Sunday, 20 April 2025
Harvard

ทัวร์ลง ‘อธิการบดี ม.ฮาร์วาร์ด’ ประเด็น ‘อิสราเอล-ปาเลสไตน์’ ด้านบอร์ดบริหารลาออก เหตุรับไม่ได้ต่อความนิ่งเฉยของสถาบัน

เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 66 อธิการบดีมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ‘คลอดีน เกย์’ ซึ่งเพิ่งรับตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของสถาบันอันเก่าแก่นี้เมื่อเดือนกรกฎาคม กำลังเผชิญกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก จากการที่ฮาร์วาร์ดมีปฏิกิริยาออกมา หลังจากการโจมตีอิสราเอลโดยกลุ่มฮามาส

เศรษฐีพันล้านชาวอิสราเอล ‘ไอดาน โอเฟอร์’ และภรรยา ‘บาเทีย โอเฟอร์’ ลาออกจากตำแหน่งบอร์ดบริหารของคณะบดีแห่ง Harvard Kennedy School

ทั้งคู่กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว ก็เพราะการไร้ความชัดเจนของผู้บริหารมหาวิทยาลัยในการสนับสนุนชาวอิสราเอล

“ความศรัทธาของเราต่อคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้เเตกสลายลงเเล้ว” คู่สามีภรรยาโอเฟอร์กล่าวในแถลงการณ์

ขณะเดียวกันอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเเห่งนี้ ‘ลาร์รี ซัมเมอร์ส’ กล่าวว่าเขารู้สึก ‘สะอิดสะเอียน’ กับการที่ฮาร์วาร์ดนิ่งเงียบในตอนเเรกหลังจากที่กลุ่มนักศึกษากว่า 30 กลุ่ม ออกเเถลงการณ์กล่าวโทษอิสราเอลเพียงฝ่ายเดียว ว่าเป็นต้นเหตุของความรุนเเรง

มหาเศรษฐีอีกรายหนึ่งที่มีปฏิกิริยาต่อท่าทีของฮาร์วาร์ด คือ ‘บิลล์ อะเคอร์แมน’ นักลงทุนรายใหญ่และศิษย์เก่าของสถาบันแห่งนี้

ต่อมา ‘คลอดีน เกย์’ อธิการคนปัจจุบัน เมื่อเธอมีถ้อยเเถลงที่ชัดเจนถึงการโจมตีในอิสราเอล และซัมเมอร์ลดความร้อนเเรงในคำวิจารณ์ต่อเธอ

เกย์ต้องออกแถลงการณ์หลายฉบับ ในความพยายามลดความตึงเครียด โดยในฉบับที่สามเมื่อวันพฤหัสบดี เธอประณาม “ความโหดร้ายอันป่าเถื่อนที่กระทำโดยฮามาส” ซึ่งเป็นกลุ่มที่ถูกระบุโดยสหรัฐฯ และยุโรป ว่าเป็น ‘ขบวนการก่อการร้าย’ ขณะเดียวกัน เกย์ยืนยันที่จะปกป้องเสรีภาพในการเเสดงความคิดเห็น

ในถ้อยเเถลงผ่านคลิปวิดีโอ เกย์กล่าวว่า เธอปฏิเสธ “การคุกคาม หรือการข่มขู่บุคคล บนพื้นฐานความเชื่อของพวกเขา”

‘ม.ฮาร์วาร์ด’ บรรจุ ‘ภาษาไทย’ ลงหลักสูตรการเรียนการสอนปี 66-67 เชื่อ!! ก้าวสำคัญแห่ง 'ภาษาสยาม' ผงาดข้ามสู่ความเป็นอินเตอร์

เมื่อไม่นานมานี้ ช่องยูทูบ ‘สะท้อนไทย’ ได้นำเสนอมุมมองของผู้คนในหลายประเทศ ว่ามีความคิดเห็นยังไงกับประเทศไทยในแง่มุมต่างๆ

หนึ่งในนั้นเป็นเรื่องของภาษาไทย ที่ดังไกลทั่วโลกจนถึงขั้นมหาวิทยาลัยระดับโลกอย่าง ‘ฮาร์วาร์ด’ (Harvard University) ต้องทำการบรรจุไว้ในหลักสูตรการศึกษา

สำหรับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา โดยได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 ก.ย. ค.ศ. 2179

เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยกลุ่มไอวีลีก (Ivy League) โดยในปี ค.ศ. 2009-2010 และได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่ง ของสหรัฐอเมริกา โดยนิตยสารยูเอสนิวส์ รวมถึงได้รับการจัดอันดับโดย ไทมส์ไฮเออร์เอดยูเคชันซัปพลีเมนต์ (Times Higher Education) หนังสือพิมพ์ชื่อดังจากลอนดอน ประเทศอังกฤษ ให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 7 ของโลก ในปี ค.ศ. 2019-2020 ซึ่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีแห่งหนึ่งของโลก ที่ผู้คนทั่วโลกให้การยอมรับ

ทั้งนี้หากอ้างอิงจาก เพจอาเซียน ได้มีการโพสต์ถึงภาษาของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้มีการบรรจุเข้าไปเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้แก่ ภาษาบาฮาซา (Bahasa) ของประเทศอินโดนีเซีย, ภาษาตากาล็อก (Tagalog) หรือภาษาฟิลิปีโน (Filipino) ประเทศฟิลิปปินส์ และ ภาษาไทย (Thai) ของประเทศไทย

ด้าน เว็บไซต์เดอะสตาร์ ได้เขียนบทความเกี่ยวกับภาษาตากาล็อก, ภาษาบาฮาซา และภาษาไทยที่ถูกนำมาสอนในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ไว้ด้วยว่า ภาควิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จะทำการจ้างอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน เพื่อสอนภาษาเหล่านี้โดยเฉพาะ สำหรับปีการศึกษา 2566-2567

แน่นอนว่า ภายหลังที่ทางมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้บรรจุหลักสูตรภาควิชาภาษาไทย เข้าไปเป็นหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอน ก็ทำให้ในโลกออนไลน์ มีการแสดงความคิดเห็นถึงประเด็นดังกล่าวกันเป็นจำนวนมาก อาทิ...

- “ฉันเรียนภาษาไทยมา 2-3 ปีแล้ว แต่ฉันกลัวเกินกว่าจะพูดกับคนพื้นเมืองเสมอ เพราะฉันมักจะไม่มั่นใจในความเข้าใจของตัวเอง”
- “ภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนใคร คำศัพท์แสลงใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกปีที่มาจากคนหนุ่มสาว ง่ายยากอยู่ที่นิสัย และเรียนรู้ได้อย่างเต็มใจ ถ้ามีความสุขภาษา เขาจะสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว”
- “ภาษาไทยไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย”
- “ภาษาไทยเป็นภาษาที่ทั่วโลกให้การยอมรับ”
- “คนรุ่นใหม่ทั่วโลกอยากเรียนภาษาไทยกันมากขึ้น”

- “ภาษาเวียดนามอยู่ในอันดับที่ 10 ของโลก เมื่อพิจารณาจากจำนวนของเจ้าของภาษา 86 ล้านคน และอันดับที่ 20 ของโลก เมื่อพิจารณาจากจำนวนผู้พูดระดับ 1 และ 2 ภาษาเวียดนามเป็นภาษาประชากรรายใหญ่อันดับ 4 ในสหรัฐอเมริกา เป็นเรื่องปกติที่จะได้รับการสอนภาษาเวียดนามในฮาร์วาร์ด แต่น่าตลกที่ข้อมูลนี้ แสดงเฉพาะภาษาไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียเท่านั้น”
- “ถ้าไม่มีภาษาเวียดนาม นั่นคือข่าวปลอม ได้โปรด จงเข้าไปเช็กที่เว็บไซต์ของฮาร์วาร์ด”
- “ภาษาอินโดนีเซียเอามาจากภาษามาเลเซีย” และได้มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นโต้แย้งความเห็นนี้ว่า “ภาษามาเลเซียไม่มีอยู่จริง”

***ทั้งนี้ ก็มีดรามาเล็กๆ ถึงความเห็นที่พูดถึงเกี่ยวกับภาษาเขมร ซึ่งอ้างว่าเป็นต้นกำเนิดของภาษาไทยในหัวข้อประเด็นนี้ด้วย อาทิ...
- “แล้วภาษาเขมรล่ะ อยู่ที่ไหน?” จากคำถามนี้ ก็ได้มีความคิดเห็นส่วนใหญ่มาตอบกลับใต้คอมเมนต์นี้ว่า…
- “พวกเขาไม่สอนหรอก ภาษาตลกแบบนั้น มันตลกเกินไป”

หลังจากนั้นก็ได้มีชาวกัมพูชาเข้ามาแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมอีกว่า…
- “ตัวอักษรไทย มาจากภาษาเขมร ยินดีต้อนรับ คนรับใช้ชาวไทยของเรา”
- “ทำไมเขาถึงไม่สอนภาษาเขมร พวกเขายิ่งใหญ่ที่สุดในจักรวาล”
- “ภาษาต้นฉบับแรกอยู่ที่ไหน? ภาษาเขมรอยู่ที่ไหน?”
- “ต้องมีแค่ภาษาเขมรอย่างเดียวสิ เพราะเขมรคือประเทศมหาอำนาจ”

ไม่ว่าประเด็นข้อถกเถียงจะเป็นเช่นไรก็ตาม แต่สิ่งที่น่าภูมิใจคือ ภาษาไทยกับก้าวสำคัญในการเป็นหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยระดับโลกอย่าง 'ฮาร์วาร์ด' อาจเป็นจุดเริ่มต้นบทใหม่ของ Soft Power ไทยผ่านภาษาไทยนับต่อจากนี้ ก็เป็นได้...

'เพจดัง' ขยายความ Visiting Democracy Fellowship ที่ Harvard ของ 'พิธา' สรุปแล้ว ไปเป็นนักเรียน ไม่ได้ไปเป็นอาจารย์ และไม่น่าใช่การถูกเชิญ

(21 ส.ค. 67) เพจ 'วันนี้พรรคส้มโกหกอะไร' ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า...

#ทุกคนคะ ขอกันเข้ามาเยอะ ประเด็น คุณพิธา ในฐานะ Visiting Democracy Fellowship ที่ Harvard หมายความว่าอะไร 

#หนูจะเล่าให้ฟัง

1. ต้องสมัครค่ะ เท่าที่อ่านดู ไม่มีอธิบายเรื่องการเชิญ โดยทั่วไปคือต้องสมัคร มีค่าใช้จ่าย ไม่แน่ใจว่าจะมีกรณีเชิญพิเศษหรือไม่นะคะ

2. ต้องเป็นนักเรียน ป.เอก หรือ PhD Vandidate (คือนักเรียน ป.เอก ที่สอบ Proposal ผ่านแล้ว) หรือ มีประสบการณ์ (Professional Experienc

3. Consider เป็น Full-Time Student ค่ะ จะสมัครเรียนได้ ต้องติดต่ออาจารย์ที่มหาลัยก่อน ให้อาจารย์รับ ถึงจะสมัครได้ แล้วจะขึ้นตรงกับภาควิชาใดภาควิชานึงของมหาลัย (Process แบบนี้ถือเป็นวิธีการสมัครเรียน ป.เอก ของอเมริกาแบบปกติค่ะ)

4. ไม่ต้องลงเรียนวิชาใดแล้ว (แต่ถ้าอยากเรียน ก็สามารถลงเรียนแบบ Audit ได้) ให้ทำเฉพาะงานวิจัยของตัวเอง เป็น Independent Research ในหัวข้อของตัวเอง จะถูก Required ให้เข้าฟังสัมมนาของมหาลัย (ซึ่งเป็นปกติของ นร. ป.เอก เช่นกัน)

5. เป็นโปรแกรมระยะสั้น ไม่เกิน 1  ปี หากครบกำหนดต้องสมัครใหม่เอง ไม่ต่อโปรแกรมอัตโนมัติ ไม่ได้วุฒิ ป.เอก แต่ได้ประกาศนียบัตร

#สรุปสั้นๆ

คุณพิธา สมัครเรียน Graduate Student ค่ะ เหมือน นักเรียน ป.เอก/PhD candidate ที่เรียน coursework ครบหมดแล้ว หรือ Postdoc และ ทำแต่งานวิจัยของตัวเองค่ะ เป็นโครงการทำวิจัยระยะสั้น และ มีกิจกรรมทำตามที่ Harvard จะให้ทำ และเป็น Non-Degree ค่ะ

ทั้งนี้ ทางเพจ ได้ตรวจสอบ พบอีกว่า นานพิธา น่าจะสมัครไว้ก่อนแล้ว เพราะถ้าไปปีนี้ ก็จะตรงกับเปิดเทอมเดือน ก.ย.ที่จะถึงนี้ (Fall: Sep 2024 - May 2025)


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top