Monday, 21 April 2025
Panama

นักวิชาการชี้แผนยึดกรีนแลนด์-คลองปานามา โอกาสทองจีนได้แต้มต่อครองใจนานาชาติ

(9 ม.ค. 68) ว่าที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ดูเหมือนต้องการขยายอิทธิพลของสหรัฐฯ ด้วยการออกมาเผยความต้องกรของตนในการควบคุมกรีนแลนด์ ปานามา และแคนาดา ซึ่งถือเป็นแนวคิดการปรับแผนที่ของซีกโลกตะวันตกแบบใหม่อย่างแท้จริง

ชอว์น นาริน ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเซนต์โธมัสในแคนาดากล่าวกับ Sputnik  

"กรณีของกรีนแลนด์กลาวว่า กรีนแลนด์เป็นความหลงใหลที่แปลกประหลาดของเขาในอดีต ผมคิดว่าสำหรับเขา กรีนแลนด์เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติล้วน ๆ" นารินอธิบาย โดยชี้ว่าความหมกมุ่นนี้อาจเกี่ยวข้องกับการแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ และจีนในเรื่องแร่หายากและเส้นทางลอจิสติกส์ที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ 

นารินชี้ว่า แม้สหรัฐจะครอบครองกรีนแลนด์ได้จริง เพื่อหวังควบคุมห่วงโซอุปทาน แต่ก็ไม่สามารถแซงหน้าจีนในด้านนี้ได้ ในฐานะที่จีนเป็นชาติที่ควบคุมห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการแปรรูปทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านทรัพยากรธรรมชาติที่ทรัมป์หวังได้จากกรีนแลนด์
 
ขณะที่คลองปานามา ทรัมป์เคยอ้างเหตุผลในการทวงคืนคลองปานามา โดยว่าพื้นที่แห่งนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของจีน ทำให้เก็บค่าผ่านทางอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งชอว์น นาริน กล่าวว่า "ไร้สาระสิ้นดี" นารินตอบโต้ "มันไม่มีความแตกต่างอะไรเลยต่อสหรัฐฯ ว่าจะควบคุมคลองนี้หรือไม่ ไม่มีใครพยายามขัดขวางการเดินเรือของอเมริกาผ่านคลองนี้"  

ขณะที่ประเด็นแคนาดาจากการที่ทรัมป์ต้องการให้แคนาดา กลายเป็นมลรัฐที่ 51 ของสหรัฐ พร้อมกับการขู่เรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม ได้สร้างความกังวลให้ชาวแคนาดา นารินกล่าวว่าคำพูดดังกล่าวเป็นเรื่อง "ไร้สาระ" และเปรียบเสมือนการขู่กรรโชก  

"คุณไม่ต้องการให้คนที่ไม่มีเสถียรภาพและคาดเดาไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจ เพราะมันสร้างความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมืองในความสัมพันธ์ที่ควรจะเป็นผู้ใหญ่" เขาเน้นย้ำ  

ในขณะที่ทรัมป์มองว่าจีนเป็นคู่แข่งสำคัญระดับโลกของสหรัฐฯ และพยายามโดดเดี่ยวจีน นารินชี้ว่า กลยุทธ์ในการเปลี่ยนแผนที่โลกเหล่านี้อาจผลักดันให้ประเทศอื่น ๆ เข้าใกล้ปักกิ่งมากขึ้น  

"จีนมีความน่าเชื่อถือและคาดการณ์ได้มากกว่าทรัมป์" เขากล่าว "นโยบายของปักกิ่งตรงไปตรงมา จีนละเมิดกฎหมายนานาชาติน้อยกว่าสหรัฐฯ หลีกเลี่ยงการแทรกแซง และใช้วิธีการทางเศรษฐกิจในการสร้างความสัมพันธ์กับประเทศอื่น ๆ พร้อมเน้นย้ำถึงผลประโยชน์ร่วมกันเสมอ"  

เปิดหลักฐาน!! ยันจีนไม่เคยคุมคลองปานามา หลังทรัมป์กล่าวหาปักกิ่งบงการค่าผ่านทาง

(23 ม.ค.68) หลังโดนัลด์ ทรัมป์ กลับมาดำรงตำแหน่งผู้นำสหรัฐสมัย 2 เพียงไม่กี่วัน ได้มีคำสั่งให้นายมาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีการทรวงการต่างประเทศสหรัฐ เตรียมเดินทางเยือนปานามาภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางเยือนลาตินอเมริกา สะท้อนท่าทีจริงจังของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ต้องการยึดคลองปานามาคืน นอกจากนี้ รูบิโอยังมีกำหนดที่จะเดินทางไปเยือนกัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ และคอสตาริกาด้วย

การเดินทางครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกของรูบิโอในฐานะรัฐมนตรีต่างประเทศ หลังจากเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (21 ม.ค.) การเยือนครั้งนี้เป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของปธน.ทรัมป์ที่ต้องการสกัดกั้นการอพยพผิดกฎหมายผ่านเส้นทางอเมริกากลาง และผลักดันให้ผู้อพยพเดินทางกลับประเทศต้นทาง

รายงานข่าวระบุว่า ตามธรรมเนียมแล้ว รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ มักจะเลือกเยือนประเทศพันธมิตรสำคัญทางยุทธศาสตร์เป็นทริปแรก เช่น แอนโทนี บลิงเคน ที่เลือกไปญี่ปุ่น หรือเร็กซ์ ทิลเลอร์สัน ที่เลือกไปเยอรมนี

ทรัมป์ได้ประกาศจุดยืนว่าต้องการให้สหรัฐฯ กลับมาควบคุมคลองปานามา หากไม่มีการลดค่าธรรมเนียมผ่านคลองสำหรับเรือรบและเรือพาณิชย์ พร้อมทั้งกล่าวหาอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า จีนเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการดำเนินการคลองแห่งนี้ ขณะที่ประธานาธิบดีปานามารีบออกมาตอกย้ำอธิปไตยเหนือคลองปานามา และยืนยันว่าจีนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ในการบริหารจัดการคลอง

จากข้อมูลซึ่งเป็นเปิดเผยต่อสาธารณะพบว่า คลองปานามาซึ่งมีความยาว 82 กิโลเมตร (51 ไมล์) เชื่อมระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิก ถูกสร้างขึ้นและเป็นของสหรัฐฯ ในช่วงต้นทศวรรษปี 1900 ก่อนที่จะถูกมอบให้กับปานามาในที่สุดในปี 1977 ภายใต้สนธิสัญญาที่รับประกันความเป็นกลางปานามา โดยในปี 2021 ข้อตกลงที่อนุญาตให้ Panama Ports Company ดำเนินการต่อไปได้รับการขยายเวลาออกไปอีก 25 ปี

สหรัฐอเมริกาเป็นลูกค้าผู้ใช้คลองปานามารายใหญ่ที่สุด และรับผิดชอบการขนส่งสินค้าประมาณสามในสี่ส่วนในแต่ละปีจีนตามมาเป็นอันดับสอง ขณะที่ข้อมูลตั้งแต่เดือน ต.ค. 2023 ถึง ก.ย. 2024 จำนวนเรือขนส่งสินค้าของจีนที่เดินทางมาที่คลองปานามาคิดเป็น 21.4% ปริมาณการขนส่งทางเรือทั้งหมด ซึ่งมากเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐฯ

คำกล่าวของทรัมป์ที่ว่า "จีนคุมคลองปานามาจากทั้งสองฝั่งคลอง" อาจหมายถึง การมีอยู่ของท่าเรืออยู่สองฝั่งของคลองปานามาซึ่งดำเนินการโดยบริษัทในฮ่องกง ซึ่งตลอดเส้นทางคลองปานามานั้น มีท่าเรือทั้งหมด 5 แห่งอยู่ติดกับคลองปานามา โดยมีท่าเรืออื่นๆ เป็นของบริษัทต่างชาติ รวมถึงบริษัทของสหรัฐฯ ด้วย ท่าเรือ 2 แห่งจากที่มีทั้งหมด 5 แห่งบริเวณใกล้เคียงกับคลองปานามา ดำเนินการโดยบริษัทฮัตชิสัน พอร์ต โฮลดิ้งส์ มาตั้งแต่ปี 1997 ท่าเรือทั้ง 2 แห่งได้แก่ ท่าเรือบัลบัวที่อยู่ทางฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก และท่าเรือคริสโตบัลที่ตั้งอยู่ทางฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก

ในปี 1996 ปานามาได้ให้สัมปทานแก่บริษัทในฮ่องกงที่ชื่อ ฮัทชิสัน-วัมเปา (hutchison whampoa) ในตอนนั้นในการดำเนินการท่าเรือบัลโบอาในฝั่งแปซิฟิก และท่าเรือคริสโตบัลในฝั่งแอตแลนติก สัญญาดังกล่าวไม่ได้ทำให้ฮัทชิสัน-วัมโปอาเป็นเจ้าของท่าเรือ แต่ให้สิทธิแก่บริษัทดังกล่าวในการดำเนินการในนามของรัฐบาลปานามา

ปัจจุบันผู้ประกอบการท่าเรือนี้รู้จักกันในชื่อ Hutchison Ports ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ CK Hutchison Holdings ซึ่งมีฐานอยู่ในฮ่องกงและเป็นเจ้าของโดยมหาเศรษฐีหลี่ กาชิง (Li Ka-shing) ซึ่งบริษัท Hutchison ต่างก็เข้าไปลงทุนบริหารท่าเรือหลายแห่งทั่วโลก รวมถึงบริหารท่าเรือแหลมฉบังของไทยด้วย

อีกทั้งในปี 1999 จากการสอบสวนของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ต่อกรณีที่รัฐบาลปานามาจะมอบสัมปทานแก่ฮัทชิสัน-วัมโปอา ว่า จ้าหน้าที่ของกระทรวงได้ค้นคว้าเรื่องนี้อย่างละเอียดแล้วและ "ไม่พบหลักฐานใด ๆ ที่จะสนับสนุนข้อสรุปว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนจะอยู่ในตำแหน่งที่จะควบคุมการดำเนินงานคลอง" 

ท่ามกลางคำกล่าวของทรัมป์ที่อ้างถึงรัฐบาลปักกิ่งว่าอยู่เบื้องหลังคลองปานามา ทางด้านโฆษกกระทรวงต่างประเทศของจีน เหมา หนิง กล่าวว่า “จีนไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและการดำเนินงานของคลอง และไม่เคยแทรกแซงกิจการของคลอง”

อย่างไรก็ตาม มีความเห็นจาก ไรอัน เบิร์ก ผู้อำนวยการโครงการอเมริกาศึกษา แห่งศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์และการระหว่างประเทศ มองว่า การบริหารท่าเรือเหล่านี้ทำให้บริษัท ซีเค ฮัตชิสัน มีข้อมูลทางยุทธศาสตร์ที่เป็นประโยชน์จำนวนมากของเรือต่าง ๆ ที่ผ่านเส้นทางนี้

"ความตึงเครียดทางด้านภูมิรัฐศาสตร์เกี่ยวกับทางด้านเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯ และจีนนั้นมีเพิ่มมากขึ้น" เบิร์กกล่าว "ข้อมูลที่เกี่ยวกับเรือขนส่งสินค้าเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์เมื่อเกิดสงครามเรื่องห่วงโซ่อุปทานเกิดขึ้น"

ถึงแม้ว่าซีเค ฮัตชิสัน จะไม่ได้มีรัฐบาลเป็นจีนเป็นเจ้าของ แต่เบิร์กมองว่า รัฐบาลสหรัฐอาจหวาดระแวงว่า รัฐบาลจีนจะสามารถเข้ามาแทรกแซงในบริษัทบริหารท่าเรือดังกล่าวได้มากน้อยเพียงใด


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top