Wednesday, 23 April 2025
Nissan

Nissan ทุ่มแสนล้าน พัฒนาแบตเตอรีรถอีวี ชาร์จเร็วเหมือนเติมน้ำมัน เตรียมใช้ปี 68

กลายเป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจ เมื่อ Nissan ประกาศว่าจะเลือกใช้คือ Solid-State Battery เพราะแบตเตอรี่ประเภทนี้จะทำให้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถชาร์จได้รวดเร็วราวกับเติมน้ำมัน ซึ่งทางนิสสันได้พูดเปรียบเปรยไว้ว่า "ถ้าเติมพลังงานได้เร็วกว่าสามเท่า จะต่างอะไรกับการเติมน้ำมันรถ"

สำหรับแบตเตอรีแบบ Solid-State ที่ขณะนี้ทาง Nissan กำลังเร่งพัฒนาอย่างเต็มความสามารถ คาดว่าจะผลิตออกมาเพื่อรองรับความต้องการของตลาดในอีก 5 ปีต่อจากนี้ แต่จะมีการผลิตนำร่องก่อนในปี 2568 และค่อยๆ ปรับปรุงพัฒนาต่อไป

Nissan มองเห็นโอกาสของเทคโนโลยีแบตเตอรีความเร็วสูงนี้ เจะสามารถลดต้นทุนในการผลิตลงได้ถึงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับแบตเตอรีแบบ Lithium-Ion โดยให้พลังงานได้มากขึ้นเป็น 2 เท่า และชาร์จประจุไฟได้เร็วขึ้น 3 เท่าตัว ตามคำกล่าวของ David Moss รองประธานอาวุโสฝ่ายวิจัยและพัฒนา Nissan ยุโรป โดยที่การวิจัยพัฒนากำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่องในศูนย์วิจัยที่ประเทศญี่ปุ่นและอังกฤษ

วิกฤต Nissan!! เลิกจ้างพนักงาน 9,000 คน หั่นเงินเดือน CEO เซ่นกำไรฮวบรอบ 15 ปี

(8 พ.ย.67) บริษัทผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น Nissan รายงานผลประกอบการขาดทุนในไตรมาสล่าสุด ทำให้ต้องประกาศเลิกจ้างพนักงาน 9,000 คน หรือประมาณ 6% ของพนักงานทั้งหมด เนื่องจากยอดขายของรถยนต์ Nissan หลายรุ่นในสหรัฐอเมริกาไม่ดีในไตรมาสที่ผ่านมา

ตามรายงานของ AP Makoto Uchida ซีอีโอของ Nissan กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า สถานการณ์นี้ 'เป็นเรื่องร้ายแรงมาก' โดยเขาได้ตัดสินใจลดเงินเดือนตัวเองลงครึ่งหนึ่ง และยังมีแผนลดกำลังการผลิตทั่วโลกลง 20% อีกด้วย

ในปี 2022 Uchida มีรายได้รวม 673 ล้านเยน (ประมาณ 4.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตามรายงานของ BBC

"นิสสันจะปรับโครงสร้างธุรกิจให้มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นมากขึ้น" Uchida กล่าวเสริม

ทั้งนี้ Uchida ไม่ใช่ซีอีโอคนแรกที่ลดเงินเดือนเมื่อธุรกิจประสบปัญหา ในปี 2023 Eric Yuan ซีอีโอของ Zoom ได้ลดเงินเดือนตัวเองลง 98% ท่ามกลางการเลิกจ้าง และต่อมา Satish Malhotra ซีอีโอของ Container Store ก็สมัครใจลดเงินเดือนลง 10% เพื่อให้พนักงานได้รับโบนัสตามผลงาน

นอกจากนี้ ในปี 2013 ซีอีโอของ Nintendo ก็เคยลดเงินเดือนตัวเองลงครึ่งหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงการเลิกจ้างเช่นกัน

ฮอนด้า-นิสสัน เจรจาควบรวมตั้งบริษัทโฮลดิ้ง หวังสู้เทสลา-รถ EV จีน จ่อนำมิตซูฯร่วมด้วยอีกค่าย

(18 ธ.ค.67) นิกเคอิ เอเชีย (Nikkei Asia) รายงาน ว่า ฮอนด้า มอเตอร์ (Honda Motor) และ นิสสัน มอเตอร์ (Nissan Motor) สองบริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น เตรียมเข้าสู่การเจรจาควบรวมกิจการ เพื่อผสานทรัพยากรของทั้งสองบริษัทให้แข็งแกร่งขึ้น เพื่อแข่งขันกับเทสลา (Tesla) และผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าจากจีนในอุตสาหกรรมที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ตามรายงาน ทั้งสองบริษัทกำลังพิจารณาจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) เพื่อบริหารจัดการร่วมกัน และคาดว่าจะลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในเร็ว ๆ นี้ โดยสัดส่วนการถือหุ้นและรายละเอียดอื่น ๆ จะมีการตัดสินใจในภายหลัง

สงครามราคารถยนต์ไฟฟ้าที่เริ่มขึ้นโดยเทสลาและบีวายดี (BYD) ผู้ผลิตจากจีน ได้สร้างแรงกดดันให้กับบริษัทรถยนต์แบบดั้งเดิม ซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายด้านรายได้และส่วนแบ่งการตลาด

ปัจจุบัน ฮอนด้ามีมูลค่าตลาดประมาณ 5.95 ล้านล้านเยน (1.32 ล้านล้านบาท) ขณะที่นิสสันมีมูลค่าตลาดประมาณ 1.17 ล้านล้านเยน (2.6 แสนล้านบาท) หากการควบรวมเกิดขึ้นจริง จะเป็นหนึ่งในข้อตกลงใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมยานยนต์ นับตั้งแต่การควบรวมมูลค่า 5.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.77 ล้านล้านบาท) ระหว่าง Fiat Chrysler และ PSA ในปี 2021 ซึ่งก่อให้เกิด Stellantis

ฮอนด้าและนิสสันเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 2 และ 3 ของญี่ปุ่น รองจากโตโยต้า (Toyota) แต่กำลังสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดในจีน ซึ่งเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูง

ยอดขายรถยนต์รวมทั่วโลกของทั้งสองบริษัทในปี 2023 อยู่ที่ 7.4 ล้านคัน แต่ยังต้องเผชิญกับความท้าทายจากผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะในจีน

ก่อนหน้านี้ในเดือนมีนาคม ฮอนด้าและนิสสันตกลงร่วมมือกันในธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า และในเดือนสิงหาคม ได้กระชับความสัมพันธ์เพิ่มเติมด้วยการร่วมพัฒนาแบตเตอรี่ เพลาไฟฟ้า และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

นิกเคอิยังรายงานเพิ่มเติมว่า ทั้งสองบริษัทกำลังพิจารณานำมิตซูบิชิ มอเตอร์ส (Mitsubishi Motors) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทโฮลดิ้งด้วย โดยปัจจุบันนิสสันถือหุ้นในมิตซูบิชิอยู่ 24% การผนวกรวมนี้อาจทำให้บริษัทใหม่กลายเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยยอดขายรวมกว่า 8 ล้านคันต่อปี

เจาะลึก Honda กับ Nissan ก่อนการควบรวมกิจการ

​จากรายงานล่าสุดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2024 บริษัทฮอนด้า (Honda) และนิสสัน (Nissan) กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อควบรวมกิจการ การควบรวมกิจการระหว่างฮอนด้าและนิสสันจะทำให้บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดยานยนต์ไฟฟ้าได้มากขึ้น โดยการรวมทรัพยากรและเทคโนโลยีของทั้งสองบริษัทจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า เพื่อรับมือกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากผู้ผลิตรายใหม่ ๆ ในตลาดโลก และเพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการแข่งขันกับผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ เช่น เทสลา (Tesla) และบีวายดี (BYD)

​แล้วทั้ง 2 บริษัทมาความเป็นมาอย่างไร เดี๋ยววันนี้จะพาไปรู้จักกันค่ะ

โดยสรุปคือ แม้ฮอนด้าจะมีมูลค่าตลาดสูงกว่านิสสันประมาณ 5 เท่า รวมถึงยอดขายที่สูงกว่า แต่การผนึกกำลังครั้งนี้ก็จะทำให้เกิดข้อได้เปรียบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันในตลาดโลกได้มากขึ้นค่ะ

ลือดีลควบรวมนิสสัน-ฮอนด้า คว้าน้ำเหลว หลังค่ายนิสสันไม่ยอมรับเป็นบริษัทลูก

(5 ก.พ.68) สื่อญี่ปุ่นรายงานตรงกันว่า การเจรจาควบรวมกิจการระหว่าง ฮอนด้า และ นิสสัน กำลังเผชิญอุปสรรคสำคัญ หลังนิสสันแสดงจุดยืนคัดค้านข้อเสนอของฮอนด้าอย่างหนัก

แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ฮอนด้าได้ยื่นข้อเสนอซื้อหุ้นของนิสสันเพื่อให้กลายเป็นบริษัทย่อย ภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทว่าฝ่ายนิสสันปฏิเสธ เนื่องจากไม่ต้องการสูญเสียอำนาจบริหาร ส่งผลให้แนวโน้มการควบรวมอาจต้องยุติลง โดยเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ผู้บริหารของนิสสันระบุว่า "เงื่อนไขที่ทั้งสองฝ่ายจะยอมรับได้แทบเป็นไปไม่ได้ ทำให้การควบรวมดูเหมือนจะเกิดขึ้นได้ยาก"

ก่อนหน้านี้ ในเดือนธันวาคม 2023 ฮอนด้าและนิสสันประกาศแผนจัดตั้ง บริษัทโฮลดิ้งร่วม ภายในเดือนสิงหาคม 2026 พร้อมถอดหุ้นของทั้งสองบริษัทออกจากตลาดหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตาม แผนปรับโครงสร้างของนิสสันที่ล่าช้าสร้างความไม่พอใจให้กับฮอนด้า จึงเป็นเหตุให้บริษัทเปลี่ยนแนวทางจากการร่วมมือ มาเป็นการเข้าซื้อหุ้นนิสสันแทน เพื่อให้สามารถควบคุมการบริหารและเร่งเดินหน้าแผนปรับโครงสร้าง

ขณะนี้ นิสสันยังคงประชุมภายในอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีแนวโน้มสูงว่าจะไม่ยอมรับเงื่อนไขการเป็นบริษัทย่อย ขณะที่ฝั่งฮอนด้าก็ส่งสัญญาณว่า หากนิสสันปฏิเสธ ข้อตกลงนี้อาจต้องยุติลงในที่สุด


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top