Wednesday, 23 April 2025
NASA

28 มกราคม 2529 รำลึก โศกนาฏกรรม 'ยานชาเลนเจอร์' ระเบิดกลางฟ้า นักบินอวกาศ 7 ชีวิตสูญเสีย

วันนี้เมื่อ 39 ปีก่อน เกิดเหตุการณ์ที่ช็อคโลก เมื่อกระสวยอวกาศ ‘ชาเลนเจอร์’ เกิดระเบิดขึ้นบนท้องฟ้า หลังจากถูกปล่อยขึ้นไปเพียงไม่กี่นาที

ย้อนไปถึงที่มาของ ‘ยานชาเลนเจอร์’ เป็นกระสวยอวกาศขององค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีภารกิจสำคัญในการสำรวจอวกาศ ก่อนเกิดอุบัติเหตุครั้งใหญ่ ยานชาเลนเจอร์เคยบินไปในอวกาศมาแล้ว 9 ครั้ง แต่ในการบินครั้งที่ 10 หลังจากถูกปล่อยออกไป ท่ามกลางผู้ชมหลายล้านคนที่ติดตามชมผ่านหน้าจอโทรทัศน์ เพียง 73 วินาทีเท่านั้น ยานก็เกิดระเบิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด

อุบัติเหตุในครั้งนั้นทำให้มีนักบินอวกาศเสียชีวิต 7 คน หนึ่งในนั้นคือ คริสตินา แมคคอลิฟ อดีตครูประถมที่มีความฝันอยากเป็นนักบินอวกาศ แม้เธอจะได้มาเป็นนักบินอวกาศในที่สุด แต่เธอก็ต้องเสียชีวิตอย่างกะทันหันในเหตุการณ์นี้

การสอบสวนภายหลังพบว่า สาเหตุของอุบัติเหตุเกิดจากชิ้นยางวงแหวนที่ใช้ปิดกั้นแก๊สระหว่างรอยต่อในจรวดไม่สามารถยืดหยุ่นได้ดี เนื่องจากสภาพอากาศที่เย็น ทำให้เกิดการรั่วไหลของแก๊สที่ไปกระทบกับถังเชื้อเพลิงระหว่างจรวดขับดัน ซึ่งส่งผลให้เกิดการระเบิดฉีกตัวยานและจรวดออกเป็นชิ้นๆ

โศกนาฏกรรมยานชาเลนเจอร์ถือเป็นอุบัติเหตุที่ร้ายแรงที่สุดในโครงการขนส่งอวกาศของสหรัฐฯ และส่งผลให้สหรัฐฯ ต้องหยุดโครงการขนส่งอวกาศไปนานเกือบ 3 ปี แม้เวลาจะผ่านไปแล้วกว่า 35 ปี แต่ความสูญเสียในครั้งนั้นยังคงฝังอยู่ในความทรงจำของผู้คนเสมอมา

ยานอวกาศรัสเซีย ‘ซายุซ MS-26’ ลงจอดในคาซัคสถาน นำลูกเรือกลับสู่โลกตามกำหนด หลังทำภารกิจบน ISS กว่า 7 เดือน

(21 เม.ย. 68) ยานอวกาศ ซายุซ MS-26 ของรัสเซียประสบความสำเร็จในการพานักบินอวกาศ 3 นายเดินทางกลับสู่พื้นโลกอย่างปลอดภัย หลังจากปฏิบัติภารกิจในวงโคจรนอกโลกนานกว่า 7 เดือน บนสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station: ISS)

ลูกเรือประกอบด้วยนักบินอวกาศชาวรัสเซีย อเล็กซีย์ ออฟชินิน และ อีวาน วากเนอร์ รวมถึงนักบินอวกาศชาวอเมริกันจากนาซา โดนัลด์ เพ็ตติต ซึ่งการเดินทางกลับของเขาในครั้งนี้ตรงกับวันคล้ายวันเกิดปีที่ 70 ของเจ้าตัวอีกด้วย

องค์การนาซาระบุผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย X (อดีต Twitter) ว่า “นักบินอวกาศโดนัลด์ เพ็ตติต กลับสู่โลกในวันเกิดของเขาเอง อายุครบ 70 ปี ในวันเดียวกับที่เขาใช้ร่มชูชีพเหินฟ้ากลับบ้าน”

สำหรับภารกิจครั้งนี้เน้นการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในสภาวะไร้น้ำหนักและเทคโนโลยีสำหรับการอยู่อาศัยระยะยาวนอกโลก โดยทั้งสามคนได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นทันทีที่ลงจอด และอยู่ในสภาพร่างกายแข็งแรงดี

ด้านองค์การอวกาศรัสเซีย (Roscosmos) รายงานว่า ยานซายุซ MS-26 ได้แยกตัวออกจากสถานีอวกาศในช่วงเช้าของวันที่ 19 เมษายน 2568 ก่อนที่จะเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก และลงจอดอย่างปลอดภัยในเขตคาซัคสถานตามกำหนดการในวันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมา พร้อมเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินที่เข้าดำเนินการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ

การเดินทางกลับสู่โลกในครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการปิดฉากภารกิจสำคัญบนอวกาศ แต่ยังเป็นการตอกย้ำถึงความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แม้ในยามที่โลกเผชิญความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์

ทั้งนี้ ภารกิจของ ซายุซ MS-26 เป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ของความสามารถทางด้านเทคโนโลยีอวกาศของรัสเซีย ซึ่งยังคงมีบทบาทสำคัญในโครงการสำรวจอวกาศระดับนานาชาติ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top