Wednesday, 23 April 2025
CBAM

‘ส.อ.ท.’ เผย ยอดจดทะเบียน ‘รถบรรทุกอีวี’ พุ่งสูง 1,020% ใน 1 ปี รับมาตรการ ‘CBAM’ หนุนลดการปล่อยคาร์บอนของสหภาพยุโรป

(4 ก.พ. 67) นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอมรับว่าปัจจุบันประชาชนนิยมซื้อรถในรูปแบบไฮบริด ถือว่าประเทศไทยได้เริมผลิตมามากว่า 10 ปีแล้ว เพราะสามารถช่วยลดมลพิษทางอากาศให้กับประเทศไทย รวมการผลิตที่ 5 หมื่นคัน

อย่างไรก็ตาม ในการผลิตถือว่าลดลง เพราะมีการนำเข้ายานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ซึ่งปี 2567 คาดว่าจะผลิตมากขึ้น หลายบริษัทที่นำเข้ามาตั้งแต่ปี 2565-2566 ที่รับสิทธิประโยชน์กับรัฐบาลจะต้องเริ่มผลิตในประเทศไทยในปีนี้

นอกจากนี้ จากการที่รัฐบาลเริ่มมีการผ่านวาระที่ 1 เรื่องงบประมาณรายจ่ายปี 2567 คาดว่าจะทันใช้เดือน พ.ค. 2567 จะทำให้การลงทุนดีขึ้น จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ เกิดการจ้างงาน รายได้เดีขึ้น แต่จะยังกังวลสงครามความขัดแย้งทั้งที่มีอยู่และที่จะเกิดขึ้น ซึ่งยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ ที่อาจจะได้รับผลกระทบทั้งยอดขายในประเทศ และการส่งออก

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า หวังว่านโยบายฟรีวีซ่าไทยกับจีน จะทำให้นักท่องเที่ยวจีนเข้ามามากขึ้นตามเป้าหมาย 33.5 ล้านคน ซึ่งปี 2566 ที่คาดว่า 28 ล้านคน ก็ถือว่าได้ตามที่ตั้งเป้าไว้ และการย้ายฐานการผลิตนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาในไทย ทำให้ซัพพลายเชนเติบโต การผลิตแบตเตอรี่จะตามเข้ามา เป็นช่วงภาวะการลงทุนตั้งแต่ปีที่แล้ว บางค่ายสามารถผลิตและส่งออกจากโรงงานในไทยแล้ว

ทั้งนี้ ความต้องการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ปัจจัยที่ส่งเสริมให้คนมาใช้อีวี คือราคาน้ำมันที่แพงขึ้น การผลิตและใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจึงมากขึ้น จะเห็นได้ว่า รถบรรทุกไฟฟ้ามีการจดทะเบียนมากขึ้น มีจำนวน 303 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2565 ที่ 1,065.38% ถือว่าเติบโตมาก ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM) จะทำให้ยอดขายดีขึ้น เพราะต้องบรรทุกสินค้าส่งไปที่อียู เข้าสู่การลดการปล่อยคาร์บอน

สำหรับจำนวนการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยประจำเดือน ธ.ค. 2566 มีทั้งสิ้น 133,621 คัน ลดลงจากเดือน ธ.ค. 2565 ที่ 5.75% เพราะผลิตขายในประเทศลดลงถึง 29.94% โดยเฉพาะรถกระบะที่ผลิตลดลงถึง 41.30% จากการเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อรถกระบะ เพราะหนี้ครัวเรือนสูงถึง 90.6% ของ GDP

นอกจากนี้ อีกปัจจัยมาจากรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่นำเข้ามาขายในประเทศ โดยมียอดจดทะเบียนถึง 75,690 คัน ทำให้ผลิตรถยนต์นั่งลดลง 16.24% แต่การผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกปี 2566 กลับเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 11.44% ตามยอดการส่งออกที่เพิ่มขึ้น 11.30% และสูงกว่าส่งออกปี 2562 ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 และลดลงจากเดือน พ.ย. 2566 ที่ 18.19% เนื่องจากวันทำงานน้อยกว่า

นายสุรพงษ์ กล่าวถึงยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือน ธ.ค. 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 68,326 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย. 2566 ที่ 10.88% แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วที่ 17.48% ลดลงเพราะสถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อรถกระบะจากภาระหนี้ครัวเรือนสูง และเพราะเศรษฐกิจชะลอตัวลงจากผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงตามการส่งออกที่ลดลง โรงงานจึงลดกะทำงานและลดทำงานล่วงเวลา คนงานขาดรายได้ ประกอบกับค่าครองชีพและอัตราดอกเบี้ยสูง ทำให้เหลือเงินไม่เพียงพอในการใช้จ่ายอย่างอื่นได้

ทั้งนี้ เดือน ม.ค. – ธ.ค. 2566 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 1,117,539 คัน สูงกว่ายอดส่งออกก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ปี 2562 และสูงสุดในรอบ 5 ปี เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ในระยะเวลาเดียวกัน 11.73% เพิ่มขึ้นเพราะประเทศคู่ค้าส่วนใหญ่ยังมียอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวเพิ่มขึ้น จึงทำให้ส่งออกเพิ่มขึ้นในทุกตลาด ยกเว้นตลาดแอฟริกาที่ลดลง แยกเป็นรถยนต์สันดาปภายใน ICE 1,102,694 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 11.30 ส่งออกรถยนต์ HEV 14,845 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่ 56.02 มูลค่าการส่งออก 719,991.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่ 15.25%

ไทยเล็งเก็บ ‘Carbon Tax’ เป็นชาติที่ 2 ในอาเซียน ต่อจากสิงคโปร์ กำหนดราคากลางที่ 200 บาทต่อตันคาร์บอนฯ คาด!! ดีเดย์ปลายปี 68

(28 มิ.ย. 67) Business Tomorrow รายงานว่า กรมสรรพสามิตไทย ได้เปิดเผยถึงการเตรียมใช้ภาษีคาร์บอนเป็นกลไกภาคบังคับเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หวังให้ผู้ส่งออกใช้ลดหย่อนค่าธรรมเนียม CBAM

ทั้งนี้ การกำหนดอัตราภาษีคาร์บอนในรูปแบบภาคบังคับจะสามารถนำไปนำไปใช้ลดหย่อนค่าธรรมเนียม Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) ที่อียูจะเรียกเก็บจากผู้นำเข้าสินค้าไปยังอียูในปี 2569 ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้ส่งออกในระยะแรก

คาดว่าภาษีคาร์บอนของไทยสามารถบังคับใช้อย่างเร็วสุดภายในปีงบประมาณ 2568 (เดือนตุลาคม 2567) เพื่อให้ทันการเก็บค่าธรรมเนียม CBAM ในปี 2569 ขณะที่ พ.ร.บ. Climate Change ที่จะเป็นกฎหมายเพื่อกำหนดกลไกราคาคาร์บอนภาคบังคับในรูปแบบ ระบบ Emission Trading Scheme (ETS) น่าจะบังคับใช้ได้ในปี 2572

>> ค่าธรรมเนียม Carbon Tax ของไทยจะอยู่ที่เท่าไหร่ ?

ดังนั้น ในระยะแรกจึงเป็นเรื่องที่ดี หากมีการปรับใช้ภาษีคาร์บอนโดยใช้หลักการแปลงภาษีสรรพสามิตที่เดิมมีการผูกกับปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์อยู่แล้ว เช่น ภาษีน้ำมัน ภาษีรถยนต์ ให้อยู่ในรูปของภาษีคาร์บอน เพื่อไม่สร้างภาระทางภาษีเพิ่มแก่ประชาชน และสามารถให้ผู้ส่งออกใช้ประโยชน์ในระหว่างรอกลไกราคาคาร์บอนภาคบังคับจาก พ.ร.บ. Climate Change ในภายหลัง 

ทั้งนี้ประเทศไทยอาจกำหนดราคากลางที่ 200 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งน้อยกว่าราคาคาร์บอนของอียู (EU ETS) หรือ Carbon Tax ของสิงคโปร์ที่อยู่ที่ประมาณ 2,700 และ 700 ต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์ตามลำดับ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การมีกลไกราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) ในรูปแบบภาคบังคับจะช่วยผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกไปยัง EU หรือประเทศที่มีการใช้มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน ลดหย่อนค่าธรรมเนียมที่จะต้องจ่ายให้แก่ประเทศที่บังคับใช้ได้

ทั้งนี้ ผลกระทบอาจแบ่งเป็น 2 ระยะ

- ระยะแรก ผู้ส่งออกใช้ลดหย่อนค่าธรรมเนียม CBAM โดยไม่มีภาระภาษีภายในประเทศเพิ่ม เนื่องจากใช้ภาษีสรรพสามิตแปลงมาเป็นภาษีคาร์บอน ในช่วงก่อนมี พ.ร.บ. Climate Change ทั้งนี้ภาครัฐควรจัดหากลไกกองทุนเพื่อนำรายได้ดังกล่าวสนับสนุนผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาดด้วย

- ระยะหลังจากที่ พ.ร.บ. Climate Change บังคับใช้ จะมีกลไก Emission Trading Scheme และการกำหนดพิกัดอัตราภาษีคาร์บอนที่ยังไม่เก็บอยู่เดิม จะส่งผลต่อต้นทุนของผู้ผลิตในอุตสาหกรรมภายในประเทศที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นไปตามบริบทของการดำเนินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของโลก


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top