อีโมจิตัวไหน!? ไม่ถูกใจชาว Gen Z | THE STATES TIMES Y WORLD EP.27
ชาว GenZ ขอโบกมือลา
อิโมจิยกนิ้ว ในแชตที่ทำงาน
เพราะดูไม่เป็นมิตรและหยาบคาย
.
ติดตามได้ใน THE STATES TIMES Y World x Open Up

ชาว GenZ ขอโบกมือลา
อิโมจิยกนิ้ว ในแชตที่ทำงาน
เพราะดูไม่เป็นมิตรและหยาบคาย
.
ติดตามได้ใน THE STATES TIMES Y World x Open Up
(22 เม.ย.66) นายพงศ์พรหม ยามะรัต ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'Pongprom Yamarat' ระบุว่า...
คุยกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ Gen X ปลาย Y ต้น แทบทุกคนบ่นเหมือนกันว่า คนรุ่นเราแม่งเหนื่อย แต่สู้ เพราะอะไรไม่รู้ที่ทำให้ทัศนคติเราดี
อาจเพราะเราโตมาด้วยการขึ้นรถเมล์ แต่ก็มีมือถือใช้บ้าง โตด้วยการกินข้าวแกงข้างถนน แต่ก็รู้จัก Starbucks ที่เมืองนอก
มันทำให้เรานั่งรถบีเอ็มก็ได้ รถเมล์ก็ดี ทำให้เรารู้จักความพอเพียง แต่ก็ไม่ปฏิเสธการว่าก็อยากจะหาเงินพันล้าน เพราะเราก็ทะเยอทะยานพอที่จะบอกว่า เราก็ต้องสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้สำเร็จด้วย
สิ่งที่คนรุ่นเราเจอปัญหามาก คือคนรุ่นก่อนเรา แม้จะน่ารัก แต่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงในโลกใบใหม่น้อยมาก เราจึงมักเจอคำพูดดีๆ แต่ขาดการปฏิบัติ ขาดการลงมือทำ ขาดการคิดนอกกรอบเพื่อการเปลี่ยนแปลง
เอาหละ!! งั้นคนรุ่นเราเปลี่ยนให้...
ตอนนี้เราโตจนเป็นผู้บริหารตามองค์กรละ ไม่ก็เป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้างละ
เราเจอปัญหาเพิ่มเติมจากคนรุ่นใหม่ แทนที่เขาจะขยันกว่าเรา เพราะโอกาสเขามีมากกว่าเรา แต่กลายเป็นว่า...
'อยากเจริญ แต่ไม่อยากเหนื่อย'
ซึ่งวนกลับมาเรื่องเดิม ขาดการปฏิบัติ ขาดการลงมือทำ ขาดการคิดเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง แถมท้อเร็ว ท้อง่าย ขาด Global mindset ที่มีในเด็กเวียดนาม, สิงคโปร์, จีน, อเมริกา, อังกฤษ, เยอรมนี
แต่กลับบ่นเก่งกว่า...
...ทำไมไทยไม่เจริญ
...ทำไมถนนเราไม่เรียบ
...ทำไมต้นไม้ไม่เยอะๆ แบบเมืองนอก
...ทำไมไม่มีเสื้อผ้าสวยๆ เยอะๆ
ผมมักเปรียบเทียบให้คน Gen X ปลาย Y ต้นฟัง ว่าคนอายุก่อนเกษียณวันนี้ ลงล่างไปจนอายุ 30 ต้น กำลังแบกภาระใหญ่ให้ประเทศไทย
เรามีคนรุ่นก่อนเราจำนวนไม่น้อยที่หวังดีต่อประเทศ แต่ไม่เข้าใจถึงการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง (คนดีๆ เก่งๆ ก็เยอะ ตรงนี้ต้องขออภัย)
เรามีคนรุ่นใหม่ที่อยากให้ประเทศดีอย่างเมืองนอก แต่ความอดทนไม่พอ เพราะไม่เข้าใจว่า “ไม่มีความสำเร็จใดบนโลกใบนี้ที่ได้มาโดยไม่ต้องเหนื่อย”
ไม่นานมานี้ นายพงศ์พรหม ยามะรัต ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘Pongprom Yamarat’ ระบุว่า...
1.) ขึ้น BTS ลงสถานีสยาม ทางลงบันไดเลื่อนมีวัยรุ่นยืนขวางทางลง คนต้องยืนต่อแถวยาว ลงไม่ได้
ลงมาอีกที เจอวัยรุ่นสาวสวยยืนขวางอีก เลยต้องบอกดีๆ ว่าน้องครับ ทางซ้ายคือเดิน ทางขวาคือยืน รบกวนยืนทางขวาครับ แล้วยิ้ม
ปรากฏว่าน้องไม่ยิ้มด้วย กลับเถียงว่า “ทำไมหนูถึงต้องหลบ?”
ผมเลยต้องสอนเรื่องมารยาทด้วยเสียงเข้มๆ กลับ
แต่ดูหน้าน้องแล้ว ‘สิทธิ ตัวตน’ ของน้องคงทำให้ไม่ฟังอะไร…
2.) ตกบ่ายที่หน้าห้องน้ำ Community Mall มีผู้สูงอายุกำลังจะเดินเข้าห้องน้ำ
วัยรุ่นคนแรกเดินสวนออกไปโดยไม่ให้ผู้สูงอายุเข้ามาก่อน และไม่เปิดประตูให้
วัยรุ่นคนที่ 2 แต่งตัวดี เนี้ยบเหมือนคนแรก เหมือนออกมาจากปกนิตยสารก็เดินสวนตามออกไป โดยให้ผู้สูงอายุที่กำลังจะเข้าห้องน้ำหลบอีก
ส่วนผม คน Gen X
ผมเดินไปเปิดประตูห้องน้ำ ค้างไว้ให้ผู้สูงอายุ แล้วพูดว่า “เชิญเข้ามาก่อนครับ” และยิ้มให้
มันคงอยู่ใน DNA คน Gen X แหละ ว่าเราต้องให้ Priority กับผู้สูงอายุ เด็ก และสตรี
3.) จอดรถไฟกะพริบอยู่ ก็มีวัยรุ่น รุ่นประมาณข้างบนเดินมาถามว่า “รถเสียรึเปล่าพี่ มีอะไรให้ช่วยไหมครับ?” ก็ตอบไปว่า “จอดรอครับ ขอบคุณมากครับ”
ยังดีครับ
ใน 8 คน ยังหามีน้ำใจได้ 1 คน
วัยรุ่นดีๆ ก็ขอชม
แต่พวก ‘Gen me, only me and myself’ ก็น่าเป็นห่วงจริงๆ และเยอะขึ้นมาก
ยิ่งคิดถึงตัวเองมาก ความสุขก็ลด
อัตราการป่วย Depression ก็สูงตาม ฆ่าตัวตายก็สูงตาม
เพราะลืมนึกว่ามนุษย์ต้องมีคำว่า ‘ห่วงใยกัน’ ครับ
ปล. รูปที่แปะมา เป็นสภาพลานจอดรถสวนเบญจกิติ วัยรุ่นที่มาถ่ายภาพกัน ทิ้งขยะเกลื่อนตั้งแต่ skywalk ยันลานจอดรถ
คนรุ่นก่อน เช่น ยุค Baby Boomer ไทย อาจล้าหลังหน่อย อันนี้เข้าใจ แต่คนรุ่นใหม่ก็อย่าล้าหลังตามสิครับ
(7 มิ.ย. 67) ผลสำรวจจาก CoderPad และ Visier เผยไปในทางเดียวกันว่า คน Gen Z และ Gen Y จำนวนมากไม่สนใจที่จะรับตำแหน่ง Manager ซึ่งเป็นงานระดับบริหารและจัดการ เพราะพวกเขาพบว่างานเหล่านี้ไม่คุ้มกับภาระงานและความเครียดที่เพิ่มขึ้น
โดยไม่กี่ปีที่ผ่านมาพบว่า ตำแหน่งงานด้านบริหารจัดการได้สูญเสียความน่าดึงดูดใจกับกลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่ เนื่องจากลักษณะงานที่ทำให้ต้องแบกรับเรื่องต่าง ๆ ถูกคาดหวังให้แก้ปัญหาและผลสำรวจพบว่ากลุ่มคนทำงานด้านบริหารจัดการ ต้องต่อสู้กับความโดดเดี่ยวหลังจากรับบทบาทการทำงานที่รู้สึกว่าถูกตัดขาดจากทีม
การสำรวจจากแพลตฟอร์มสัมภาษณ์งาน CoderPad พบว่า 36% ของคนทำงานด้านเทคโนโลยีไม่ต้องการความรับผิดชอบด้านการบริหารจัดการ เพราะ Gen Z และ Y ให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานมากกว่าคนรุ่นก่อน ๆ สำหรับพวกเขาชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน และความกดดันที่มาพร้อมกับงานบริหารจัดการมีมากกว่าค่าจ้างที่ได้เพิ่มขึ้นมา
ขณะที่ Visier แพลตฟอร์มการวิเคราะห์ด้านทรัพยากรบุคคลของสหรัฐอเมริการะบุว่า มีเพียง 38% ของผู้ถูกสำรวจที่สนใจจะเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลในองค์กรปัจจุบันของพวกเขา โดยผู้เข้าร่วมสำรวจมองว่าการย้ายงานมาฝั่งบริหารจัดการ หมายถึงการทำงานที่ยาวนานขึ้นและต้องรับมือกับภาระงานที่เพิ่มขึ้น
ผู้เข้าร่วมบางคนกล่าวว่าพวกเขาพอใจกับบทบาทในปัจจุบัน และมองว่าตำแหน่งงานด้านการบริหารจัดการจะดึงพวกเขาออกจากการได้ทำสิ่งที่รัก
(19 มิ.ย.67) BTimes รายงานว่า นายสมประวิณ มันประเสริฐ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Economic Intelligence Center (EIC) และรองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานกลยุทธ์องค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยเผชิญความเปราะบางมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ มีดังนี้...
ในด้านภาคครัวเรือน ปรากฏว่า ผลการสำรวจ SCB EIC Consumer survey เมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 พบว่า ผู้บริโภคคนไทยราว 70% มีเงินสำรองฉุกเฉินไม่ถึง 3 เดือน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อเดือนที่สำคัญ เกือบทั้งหมดของคนกลุ่มนี้ ไม่มีเงินสำรอง ส่วนใหญ่เป็นวัยทำงานอายุ 31 ถึง 40 ปี (เจนวาย) มีอาชีพเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชน และประกอบอาชีพอิสระ
นอกจากนี้ ยังพบว่ามีมากกว่า 1 ใน 3 หรือกว่า 33% ไม่มีประกันชนิดใดเลย จึงเป็นความเสี่ยงด้านค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น หากมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดสะท้อนความเปราะบางสูงของผู้บริโภคกลุ่มนี้
สำหรับภาคธุรกิจนั้น โดยรวมมีแนวโน้มฟื้นตัว แต่บางกลุ่มธุรกิจยังคงมีสถานะเปราะบางค่อนข้างมาก โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก หรือ Small Business ที่มีภาระหนี้สูงมากขึ้น ท่ามกลางปัญหาโครงสร้างของภาคการผลิตไทย
ทั้งนี้ SCB EIC คาดการณ์ว่า แม้รัฐบาลจะมีมาตรการการเงินเน้นช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจมากขึ้น แต่ยังต้องใช้เวลากว่ามาตรการจะมีผลช่วยเหลือในภาพกว้าง