Wednesday, 23 April 2025
FKIIThailand

'อลงกรณ์' พอใจ 'เอฟเคไอไอบิสซิเนส ฟอรั่ม' ประสบความสำเร็จเชื่อมโยงธุรกิจไทย-เกาหลี บรรลุข้อตกลงจับคู่ธุรกิจการลงทุนกิจการเทคโนโลยีชีวภาพ-สุขภาพ-สิ่งแวดล้อมพร้อมขยายความร่วมมือกับโกลบอลESG

นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานเอฟเคไอไอ ไทยแลนด์( FKII Thailand)เปิดเผยวันนี้ภายหลังเป็นประธานเปิดงาน FKII Global Business Forum : THAI - KOREA COLLABORATION และบรรยายพิเศษเรื่อง อนาคตความร่วมมือระหว่างประเทศไทย-เกาหลี (Thailand - Korea Collaboration Outlook)ซึ่งจัดร่วมกับสถาบันทิวา โดย นายชยดิฐ หุตานุวัตรและการบรรยายพิเศษเรื่องการขับเคลื่อนความร่วมมือทางเศรษฐกิจของเกาหลีในเอเซีย (Korea-Asia Economic Cooperation)โดย อดีตรัฐมนตรี ดร.ลี นัมคี ( Dr. Lee Nam Kee ) ประธานสมาคมโคเอก้า( Korea-Asia Economic Cooperation Association : KOAECA) ณ สวนเสียงไผ่ สถาบันทิวา ทาวน์อินทาวน์

งานดังกล่าว เปิดโอกาสให้ ผู้ประกอบการเกาหลีในนามสมาชิก KOAECA ได้นำเสนอ Profile ของบริษัทและสิ่งที่ต้องการในการเชื่อมโยงธุรกิจกับไทย และแนะนำผู้ประกอบการไทยโดย คุณชนานนท์ นรภูมิพิภัชน์ CEO บริษัท ทิวา แคปิตอลคอนซัลแทนซี่ จำกัด อีกทั้งมีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างเกาหลีและไทย 4 ฉบับ ได้แก่ 1) N-Biotek กับ TVA Capital Consultancy Ltd. 2) KNJ Engineering & Health กับ EnvitechLtd. 3) Mealbon Inc. กับ Neo Venture Solutions Ltd. และ 4) Global ESG Association กับ TVA Instituteโดยมีผู้เข้าร่วมประชุมเช่น

ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานคณะที่ปรึกษาเอฟเคไอไอ. ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันสร้างชาติ รศ.ดร.อาณัฐชัย รัตตกุล รองประธานเอฟเคไอไอ. นายสุปรีย์ ทองเพชร ประธานสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สภาเอสเอ็มอี) ดร.กนก อภิรดี อดีตผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย นายปรพล อดิเรกสาร อดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ศจ.ดร.ฐาปนา บุญหล้า ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายพิเศษเรื่อง โอกาสการลงทุนในประเทศไทย(Investment Opportunity in Thailand)โดย นางสาวฐนิตา ศิริทรัพย์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และได้รับเกียรติจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย ได้ส่งคุณคิมมินเฮ (Ms. Kim Minhye) ที่ปรึกษาด้านพาณิชย์ (Commercial Attache) มาร่วมงาน

FKII Thailand (Field for Knowledge Integration and Innovation) เป็นองค์กรความร่วมมือเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้และนวัตกรรม ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (Non- Profit Organization) ในรูปของวิสาหกิจเพื่อสังคม 100% โดยมี คุณอลงกรณ์ พลบุตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเป็นประธานคณะกรรมการและมี คุณชยดิฐ หุตานุวัชร์ ผู้บริหารสถาบันทิวา เป็นผู้อำนวยการ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการและภาคีภาคส่วนต่าง ๆ ทางด้านการพัฒนาโดยองค์ความรู้ นวัตกรรมและเชื่อมโยงการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ FKII Thailand มีพันธกิจมุ่งเน้นจะสร้างเศรษฐกิจนวัตกรรม (Innovation Economy)

ติดตาม FKII Thailand
FB: FKIIThailand https://shorturl.at/87OHy
LineOA: FKIIThailand https://lin.ee/BgPCPvd
 
FKII Thailand มุ่งมั่นสร้างสรรค์ ความร่วมมือ ร่วมทุน ร่วมค้า ระหว่างประเทศ

เอฟเคไอไอ.ร่วม 'ท็อป-จิรายุส' เปิดเวทีตอบโจทย์อนาคตประเทศไทย เสนอรัฐเร่งเดินหน้าความตกลงดิจิทัลอาเซียนดึงเม็ดเงินลงทุนกว่า 60 ล้านล้านบาท มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต สร้างฐานวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี เสริมทักษะเอไอ ยึดแนวทาง Green-ESG

นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ ไทยแลนด์( FKII Thailand) เปิดเผยวันนี้ว่า สถาบันเอฟเคไอไอ.ได้จัดกิจกรรมการสนทนาวาระประเทศไทย ( FKII NATIONAL DIALOGUE )เพื่อนำประเด็นที่เป็นความท้าทายและโอกาสในปัจจุบันและอนาคตมาวิเคราะห์เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับประเทศในหัวข้อ 'อนาคตปัญหาประเทศไทย' โดยจัดร่วมกับสถาบันทิวา มีผู้ร่วมการสนทนาแลกเปลี่ยน(Dialogue) ได้แก่ รศ.ดร.อาณัฐชัย รัตตกุล รองประธานเอฟเคไอไอ.

นายชยดิฐ หุตานุวัชร์ ประธานสถาบันทิวา และ นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (ท็อป-จิรายุส) ดำเนินรายการโดย นางสาวนวรัตน์ สัมพันธ์ศรี หัวหน้าคณะทำงานคณะกรรมการขับเคลื่อนเอฟเคไอไอ.ทั้งนี้ รศ.ดร.อาณัฐชัย รัตตกุล ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน ณ สวนเสียงไผ่ สถาบันทิวา ทาวน์อินทาวน์ กรุงเทพมหานคร

ในกิจกรรมการสนทนาดังกล่าว 'ท็อป-จิรายุส' ได้แบ่งปันประสบการณ์ในการเข้าร่วมสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum; WEF) ณ เมืองดาวอส ซึ่งมีผู้นำประเทศต่างๆ ทั่วโลก และนักธุรกิจที่มีมูลค่าตลาดสูงกว่า 5 Billion USD รวมกันประมาณ 3,000 คน ซึ่งในประเทศไทยผู้ที่ได้เข้าร่วมก็จะบริษัทใหญ่ ๆ ได้แก่ CP, ThaiBev, PTT,SCG, KBank เป็นต้น ซึ่งใน WEF มีการพูดถึงเรื่อง ESG หรือ Environment, Social, และ Governance ที่เป็นกระแสของโลกในอนาคตที่จะมีผลบังคับใช้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า (2030) ซึ่งทุกๆ กิจการโดยเฉพาะ SMEs ต้องทราบและเริ่มปรับตัวตั้งแต่วันนี้ เนื่องจากจะทำให้ไม่สามารถขายสินค้าให้กับลูกค้าเดิม ๆ ได้อีกต่อไป เพราะกระบวนการการผลิตที่ไม่สามารถแจกแจงปริมาณการปล่อยคาร์บอนหรือมีส่วนร่วมในการทำลายสภาพแวดล้อมของโลก นอกจากนี้ สถาบันการเงินก็จะไม่ยินดีปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจที่มีส่วนร่วมในการทำลายสภาพแวดล้อมของโลกตลอดทั้งซัพพลายเชนเช่นเดียวกัน ปัจจัยดังกล่าวจึงเป็นข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจของผู้ที่ไม่ปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจตามเทรนด์โลก

แนวทางการปรับตัวของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเล็ก ๆ ได้แก่ การรวมกลุ่มทางภูมิศาสตร์และการค้า (Regionalization) เพื่อเพิ่มขนาดของเศรษฐกิจและประชากร (จาก 67 ล้านคน เป็น 600 ล้านคน) ซึ่งในภูมิภาค ASEAN กำลังอยู่ในขั้นตอนการจัดทำ DEFA (2025) หรือ Digital Economy Framework Agreement ซึ่งหากบรรลุข้อตกลงนี้ได้ประมาณ 60% จะสามารถดึงเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้กว่า 2 Trillion USD ดังนั้น ประเทศใดมีความพร้อมมากกว่าก็มีโอกาสที่จะดึงเม็ดเงินลงทุนดังกล่าวได้มากกว่ากัน นอกจากนี้ ยังเป็น ASEAN Single Window, Free Flow for People และ Regional Money

อุตสาหกรรมแห่งอนาคต จะไม่มีอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันอีกต่อไป เนื่องจากหยุดเติบโตแล้ว และเน้นแข่งขันด้านราคา (Red Ocean) ในอนาคตจะขับเคลื่อนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (S&T) Deep Tech, Digital Infrastructure บนอุตสาหกรรม Frontier Technology ได้แก่ AI, Big Data, IoT, Block Chain, 3D Printing ฯลฯ

ผลกระทบต่อตลาดหลักทรัพย์เมื่อประกาศใช้ Net Zero ในปี 2030
-กองทุนต่าง ๆ จะไม่สามารถเข้าไปถือหุ้นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ Green ไม่ได้ ดังนั้น บริษัทและ Supplier ทั้งหมดต้อง Green ทั้งประบวนการ
-บริษัทที่ไม่ปรับตัวเข้าสู่ Green จะไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ เนื่องจากธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อให้บริษัทที่ไม่ Green
-บริษัทในตลาดหลักทรัพย์เดิมเป็น SET กับ MAI แต่ในอนาคตจะเป็น ESG กับ Non-ESG

เทคโนโลยี AI จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น คนต้องมีความสามารถในการสื่อสาร (Prompt) กับ AI ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด (Ask the right Question) ดังนั้น จำเป็นที่จะต้อง Up-Skill / Re-Skill ในรูปแบบ Open Education Platform ตามความสะดวกของผู้เรียน

เรื่องการศึกษา เสนอว่าให้มีกระบวนการ Build Character ให้กับนักเรียน ทั้งนี้ เนื่องจากคนไทยมีความ Creativity สูงอยู่แล้ว จึงควรส่งเสริมให้พัฒนาขึ้น นอกจากนี้ ควรส่งเสริมด้าน Soft Skill (การสื่อสาร การเข้าร่วมกิจกรรม) และผลักดันเรื่อง Blue Ocean Competition.

สำหรับสถาบันเอฟเคไอไอ. ไทยแลนด์ (FKII Thailand: Field for Knowledge Integration and Innovation) เป็นองค์กรวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ทำหน้าที่สนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศรวมทั้งเป็นตัวกลางเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานวิจัยกับภาคเอกชนภาครัฐทั้งในและต่างประเทศทางด้านนวัตกรรมและองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพใหม่ของประเทศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนตอบโจทย์ความท้าทายใหม่ของโลกปัจจุบันและอนาคต

ติดตาม FKII Thailand
FB: FKIIThailand https://shorturl.at/87OHy
LineOA: FKIIThailand https://lin.ee/BgPCPvd

'อลงกรณ์-เอฟเคไอไอ.' ชู 'บางระจันโมเดล' ปกป้องเศรษฐกิจไทย 700,000 ล้าน สนับสนุนอีคอมเมิร์ซไทยจับมือสภาเอสเอ็มอี. รวมพลังสู้แพลตฟอร์มค้าออนไลน์ต่างชาติ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ.ไทยแลนด์( FKII Thailand ) รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ ปชป.และ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยวันนี้ว่า

ตลาดอีคอมเมิร์ซ (eCommerce ) ของไทยมีการซื้อขายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซ(Social commerce)กว่า700,000ล้านบาทต่อปีถูกครอบครองตลาดโดยแพลตฟอร์มต่างชาติแบบครบวงจรเกือบ100% จากต้นน้ำถึงปลายน้ำตั้งแต่ระบบซัพพลายเชน (supply chain system) โรงงานผลิตสินค้า ,ระบบอี-มาร์เก็ตเพลส (eMarketplace) ,ระบบขนส่งโลจิสติกส์ (Logistics) จนถึงระบบการชำระเงิน (Payment Gateway) โดยสินค้าส่วนใหญ่มาจากต่างชาติทำให้เอสเอ็มอี. โรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจค้าปลีกค่าส่งดั้งเดิม ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจขนส่งและบริการส่งถึงลูกค้า(last mile delivery)ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงและเสียเปรียบดุลการค้ามากขึ้น

แนวทางหนึ่งในการแก้ไขสถานการณ์ที่เข้าขั้นวิกฤติคือการสนับสนุนบริษัทอีคอมเมิร์ซไทยและเอสเอ็มอี.ไทยโดยสร้าง ระบบนิเวศน์การค้า(Eco-System)ในการซื้อขายในประเทศไทยรวมทั้งผนึกความร่วมมือกันต่อสู้เรียกว่า 'บางระจันโมเดล' และขอให้ภาครัฐกำกับการค้าออนไลน์ข้ามชาติแบบเสรีและเป็นธรรมควบคุมมาตรฐานสินค้าต่างชาติและการเสียภาษีสินค้า-นิติบุคคลรวมทั้งการใช้มาตรการปกป้องคุ้มครองผู้ประกอบการไทยตามกฎกติกา WTO และยกหารือประเด็นการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนรูปแบบใหม่ F2C(Factory to Customer) กรณีเตมู (TEMU) ภายใต้กลไกข้อตกลงทวิภาคีไทย-จีน และพหุภาคี เอฟทีเอ.อาเซียน-จีน ความตกลงDEFA(Digital Economy Framework Agreement)และAEC (ASEAN Economic Community)บนพื้นฐานความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ดีระหว่างไทย-จีนและความร่วมมือในกรอบอาเซียน

ทั้งนี้สถาบันเอฟเคไอไอ.ไทยแลนด์ร่วมกับสถาบันทิวา (TVA) ได้จัดงาน 'รวมพลังไทย : สร้างอาชีพ สร้างชาติ' (Thai Power : Building Careers, Building the Nation) SME - E-COMMERCE COLLABORATION ณ สวนเสียงไผ่ สถาบันทิวา ทาวน์อินทาวน์ กรุงเทพมหานครโดยได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือ 5 องค์กรได้แก่

สถาบันทิวา (TVA) สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สภาเอสเอ็มอี) บริษัท โกชิปป์ จำกัด และ บริษัท นีโอเวนเจอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด 

เพื่อร่วมกันผลักดันการพัฒนาอีคอมเมิร์ซไทยและเอสเอ็มอี.ไทยนอกจากนี้ยังมีการสัมมนาโดยนายชยดิฐ หุตานุวัชร์ ประธานกรรมการสมาคมสถาบันทิวาได้บรรยายถึงวัตถุประสงค์ของการผนึกความร่วมมือของ 5 องค์กร

นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธาน FKII Thailand และ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวเปิดงานและบรรยายหัวข้อ 'สถานการณ์ตลาดและผลกระทบของอีคอมเมิร์ซและเอสเอ็มอีไทยกับแนวทางแก้ปัญหา การค้าออนไลน์ข้ามชาติ'

นายสุปรีย์ ทองเพชร ประธานสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยบรรยายพิเศษเรื่อง 'ศักยภาพเอสเอ็มอีไทยในการสนับสนุนอีคอมเมิร์ซไทย (Thai SME Potential and Strength for E-Commerce)' นายภาวัต พุฒิดาวัฒน์ CEO บริษัท โกชิปป์ จำกัดบรรยายหัวข้อ 'แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน (GoSell & GoShip - E-Commerce Platform : Thailand Situation)' ภญ.ภัสราธาดา วัชรธาดาอาภาภัค CMO บริษัท นีโอเวนเจอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด Thailand’s NO.1 Complete Solutions for E-Commerce บรรยายหัวข้อ 'Thai Think, Thai Made, Thai Trade' โดยมีนายราม คุรุวาณิชย์ บอร์ดเอฟเคไอไอ.ไทยแลนด์ สรุปการสัมมนา

ทั้งนี้ภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง สมาคมสถาบันทิวา สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย บริษัท โกชิปป์ จำกัด และ บริษัท นีโอเวนเจอร์ โซลูชั่นส์ จำกัดได้มีการทำกิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจเอสเอ็มอี.กับผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซไทยด้วย

“ท๊อป - จิรายุส”ถอดรหัส 4 วาระสำคัญของสภาเศรษฐกิจโลก(WEF 2025) “อลงกรณ์“เสนอแนวทางก้าวใหม่ประเทศไทยรับมือสงครามการค้าและระเบียบโลกใหม่(New World Order)

(27 ก.พ. 68) นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบัน FKII Thailand ร่วมกับ นายชยดิฐ หุตานุวัชร์ ประธานสถาบันทิวา และผู้อำนวยการสถาบัน FKII Thailand จัดกิจกรรม FKII National Dialogue : ก้าวต่อไปไทยแลนด์ เทรนด์ใหม่จาก World Economic Forum 2025 เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2568 โดย ท๊อป – จิรายุส โดยได้เชิญ นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด มาให้ข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการเข้าร่วมงาน World Economic Forum 2025 เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ณ TVA Hall สวนเสียงไผ่ สถาบันทิวา ทาวน์อินทาวน์ กรุงเทพมหานคร

นายชยดิฐ หุตานุวัชร์ ประธานสถาบันทิวา และผู้อำนวยการสถาบัน FKII Thailand ได้แนะนำที่มาของสถาบัน FKII Thailand และพันธกิจของสถาบัน ซึ่งมีสถานะเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise; SE) ที่มุ่งเน้นในด้านองค์ความรู้ที่มีอยู่ทั่วโลก การสร้างนวัตกรรม และบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ ได้แนะนำสถาบันทิวา (TVA) ซึ่งมีความตั้งใจว่าจะเป็นพื้นที่ที่ 3 ที่ไม่ใช่ทั้งบ้านและที่ทำงาน แต่เป็นสถานที่ที่เป็นชุมชนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และกิจกรรมเพื่อสังคมในรูปแบบต่างๆ ซึ่งหนึ่งในโครงการของ TVA ได้แก่ โครงการ grow Longevity Eco Village (เขาใหญ่) วิสาหกิจเพื่อสังคม ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในระดับอาเซียน ที่ได้นำมาทดลองประยุกต์ใช้งานจริงที่เขาใหญ่จนพิสูจน์ได้ว่าสามารถนำมาปฏิบัติได้จริง ซึ่งปัจจุบันกำลังเตรียมที่จะขยายผลในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียง แล้วขยายต่อไปยังทั่วประเทศต่อไปเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนต่อไป

นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภาบรรยายสรุปข้อมูลเชิงลึกจาก World Economic Forum 2025 โดยแบ่งออกเป็น 4 เรื่องสำคัญซึ่งเชื่อมโยงกัน ได้แก่ 1) การเติบโตของเศรษฐกิจโลก 2) ภูมิรัฐศาสตร์ 3) เทคโนโลยี และ 4) ASEAN ทั้งนี้ การที่ได้เข้าไปฟังในวงสนทนาต่างๆ ที่มีจำนวนมาก บางเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่เปิดเผยได้และอาจเผยแพร่ไปแล้วตามสื่อต่างๆ แต่บางเรื่องเป็นเรื่องที่มีการสนทนากันจริงแต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้ การเติบโตของเศรษฐกิจโลก พบว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกปี 2025-2026 จะโตต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ตั้งไว้ 3.7% โดยเติบโตเพียง 3.3% ขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัลจะเติบโตเป็น 15.5% และในอีก 10 ปีข้างหน้าจะเป็น 70% แต่ประเทศจีนประเทศเดียวเติบโตไป 44% ซึ่งนับได้ว่าเติบโตแบบก้าวกระโดดเกินค่าเฉลี่ยเป็นอย่างมาก โดยเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกามีโอกาสเติบโตสูง โดยมีอัตราการเติบโตจาก 2.2% เป็น 2.7% โดยเติบโตจากปัจจัยด้านนวัตกรรมที่สร้างผลิตภาพ เงินทุนที่เข้มแข็ง และพลังงานที่ถูก ส่วนอินเดียมีการคาดการณ์กันว่าจะเป็นโรงงานแห่งถัดไปของโลกแทนที่จีน ด้านภูมิรัฐศาสตร์ คาดการณ์ว่าจะเกิดสงครามเย็นด้าน AI ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาที่เข้มข้นขึ้น จะเกิดการแบ่งขั้วทางด้านเทคโนโลยีอย่างชัดเจนระหว่างตะวันตกและตะวันออก ทั้งนี้ มีโอกาสที่จะเกิดสงครามโลก 70%
ด้านเทคโนโลยี การพัฒนา AI จะมีอัตราการพัฒนาที่ก้าวกระโดขึ้น จากปัจจุบันใช้ Large Language Model (LLD) เป็นแบบ Vision Model ที่มีเซ็นเซอร์ต่างๆ เข้ามาประกอบในระบบปฏิบัติการ ส่งผลให้สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้กว่า 39% ซึ่งไมโครซอฟต์คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมที่จะมีผลกระทบโดยตรง 4 ธุรกิจ ได้แก่ 1) ด้านการดูแลสุขภาพ (Health Care) ซึ่งสามารถเรียนรู้และพัฒนาไปจนถึงระดับโมเลกุลโดยใช้ AI ในการศึกษา ลดงบประมาณในการวิจัยและพัฒนาโดยมนุษย์ที่มีมูลค่ามหาศาล โดยมุ่งเน้นไปที่การมีอายุยืน (Longevity) กว่า 120 ปี 2) ด้านการเงิน (Finance) ซึ่งสามารถใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลและเทคโนโลยีทำงานแทนมนุษย์ได้ทั้งหมด 3) ด้านกฎหมาย (Legal) ที่มีความซับซ้อนและต้องตีความโดยปราศจากอคติของมนุษย์ที่ AI สามารถเข้ามาแทนที่ได้ และ 4) ด้านการศึกษา (Education) คาดว่าในอนาคตไม่เกิน 5 ปี การศึกษาจะเป็นการ Up-Skill / Re-Skill เพื่อตอบโจทย์การทำงาน ภูมิภาคอาเซียน (ASEAN) อาเซียนควรเร่งผลักดัน Digital Economy Framework Agreement (DEFA) ซึ่งปีนี้มาเลเซียเป็นประธานโดยประกาศว่าในปีนี้หากรวมกันได้กี่ประเทศก็ให้เริ่มดำเนินการเลยไม่จำเป็นต้องรอครบ 10 ประเทศ หากประเทศใดยังไม่พร้อมก็ค่อยให้ตามเข้ามา เพื่อเร่งผลักดัน GDP ของภูมิภาค ทั้งนี้อาเซียนมีการเติบโตต่ำจาก 0.25% เหลือ 0.2% หากเป็นอย่างนี้ต่อไปอีก 5 ปี จะมีมูลค่าเศรษฐกิจเพียง 1 Trillion USD แต่หาก DEFA สำเร็จจะมีมูลค่า 2 Trillion USD แน่นอน ขณะที่ในเวทีที่ท่านนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยเข้าร่วม ท่านได้แจ้งว่าประเทศไทยใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอาเซียน โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่เติบโตต่ำในช่วงที่ผ่านมาจากค่าเฉลี่ย 5.0% เหลือ 1.0% แต่มีการสำรองพลังไฟฟ้าไว้ที่การเติบโต 5% ทำให้มีกำลังการผลิตพลังงานที่เหลือจึงมีราคาถูกและค่อนข้างเสถียร เหมาะสมที่จะทำ Data Center ของบริษัทข้ามชาติต่างๆ แต่มีข้อเสียคือการสร้าง Carbon Footprint สูงมาก จึงโดน Carbon Tax, CBAM มาก รวมทั้งการผลิตซีเมนต์ ด้านประเทศเวียดนามเติบโตสูงสุดเนื่องจากไม่ค่อยมีหนี้ครัวเรือนและมีแรงงานในวัยทำงานจำนวนมาก และการผลิตนักวิทยาศาสตร์จำนวน 500,000 คนต่อปี มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแนวใหม่ของโลก ประเทศอินโดนีเซียประกาศยกระดับเป็นประเทศพัฒนาแล้วเน้นการสร้างสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงเพื่อส่งออก และพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวใน ส่วนประเทศฟิลิปปินส์ประกาศที่จะเป็นประเทศเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Hub) และส่งเสริมด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs อย่างทั่วถึง (ลักษณะ SMEs Bank ที่คิดอัตราดอกเบี้ยถูกเพื่อให้นำไปใช้ประกอบอาชีพ) อย่างไรก็ตาม DEFA จะเข้ามาช่วยในกระบวนการ Free Flow เดินทางไปได้ทั่ว ASEAN การทำงาน การโอนเงิน กระบวนการกงสุล (นำเข้า-ส่งออก) ซึ่งมีประชากรรวมกัน 600 กว่าล้านคน (ประเทศอาเซียน)

ประเด็นอื่นๆ มีการพูดคุยกันว่ารัฐบาลนั้นไม่มีทางตามทันทางด้านเทคโนโลยีเท่าภาคเอกชนที่เป็นผู้คิดค้นและผลิตขึ้นมาซึ่งทำให้มีความเสี่ยงสูงมากด้านความมั่นคง (Tech นำ Policy) ขณะที่กระบวนการสร้างความยั่งยืน(ESG) ความปลอดภัย และด้านเกษตรแม่นยำ จะต้องนำ AI มาช่วยในการกำหนด Solution ที่ดีที่สุดต่อไป ส่วนประเด็นที่เป็นที่กังวล คือเรื่องจีนที่มีการผลิตสินค้าออกมาเกิน Domestic Consumption และปัญหา Real Estate ในประเทศ ทั้งนี้ หากมีผู้ที่ปรับตัวให้รอดจากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดไม่ได้ จะกำหนด Universal Basic Income ให้กับคนกลุ่มนี้อย่างไร

ข้อมูลจากอีลอน มัส เคยกล่าวไว้ว่า หากเราคำนวณ GDP ว่ามาจาก จำนวนคน X Productivity ของคน ในปัจจุบัน อนาคตอาจจะต้องเปลี่ยนเป็น จำนวน Robot X Productivity ของ Robot แทน

อดีตรัฐมนตรี อลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบัน FKII Thailand กล่าวว่า “การที่ได้ไปร่วมประชุมสภาเศรษฐกิจโลกของ คุณท๊อป จิรายุส แล้วมาถ่ายทอดให้กับผู้เข้าร่วมสนทนาในวันนี้ เพื่ออัพเดทข้อมูล แนวโน้ม และทิศทางที่จะกำหนดร่วมกัน และสะท้อนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไปนับเป็นข้อมูลเชิงลึกที่มีทั้งด้านบวก ด้านลบ โอกาส ปัญหา และภัยคุกคาม เราได้ทราบถึง ประเด็นปัญหาโลกร้อน ปัญหา การสาธารณสุขและสังคมสูงวัย ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ (Geo Politics) ปัญหา ภูมิเศรษฐศาสตร์ (Geo Economics ) การรวมกลุ่มระดับภูมิภาค (regional integration ) การเกิดระเบียบโลกใหม่แบบแบ่งขั้วจับคู่ โดยประเทศมหาอำนาจตัวอย่างที่ชัดเจนคือ สงครามการค้า(trade wall )สงครามภาษีศุลกากร(Tariff War )ได้เริ่ม แล้วระหว่าง สหรัฐอเมริกา กับประเทศต่างๆเช่นจีน แคนาดา เม็กซิโกซึ่งประเทศไทยและอาเซียนย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการขึ้นภาษี ภาษีศุลกากรและภาษีอื่นๆ ของสหรัฐอเมริกานอกจากนี้ ปรากฎการณ์การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์( AI technology) ในระบบ open sources และเอไอ ต้นทุนต่ำ( low cost Ai )แบบDeepseek ,ควอนตั้ม คอมพิวติ้งก์(quantum computing ),6 G ,เทคโนโลยีดาวเทียม และ บล็อกเชนเทคโนโลยี (Blockchain Technology )จะทำให้โลกก้าวสู่ยุค Generative Ai และอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง (Internet of everythings ) ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสร้างโอกาสใหม่ๆพร้อมกับปัญหาที่จะตามมาคือสงครามเทคโนโลยีครั้งใหม่ ดังนั้น เมื่อโลกเปลี่ยน ประเทศไทยจะต้องปรับตัวเพื่อรับมือและฉวยโอกาสจากวิกฤตให้สามารถขี่อยู่บนยอดคลื่นของการเปลี่ยนแปลง ด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมขับเคลื่อนสู่การสร้างรัฐบาลเอไอ( Ai Government -การบริหารและพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์)และการสร้างทรัพยากรมนุษย์พร้อมกับสร้างความเข็มแข็งบนฐานหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของASEAN และRCEPรวมทั้งควรเร่งผลักดันให้เกิด DEFA( Digital Economy Framework Agreement ) stable coinและ cryptocurrency โลกจะเปลี่ยนแปลงอย่างเร็วและแรง ประเทศไทยต้องสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (BioEconomy ), เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy), เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy ), เศรษฐกิจคาร์บอน (Carbon Economy), เศรษฐกิจ ฐานทรัพยากรมนุษย์ (human resources based Economy )และ เศรษฐกิจดิจิตอล-Ai(Ai-Digital Economy ) เพื่อ สร้างศักยภาพใหม่สามารถตอบโจทย์ความท้าทายของอนาคตในทุกมิติโดยเร็วที่สุด เพราะระบบเศรษฐกิจเดิมไม่สามารถรับมือกับ ภัยคุกคามและโอกาสของปัจจุบันและอนาคตได้อีกต่อไป

จากนั้น รศ.ดร.อาณัฐชัย รัตตกุล รองประธานสถาบัน FKII Thailand กล่าวขอบคุณและมอบของที่ระลึกให้กับวิทยากร พร้อมถ่ายภาพเป็นที่ระลึก.


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top