Monday, 12 May 2025
METI

‘สุริยะ’ ผนึก METI สานต่อความร่วมมือ ไทย-ญี่ปุ่น ยัน ‘โซนี่กรุป’ ปักหมุดไทย ขยายรง.เซมิคอนดัคเตอร์

รมว.อุตสาหกรรรม ผนึก METI ดึงบริษัทยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นลงทุนในไทยเพิ่ม ยกระดับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เสริมศักยภาพเศรษฐกิจไทย ยัน ‘โซนี่กรุปคอร์ปอเรชัน’ เตรียมขยายโรงงานการผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ในไทย ส่วนโตโยต้า ลุย EV

(16 พ.ย. 65) กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม หรือ METI ประเทศญี่ปุ่น หารือกรอบความร่วมมือการพัฒนาอุตสาหกรรม 2 ประเทศ หวังดึงกลุ่มทุนข้ามชาติร่วมพัฒนาศักยภาพเอสเอ็มอีไทย กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยศักยภาพต่างแดน พร้อมเร่งสร้างบุคลากรเชี่ยวชาญเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ภายใต้กรอบการทำงานร่วมกันตลอดจนพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาเพื่อรองรับบุคลากรที่ผ่านการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้จากโครงการต่าง ๆ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้าน Digitalization เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการสร้าง System Integrator ตลอดจนยกระดับภาคการผลิตเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ให้ประเทศไทยเป็นผู้นำการผลิตและใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของอาเซียน ล่าสุดข้อมูลต้นปี 2565 ญี่ปุ่นยังเชื่อมั่นการลงทุนไทย ผ่านการลงทุนโครงการต่าง ๆ เป็นจำนวนร้อยละ 23 ของโครงการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (Ministry of Economy, Trade and Industry, METI) ได้ร่วมมือกันในด้านการพัฒนาและยกระดับภาคอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้ร่วมประชุมกับ นายนิชิมุระ ยาสึโทชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และ อุตสาหกรรม (METI) ประเทศญี่ปุ่น ผ่านการหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานด้านการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมและกำหนดแนวทางการดำเนินงานความร่วมมือในอนาคต ระหว่างการประชุมเอเปค 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ 

โดยการประชุมครั้งนี้มุ่งส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม พร้อมกำหนดความร่วมมือในอนาคต ภายใต้ กรอบการทำงาน Cooperation Framework on Human Resource Development for Realizing Industry 4.0 ผ่าน 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1. แนวทางการร่วมกันพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม 2. การขับเคลื่อนนโยบาย BCG ในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3. การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อุปทานผ่านแนวคิดการร่วมสร้าง (Co-creation) และการพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนไทยและญี่ปุ่น 

“การแลกเปลี่ยนกรอบความร่วมมือครั้งนี้ จะเป็นการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมไทย มุ่งเน้นการสร้างโอกาสด้านการค้าและการลงทุน ตลอดจนโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ ผ่านการถอดบทเรียนหลังการระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งสอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio-Circular-Green Economy : BCG Model ของไทย” นายสุริยะ กล่าว

ทั้งนี้ รัฐมนตรีอุตสาหกรรม ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรม และ METI ร่วมกันยกระดับภาคอุตสาหกรรมสู่ Thailand 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการใช้เทคโนโลยีเข้ามายกระดับภาคการผลิตตามเป้าประสงค์ต่าง ๆ อาทิ โครงการ Lean Automation and System Integrators (LASI) และการใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์ หรือ โมโนซึกุริ ที่ใช้พลังกลที่มีอยู่ในธรรมชาติแก้ปัญหาซึ่งสามารถลดต้นทุนค่าพลังงาน ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งเดียวกัน โดยกรอบการทำงานที่ทั้งสองกระทรวง ได้มีการแลกเปลี่ยนกันไปเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 และจะได้รับการยกระดับไปอีกขั้น โดยเฉพาะในด้านการสร้างบุคลากรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมด้วยการแลกเปลี่ยนกรอบความร่วมมือในวันนี้ 

ยิ่งไปกว่านั้นภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าว ยังมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาเพื่อรองรับบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้จากโครงการต่าง ๆ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้าน Digitalization เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการสร้าง System Integrator เพื่อยกระดับภาคการผลิตเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ให้ประเทศไทยเป็นผู้นำการผลิตและใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของอาเซียน

‘สุริยะ’ นำทีมเยือนญี่ปุ่น ดึงนักลงทุน หนุนพัฒนาอุตสาหกรรมระหว่าง 2 ประเทศ

‘สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ’ รมว.อุตสาหกรรม นำทีมเยือนญี่ปุ่น หารือร่วมรัฐมนตรี METI ย้ำความสัมพันธ์แน่นแฟ้นเชิงเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) อย่างรอบด้าน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (MIND) เปิดเผยถึงผลการหารือกับนายนิชิมุระ ยาสึโทชิ (Mr.Nishimura Yasutosh) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ระหว่างเยือนประเทศญี่ปุ่น วันที่ 11-15 มกราคม 2565 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมระหว่าง 2 ประเทศ ว่า บรรยากาศการหารือเป็นไปด้วยดี ตอกย้ำความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างไทยและญี่ปุ่นที่ดำเนินธุรกิจร่วมกันมาอย่างยาวนานในหลายด้าน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่นักลงทุนญี่ปุ่นได้มาลงทุนในประเทศไทย 

โดยการเข้าหารือกับ METI ยังเป็นการครบรอบ1 ปี ที่ทั้ง 2 กระทรวงฯ คือ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) และกระทรวงอุตสาหกรรม (MIND) ได้ร่วมกันปรับแนวคิดจาก 'Connected Industries' มาสู่ความร่วมมือ Co-Creation for Innovative and Sustainable Growth ที่เน้นการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เมื่อปลายปี 2565 โดยเฉพาะประเด็นการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะบุคลากร ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือ Cooperation Framework on Human Resource Development for Realizing Industry 4.0 ขับเคลื่อน 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 

1. แนวทางการร่วมกันพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม 2. การขับเคลื่อนนโยบาย BCG ในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3. การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อุปทานผ่านแนวคิดการร่วมสร้าง (Co-Creation)

นายสุริยะ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังหารือในประเด็นการลงทุนภายใต้กรอบ AJIF (Asia-Japan Investing for the Future) มุ่งเน้นความเชื่อมโยงระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศต่าง ๆ จึงเน้นย้ำถึงความพร้อมของประเทศไทย ในการต้อนรับนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม ที่กำกับดูแลโดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ซึ่งปัจจุบันมีนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล รวมทั้งสิ้น 67 แห่ง ใน 16 จังหวัด พื้นที่รวมเกือบ 2 แสนไร่ (ประมาณ 320 ตารางกิโลเมตร) เป็นนิคมฯที่ทันสมัย และมีเงินลงทุนสะสมรวมกว่า 150,000 ล้านเหรียญสหรัฐ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top