Saturday, 19 April 2025
BTS

ราชกิจจาฯ ประกาศห้ามจอดรถ บริเวณช่องเว้าเกาะกลาง ใต้สถานี BTS  เพื่อแก้ไขปัญหา รถติด-อุบัติเหตุ จัดระเบียบการจราจร

(10 มี.ค.67) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการห้ามจอดรถทุกชนิดตลอดเวลา ยกเว้นรถที่ทํางานบํารุงรักษาระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสในบริเวณช่องเว้าเกาะกลางถนนทางด้านขวาของทางเดินรถใต้สถานี พ.ศ. 2567

โดยระบุว่า ด้วยได้มีการจัดทําช่องเว้าเข้าไปในเกาะกลางถนนทางด้านขวาของทางเดินรถ บริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เพื่อใช้เป็นที่จอดรถเฉพาะรถที่ทํางานบํารุงรักษาระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส แต่ปรากฏว่ามีประชาชนนํารถเข้าไปจอดในบริเวณดังกล่าว ทําให้รถที่ทํางานบํารุงรักษาระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ไม่สามารถจอดรถได้ ประกอบกับมีการจอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจรในทางเดินรถ เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด และอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร เพื่อจัดระเบียบการจราจรในบริเวณดังกล่าว

ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 139 (2) แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 38 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอ่านาจตามบทบัญผัติแห่งกฎหมายที่ตราชึ้นเพื่อความั่นคงของรัฐความสงบเรียบร้อยของประชาชน และคําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ที่ 62/2566 ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2566 แต่งตั้งผู้บัญชาการตํารวจนครบาลหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน เป็นหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร จึงได้ออกข้อบังคับไว้ ดังนี้

ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการห้ามจอดรถทุกชนิดตลอดเวลา ยกเว้นรถที่ทํางานบํารุงรักษาระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ในบริเวณช่องเว้าเกาะกลางถนนทางด้านขวาของทางเดินรถใต้สถานี พ.ศ. 2567”

ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 ห้ามหยุดหรือจอดรถทุกชนิดตลอดเวลา ยกเว้นรถที่ทํางานบํารุงรักษาระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ในบริเวณช่องเว้าเกาะกลางถนนทางด้านขวาของทางเดินรถใต้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ดังต่อไปนี้

1.สถานีห้าแยกลาดพร้าว
2.สถานีพหลโยธิน
3.สถานีรัชโยธิน
4.สถานีเสนานิคม

5.สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
6.สถานีกรมป่าไม้
7.สถานีบางบัว
8.สถานีกรมทหารราบที่ 11
9.สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

10.สถานีพหลโยธิน 59
11.สถานีสายหยุด
12.สถานีสะพานใหม่
13.สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

14.สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
15.สถานีแยก คปอ.
16.สถานีบางจาก
17.สถานีปุณณวิถี

18.สถานีอุดมสุข
19.สถานีบางนา
20.สถานีแบริ่ง
21.สถานีกรุงธนบุรี

22.สถานีวงเวียนใหญ่
23.สถานีโพธิ์นิมิต
24.สถานีตลาดพลู
25.สถานีวุฒากาศ
26.สถานีโรงจอดและซ่อมบํารุงรถไฟฟ้าบางหว้า

ข้อ 4 นับตั้งแต่วัน เวลา ที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ให้ยกเลิก ข้อบังคับ กฎ ระเบียบ คำสั่งใดที่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้

ประกาศ ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ดร.'สามารถ' ลุ้น!! กทม. ล้างหนี้ BTS ก่อนหมดสัญญาปี 2572  หวั่น!! ชำระหนี้ไม่ครบ ต้องยืดสัญญาสัมปทาน

(17 มี.ค.67) ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีการชำระหนี้คืนของ กทม. ให้กับ BTS ระบุว่า...

ลุ้น ! กทม. ล้างหนี้ BTS ก่อนหมดสัญญาปี 2572
น่าดีใจที่ กทม. เตรียมจ่ายหนี้งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลให้ BTS ประมาณ 2.3 หมื่นล้าน จากหนี้ทั้งหมดถึงวันนี้ประมาณ 5.3 หมื่นล้าน ไม่รวมหนี้ค่าจ้างเดินรถที่จะเกิดขึ้นจากวันนี้ไปจนถึงวันสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2572 อีกก้อนใหญ่ หาก กทม. สามารถล้างหนี้ได้ก่อนหมดสัญญา หรือหาก กทม. ไม่สามารถล้างหนี้ได้ อะไรจะเกิดขึ้น ?

1. ถึงวันนี้ กทม. เป็นหนี้ BTS เท่าไหร่ ?
ถึงวันนี้ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นหนี้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย รวมดอกเบี้ยประมาณ 5.3 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วยหนี้งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M หรือ Electrical and Mechanical) เช่น อาณัติสัญญาณ สื่อสาร ระบบตั๋ว และประตูกั้นชาลา เป็นต้น ประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท และหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา (O&M หรือ Operation and Maintenance) รวมค่าเช่าขบวนรถไฟฟ้า ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท
หนี้ E&M เริ่มมีตั้งแต่ปี 2559 และได้เพิ่มมากขึ้นเมื่อขยายเส้นทางยาวขึ้น ส่วนหนี้ O&M เริ่มมีตั้งแต่ปี 2560 เมื่อเปิดเดินรถช่วงสถานีสำโรง-สถานีปู่เจ้าสมิงพราย ในวันที่ 3 เมษายน 2560 และหนี้ได้เพิ่มมากขึ้นเมื่อเปิดเดินรถจากสถานีปู่เจ้าสมิงพราย-สถานีเคหะสมุทรปราการ ในวันที่ 6 ธันวาคม 2561 ตามด้วยการเปิดเดินรถจากสถานีหมอชิต-สถานีห้าแยกลาดพร้าว ในวันที่ 9 สิงหาคม 2562 และจากห้าแยกลาดพร้าว-สถานีคูคต ในวันที่ 16 ธันวาคม 2563

2. ความเป็นไปได้ในการจ่ายหนี้โดย กทม.
เวลานี้ กทม. มีความพร้อมที่จะจ่ายหนี้ก้อนแรกค่างานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท ส่วนหนี้ค่าจ้างเดินรถที่ถึงเวลานี้มีประมาณ 3 หมื่นล้านบาท กทม. ยังไม่จ่าย เนื่อง
จากยังมีคดีค้างอยู่ที่ศาลปกครอง นอกจากนี้ ยังมีหนี้ค่าจ้างเดินรถที่จะเกิดขึ้นจากวันนี้ไปจนถึงวันสิ้นสุดสัญญาในปี 2572 อีกก้อนใหญ่ ถ้า กทม. ไม่สามารถจ่ายได้ รัฐบาลจะช่วย กทม. หรือไม่ ? 
โอกาสที่จะเกิดขึ้นในการชำระหนี้มีดังนี้

(1) กทม. จะสามารถล้างหนี้ได้ก่อนหมดสัญญาปี 2572
หาก กทม. สามารถชำระหนี้ได้หมดโดย กทม. เอง หรือโดยความช่วยเหลือจากรัฐบาล กทม. ก็ไม่จำเป็นจะต้องขยายสัมปทานให้ BTS แต่ กทม. จะต้องจ้าง BTS ให้เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวรวมทั้งซ่อมบำรุงรักษาไปจนถึงปี 2585 ตามสัญญาจ้างระหว่าง กทม. กับ BTS ที่ทำกันมาหลายปีแล้ว การว่าจ้างส่วนต่อขยายบางช่วงเริ่มตั้งแต่ปี 2555-2585 บางช่วงเริ่มตั้งแต่ปี 2559-2585 และที่สำคัญ ได้ว่าจ้างให้เดินรถส่วนหลักด้วยหลังจากสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2572 จนถึงปี 2585
กรณี กทม. จ้าง BTS ให้เดินรถและซ่อมบำรุงรักษา กทม. จะสามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารได้เอง เป็นอิสระจาก BTS ค่าโดยสารอาจจะถูกลงก็ได้ ทั้งนี้ กทม. ควรเก็บค่าโดยสารให้มีรายได้พอที่จะเลี้ยงตัวเอง นั่นคือพอเพียงกับค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา รวมทั้งค่าซ่อมบำรุงรักษาใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ค่าเปลี่ยนขบวนรถไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งใช้งานมานานหลายปี

(2) กทม. ไม่สามารถล้างหนี้ได้ก่อนหมดสัญญาปี 2572
ในกรณีที่ กทม. ไม่สามารถชำระหนี้ได้หมดภายในปี 2572 กทม. จะต้องเจราจากับ BTS ให้รับหนี้ที่เหลือแทน ซึ่ง กทม. อาจจะต้องขยายสัมปทานให้ BTS ออกไปตามระยะเวลาที่เหมาะสมกับมูลค่าหนี้ อัตราค่าโดยสาร รวมทั้งผลตอบแทนที่ กทม. จะได้รับจาก BTS

3. สรุป
การแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวซึ่งยืดเยื้อมานานหลายปี ถึงเวลานี้พอจะมีความหวัง ไม่ว่า กทม. จะสามารถชำระหนี้ได้หมดก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2572 หรือไม่ BTS ก็จะยังคงมีบทบาทในรถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อไป 
หาก กทม. สามารถชำระหนี้ได้หมด BTS ก็จะเป็นผู้รับจ้างเดินรถไปจนถึงปี 2585 กทม. จะสามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารได้เอง รายได้ทั้งหมดจะเป็นของ โดย กทม. จะต้องแบกรับความเสี่ยงเองทั้งหมด 

หาก กทม. ไม่สามารถชำระหนี้ได้หมด กทม. อาจจะต้องขยายสัมปทานให้ BTS โดย BTS จะต้องรับภาระหนี้แทน กทม. และจะต้องแบกรับความเสี่ยงเองทั้งหมด
อีกไม่นานก็คงรู้ว่า BTS จะมีบทบาทในรถไฟฟ้าสายสีเขียวในฐานะผู้รับจ้างเดินรถ หรือผู้รับสัมปทานแบบเดิมต่อไป

‘สุริยะ’ อัปเดตความคืบหน้า ‘รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย’ ปักธง!! เข็น ‘ทุกสี-ทุกสาย’ เข้าร่วมภายในเดือน ก.ย.68

(28 มิ.ย. 67) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ความคืบหน้านโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ยืนยันว่านโยบายนี้จะแล้วเสร็จ รถไฟฟ้าทุกสีทุกสายจะมีค่าโดยสารสูงสุด 20 บาทตลอดสายตามเป้าหมายในเดือน ก.ย. 2568

ทั้งนี้ในปัจจุบันกระทรวงฯ อยู่ระหว่างเจรจากับเอกชนคู่สัญญา และผลักดันพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม เพื่อให้มีผลในการปรับโครงสร้างและบูรณาการรถไฟฟ้าทุกโครงการ

"การปรับลดราคาค่าโดยสารนั้น รัฐบาลยืนยันว่าจะไม่กระทบต่อสัญญาสัมปทาน เพราะรัฐบาลจะจัดหาวงเงินชดเชยรายได้ที่หายไป" นายสุริยะ กล่าว

ขณะเดียวกันในปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษาแนวทางจัดหาเงินชดเชย คาดว่าจะจัดตั้งเป็นกองทุนตั๋วร่วมที่นำเงินมาจากหลายส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงาน การสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล และรายได้ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

ส่วนผลการศึกษาเบื้องต้น คาดว่าจะจัดใช้วงเงินชดเชยประมาณ 8 พันล้านบาทต่อปี โดยหากปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ปริมาณจ่ายเงินชดเชยก็จะลดลงอย่างต่อเนื่อง 

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงฯ อยู่ระหว่างผลักดันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายทุกเส้นทางให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายในปี 2568

จากข้อมูลการศึกษาล่าสุด มั่นใจว่าในช่วงกลางปี 2568 จะสามารถนำรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว 3 สายในปัจจุบัน เข้าร่วมนโยบายดังกล่าว ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน, รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง
เนื่องจากทั้ง 3 โครงการดังกล่าว อยู่ภายใต้การดูแลของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) สามารถเจรจากับเอกชนคู่สัญญาและปรับลดราคาค่าโดยสารได้ ซึ่งทางภาครัฐจะจัดหาเงินชดเชยรายได้ที่หายไป โดยไม่ให้กระทบต่อสัญญาสัมปทาน

“ขณะนี้รถไฟฟ้าที่พร้อมจะปรับราคาตามนโยบาย 20 บาทตลอดสาย จะเป็นรถไฟฟ้าที่อยู่ภายใต้การกำกับของ รฟม. ส่วนรถไฟฟ้าสายอื่นที่มีสัญญาสัมปทาน เช่น รถไฟฟ้าสายสีเขียว ก็คงต้องรอให้ พรบ.ตั๋วร่วมมีผลบังคับใช้ จะมีผลในการปรับโครงสร้างราคาค่าโดยสาร ซึ่งคาดว่าจะเห็นผลภายในปี 2568” นายสุริยะ กล่าว

สำหรับปัจจุบันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เริ่มใช้ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีแดง และรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยจากข้อมูลตั้งแต่เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 16 ต.ค.2566 จนถึงวันที่ 31 พ.ค.2567 หรือประมาณ 7 เดือนครึ่ง พบว่า ปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยรวม 2 สาย 20.86 ล้านคน เพิ่มขึ้น 17.94%

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 66 (16 ต.ค.2565-31 พ.ค.2566) ซึ่งผู้โดยสารอยู่ที่ 17.68 ล้านคน โดยสายสีแดง ผู้โดยสาร 6.21 ล้านคน เพิ่มขึ้น 27.61%

นอกจากนี้สายสีม่วง ผู้โดยสาร 14.29 ล้านคน เพิ่มขึ้น 11.53% ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้บริการ ส่งผลให้การสูญเสียรายได้ของทั้ง 2 สายลดลงจากที่คาดการณ์ว่าจะสูญเสียรายได้ประมาณ 300 ล้านบาทต่อปี

CEO HYBE ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่แดนกิมจิ รุด ขอโทษ หลังเอกสารบูลลี่ศิลปิน-อุตสาหกรรม K-Pop หลุด

(30 ต.ค. 67) CEO ของ HYBE Lee Jae-Sang ได้ออกมาขอโทษต่อสาธารณชนหลังจากที่รายงานภายในของบริษัท 'Weekly Music Industry Report' ได้รั่วไหลออกมาบางส่วน ซึ่งรายงานดังกล่าวได้อวดอ้างถึงสิ่งที่บางคนเรียกว่าคำพูดที่ดูหมิ่นอุตสาหกรรม K-pop ซึ่งรวมถึงศิลปินรุ่นใหม่ด้วย

จดหมายดังกล่าวมีที่มาจากการพิจารณาคดีในวันพฤหัสบดี (24 ต.ค.) เกี่ยวกับการตรวจสอบของ HYBE ที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวของสมัชชาแห่งชาติเกาหลีใต้ The Korea Herald รายงานว่า Min Hyung-bae ได้เปิดเผยเอกสารรายสัปดาห์ดังกล่าวในระหว่างการประชุม โดยมีรายงานว่าเอกสารดังกล่าวมีความยาวประมาณ 18,000 หน้า 

สส. Min ตั้งข้อสังเกตว่าเอกสารดังกล่าวมีข่าวลือที่ไม่ได้รับการยืนยันและบางครั้งก็มีการวิจารณ์ที่รุนแรงต่อศิลปินที่อายุน้อยมาก รวมถึงผู้เยาว์ โดยมีคำกล่าวอ้างว่า “พวกเขาเดบิวต์ในช่วงอายุที่พวกเขาไม่น่าดึงดูดที่สุด” และ “น่าแปลกใจที่ไม่มีใครสวยเลย” 

เพื่อตอบสนองต่อการรั่วไหลของจดหมาย ลีได้โพสต์บนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของบริษัทในวันอังคาร (29 ต.ค.) เสนอคำขอโทษ "ถึงศิลปิน ผู้ถือผลประโยชน์ในอุตสาหกรรม และแฟน ๆ" ที่ไม่พอใจต่อการเปิดเผยดังกล่าว

"เอกสารนี้ถูกสร้างขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการในการรวบรวมปฏิกิริยาย้อนหลังและความคิดเห็นของสาธารณชนเกี่ยวกับแนวโน้มและปัญหาในอุตสาหกรรม" ลีเขียนชี้แจงว่ามีการแบ่งปันเอกสารนี้กับ 'ผู้นำจำนวนจำกัด' เท่านั้น 

อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่า "ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง" ที่เอกสารจะมี "การแสดงออกที่ยั่วยุและชัดเจนที่มุ่งเป้าไปที่ศิลปินเคป๊อป" และเสริมว่า "ในฐานะตัวแทนของบริษัท ผมยอมรับข้อผิดพลาดทั้งหมดและรับผิดชอบเต็มที่"

ลีกล่าวเสริมว่า HYBE "กำลังติดต่อแต่ละบริษัทต้นสังกัดโดยตรงเพื่อขอโทษ" และกล่าวต่อว่า "ผมขอแสดงความขอโทษอย่างเป็นทางการอย่างจริงใจต่อศิลปินทุกคนของ HYBE Music Group ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์เนื่องจากบริษัท" 

นอกจากนี้ ลียังสัญญาว่า “จะกำหนดแนวทางปฏิบัติและเสริมการควบคุมภายในเพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้นอีก” และเสริมว่าบริษัทได้หยุดการจัดทำเอกสารดังกล่าวแล้ว เมื่อใกล้จะสิ้นสุด เขาได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของ HYBE ต่อความเป็นอยู่ที่ดีของศิลปินทุกคนและการเคารพแฟนๆ โดยมุ่งมั่นที่จะปฏิรูปเพื่อมีส่วนสนับสนุนอุตสาหกรรม K-pop ในเชิงบวก

อ่านคำชี้แจงฉบับเต็ม (พร้อมคำแปลที่จัดทำโดย Soompi) ด้านล่างนี้:
ในฐานะซีอีโอของ HYBE ฉันขอแสดงความเสียใจอย่างจริงใจเกี่ยวกับเอกสารการตรวจสอบของ HYBE เกี่ยวกับเอกสารการตรวจสอบของเราที่ได้รับการเน้นย้ำในระหว่างการตรวจสอบของคณะกรรมการวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ฉันขอโทษอย่างสุดซึ้งต่อศิลปิน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรม และแฟน ๆ

เอกสารนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเพื่อรวบรวมปฏิกิริยาและความคิดเห็นของสาธารณชนเกี่ยวกับแนวโน้มและปัญหาในอุตสาหกรรมย้อนหลัง แม้ว่าจะตั้งใจให้แบ่งปันกับผู้นำจำนวนจำกัดเท่านั้นเพื่อทำความเข้าใจความรู้สึกของตลาดและแฟน ๆ แต่เนื้อหาดังกล่าวไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง 

เอกสารดังกล่าวมีเนื้อหาที่ยั่วยุและชัดเจนที่มุ่งเป้าไปที่ศิลปิน K-pop รวมถึงความคิดเห็นส่วนตัวและการประเมินของผู้เขียน และถูกเก็บรักษาไว้ในรูปแบบลายลักษณ์อักษร ในฐานะตัวแทนของบริษัท ฉันยอมรับข้อผิดพลาดทั้งหมดและรับผิดชอบอย่างเต็มที่ ฉันรู้สึกเสียใจและวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่งกับความสงสัยที่ไม่มีมูลความจริงเกี่ยวกับการตลาดแบบไวรัลย้อนกลับ ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย ทำให้เกิดความเข้าใจผิดและอันตรายต่อศิลปินและบุคคลที่บริสุทธิ์

ฉันขอโทษอย่างเป็นทางการและด้วยความเคารพต่อศิลปินภายนอกที่กล่าวถึงในเอกสารซึ่งได้รับความเสียหายและความทุกข์ยาก นอกจากนี้ เรายังติดต่อแต่ละเอเจนซี่เป็นรายบุคคลเพื่อขอโทษโดยตรง นอกจากนี้ ฉันยังขอโทษอย่างเป็นทางการอย่างจริงใจต่อศิลปินทุกคนของ HYBE Music Group ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์เนื่องจากบริษัท

ฉันยอมรับว่าผู้บริหารที่ได้รับเอกสารดังกล่าวขาดความตระหนักรู้ และในฐานะซีอีโอ ฉันได้หยุดการสร้างเอกสารตรวจสอบดังกล่าวทันที ฉันสัญญาว่าจะกำหนดแนวทางปฏิบัติและเสริมการควบคุมภายในเพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้นอีก 

ฉันขอโทษศิลปิน ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม แฟน ๆ และทุกคนที่รักและสนับสนุน K-pop สำหรับความเจ็บปวดที่เกิดจากเหตุการณ์นี้ ในฐานะตัวแทนของบริษัท ฉันมุ่งมั่นที่จะไตร่ตรองและตรวจสอบตัวเองอย่างถี่ถ้วนเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดในอดีตและให้ความสำคัญกับสิทธิของศิลปิน K-pop ทุกคนและการเคารพแฟน ๆ เราจะทำอย่างสุดความสามารถเพื่อมีส่วนสนับสนุนการพัฒนาอย่างแข็งแรงของอุตสาหกรรม K-pop

ขอบคุณ
อีแจซัง ซีอีโอ HYBE

โครงการรถไฟฟ้า 20 บาท ทุกสาย! เริ่มใช้ 30 ก.ย. 68 ลงทะเบียนผ่านแอป 'ทางรัฐ'

ข่าวดีสำหรับคนเมือง! รถไฟฟ้า 20 บาททุกสาย มาแล้ว

เริ่มใช้ 30 ก.ย. 68! ลงทะเบียนล่วงหน้าผ่านแอปฯ 'ทางรัฐ' ได้ตั้งแต่ สิงหาคม 2568 เป็นต้นไป
ใช้ได้เฉพาะผู้ลงทะเบียนพร้อมบัตร EMV หรือบัตร Rabbit แบบเติมเงิน (ABT) เท่านั้น

อย่าลืมเตรียมบัตรให้พร้อม แล้วกดลงทะเบียนทันทีที่ระบบเปิดนะ!


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top