Monday, 21 April 2025
ChatGPT

'ชาวมาเลเซีย' เกินครึ่ง เห็นด้วย!! จำกัดเด็กต่ำกว่า 14 เล่นโซเชียลมีเดีย แนะ!! 'ครู-ผู้ปกครอง' สำคัญ ช่วยสร้างภูมิเท่าทันภัยโลกออนไลน์

(9 ก.ย. 67) สำนักข่าวซินหัว เปิดเผยผลสำรวจจาก ‘อิปซอสส์’ (Ipsos) บริษัทวิจัยการตลาดและสำรวจความคิดเห็นระดับโลก พบว่า มีชาวมาเลเซียถึง 71% เห็นด้วยกับการจำกัดการเข้าถึงโซเชียลมีเดียในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี

โดยผลโพลการติดตามการศึกษาของอิปซอสส์ ซึ่งสำรวจความคิดเห็นของผู้คนในมาเลเซีย ไทย, อินโดนีเซีย, และสิงคโปร์ ระบุว่า มาเลเซียเป็นประเทศที่มีผู้คนคิดเห็นตรงกันในเรื่องนี้มากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจาก ‘อินโดนีเซีย’

"ชาวมาเลเซียระมัดระวังการเข้าถึงโซเชียลมีเดียของเด็กๆ มากที่สุด ขณะที่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สมาร์ตโฟนและปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในโรงเรียนนั้นแตกต่างกันออกไป" ผลสำรวจระบุ

ต่อมา ผลสำรวจยังพบว่าชาวมาเลเซีย 51% มองว่าควรห้ามผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปีใช้สมาร์ทโฟนทั้งในระหว่างคาบเรียนและหลังเลิกเรียน ส่วนอีก 29% เห็นด้วยว่าควรห้ามใช้โมเดลภาษาเอไออย่างแชทจีพีที (ChatGPT)

ขณะเดียวกัน ชาวมาเลเซีย 56% เชื่อว่าครูและโรงเรียนควรมีหน้าที่ในการสอนความรู้ด้านดิจิทัลและความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ ด้าน 39% มองว่าหน้าที่นี้ควรเป็นของผู้ปกครอง

รู้จัก 'DeepSeek' แอป AI ต้นทุนต่ำของจีน ผงาดดาวน์โหลดสูงสุดในสหรัฐฯ ท้าชน ChatGPT

(27 ม.ค. 68) เมื่อสองสัปดาห์ก่อนมีแอปพลิเคชัน AI ตัวใหม่ที่ชื่อว่า DeepSeek ได้เปิดตัวบน App Store และได้รับความสนใจอย่างมาก จนสามารถทำยอดดาวน์โหลดแซงหน้า ChatGPT ขึ้นเป็นแอปอันดับหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ซึ่งสร้างความฮือฮาในวงการเทคโนโลยีและ AI

DeepSeek บริษัทสตาร์ทอัพจากจีน โดยบริษัทเพิ่งเปิดตัวโมเดล AI ชื่อว่า 'R1' ซึ่งได้รับการยอมรับในวงการ AI ด้วยการพัฒนาโมเดลที่มีขนาดเล็กเพียง 1.5B แต่มีความสามารถสูงกว่าโมเดล AI อื่นๆ อย่าง OpenAI o1-mini และที่สำคัญคือต้นทุนในการฝึกฝนโมเดลนั้นต่ำมากเพียงแค่ 5.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

บริษัทนี้ก่อตั้งโดย Liang Wenfeng ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์และนักธุรกิจชื่อดังในวงการ AI ของจีน ความน่าสนใจของ DeepSeek ไม่ได้เพิ่งมี เพราะก่อนหน้านี้ในเดือนพฤษภาคม 2023 บริษัทเริ่มเส้นทาง AI ด้วยการพัฒนาเจเนอเรทีฟเอไอโมเดล สำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับการให้เหตุผล (Reasoning Tasks) ซึ่งสามารถแข่งขันกับโมเดลของ OpenAI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2023 DeepSeek ได้เปิดตัว DeepSeek Coder โมเดล Open-Source สำหรับการเขียนโค้ด ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และในปีเดียวกันยังเปิดตัวโมเดล DeepSeek LLM ที่มีเป้าหมายแข่งขันกับโมเดลภาษาขนาดใหญ่

ในปี 2024, DeepSeek ได้เปิดตัว DeepSeek-V2 ซึ่งได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วเนื่องจากประสิทธิภาพที่สูงและต้นทุนที่ต่ำ ซึ่งทำให้เกิดสงครามราคากับบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการ AI ของจีน เช่น ByteDance, Tencent, Baidu และ Alibaba ที่ต้องลดราคาลงเพื่อให้สามารถแข่งขันได้

ในปี 2024 เดียวกันนี้ DeepSeek ยังได้เปิดตัวโมเดล DeepSeek-Coder-V2 ที่รองรับการเขียนโค้ดที่ซับซ้อน และยังสามารถใช้งานผ่าน API ในราคาประหยัด โดยค่าบริการคิดเป็น 0.14 ดอลลาร์สหรัฐต่อโทเคนสำหรับข้อมูลนำเข้า และ 0.28 ดอลลาร์สหรัฐต่อโทเคนสำหรับผลลัพธ์

ขณะที่โมเดลล่าสุดอย่าง DeepSeek-R1 ได้ช่วยยกระดับความสำเร็จของ DeepSeek ในวงการ AI ด้วยประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมและต้นทุนที่ต่ำกว่าคู่แข่ง โดยเฉพาะโมเดล DeepSeek-R1 ที่เน้นงานด้านการให้เหตุผล ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นคู่แข่งสำคัญของโมเดลของ OpenAI

โมเดล R1 ของ DeepSeek มีประสิทธิภาพเทียบเท่าหรือเหนือกว่าโมเดล o1 ของ OpenAI ในการทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐาน AI บางรายการ โดยบริษัทอ้างว่าโมเดลของตนมีต้นทุนการฝึกฝนเพียง 5.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแตกต่างจากบริษัทชั้นนำของสหรัฐฯ ที่ต้องใช้เงินทุนหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐในการฝึกฝนโมเดลของตนเอง

กระแสข่าวที่ออกมาทำให้ DeepSeek ตอนนี้ขึ้นอันดับ 1 แอปยอดนิยมของ App Store ในสหรัฐอเมริกา แซงหน้า ChatGPT ไปเรียบร้อย

แม้ว่าจะมีคำถามเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของต้นทุนที่ต่ำขนาดนี้ แต่หลายฝ่ายเห็นว่าหาก DeepSeek สามารถทำได้จริง จะเป็นประโยชน์ต่อวงการ AI และช่วยให้บริษัทขนาดเล็กสามารถพัฒนาโมเดลใหม่ๆ ได้เร็วขึ้นและมีต้นทุนต่ำ

Yann LeCun หัวหน้าฝ่ายวิทยาศาสตร์ AI ของ Meta ได้กล่าวว่า โมเดล Open-Source อย่าง DeepSeek สามารถแซงหน้าโมเดลแบบปิดได้ และช่วยให้ทุกคนในวงการได้ประโยชน์จากความก้าวหน้าครั้งนี้ ขณะที่นักลงทุนชื่อดังอย่าง มาร์ก แอนเดรียสเซน กล่าวชมว่า DeepSeek เป็นหนึ่งในความก้าวหน้าที่น่าทึ่งที่สุดในวงการ AI เพราะเนื่องจากที่ถูกรัฐบาลสหรัฐกีดกันไม่ให้เข้าถึงเทคโนโลยี AI จนสุดท้ายจีนก็สามารถพัฒนา AI ของตนเองขึ้นมาได้เองแถมยังมีต้นทุนต่ำ ขณะที่บางผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ความสำเร็จของ DeepSeek อาจเป็นภัยคุกคามต่อการแข่งขันของสหรัฐฯ ในตลาด AI  

ตะวันตกล้อมกรอบ 'DeepSeek'แห่ปิดกั้น-สั่งสอบ กล่าวหาขโมยเทคโนโลยี-เสี่ยงข้อมูลผู้ใช้งานรั่ว

(30 ม.ค.68) เพียงไม่กี่วันที่บริษัท DeepSeek ของจีนเปิดตัวโมเดล AI ที่ใช้ต้นทุนต่ำแถมมีประสิทธิภาพไม่แพ้ ChatGPT ของบริษัท OpenAI จนสร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วซิลิคอนวัลเลย์ ถึงขั้นที่หุ้นของบรรดาบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติสหรัฐหลายแห่งร่วงระนาว แต่ล่าสุดดูเหมือนว่าบรรดาบริษัทเอกชนฝั่งตะวันตก และบรรดาชาติตะวันตกบางแห่งจะระแวงบริษัท AI จีนที่กำลังมาแรงในขณะนี้ 

ล่าสุดดูเหมือนว่าบริษัทเอกชนและรัฐบาลบางประเทศในตะวันตกเริ่มแสดงความกังวลต่อการเติบโตของบริษัท AI จากจีน โดยเฉพาะ DeepSeek ที่กำลังมาแรงในขณะนี้ มีรายงานว่า คณะกรรมาธิการการค้าของสหรัฐอเมริกา (FTC) กำลังเตรียมตรวจสอบธุรกิจคลาวด์ของไมโครซอฟท์ (Microsoft) เพื่อประเมินว่ามีการละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดหรือไม่ 

แหล่งข่าวจากรอยเตอร์เปิดเผยว่า การตรวจสอบของ FTC จะมุ่งเน้นไปที่ข้อสงสัยว่าไมโครซอฟท์อาจใช้อิทธิพลในฐานะผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายใหญ่ กำหนดเงื่อนไขที่อาจกีดกันไม่ให้ลูกค้าย้ายข้อมูลจากบริการคลาวด์ Azure ไปยังแพลตฟอร์มของคู่แข่ง นอกจากนี้ FTC ยังกำลังพิจารณาข้อกล่าวหาที่ไมโครซอฟท์ปรับขึ้นค่าธรรมเนียมสมาชิกในราคาสูงสำหรับลูกค้าที่ต้องการยกเลิกบริการคลาวด์ และทำให้ผลิตภัณฑ์ Office 365 ไม่สามารถทำงานร่วมกับระบบคลาวด์ของคู่แข่งได้

ขณะเดียวกัน DeepSeek ก็กำลังถูกจับตาจากหลายประเทศเช่นกัน โดยหน่วยงานกำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของอิตาลี (Garante) ได้สั่งให้ Apple และ Google ถอดแอปพลิเคชัน DeepSeek ออกจาก App Store และ Play Store ชั่วคราว ส่งผลให้ผู้ใช้งานในอิตาลีไม่สามารถดาวน์โหลดแอปได้ในขณะนี้ 

Garante ระบุว่ามีความกังวลเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน DeepSeek จึงได้ส่งคำถามไปยังผู้พัฒนาเพื่อขอคำชี้แจงภายใน 20 วัน พร้อมตรวจสอบเพิ่มเติมว่า DeepSeek ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับทั่วไปเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูล (GDPR) ของสหภาพยุโรปหรือไม่  

นอกจากอิตาลีแล้ว หน่วยงานกำกับดูแลข้อมูลของไอร์แลนด์ก็เริ่มตรวจสอบการเก็บข้อมูลของ DeepSeek เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกาที่กำลังสืบสวนว่า DeepSeek ใช้ข้อมูลใดในการฝึกฝนโมเดลปัญญาประดิษฐ์ 

อีลอน มัสก์หน้าแตก ทุ่มซื้อ ChatGPT ถูกปัดตก อัลท์แมนเจ้าของ Open AI สวนกลับ ขอซื้อทวิตเตอร์แทน

(11 ก.พ. 68) กลุ่มนักลงทุนที่นำโดยอีลอน มัสก์ได้ยื่นข้อเสนอเข้าซื้อองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ควบคุม OpenAI ด้วยมูลค่าสูงถึง 97.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.32 ล้านล้านบาท) โดยมาร์ก โทเบอรอฟฟ์ ทนายความของมัสก์ ยืนยันว่าข้อเสนอดังกล่าวได้ถูกส่งไปยังคณะกรรมการบริหารของ OpenAI แล้ว

แหล่งข่าวระบุว่าหากการซื้อกิจการสำเร็จ ทีมของมัสก์มีแผนจะเปลี่ยนทิศทางของ OpenAI ให้กลับมาเป็นแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์แบบโอเพนซอร์สอีกครั้ง โดยเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ มัสก์ได้แสดงความคิดเห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่ OpenAI ควรกลับไปสู่แนวทางโอเพนซอร์สที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย

มัสก์เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง OpenAI ร่วมกับแซม อัลท์แมน และทีมงานในปี 2015 ก่อนจะถอนตัวออกจากองค์กรในปี 2018

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2024 ทีมกฎหมายของมัสก์ได้ยื่นคำร้องขอคำสั่งห้ามชั่วคราวเพื่อเปลี่ยนสถานะของ OpenAI จากองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร โดยมี xAI บริษัทปัญญาประดิษฐ์ของมัสก์เข้าไปมีบทบาทในการดำเนินการครั้งนี้ ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าหากข้อตกลงการซื้อกิจการเป็นผลสำเร็จ อาจมีการควบรวมระหว่าง OpenAI และ xAI

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้รับการตอบรับที่ดีจากแซม อัลท์แมน ซีอีโอของ OpenAI ซึ่งได้โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์ม X (Twitter) เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ว่า “เราสามารถซื้อทวิตเตอร์ในราคา 9.74 พันล้านดอลลาร์ หากคุณต้องการ” ซึ่งถูกมองว่าเป็นการตอบโต้ข้อเสนอของมัสก์อย่างมีนัยสำคัญ

‘ดร.อานนท์’ โพสต์เฟซ!! มหาวิทยาลัยไล่ออก ‘นักศึกษาปริญญาเอก’ เหตุใช้ ChatGPT ทำข้อสอบมาส่ง!! นศ.โต้กลับ Professor ป้อนข้อมูลเอง

(23 มี.ค. 68) ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า …

คำพิพากษาจะออกมายังไงหนอ มหาวิทยาลัยไล่นักศึกษาปริญญาเอกออก ถอดวีซ่าด้วย ข้อหาทุจริต เพราะใช้ Generative AI และ Large language model อย่าง ChatGPT ทำข้อสอบมาส่ง

นักศึกษาฟ้องศาล บอกว่ามีหลักฐานว่า professor ป้อนข้อมูลให้ ChatGPT เอง จนออกมาเหมือนคำตอบของเขา ฟ้องกันใหญ่โต 

ท่าทางจะเป็นตำนานเหมือนกันครับ ผมรอฟังคำพิพากษาเลยครับ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top