Tuesday, 22 April 2025
LGBTQ+

ธอส. ปรับเงื่อนไขผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่ ปลดล็อกให้คู่ LGBTQ+ กู้ร่วมซื้อบ้านได้

ธอส.ปรับปรุงเงื่อนไขในการให้สินเชื่อของธนาคาร ปลดล็อกให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ สามารถกู้ร่วมกันได้แล้ว

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธอส.ได้ปรับปรุงเงื่อนไขในการให้สินเชื่อของธนาคาร โดยกำหนดให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) สามารถกู้ร่วมกันได้แล้วตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์สินเชื่อ เช่นเดียวกับกรณีกู้ร่วมกับคู่สมรส พี่-น้อง และบิดา-มารดา เพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมทางเพศในสังคมไทย สนับสนุนให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้ง่ายยิ่งขึ้น 
 

'MISS TRANS THAILAND' บริบทเวทีใหม่เพื่อชาว LGBTQ+

เมื่อเข้าสู่โลกสมัยใหม่ ทุกอย่างได้เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดการสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่ม “กลุ่มเพศทางเลือก” หรือ “LGBTQ+” ก็เช่นกัน สังคมได้เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น กลุ่มเหล่านี้เริ่มมีตัวตนและมีพื้นที่ยืนในสังคม โดยไม่ต้องหลบซ่อนกันอีกต่อไป จึงได้เกิดกลุ่ม องค์กร หน่วยงาน และกิจกรรมที่สร้างสรรค์อีกมากมาย ที่ส่วนใหญ่จะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้คนทั่วไปได้เล่งเห็น มองเห็น พิจารณาเห็นถึงคุณค่าและศักยภาพของชาว LGBTQ ที่ช่วยสีสันให้สังคมน่าอยู่มากยิ่งขึ้น

องค์กร “MISS TRANS THAILAND” จึงได้ถูกก่อตั้งขึ้นมา เมื่อ ปี พ.ศ.2560 (ค.ศ. 2018) โดย “คุณเฟม-อคีราห์ จันทพาน” สาวประเภทสองที่กล้าเปิดเผยตัวตนให้เป็นที่ประจักษ์และความสามารถอย่างชัดเจน โดยเป็นเวทีการประกวดของสาวประเภทสอง ภายใต้คอนเซปต์ “คนงามเคียงความรู้ เชิดชูวัฒนธรรม นำความเท่าเทียม ยอดเยี่ยมเสมอภาค” ซึ่งได้จัดประกวดมาอย่างต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันที่จะกำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 6 และเตรียมจัดการประกวดกับ “MISS TRANS THAILAND 2022” เพื่อเฟ้นหากลุ่มเพศทางเลือกที่พร้อมจะเป็นแบบอย่างในสังคมทุกมิติ

สำหรับการดำเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์กับคำว่า “TRANS”
T-Teamwork : เพื่อให้เกิดความสามัคคีและการรวมพลังเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของทุกฝ่ายทุกภาคส่วนโดยไม่แบ่งเพศ จะนำมาซึ่งความสำเร็จอย่างยั่งยืนที่งดงาม

R-Relationship : เพื่อให้เกิดความสัมพันธภาพที่ดีไม่เกิดช่องว่างในกลุ่มคนเพศทางเลือกกับคนทั่วไป สามารถทำงานและอยู่ในสังคมส่วนรวม โดยไม่มีอคติต่อกัน

A-Authority : เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เป็นต้นแบบที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับครอบครัว องค์กรสถาบัน สังคม และประเทศชาติ

N-Nationalism : เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความรักชาติและรักแผ่นดิน พร้อมที่จะเป็นผู้สืบทอดและสืบสานชาติไทยไว้จากรุ่นสู่รุ่น

S –Strong : เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความอดทนให้บังเกิดกับผู้เข้าประกวด เพราะจะเป็นต้นทุนที่ดีในการทำงานให้ประสบความสำเร็จสืบต่อไปในอนาคตกาล  
ส่วนคุณสมบัติของ “MISS TRANS THAILAND 2022” เพื่อให้เป็นทรัพยากรบุคคลของประเทศชาตินั้นสอดคล้องกับคอนเซ็ปต์ ดังนี้คือ “คนงามเคียงความรู้ เชิดชูวัฒนธรรม นำความเท่าเทียม ยอดเยี่ยมเสมอภาค”

1. คนงามเคียงความรู้ : เป็นผู้มีความงามทั้งภายนอกและความงามภายใน โดยเฉพาะด้านความรู้ที่เคียงคู่กับคุณธรรม

2. เชิดชูวัฒนธรรม : เป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นผู้ส่งเสริมและสนับสนุนวัฒนธรรมในทุกด้านทุกมิติ อาทิ ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ด้านการท่องเที่ยว ด้านเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ไทย ด้านสังคม                                                      

ลีน่า จัง’ ชี้ งาน Pride ปีนี้ กลายเป็นเวทีของนักการเมือง ทั้งเพื่อไทย และก้าวไกล หาใช่การแสดงออกเพื่อ LGBT อย่างแท้จริง

ลีน่า จังจรรจา โพสต์คลิปสั้นลงใน TikTok แสดงความผิดหวังกับงาน Pride ของปีนี้
โดยได้แสดงความคิดเห็นลงไปในคลิปว่า การจัดงาน Pride ของปีที่แล้วนั้นเป็นการจัดเดินขบวนเพื่อแสดงออกของกลุ่ม LGBTQ+ อย่างแท้จริง

แต่ในปีนี้นั้นกลับกลายเป็นเวทีที่นักการเมืองนำมาใช้ พรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย นำมาใช้แสดงเจตนารมณ์เรื่องที่มีคนถูกยิงตาย หน้าวัดปทุมมีการวางดอกไม้ไว้อาลัยมันก็เลยกลายเป็นการเมืองไป กลายเป็นเวทีของนักการเมืองที่มายึดพื้นที่ไป ก็เลยกลายเป็นว่า งาน Pride เป็นงานของพรรคการเมือง พรรคก้าวไกลและติ่งส้ม

‘2 มิสอินเตอร์ควีนฯ’ เปิดมุมมอง ‘ความเท่าเทียมทางเพศ’  เผยประทับใจ ‘คนไทย’ เพราะเปิดกว้าง-ยอมรับ LGBTQ+

(5 ก.ค. 66) ‘ความเท่าเทียม’ เป็นคำที่มักได้ยินบ่อยในช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็น ความเท่าเทียมทางสังคม หรือ ความเท่าเทียมทางด้านการงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเท่าเทียมทาง ‘เพศ’ ที่มีผู้คนให้ความสนใจ และมีการออกมารณรงค์ถึงประเด็นดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง กระทั่งมีหลากหลายพรรคการเมืองหยิบยกมาเป็นนโยบายหาเสียงในช่วงเลือกตั้ง

ประจวบเหมาะกับเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เป็นเดือนแห่ง ‘Pride Month’ ผู้คนนับแสนต่างพร้อมใจกันโบกสะบัดธงสีรุ้งซึ่งเป็นตัวแทนแห่งความหลากหลาย เพื่อเป็นการเรียกร้องให้สังคมโอบรับเรื่องเพศสภาพมากยิ่งขึ้น ราวกับเป็นภาพสะท้อนต่อกระแสของโลกในปัจจุบันต่อเรื่องการตระหนักถึงความหลากหลายทางเพศว่า…

เริ่มเป็นไปในทิศทางที่ ‘ดีขึ้น’ แต่ไม่ใช่ ‘ดีแล้ว’

‘โซลานจ์ เดคเคอร์’ ผู้ครองมงกฏเวที มิสอินเตอร์เนชันแนล ควีน 2023 (Miss International Queen 2023) เวทีเฟ้นหาสาวประเภทสองระดับโลก เปิดเผยความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าวภายหลังได้ตำแหน่งว่า ภาพความเท่าเทียมที่เธออยากเห็น คือ การเข้าถึงระบบสาธารณสุขอย่างเท่าเทียม

“บางประเทศเกิดเป็นกฏหมายขึ้นมาแล้วว่า LGBTQ+ หรือทรานส์เจนเดอร์ไม่สามารถเข้ารับบริการจากสาธารณสุข หรือทางการแพทย์ กีดกันแม้กระทั่งการศึกษา เพราะฉะนั้นสิ่งที่อยากเห็นคือการที่ทุกคนเปิดกว้างในเรื่องนี้ เนื่องจากตอนนี้ทางประเทศฝั่งยุโรปยังคงมีการต่อต้าน และมีการแบ่งแยกกลุ่มคนเหล่านี้จากสังคม”

ที่สำคัญไปกว่าเรื่องนี้ คือ ความปลอดภัยด้านอื่นๆ ในการใช้ชีวิตประจำวันของเหล่า LGBTQ+ ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เธอหวังให้เกิดขึ้น “เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์อันตราย ทรานส์เจนเดอร์ หรือ LGBTQ+ มักถูกมองว่าเป็นตัวการหลักของความไม่ปลอดภัยสำหรับเมืองนั้นๆ”

และยังบอกอีกว่า ในอนาคตอยากเห็นประเทศไทยมีกฏหมายสมรสเท่าเทียม

ด้าน ‘เมโลนี มอนโร’ รองชนะเลิศอันดับ 2 มิสอินเตอร์เนชันแนล ควีน 2023 เผยว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือสร้างการเรียนรู้ให้ผู้คนทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเท่าเทียมให้มากยิ่งขึ้น เข้าใจให้ลึกลงไปถึงระดับจิตวิญญาณ เพราะความเป็นจริงแล้วมนุษย์ทุกคน ‘เท่ากัน’

“มนุษย์คือมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความแตกต่างทางศาสนาก็ตาม แต่สุดท้ายแล้วมนุษย์ก็มีความเป็นมนุษย์เท่ากันอยู่ หากโลกของเราสามารถที่จะพูด หรือมีพื้นที่ที่จะพูด และได้เรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้มากขึ้น ว่าสุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเพศสภาพอะไรก็ยังเป็นมนุษย์เหมือนกันกับเรา เพื่อในอนาคตจะลดความอันตราย ลดความเข้าใจผิดต่อมนุษย์ด้วยกันเองบนโลกของเรา หรือแม้กระทั่งลดความเข้าใจผิดในเรื่องที่ว่า LGBTQ+ จะมาสร้างความอันตรายกับโลกใบนี้ และเข้าใจกันมากขึ้น” เมโลนีกล่าว

“สุดท้ายแล้วทรานส์เจนเดอร์ หรือ LGBTQ+ ไม่ได้สร้างปัญหา หรืออันตรายให้แก่โลกใบนี้เลย หากในอนาคตถ้าเรามีเวทีที่จะถกกัน จะเข้าใจว่าเพศสภาพ เพศทางเลือกใดๆ ก็แล้วแต่ไม่ได้เกี่ยวกับความสันติสุขของโลกเรา มนุษย์ทุกคนเท่ากันหมด” จับใจทุกประโยค เป็นความในใจที่ผ่านการกลั่นกรองจากหัวใจของคนที่อยู่ในสถานะนี้ ลึกซึ้งแต่หนักแน่น

นอกเหนือจากนั้น เมโลนี ยังเปิดเผยสิ่งที่เธอประทับใจในประเทศไทยในตลอดระยะเวลาสองอาทิตย์นี้ คือ เธอประทับใจ ‘คนไทย’

“เพราะคนไทยเป็นคนที่ใจกว้างมาก และใจดีกับทุกเพศ ทุกวัย คนไทยมองเห็นความเป็นมนุษย์ เคารพมนุษย์ด้วยกันเอง เปิดกว้างให้กับทรานส์เจนเดอร์เป็นอย่างมาก และให้ความอบอุ่นมาก วัฒนธรรมความเป็นคนไทยที่เปิดรับทุกคนคือสิ่งที่ประทับใจมากที่สุด” เมโลนีกล่าว

ท้ายที่สุดแล้ว จุดมุ่งหมายอันสูงสุดบนเส้นทางที่เต็มไปด้วยความหลากหลายนี้ คือการที่อยากเห็น ‘ทุกคน’ มีชีวิตตามที่ตัวเองปรารถนา ไม่ถูกตีตรา ไม่ถูกลดทอนคุณค่า เพียงเพราะคำว่า ‘แตกต่าง’ และเดินบนเส้นทางที่พวกเขาสามารถเป็นตัวของตัวเองได้โดยไม่ถูกสังคมตั้งคำถาม นั่นคือความหวังอันสูงสุด ที่อยากจะขอ

‘โรงเรียนบุญวัฒนา’ ไฟเขียว!! นร. LGBTQ+ ‘ชายไว้ผมยาว-หญิงไว้ผมสั้น’ ด้าน 'สส.ก้าวไกล-ชาวเน็ต' ปลื้ม!! เป็นโรงเรียนที่ก้าวหน้า ไม่แบ่งเพศ

(5 พ.ค.67) บนโซเชียลฯ แชร์ภาพจากเฟซบุ๊ก สภานักเรียนโรงเรียนบุญวัฒนา ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ 3 ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวทะเล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ได้นำภาพระเบียบการแต่งตัวที่ถูกต้องให้แก่รุ่นน้องที่จะเข้ารับการศึกษาในปีการศึกษา 2567 ที่จะถึงนี้ โดยมีการกำหนดการแต่งตัวทั้งนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย นักศึกษาวิชาทหาร และนักเรียนเพศทางเลือก LGBTQ+ ชายไว้ผมยาว หญิงไว้ผมสั้น

โดยข้อกำหนดเครื่องแบบนักเรียน LGBTQ+ ชาย-หญิง ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า นักเรียนเพศชาย สามารถไว้ผมยาวได้ โดยรวบผมอย่าให้ปอยผมโผล่แล้วผูกโบสีขาว ส่วนท่อนล่างยังคงให้ใช้กางเกงขาสั้นเหมือนนักเรียนชาย ส่วนนักเรียนเพศหญิง สามารถไว้ผมสั้นได้ แต่ทรงผมไม่ยาวรกรุงรังจนเกินไป ไม่เลยตีนผม ส่วนท่อนล่างยังคงให้ใช้กระโปรงเหมือนนักเรียนหญิง โดยการขออนุญาตยกเว้นทรงผมนักเรียนเพศวิถี ต้องลงบันทึกการขออนุญาตในการไว้ทรงผมที่ห้องกิจการนักเรียนก่อน

สำหรับข้อกำหนดเครื่องแบบนักเรียน LGBTQ+ ชาย-หญิง ได้รับความสนใจจากชาวเน็ตจำนวนมาก และมีเสียงชื่นชมตามมา เช่น นายปิยชาติ รุจิพรวศิน ส.ส.นครราชสีมา เขต 2 พรรคก้าวไกล โพสต์คอมเมนต์ระบุว่า "ชื่นชมแนวคิดสภานักเรียนโรงเรียนบุญวัฒนาครับ" ขณะที่ชาวเน็ตคนอื่นๆ ต่างแสดงความคิดเห็น อาทิ

"ดีใจแทนน้องๆ มากเลยค่ะ ขอบคุณแทนน้องๆ จากใจจริง"

"แนวคิดน่ารักกับเด็กๆ มากค่ะ"

"ไม่ได้อยู่ๆก็ทำ กว่าจะได้กระบวนการนี้ขึ้นมา สภานักเรียนก็และฝ่ายกิจการนักเรียนเป็นแกนนำในการทำประชาพิจารณ์ ทั้งกับนักเรียน ผู้ปกครอง และผู้บริหารครับ #ทีมเด็กบุญ"

"ยินดีดีใจกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ด้วยนะครับ ปีนี้ถือเป็นการเปิดใหม่ยอมรับในมุมมองของเพศทางเลือก ถ้าทางโรงเรียนสามารถให้นักเรียนที่เป็นชายแต่อยากแต่งหญิง หรือนักเรียนที่เป็นหญิงแต่อยากแต่งชาย ให้สิทธิเปิดกว้างมากยิ่งขึ้นจะดีมากๆ ครับ สนับสนุนซัพพอร์ตบุญวัฒนาครับ"

"ทำถึงมาก เข้าใจนักเรียน ชอบโรงเรียนเเบบนี้ ทีนี้นักเรียนคงเรียนมีความสุขมากกว่าเดิม ไม่ต้องมาคอยกังวลอะไร เกี่ยวกับเรื่องทรงผม"

"ผมขอชื่นชมทีมงานผู้บริหาร รร.บุญวัฒนาเป็นอย่างยิ่งครับ ที่กล้าที่จะเปิดรับความหลากหลายทางเพศ ความคิดทันยุคทันสมัย ในฐานะศิษย์เก่าผมก็ขอปรบมือให้ครับ เยี่ยมจริงๆ"

"ขอบคุณทางโรงเรียนนี้มากนะคะ ที่เปิดโอกาสและเป็นกระบอกเสียงเล็กๆ ว่า LGBTQ+ ก็มีสิทธิ์เสรีภาพเทียบเท่ากับบุคคลอื่นๆ"

"นี่แหละโรงเรียนที่ก้าวหน้า โรงเรียนที่ไม่แบ่งเพศ ผู้บริหารก็สุดปัง ขอบคุณที่นึกถึงจิตใจและความสำคัญของเด็กทุกคน นี่คือโรงเรียนที่เจริญแล้ว โรงเรียนที่ก้าวหน้าและทันตามยุคสมัย ขอบคุณแทนน้องๆ นะคะดีใจแทนมาก โรงเรียน LGBTQ"

"ดีใจแทนเด็กรุ่นหลังๆ มาก ที่โรงเรียนเปิดรับขนาดนี้ ยินดีกับน้องๆ ด้วยนะคะ อย่าลืมตั้งใจเรียนกันด้วยนะ"

‘จักรภพ’ พาคนรัก!! เข้าบ้านจันทร์ส่องหล้า ขอคำปรึกษาทักษิณ เตรียมจดทะเบียนสมรส

(4 ม.ค. 68) นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายก และ อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (3 ม.ค. 68) ตนพร้อมด้วย นายสุไพรพล ช่วยชู หรือ ป๊อบ คู่ชีวิต  เดินทางเข้าพบ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของไทย ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า เพื่อเรียนเชิญเป็นสักขีพยานในการจดทะเบียนสมรส รับกฎหมาย พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ที่ประเทศไทยจะประกาศใช้ ในวันที่ 22 มกราคม 2568 

นายจักรภพ กล่าวว่า การเข้าพบครั้งนี้ เพื่อขอคำปรึกษา ดร.ทักษิณ เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสและการฉลองแต่งงานของเรา ในฐานะที่ท่านเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ ที่บทบาทสำคัญในการผลักดัน พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ในนามพรรคเพื่อไทย จนนำไปสู่ประกาศใช้ในวันที่ 22 มกราคมนี้ นับเป็นวันประวัติศาสตร์ของประเทศไทยและโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความหมายมาก เพราะว่าคนเพศเดียวกันหรือที่เรียกว่า LGBTQ+ ก็สามารถจดทะเบียนสมรสได้ เหมือนกับมนุษย์คนอื่นในโลกนี้ เพื่ออยู่ภายใต้ระบบกฎหมายเดียวกัน 

“ท่านเมตตาให้คำปรึกษาอย่างผู้ใหญ่ในครอบครัวทั้งในเรื่องวัน เวลา รูปแบบ แม้แต่ฤกษ์พานาที โดยท่านย้ำว่า ต้องยึดหลักโบราณเพื่อหาวันที่เหมาะสม” นายจักรภพ กล่าว นายจักรภพ กล่าวถึงเส้นทางความรักของตัวเองว่า คบหาดูใจกับ คุณป๊อบมายาวนานถึงกว่า 23 ปี พอ ๆ กับ การผลักดัน พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม เมื่อปี 2544 ที่รัฐบาล นำโดยนายกรัฐมนตรี ทักษิณ  เริ่มเสนอแนวคิดให้คนรักเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนสมรสได้ตามกฎหมาย แต่ต้องยุติลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากกระแสสังคมต่อต้าน รัฐบาลจึงมองเห็นว่าสังคมไม่พร้อม เรื่องนี้จึงตกไป ต่อมา ปี 2555 มีการเรียกร้องจากกลุ่ม LGBTQ+ ต้องการจดทะเบียนสมรส แต่ถูกปฏิเสธ จึงได้ร้องเรียนไปยังหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง 

ต่อมาในปี 2556 สมัยรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็มีผลักดันให้มีกฎหมายรองรับของกลุ่ม LGBTQ+ อีกครั้ง โดยได้ยื่นเสนอร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิตเพื่อให้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร แต่ไม่สำเร็จ และยุติลงในปี 2557  หลังจากนั้นก็มีการเคลื่อนไหวจากภาคประชาชนและพรรคการเมือง และกระแสโลก ที่เรียกร้องสมรสเท่าเทียม และมีการเดินหน้าอย่างจริงจัง จนนำไปสู่ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ในสมัยรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน  นายกรัฐมนตรี และจะประกาศใช้ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมอย่างเป็นทางการ ในรัฐบาลของ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นับเป็นการผลักดันต่อสู้อย่างยาวนานของพรรคเพื่อไทย ในการสร้างประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์โลกจนประสบความสำเร็จในที่สุด

เดินทางเข้าสหรัฐฯ เสี่ยงถูกส่งกลับโดยไม่ทราบสาเหตุ LGBTQ+ อาจเจออุปสรรคหนัก หลังทรัมป์ประกาศนโยบายจำกัดเพศ

(25 มี.ค. 68) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า หลายประเทศในยุโรปออกคำเตือนแก่พลเมืองของตนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเดินทางเข้าสหรัฐฯ หลังมีรายงานเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจจากยุโรปถูกกักตัวที่สนามบิน ถูกสอบสวนอย่างเข้มงวด และบางรายถูกส่งตัวกลับโดยไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน

รัฐบาลฝรั่งเศส เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ เป็นหนึ่งในประเทศที่ออกแถลงการณ์เตือนพลเมืองให้ระมัดระวังในการเดินทางเข้าสหรัฐฯ โดยระบุว่าผู้โดยสารบางรายแม้จะมีวีซ่าถูกต้องหรือเดินทางภายใต้โครงการ Visa Waiver Program (VWP) ก็ยังเผชิญกับการปฏิเสธเข้าเมืองโดยเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของสหรัฐฯ

กระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนีแนะนำให้พลเมืองที่มีแผนเดินทางไปสหรัฐฯ “เตรียมเอกสารประกอบให้ครบถ้วน และพร้อมรับมือกับกระบวนการตรวจสอบที่เข้มงวดขึ้น” ขณะที่รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ระบุว่า “มีพลเมืองถูกกักตัวหลายชั่วโมงโดยไม่มีการชี้แจงสาเหตุที่ชัดเจน”

นอกจากคำเตือนเรื่องการตรวจคนเข้าเมืองที่เข้มงวดขึ้นแล้ว กระทรวงการต่างประเทศเดนมาร์ก ได้ออกคำแนะนำเพิ่มเติมบนหน้าเว็บไซต์ทางการ โดยระบุว่า พลเมืองข้ามเพศ หรือชาว LGBTQ+ ทั้งหลาย ที่ต้องการเดินทางเข้าสหรัฐฯ ควรตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเพิ่มขึ้น หลังจาก โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศว่าสหรัฐฯ จะรับรองเพียงสองเพศ คือ ชาย และ หญิง เท่านั้น

แถลงการณ์ของรัฐบาลเดนมาร์กระบุว่า “ถือแค่พาสปอร์ต เดินสวย-หล่อเข้าเมืองแบบที่แล้วมาไม่ได้อีกแล้ว” พร้อมแนะนำให้ชาว LGBTQ+ ที่ต้องการเดินทางเข้าสหรัฐฯ ตรวจสอบข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับกฎหมายท้องถิ่นและมาตรการของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เพื่อลดความเสี่ยงในการเผชิญกับการปฏิเสธเข้าเมืองหรือถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม

นักวิเคราะห์บางรายเชื่อว่าแนวโน้มดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการที่สหรัฐฯ เพิ่มมาตรการคัดกรองเข้มงวดขึ้นจากเหตุผลด้านความมั่นคง โดยเฉพาะในช่วงที่มีความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างสหรัฐฯ และบางประเทศในยุโรปเกี่ยวกับประเด็นเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ขณะที่ทางการสหรัฐฯ ยังไม่มีคำชี้แจงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายตรวจคนเข้าเมือง แต่กระแสความกังวลในยุโรปอาจส่งผลต่อกระแสการเดินทางและความสัมพันธ์ระหว่างสองฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกในอนาคต

ทั้งนี้ นักเดินทางจากยุโรปที่มีแผนจะเดินทางเข้าสหรัฐฯ จึงถูกแนะนำให้ตรวจสอบข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับมาตรการเข้าเมือง และเตรียมพร้อมสำหรับการถูกสอบสวนที่อาจเกิดขึ้นก่อนเดินทางเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่ไม่คาดคิด


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top