Wednesday, 23 April 2025
Portfolio

‘น้องโอโม่’ นักเรียนคนเก่ง แห่งสกลนคร สอบติด 15 สาขา 9 ม.ดัง เจ้าตัวเผยเคล็ดลับ ‘เลือกสาขาที่ชอบ-รักษาเกรดเฉลี่ย-หมั่นสะสมผลงาน’

จากกรณีเพจ Sci project.skr โพสต์คลิปนายฐิติพันธ์ วะเศษสร้อย หรือ ‘น้องโอโม่’ นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนคร ยื่น Portfolio เพื่อเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยโดยปรากฏว่าติด 15 สาขา 9 มหาวิทยาลัย ซึ่งกลายเป็นคลิปไวรัล พร้อมด้วยเสียงชื่นชมในความเก่งและความสามารถของนักเรียนรายนี้นั้น

ล่าสุดวันนี้ (25 ก.พ. 67) ผู้สื่อข่าวได้ติดต่อไปยังนายฐิติพันธ์ วะเศษสร้อย หรือ ‘โอโม่’ นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 6/1 โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล ซึ่งได้เผยว่า กิจกรรมในคลิปที่ถูกแชร์บนโลกออนไลน์นั้น เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นกิจกรรมหน้าเสาธงที่โรงเรียนจัดขึ้น เพื่อจะประกาศชื่อมหาวิทยาลัยที่นักเรียนสอบติด ไม่ว่าจะเป็นคณะไหน สาขาวิชาอะไร ก็จะมีการประกาศทั้งหมด

โดยตอนนั้น ได้ยื่นสมัครไป 9 มหาวิทยาลัย แต่เป็นหลายสาขาวิชา โดยแต่ละมหาวิทยาลัยสามารถติดได้มากกว่า 1 สาขาวิชา สรุปรวมแล้วตนสมัครติด 15 สาขาวิชาจาก 9 มหาวิทยาลัย ทั้งนี้อยากขอบคุณทุกคนที่สนับสนุนและขอบคุณทุกคนที่ให้การชื่นชม

จริงๆ แล้วการที่ตนติดรอบที่ 1 ของการยื่นแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ครั้งสุดท้าย จะเป็นรอบที่ยังไม่ใช้คะแนนสอบ แต่ตนใช้เป็นผลงานยื่นเข้าสมัคร ส่วนใหญ่จะเป็นผลงานที่พัฒนามาตั้งแต่สมัยมัธยมชั้นปีที่ 4 เรื่องเกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์และทางด้านนวัตกรรมการวิจัยที่ทำกับชมรม Sci project.skr ของโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล โดยมีนางเสาวรจนี จันทวงค์, นายวิริทธิ์พล วิเศษฐี เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน และนางนันทิชา ธาตุระหัน, ดร.กิตติยา มุกดาประเสริฐ เป็นครูที่ปรึกษาประจำชั้น ซึ่งโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ทำขึ้นมาใช้ระยะเวลาประมาณมากกว่า 1 ปี หรืออาจจะหลายเดือน เพื่อพัฒนาแข่งขันตามรายการต่างๆ แล้วตนก็ได้รางวัลในระดับภูมิภาคไปจนถึงระดับประเทศ พร้อมสะสมผลงานเหล่านั้นถ่ายทอดออกมาเป็นแฟ้มผลงาน เพื่อยื่นสมัครเข้ามาหาวิทยาลัย

ขณะเดียวกันมีการเรียนควบคู่กันไปในโรงเรียนอีกด้วย คือการรักษาเกรดเฉลี่ยให้ได้สูงที่สุด พร้อมกับตั้งใจทำตรงนั้นให้ดีที่สุด พอถึงช่วงเวลาที่ต้องยื่นแฟ้มสะสมผลงาน จะใช้เกรดเฉลี่ยกับผลงานต่างๆ ที่สะสมระยะเวลาตลอด 3 ปี แล้วนำไปยื่นเข้ามาหาวิทยาลัย

อยากฝากให้รุ่นน้องทุกคนให้เล็งเห็นถึงความตั้งใจทำผลงาน หรืออาจจะตั้งใจเตรียมตัวสอบ เพื่อให้ตัวเองได้เข้าไปในคณะที่ตนอยากเรียนมากที่สุด ตอนนี้ตนได้ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกเรียนที่ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพราะพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ทั้งหมด และเป็นความชอบส่วนตัว ซึ่งหากจบออกมาก็จะเป็นเภสัชกร

ส่วน 15 สาขา 9 มหาวิทยาลัย มีดังนี้

1.) สาขาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2.) สาขาวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
3.) สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
4.) สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ทุนเพชรพระจอมเกล้าฯ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
5.) เภสัชศาสตรบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

6.) สัตวแพทยศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
7.) วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี ทุน STEAMs-Creation project คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
8.) สาขาวิศกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
9.) สาขาวิศกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
10.) สาขาฟิสิกส์วัสดุและเครื่องมือการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

11.) สาขาฟิสิกส์ทฤษฎีและการวิเคราะห์ข้อมูล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
12.) สาขาวิศกรรมกระบวนการชีวภาพ คณะวิศกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
13.) วิทยาศาสตร์บัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
14.) สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
15.) สาขารังสีเทคนิค คณะรังสีเทคนิค มหาวิทยาลัยรังสิต

‘ผู้ปกครอง’ วอนหน่วยงาน ให้ความรู้ ‘ใบประกาศนียบัตร’ ที่มหาวิทยาลัยรับรอง ย้ำ!! มีเยอะไม่ได้ช่วยให้ดูดี บางกิจกรรม ‘เอกชน’ สร้างขึ้นมาเพื่อปั้น ‘Portfolio’

(12 ส.ค. 67) เมื่อเร็วๆนี้ ในรายการเจาะข่าวเด็ด ทางช่องโมโน 29 มีผู้ปกครองของน้องนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้เข้ามาเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ การใช้ ‘ใบประกาศนียบัตร’ ในการยื่นเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยได้ระบุว่า ...

เกี่ยวกับ ใบประกาศนียบัตร ที่ใช้ประกอบในการยื่นรอบ Portfolio ผู้ปกครองควรช่วยน้องๆในการเลือกสถาบันในการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อรับใบประกาศนียบัตรกันด้วย การมีเยอะไม่ได้แปลว่าดูดี  ควรเลือกดูที่กิจกรรม และองค์กรที่ออกใบประกาศนียบัตรด้วย  admission officer เค้าดูออก

หลายมหาวิทยาลัย จะมีระบุไว้ในระเบียบการรับสมัครเลย ว่าไม่รับใบประกาศนียบัตรจากค่ายของบริษัทเอกชนที่รับปั้น Portfolio  ต่างๆ 

ตอนนี้ได้รับความรู้มาว่า ถ้าเกิดไม่ใช่ของหน่วยงานราชการจัด ใบประกาศนียบัตร มันจะใช้ไม่ได้ เพิ่งทราบก็เลยอยากจะฝากกระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัยใดๆ ให้ความรู้หน่อย ให้ความรู้เด็กๆ หน่อยให้ความรู้ผู้ปกครองหน่อยว่า ใบประกาศนียบัตร แบบไหนใช้ได้ ใบประกาศนียบัตรแบบไหนใช้ไม่ได้

ซึ่งเมื่อ ‘เอก นนทกฤช กลมกล่อม’ พิธีกรผู้ดำเนินรายการ ได้ซักถามต่อว่า ถ้างั้นเราจะรู้กันแค่ว่า ให้เด็กๆ เตรียม Portfolio นะ ม.4 ม.5 ม.6 เตรียม Portfolio แล้วพอเด็กๆเตรียม Portfolio กัน 3ปีนะ ประสบการณ์ Portfolio ดีมันไม่ต้องสอบถูกมั้ย?

ผู้ปกครองคนดังกล่าว ก็ได้ เล่าต่อว่า ยื่น Portfolio อย่างเดียวถ้า Portfolio ดี ทํากิจกรรมต่างๆ มาเยอะ มีประสบการณ์เยอะ ถ้า Portfolio ผ่านนี่คือจบเลย เข้ามหาวิทยาลัยได้เลย ไม่ต้องสอบ แล้วทุกคนก็หวังจากการเก็บสะสม Portfolio แต่ทีนี้เราไม่ทราบว่า Portfolio ที่ใช้ได้ เป็นแบบไหน Portfolio ที่ใช้ไม่ได้เป็นแบบไหน มันก็เลยนํามาสู่การไปซื้อคอร์ส นี่มีตั้ง 30 ใบประกาศนียบัตร 

ซึ่งคุณแม่ท่านนี้ ก็ได้อธิบายต่ออีกว่า ถ้าเป็นที่ได้มาจากหน่วยงาน ที่เป็นเอกชนอย่างนี้ เป็นติวเตอร์เป็นโรงเรียนเขาเปิด มันใช้ไม่ได้ บางมหาวิทยาลัย เขาก็ออกจดหมายมาเลยว่า ถ้าเกิดเป็นค่ายที่เอกชนจัดขึ้นอย่างนี้ 

เขาไม่รับรอง!!

‘ต๊ะ พลัฏฐ์’ โพสต์เฟซ ฟาด!! การศึกษาไทย ยิ่งแก้ยิ่งแย่ แก้ปัญหาไม่ตรงจุด ทำลาย!! ชีวิตวัยรุ่นของเด็กไทย ทำให้ผู้ปกครองต้องเสียเงิน เกินเหตุ

เมื่อวานนี้ (16 ก.พ. 68) นายพลัฏฐ์ ศิริกุลพิสุทธิ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตผู้สมัคร สส. กรุงเทพมหานคร เขต 1 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ...

การศึกษาไทย ยิ่งแก้ยิ่งแย่

ผมช่วยลูก 3 คนได้เข้าเรียนที่ดีๆ

เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ

ลูกสาวคนเล็ก ที่เคยเรียนระบบสวิส อยากเรียนแพทย์ เราเลยต้องเปลี่ยนระบบมาเรียน รร. สาธิต แห่งหนึ่งที่มีการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
ผมต้องกลับมาช่วยลูกวางแผนการเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัยอีกครั้ง แล้วพบว่า 

ระบบ TCAS ที่ดึงรูปแบบมาจาก UKAS ของอังกฤษ พี่ไทยเราสร้างความปั่นป่วนให้เด็กไทยเรียกว่าระบบคัดกรองเรายุ่งยากและเข้มข้นกว่าอังกฤษ 
ระบบที่ว่า ได้ทำลายชีวิตวัยรุ่นของเด็กไทย แทนที่จะมีความสุขกับการเรียน ทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ และมีทักษะชีวิต เพราะมหาวิทยาลัยต่างสร้างวิธีการคัดกรองที่ยิ่งนับวันยิ่งซับซ้อน จนเด็กต้องเอาเวลาไปทำให้ตัวเองผ่านความต้องการคัดเลือกไปจนไม่มีเวลาใช้ชีวิต

ถ้าคุณจะสอบเข้าแพทย์ในระบบอังกฤษ ที่เราลอกแบบเขามา สิ่งที่นักเรียนต้องทำคือ 
1.สอบภาษาอังกฤษให้ผ่านเกณฑ์
2.ทำคะแนนวิชาที่ต้องผ่านเช่น คณิต เคมี ชีวะ และหรือ อีก 1 วิชา เป็นทางเลือกให้ดีพอ
3.ถ้าหากเรียนมหาวิทยาลัยชั้นนำ เช่น Oxford ต้องสอบอีกนิดหน่อย
4.ทำให้มหาวิทยาลัยรู้ว่า ทำไมคุณอยากเรียนแพทย์ และคุณเรียนแล้วจะไปทำอะไร

ส่วนที่ประเทศไทย ซึ่งมีมหาวิทยาลัยและที่เรียนเยอะมากๆ คณะแพทย์อาจจะมีน้อยหน่อย แต่ก็มีมากขึ้นเยอะมาก คณะอื่นๆหลายที่มีที่เรียนมากกว่านักเรียน เพราะเด็กเราเกิดน้อยลงเยอะมาก แต่ระบบคัดกรองยิ่งนับวันยิ่งทรมาณเด็ก

คุณต้องเรียนเยอะมากๆในหลายวิชาที่ไม่ได้ใช้ตอนโต และต้องทำเกรดเฉลี่ยให้ดี ต้องสอบแล้วสอบอีก ที่สำคัญ ต้องทำ Portfolio ที่ทำระบบผิดเพี้ยนไปจากเจตนาของการคัดกรองต้นแบบ ที่สำคัญเมื่อคุณผ่านทุกอย่างเราก็เข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยที่อยู่ต่ำกว่า 100 ของโลก 

ถ้าหากเราใช้ระบบเดียวกัน คะแนนเท่ากันเด็กที่ส่งใบสมัครไปต่างประเทศ เชื่อไหมครับหลายคนที่พลาดหวังจากไทยจะได้เรียนมหาวิทยาลัยระดับโลก และเด็กจะเหนื่อยน้อยกว่าการเตรียมเข้ามหาวิทยาลัยในไทย 

ขอวิงวอนให้ที่ประชุมอธิการบดี มหาวิทยาลัยทบทวนระบบคัดกรองใหม่ และคืนชีวิตวัยรุ่นให้เด็กไทย โตมาอย่างมีคุณภาพมีประสบการณ์ชีวิตที่หลากหลาย 

ต๊ะ พลัฏฐ์


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top