฐฯ และความตึงเครียดทางการเมือง

(3 เม.ย. 68) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้แจ้งกับบุคคลใกล้ชิด รวมถึงสมาชิกคณะรัฐมนตรีว่า อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีเจ้าของบริษัทเทสลาและเอ็กซ์ (X) เตรียมถอนตัวจากบทบาท “พนักงานรัฐบาลพิเศษ” ภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

การตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางกระแสความไม่พอใจที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มพันธมิตรของรัฐบาล รวมถึงเจ้าหน้าที่บางรายที่เริ่มมองว่ามัสก์เป็น “ภาระทางการเมือง” และเชื่อว่าการที่เขามีบทบาทในรัฐบาลสหรัฐฯ อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับกลุ่มพันธมิตรและความเชื่อมั่นในรัฐบาล

มัสก์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่พนักงานรัฐบาลพิเศษ หรือบทบาทในกรมประสิทธิภาพของรัฐบาล (DOGE) เพื่อช่วยเสริมสร้างนวัตกรรมและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในสหรัฐฯ มีบทบาทที่สำคัญในหลายโครงการรัฐบาล แต่กระแสความไม่พอใจที่เพิ่มขึ้นจากบางส่วนในรัฐบาล ทำให้การตัดสินใจถอนตัวของมัสก์กลายเป็นเรื่องที่ได้รับการจับตามอง

อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลคนหนึ่งกล่าวว่า มัสก์มีแนวโน้มที่จะยังคงมีบทบาทอย่างไม่เป็นทางการในฐานะที่ปรึกษา และยังคงเป็นบุคคลภายนอกที่ปรากฏตัวเป็นครั้งคราวในบริเวณทำเนียบขาว ส่วนอีกคนหนึ่งเตือนว่าใครก็ตามที่คิดว่ามัสก์จะหายไปจากวงโคจรของทรัมป์ เขาคนนั้นกำลังหลอกตัวเอง

แหล่งข่าวระบุว่า มัสก์จะถอนตัวจากบทบาทนี้ภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า แต่ยังไม่ได้มีการประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการในอนาคตของเขา โดยคาดว่าเขาจะมุ่งเน้นที่การพัฒนาธุรกิจส่วนตัวและการลงทุนในเทคโนโลยีต่อไป

“สักวันหนึ่ง อีลอนคงอยากจะกลับไปที่บริษัทของเขา เขาต้องการแบบนั้น ผมจะเก็บเขาไว้ตราบเท่าที่ผมยังเก็บเขาไว้ได้” ทรัมป์กล่าวกับนักข่าว

เบร็ท แบเยอร์ จาก Fox News ถามมัสก์เมื่อวันพฤหัสบดีว่า เขาพร้อมที่จะลาออกหรือไม่เมื่อสถานะพนักงานพิเศษของรัฐบาลของเขาสิ้นสุดลง เขาก็ได้ประกาศว่าภารกิจของเขาสำเร็จลุล่วงแล้ว โดยกล่าวว่า “ผมคิดว่าเราจะบรรลุภารกิจส่วนใหญ่ที่จำเป็นเพื่อลดการขาดดุลลง 1 ล้านล้านดอลลาร์ภายในกรอบเวลาดังกล่าว”

4 เมษายน พ.ศ. 2492 วันก่อตั้ง “องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO)” พันธมิตรทางทหารที่ตั้งขึ้นเพื่อถ่วงดุลอำนาจสหภาพโซเวียต

เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2492 ได้มีการรวมตัวกันของประเทศต่าง ๆ จำนวน 12 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา เบลเยียม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอรเวย์ และโปรตุเกส โดยร่วมกันลงนามในสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (The North Atlantic Treaty) เพื่อก่อตั้ง “องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization : NATO)” ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2492

วัตถุประสงค์เริ่มแรกก่อตั้ง คือจัดตั้งระบบพันธมิตรทางทหาร ในการถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ (สหภาพโซเวียต) และให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกในกรณีที่ประเทศสมาชิกถูกคุกคามจากภายนอก ตลอดจนส่งเสริมความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ

โดยปัจจุบัน “องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organisation : NATO)” มีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 32 ประเทศ (ล่าสุดคือ ประเทศสวีเดน - 7 มีนาคม 2567)

‘สรส.-สสรท.’ 2 สมาพันธ์แรงงาน เข้าพบ ‘รองนายกฯ พีระพันธุ์’ ยื่น ตรวจสอบคุณสมบัติบอร์ด ปตท. หวั่นเอื้อกลุ่มทุนพลังงาน

สรส.-สสรท. ยื่น ตรวจสอบคุณสมบัติบอร์ด ปตท. หวั่นเอื้อกลุ่มทุนพลังงาน ‘พีระพันธุ์’ ชี้ภาครัฐมีข้อจำกัดในการควบคุมแทรกแซงแม้เห็นความเคลื่อนไหวผิดปกติ แนะผลักดันกฎหมายเพิ่มอำนาจ สคร.ปกป้องประโยชน์ชาติและประชาชน

เมื่อวันที่ (3 เม.ย.68) ที่ผ่านมา นายมานพ เกื้อรัตน์ เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เปิดเผยว่า สรส.ร่วมกับสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) ได้ยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อขอให้ตรวจสอบคุณสมบัติของคณะกรรมการบริษัทในกลุ่ม ปตท. โดยอ้างอิงจากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่าบุคคลบางรายที่ดำรงตำแหน่งกรรมการ อาจมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และบางรายมีประวัติเกี่ยวข้องกับบริษัทด้านพลังงาน ซึ่งอาจขัดกันแห่งผลประโยชน์

นายมานพระบุว่า ในฐานะที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) มีหน้าที่ต้องตรวจสอบให้ชัดเจนว่าการแต่งตั้งกรรมการเหล่านี้มีความโปร่งใสหรือไม่ พร้อมยืนยันว่า สรส.จะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด

ขณะที่นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธาน สสรท. ให้สัมภาษณ์ภายหลังการเข้าพบนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ณ ทำเนียบรัฐบาล โดยตั้งคำถามถึงเหตุผลที่รัฐบาลไม่สามารถลดราคาไฟฟ้า น้ำมัน และก๊าซได้ ทั้งที่มีความพยายามจากกระทรวงพลังงานในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว

นายสาวิทย์เปิดเผยว่า จากการหารือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานยอมรับถึงข้อจำกัดตามกฎหมายในปัจจุบัน ที่ทำให้รัฐไม่สามารถควบคุมหรือแทรกแซงการบริหารจัดการของบริษัทในเครือ ปตท. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะเห็นความเคลื่อนไหวด้านการโอนทรัพย์สินจากบริษัทแม่ไปยังบริษัทลูก แต่รัฐมนตรีก็ไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบโดยตรง

ด้วยเหตุนี้ นายพีระพันธุ์จึงแนะให้ทั้ง สรส. และ สสรท. ร่วมกันผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมาย เพื่อเพิ่มอำนาจหน้าที่ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สามารถปกป้องผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนได้อย่างแท้จริง

รัสเซียไม่อยู่ในรายชื่อขึ้นภาษีของทรัมป์ สื่อมอสโกเผย เพราะถูกคว่ำบาตรอยู่แล้ว

(4 เม.ย. 68) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เปิดเผยรายชื่อประเทศที่ตกเป็นเป้าหมายในการขึ้นภาษีสินค้านำเข้า ภายใต้แผนการใหม่เพื่อ 'ปกป้องเศรษฐกิจอเมริกัน' โดยระบุว่า มาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ และส่งเสริมภาคการผลิตภายในประเทศให้กลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สร้างความประหลาดใจให้กับนักวิเคราะห์และผู้นำหลายชาติในโลกตะวันตก คือ “รัสเซียไม่ได้อยู่ในรายชื่อประเทศเป้าหมาย” รวมถึงคิวบา เบลารุส และเกาหลีเหนือ ก็ไม่ได้รวมอยู่ในมาตรการดังกล่าวด้วยท่ามกลางความคาดหวังของหลายฝ่ายที่ต้องการเห็นสหรัฐฯ ดำเนินมาตรการกดดันเพิ่มเติมต่อมอสโก ท่ามกลางสถานการณ์ความตึงเครียดที่ยังคงดำเนินต่อไปในหลายประเด็น

เมื่อวันพฤหัสบดี สื่อรัสเซียยังโต้แย้งว่าประเทศของพวกเขาไม่อยู่ในรายชื่อภาษีศุลกากรครอบคลุมเนื่องจากมีการคว่ำบาตรที่มีอยู่แล้ว 

“รัสเซียไม่ได้ถูกเรียกเก็บภาษีศุลกากรใดๆ แต่ไม่ใช่เพราะได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ เพียงแต่เป็นเพราะชาติตะวันตกได้ใช้มาตรการคว่ำบาตรประเทศของเราแล้ว” สถานีโทรทัศน์ Rossiya 24 ของรัฐบาลกล่าว

ขณะเดียวกันยูเครนกำลังเผชิญกับภาษีนำเข้า 10 เปอร์เซ็นต์จากสินค้าส่งออกไปยังสหรัฐฯ ยูเลีย สวีรีเดนโก รองนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ กล่าวว่าภาษีศุลกากรใหม่ของสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่

ในปี 2024 ยูเครนส่งออกสินค้ามูลค่า 874 ล้านดอลลาร์ (ราว 31,901 ล้านบาท) ไปยังสหรัฐฯ และนำเข้า 3.4 พันล้านดอลลาร์จากสหรัฐฯ ตามที่รองนายกรัฐมนตรีกล่าว “ยูเครนมีสิ่งดีๆ มากมายที่จะมอบให้กับสหรัฐฯ ในฐานะพันธมิตรและหุ้นส่วนที่เชื่อถือได้” เธอกล่าวเสริม “ภาษีศุลกากรที่เป็นธรรมจะส่งผลดีต่อทั้งสองประเทศ”

บรรดาชาติพันธมิตรในยุโรปแสดงความผิดหวังต่อท่าทีดังกล่าว โดยมองว่า เป็นสัญญาณที่สหรัฐฯ อาจลังเลในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจเป็นมาตรการตอบโต้รัสเซีย ในขณะที่ชาติเหล่านั้นต่างกำลังแบกรับภาระจากการคว่ำบาตรที่ได้ประกาศใช้ไปก่อนหน้า

นักวิเคราะห์บางรายตั้งข้อสังเกตว่า การที่รัสเซียไม่ถูกรวมอยู่ในรายชื่อ อาจสะท้อนถึงเจตนาทางการเมืองบางประการของทำเนียบขาว หรืออาจเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ยังคงโยงใยกันอยู่ในระดับลึก

ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ สื่อหลายสำนักรายงานว่ามีแรงกดดันเพิ่มขึ้นต่อฝ่ายบริหารของทรัมป์ให้ทบทวนจุดยืน พร้อมเรียกร้องให้มีความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ที่มีต่อรัสเซียในระยะยาว

แผนขึ้นภาษีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและเตรียมเข้าสู่ขั้นตอนการอนุมัติในสภาคองเกรส โดยคาดว่าจะมีการถกเถียงกันอย่างเข้มข้นในประเด็น “สองมาตรฐาน” ที่หลายฝ่ายเริ่มตั้งคำถามต่อการดำเนินนโยบายในครั้งนี้

ชาติ CLMV และไทย เผชิญแรงกดดันหนักสุด ท่ามกลางเจตนารมณ์ซ่อนเร้นของมหาอำนาจ

(4 เมษายน 2568) รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ วิเคราะห์ถึงหลักการคำนวณและขึ้นภาษีตอบโต้ไทย ถึง 37% ของสหรัฐฯ 

รศ.ดร.สมภพ มองว่า 10% คือภาษีนำเข้าสินค้าที่ไทยเก็บกับสหรัฐฯ แต่อีก 62% คือ 'ดุลพินิจ' ล้วน ๆ จากปัจจัย Non-Tariff หรือมาตรการที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร  

“มันใช้อารมณ์ความรู้สึกเป็นตัวตั้งไม่น้อย มันนามธรรมสูงมาก จับต้องไม่ได้” แต่เขาก็ตั้งข้อสังเกตว่า ชาติ CLMV บวก ไทย โดนหนักสุด ทั้งที่ CLMV คือชาติยากจนอันดับต้น ๆ ของโลก คือ กัมพูชา ลาว เมียนมา ยกเว้นเวียดนาม

“เพราะชาติเหล่านี้ใกล้ชิดกับจีนมาก นี่แหละเจตนารมย์ซ่อนเร้นจริง ๆ ที่เราต้องตีความให้ออก” รศ.ดร.สมภพ กล่าว

ท้ายสุด รศ.ดร.สมภพ ชี้ว่า ไทยมีเวลา 7 วันเพื่อเข้าเจรจาไกล่เกลี่ยกับสหรัฐฯ แต่คิดว่าไม่น่าจะพอ เนื่องจากผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ที่มีเจ้าหน้าที่เพียงหลักร้อย ไม่น่าจะรับมือนานาประเทศที่จะแห่กันเข้ามาขอเจรจา 

“แต่นี่แหละคือจุดเริ่มต้นการเจรจา” ที่ผู้เป่านกหวีดก็คือทรัมป์เอง

อินเดียรื้อสอบบริษัทโยง ‘จอร์จ โซรอส’ เอี่ยวรับทุนอเมริกา (USAID) กว่า 80 ล้านรูปี

(4 เม.ย. 68) คณะกรรมการบังคับใช้กฎหมายของอินเดีย (Enforcement Directorate – ED) อยู่ระหว่างการสอบสวนเชิงลึกเกี่ยวกับเส้นทางการเงินของบริษัทแห่งหนึ่งที่มีความเชื่อมโยงกับมหาเศรษฐีนักลงทุนชื่อดังระดับโลก “จอร์จ โซรอส” หลังพบว่าบริษัทดังกล่าวได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) เป็นจำนวนกว่า 80 ล้านรูปี หรือราว 32 ล้านบาทไทย ในช่วงปีงบประมาณ 2022-2023

แหล่งข่าวจาก ED เปิดเผยว่าบริษัทดังกล่าวอธิบายว่า มีการคืนเงิน 80 รูปี สำหรับบริการที่ให้แก่กลุ่มงานวิจัยในเดลีที่มีชื่อว่า Council on Energy Environment and Water (CEEW) อย่างไรก็ตาม ในแถลงการณ์ต่อ HT.com CEEW ปฏิเสธว่าไม่มีการเชื่อมโยงไปยัง George Soros หรือ Open Society Foundations

“CEEW ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับจอร์จ โซรอส หรือมูลนิธิโอเพ่นโซไซตี้ ASAR Social Impact Advisors ได้รับการว่าจ้างจาก CEEW เพื่อให้บริการเฉพาะสำหรับโครงการ USAID ที่เกี่ยวข้องกับอากาศที่สะอาดขึ้น โครงการนี้ได้สิ้นสุดลงแล้ว CEEW ไม่มีความสัมพันธ์กับ ASAR ในขณะนี้ CEEW ไม่ได้รับคำถามใดๆ จากหน่วยงานรัฐบาลใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ASAR เราไม่มีเหตุผลและไม่มีพื้นฐานใดๆ ที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสืบสวนที่กำลังดำเนินอยู่” CEEW กล่าว

เจ้าหน้าที่ ED ระบุว่า การสอบสวนครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อตรวจสอบว่าเงินทุนดังกล่าวถูกนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ประกาศไว้หรือไม่ และมีการละเมิดกฎหมายว่าด้วยเงินทุนต่างประเทศ (FCRA) หรือไม่ โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่อาจมีนัยทางการเมือง หรืออิทธิพลต่อความมั่นคงของประเทศ

สำหรับ จอร์จ โซรอส นักธุรกิจชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการี เป็นนักวิเคราะห์ค่าเงิน นักลงทุนหุ้น ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานบริษัท Soros Fund Management และสถาบัน Open Society Institute ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคมและการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยทั่วโลก เคยตกเป็นเป้าการวิพากษ์วิจารณ์จากรัฐบาลอินเดียในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยถูกกล่าวหาว่ามีบทบาทอยู่เบื้องหลังความเคลื่อนไหวที่อาจกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล

แม้ในเบื้องต้นยังไม่มีข้อกล่าวหาอย่างเป็นทางการต่อบริษัทดังกล่าว แต่การสอบสวนของ ED ได้รับความสนใจจากสาธารณชนและสื่ออินเดียอย่างกว้างขวาง โดยมีการจับตาว่าเรื่องนี้อาจลุกลามไปสู่การทบทวนนโยบายเกี่ยวกับการรับเงินทุนจากต่างประเทศในวงกว้าง

โฆษกของ USAID ยังไม่ออกมาแสดงความเห็นต่อเรื่องนี้ ขณะที่ตัวแทนของบริษัทที่อยู่ระหว่างการสอบสวนได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า ยินดีให้ความร่วมมือกับทางการอินเดียอย่างเต็มที่ และยืนยันว่าเงินทุนทั้งหมดถูกนำไปใช้เพื่อ “โครงการด้านการพัฒนาและสาธารณประโยชน์” อย่างโปร่งใสและถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ

ทั้งนี้ การสอบสวนยังคงดำเนินอยู่ โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top