Monday, 21 April 2025
EA

‘EA’ เคลียร์หนี้ระยะสั้นได้ หลังผู้ถือหุ้นกู้รุ่น EA249A โหวตผ่าน 99% เผยรายได้ครึ่งปีแรกกว่า 1 หมื่น ลบ.พร้อมเดินหน้าหาแหล่งเงินทุนใหม่

แผนเคลียร์หนี้ชัด! ผลงานครึ่งแรกปี 67 มีรายได้กว่า 1 หมื่นล้านบาท กำไรสุทธิ 1.43 พันล้านบาท ผู้ถือหุ้นกู้-สถาบันการเงิน เชื่อมั่นธุรกิจเดินหน้า ล่าสุดผู้ถือหุ้นกู้ EA รุ่น EA249A วงเงิน 4,000 ล้านบาท โหวตหนุนด้วยเสียง 99.20% ยืดหนี้ออกไปอีก 9 เดือน 1 วัน รับดอกเบี้ยเพิ่มเป็น 5% เพิ่มหลักประกัน หลังหุ้นกู้ รุ่น EA248A ได้รับการโหวตอนุมัติเมื่อวันที่ 9 ส.ค. และมติสถาบันการเงิน 9 แห่ง ปล่อยกู้รีไฟแนนซ์ เป็นเงินกู้ระยะเวลา 3 ปี พร้อมเดินหน้าหาแหล่งเงินทุนใหม่

(23 ส.ค. 67) บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) ได้มีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ รุ่น EA249A วงเงิน 4,000 ล้านบาทที่จะครบกำหนดชำระในวันที่ 29 กันยายน 2567 โดยการประชุมในวันนี้นับเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่ต้องเลื่อนครั้งก่อนเหตุไม่ครบองค์ประชุม โดยในครั้งนี้ผู้ถือหุ้นกู้ 99.20% ได้ลงมติอนุมัติขยายวันครบกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ไปอีก 9 เดือน 1 วัน และมีเพียง 0.80% ไม่เห็นด้วย

นายวสุ กลมเกลี้ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน (CFO) ของ EA กล่าวว่า “ก่อนหน้านี้ สถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศทั้ง 9 แห่งได้ยืนยันอนุมัติปล่อยเงินกู้ให้กลุ่ม EA จำนวน 8,000 ล้านบาท รวมถึงหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดชำระในปีนี้จำนวน 2 รุ่นโดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ทั้ง 2 รุ่นก็ได้อนุมัติเลื่อนวันครบกำหนดไถ่ถอนออกไปเช่นกัน เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงผลการดำเนินงานของบริษัทที่มีรายได้เข้ามาต่อเนื่อง ส่งผลให้ในระยะเวลา 1 ปีข้างหน้าบริษัทฯจะไม่มีปัญหาในด้านการจ่ายหนี้ ในขณะที่บริษัทยังคงดำเนินธุรกิจตามปกติ ผู้บริหารชุดใหม่มั่นใจขับเคลื่อนบริษัทให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเผยผลประกอบการครึ่งปีแรก 2567 รับรู้รายได้รวม 10,368.81 ล้านบาท และกำไรสุทธิอยู่ที่ 1,430.44 ล้านบาท” 

บริษัทได้เปิดเผยแหล่งที่มาของเงินทุนที่ใช้ในการชำระหนี้หุ้นกู้และดอกเบี้ยมาจากกระแสเงินสดจากรายได้ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน จากเงินทุนที่ได้รับจากการเข้าร่วมทุนกับผู้ร่วมทุนรายใหม่ (Strategic Partner) ที่สนใจร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาในโครงการต่างๆ ของบริษัทซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจาทั้งจากนักลงทุนภายในและต่างประเทศ  และจากการจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัทฯให้กับนักลงทุนที่ให้ความสนใจรวมถึงการระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) 

“บริษัทยังดำเนินธุรกิจตามปกติ มีกระแสเงินสดจากธุรกิจโรงไฟฟ้า ธุรกิจไบโอดีเซล และจะเร่งเดินหน้าธุรกิจขนส่งเชิงพาณิชย์ ในการส่งมอบรถหัวลากไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้า พร้อมผลักดันธุรกิจใหม่ น้ำมันอากาศยานยั่งยืน  (Sustainable Aviation Fuel : SAF) สนับสนุนธุรกิจขนส่งไร้มลพิษตามพันธกิจของบริษัท Mission No Emission” นายวสุกล่าวทิ้งท้าย

มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ จับมือแรงงาน น่าน และภาคเอกชน มอบถุงยังชีพช่วยผู้ประสบอุทกภัย

(1 ก.ย.67) นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ ประธานมูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ พร้อมด้วย นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มไทยสมายล์บัส เจ้าหน้าที่กลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ กลุ่มไทยสมายล์กรุ๊ป ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพ จำนวน 300 ชุด เพื่อช่วยเหลือและเยี่ยมให้ขวัญกำลังใจแก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน

โดยมี นายเทวา ปัญญาบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน นางสาวจำลองลักษณ์ ก่ายแก้ว แรงงานจังหวัดน่าน พร้อมหัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดน่าน นายอำเภอเชียงกลาง และชาวบ้านในพื้นที่ ร่วมให้การต้อนรับ ณ ที่ว่าการอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน

นางเธียรรัตน์ กล่าวว่า มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ กระทรวงแรงงาน กลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ กลุ่มไทยสมายล์กรุ๊ป และพลังเครือข่ายภาคเอกชนมีความห่วงใยต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัย ในวันนี้มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์จึงได้นำสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน ได้แก่ บริษัท สหพัฒนพิบูลย์ จำกัด บริษัท ไบ่ลี่ เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด บจก. คิงส์แพ็ค อินดัสเตรียล บริษัท ไทย สมายล์ บัส กลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ (E@) และเครือข่ายภาคเอกชน ที่ได้ร่วมบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภค อาทิ ข้าวสาร น้ำดื่ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ข้าวโอ๊ต โจ๊กคัพ โดนัท อาหารแห้ง เป็นต้น มามอบให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดน่าน รวมทั้งมูลนิธิยังได้มอบเรือท้องแบน จำนวน 6 ลำ เพื่อมอบให้กับทางจังหวัดน่านไว้ใช้ประโยชน์ในการนำไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานน่าน ยังได้ให้บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง และซ่อมรถจักรยานยนต์ที่ได้รับผลกระทบเสียหายจากอุทกภัยแก่ประชาชนอีกด้วย

'EA' พร้อมระดมทุนก้าวฟื้นตัว ร่วมมือพันธมิตรจีน ลุยยานยนต์-แบตเตอรี่ กระแสเงินสดพลิกบวก 5,610 ล้านบาท

(8 ม.ค. 68) บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จํากัด (มหาชน) (EA) หนึ่งในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนชั้นนำของไทย ล่าสุดเมื่อวานนี้ (7 มกราคม 2568) ได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากผู้ถือหุ้นในการระดมทุนประมาณ 7,400 ล้านบาท ผ่านการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม ซึ่งบริษัทคาดว่าจะใช้ในการเสริมสร้างการฟื้นฟูธุรกิจ หลังจากการปรับโครงสร้างอย่างเข้มข้นภายในกลุ่มบริษัทในระยะเวลา 5 เดือน ที่ผ่านมา

การดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ EA ครอบคลุมตั้งแต่การผลิตเชื้อเพลิงจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานลม, โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ การจัดหาผลิตภัณฑ์และระบบที่ใช้ในการกักเก็บและจำหน่ายไฟฟ้า เช่น ธุรกิจพัฒนาและผลิตแบตเตอรี่ ธุรกิจสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า และรวมถึงธุรกิจประกอบยานยนต์ไฟฟ้า เช่น รถบรรทุกไฟฟ้า รสบัสไฟฟ้า และเรือไฟฟ้า

นายฉัตรพล ศรีประทุม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จํากัด (มหาชน) กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีที่ได้จัดการธุรกิจจนสถานการณ์เริ่มนิ่งแล้ว ผ่านการตัดสินใจที่ยากลำบากบางอย่าง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้กลับมาคือ กระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง เป็นบวก และการสร้างกำไรอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจที่มีกำไรและปรับโครงสร้างธุรกิจที่ขาดทุน”

นายฉัตรพล กล่าวว่า "เรามีธุรกิจที่ทำกำไรจากการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงการดำเนินธุรกิจสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นบริษัทเดียวในประเทศไทยที่มีผลประกอบการเป็นบวก ธุรกิจเหล่านี้รวมกันคิดเป็น 60% ของรายได้ EA และเกือบทั้งหมดของกำไรของเรา เราเริ่มต้นธุรกิจเหล่านี้แทบจะก่อนใครในประเทศไทย และการตัดสินใจที่มีวิสัยทัศน์นั้นกำลังให้ผลตอบแทนอย่างงดงาม ด้วยกระแสรายได้ที่มั่นคงและอัตรากำไรที่นำหน้าในอุตสาหกรรม"

"อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของธุรกิจเหล่านี้ได้ถูกหักล้างด้วยธุรกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์และธุรกิจการผลิตแบตเตอรี่ของเรา ซึ่งกำลังขาดทุนและดูดซับเงินสดของเราไป หลักๆ แล้วสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจเหล่านี้ ดังนั้น ในส่วนของการปรับโครงสร้าง เราจึงหยุดธุรกิจการประกอบยานยนต์ไฟฟ้าชั่วคราว และปรับลดขนาดธุรกิจแบตเตอรี่ และการตัดสินใจทั้งสองอย่างนี้ได้ช่วยหยุดการไหลออกของเงินสดของเราได้สำเร็จ"

นายฉัตรพล กล่าวว่า "เรามองเห็นศักยภาพในการเติบโตและการทำกำไรอย่างมหาศาลสำหรับ EA ทั้งในธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์และธุรกิจแบตเตอรี่ แต่เพื่อที่จะฉวยโอกาสเหล่านี้ เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจของเรา ก่อนอื่นเราต้องสร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้เล่นขนาดใหญ่ในตลาดโลกในภาคธุรกิจเหล่านี้ ซึ่งจะช่วยให้เรามีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นและสามารถขยายตลาดไปยังนอกประเทศไทยได้ และประการที่สอง เราจำเป็นต้องใช้เงินทุนของเราให้น้อยลง ในภาคธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีเวลาจำกัดในการคืนทุน เราได้ลงมือเดินหน้าขับเคลื่อนตามกลยุทธ์นี้แล้ว ซึ่งจะทำให้เรามีความคล่องตัวและฟื้นกลับมารับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโลกในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น"

นายฉัตรพลรายงานว่า ตอนนี้ EA กำลังจัดตั้งการร่วมทุนกับหนึ่งในผู้ผลิตยานยนต์ประเภทพิเศษรายใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ในการผลิตและส่งออกยานยนต์ไฟฟ้าประเภทพิเศษ โดยบริษัทร่วมทุนนี้คือ Chengli Special Automobile Co., Ltd. ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกรถประเภทพิเศษมากกว่า 30,000 คัน ไปกว่า 30 ประเทศทั่วโลก

ในบันทึกข้อตกลงที่ได้ลงนามร่วมกับ EA ในเดือนธันวาคม 2567 ที่ผ่านมาได้ตกลงกันว่า ยานยนต์จะถูกประกอบในโรงงานประกอบของ EA ที่มีพื้นที่ขนาด 65,000 ตารางเมตร (80 ไร่) ตั้งอยู่ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยความสามารถในการผลิตสูงสุดอยู่ที่ 3,000 - 9,000 คันต่อปี ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของยานยนต์ประเภทพิเศษที่ผลิต โดยคาดว่าจะเริ่มการผลิตในเดือนเมษายน 2568  โดยยานยนต์ไฟฟ้าที่โรงงานเราจะประกอบมีทั้ง รถพยาบาล รถขยะ และรถกระเช้า ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทพิเศษเหล่านี้จะถูกประกอบขึ้นในประเทศไทยในระดับอุตสาหกรรม การร่วมทุนนี้คาดว่าจะสร้างรายได้มากกว่า 3,000 ล้านบาท สำหรับรายได้ปีแรกของการดำเนินการเต็มรูปแบบในปี 2569

EA ยังได้รายงานการลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อจัดตั้งการร่วมทุนกับหนึ่งในผู้ผลิตแบตเตอรี่ระดับแนวหน้าของประเทศจีน ซึ่งมีฐานลูกค้าสำคัญอยู่ในตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรป โดยการร่วมทุนนี้จะเป็นการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน และจะเป็นโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่แรกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แบตเตอรี่เหล่านี้จะถูกใช้งานหลักๆ ในด้านระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ การผลิตจะดำเนินการที่พื้นที่ผลิตแบตเตอรี่ของ EA ขนาด 80,000 ตารางเมตร (91 ไร่) ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และจะขยายกำลังการผลิตจาก 2 กิกะวัตต์ในปัจจุบันไปเป็น 4 กิกะวัตต์ การลงนามข้อตกลงการร่วมทุนคาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 โดยจะเริ่มการจัดเตรียมสถานที่และเครื่องจักรการผลิตในปี 2568 

นายฉัตรพลกล่าวเพิ่มเติมว่า "เรามีความยินดีที่ได้รับความไว้วางใจอย่างท่วมท้นในแผนธุรกิจที่นำเสนอ โดยได้รับการโหวตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้น ถึง 99.9% ในการประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อวานนี้ ผมขอขอบคุณผู้ถือหุ้นทุกท่านที่เชื่อมั่นในการเดินหน้าตามแผนเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เรากำลังทำอยู่”

“เงินทุนใหม่ที่ได้รับจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับสถานะทางการเงินของ EA และช่วยให้เราสามารถคว้าโอกาสที่น่าสนใจต่างๆ ในอนาคตได้ เมื่อเราเดินหน้าเข้าสู่ก้าวของการฟื้นตัว” นายฉัตรพลกล่าว

นายวสุ กลมเกลี้ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จํากัด (มหาชน) (EA) กล่าวว่า “เงินทุนที่จะได้จากการเพิ่มทุนที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น ในวันที่ 7 มกราคม หลักๆ จะถูกนำไปใช้ในการชำระคืนเงินกู้ธนาคารและใช้ในการไถ่ถอนหุ้นกู้ที่ครบกำหนด เราหวังว่าจะลดหนี้สินจาก 58,664 ล้านบาท ลงเหลือ 52,004 ล้านบาท ซึ่งนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยรายปีลงได้ประมาณ 300 ล้านบาทแล้ว จะช่วยปรับปรุงอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนให้ดีขึ้นด้วย และเป็นประโยชน์ต่อเสถียรภาพทางการเงินและความน่าเชื่อถือของบริษัท รวมทั้งจะช่วยในส่วนของเงินกู้ให้ได้รับเงื่อนไขที่ดีขึ้นส่งผลให้เราประหยัดดอกเบี้ยมากขึ้นด้วย"

ระยะเวลาในการสมัครเข้าร่วมการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน คือระหว่างวันที่ 17 - 23 มกราคม 2568

จากรายงานล่าสุดของ EA เปิดเผยว่า กระแสเงินสดในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 เป็นบวกดีมากอยู่ที่ 5,610 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากกระแสเงินสดที่เดิมติดลบ 1,726 ล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว และสูงกว่าเกือบสามเท่าจากปีก่อนหน้านี้ กำไรสุทธิในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 อยู่ที่ 1,852 ล้านบาท และ EBITDA อยู่ที่ 6,183 ล้านบาท จากรายได้ 14,397 ล้านบาท

อย่าพลาด! EA ใช้สิทธิเพิ่มทุน 17-23 ม.ค.นี้ สัดส่วน 1:1 หุ้นละ 2 บาทพร้อมวอร์แรนต์ฟรี!

บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) เดินหน้าเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจพลังงานอย่างเต็มที่ 
หลังปรับโครงสร้างภายในกลุ่มบริษัทเสร็จเรียบร้อยแล้ว ล่าสุดผู้ถือหุ้นไฟเขียวเพิ่มทุน จำนวน 4,951,121,866 หุ้น พร้อมแบ่งจัดสรรให้ผู้ถือหุ้นเดิม จำนวน 3,713,341,400 หุ้น ในอัตราส่วน 1 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ราคาจองซื้อหุ้นละ 2 บาท พร้อมรับใบสำคัญแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์) EA-W1 ฟรี!!! ในอัตราส่วน 3 หุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อ 1 วอร์แรนต์  โดยกำหนดราคาใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญที่ 4 บาทต่อหุ้น ระยะเวลาใช้สิทธิ 3 ปี เพื่อตอบแทนความไว้วางใจและเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ขณะนี้ EA พร้อมสุดๆ สำหรับการสร้างการเติบโตที่แข็งแกร่งและยั่งยืน 

อย่าพลาดโอกาสดีๆ!!! วันที่ 17 - 23 ม.ค. 2568 เป็นวันจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน…ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.energyabsolute.co.th

EA มั่นใจเพิ่มทุน 7,426 ล้านบาท ฉลุย! หลังผู้ถือหุ้นเชื่อมั่นการปรับโครงสร้างธุรกิจ

(28 ม.ค. 68) บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จํากัด (มหาชน) (EA) หนึ่งในธุรกิจพลังงานทดแทนชั้นนำของประเทศ ประกาศในวันนี้ว่า แผนการพลิกฟื้นธุรกิจได้รับการสนับสนุนอีกครั้งอย่างท่วมท้น จากความสำเร็จของการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในช่วงวันที่ 17-23 มกราคม 2568 โดยมีการจองซื้อเกินกว่าเป้าหมาย สามารถระดมทุนได้ทั้งสิ้น 7,426 ล้านบาท

นายฉัตรพล ศรีประทุม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จํากัด (มหาชน) กล่าวว่า "เงินทุนที่ได้มาใหม่นี้จากผู้ถือหุ้น แสดงถึงความเชื่อมั่นของผู้ถือหุ้นที่เชื่อว่าการปรับโครงสร้างธุรกิจที่เราได้ดำเนินการตั้งแต่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน ช่วยให้ธุรกิจมีเสถียรภาพ และวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับการเติบโตในอนาคต เงินทุนเหล่านี้จะถูกใช้เพื่อลดหนี้ เพิ่มความน่าเชื่อถือทางการเงิน และลงทุนในโครงการต่าง ๆ ต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถเดินหน้าได้อย่างรวดเร็วสู่ก้าวต่อไปของแผนในการฟื้นตัว"

"เรายินดีและขอบคุณที่ได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากผู้ถือหุ้น ส่งผลให้การเสนอขายหุ้นสามัญ เพิ่มทุนครั้งนี้ได้รับการจองซื้อเกินกว่าเป้าหมาย เงินทุนเหล่านี้จะช่วยลดหนี้ เพิ่มความน่าเชื่อถือทางการเงิน และช่วยให้ธุรกิจเราเดินหน้าสู่ก้าวต่อไปในการฟื้นตัว"

EA เปิดเผยว่า ส่วนหนึ่งของแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจในภาพรวม คือ EA กำลังมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจที่สร้างผลกำไรสูง ได้แก่ การผลิตไบโอเชื้อเพลิง การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ และการดำเนินธุรกิจสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีกระแสเงินสดเป็นบวก ธุรกิจเหล่านี้รวมกันสร้างรายได้ประมาณ 60% ของรายได้รวมของ EA ในขณะเดียวกัน EA ได้หยุดหรือลดขนาด 2 ธุรกิจที่ขาดทุน ในระหว่างเตรียมการปรับโครงสร้าง ได้แก่ ธุรกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ และธุรกิจการผลิตแบตเตอรี่ โดยจะมีการหาพันธมิตรสำหรับแต่ละธุรกิจที่เป็นรายใหญ่ระดับนานาชาติที่จะช่วยให้ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก และช่วยขยายตลาดไปต่างประเทศได้

นายฉัตรพล กล่าวเพิ่มเติมว่า "เรากำลังเดินหน้าที่จะเริ่มการประกอบยานยนต์ไฟฟ้าประเภทพิเศษที่โรงงานฉะเชิงเทราในเดือนเมษายน 2568 โดยร่วมมือกับผู้ผลิตยานยนต์ประเภทพิเศษรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของประเทศจีนที่ชื่อ Chengli Special Automobile Co., Ltd. (บริษัท เฉิงหลี่ สเปเชียล ออโตโมบิล) เราจะเป็นรายแรกในประเทศไทยที่ประกอบยานยนต์ไฟฟ้าประเภทพิเศษในจำนวนมาก เช่น รถพยาบาล รถเก็บขยะ และยานพาหนะประเภทพิเศษอื่น ๆ นอกจากนี้ เรากำลังเดินหน้าการเจรจาร่วมทุนกับบริษัทจากประเทศจีนเพื่อเป็นโรงงานแรกขนาดใหญ่ในประเทศไทยในการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่มีกำลังการผลิต 4 กิกะวัตต์"

จากการเปิดเผยล่าสุดของ EA กระแสเงินสดจากการดำเนินงานในเก้าเดือนแรกของปี 2567 อยู่ที่ 5,610 ล้านบาท ซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากติดลบ 1,726 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าปีก่อนหน้านี้เกือบสามเท่า


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top