Monday, 21 April 2025
ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

เปิด 8 ผลกระทบ ส่งฝนกระหน่ำหนักไทยครึ่งปีหลัง 65 ภายใต้การกู้สถานการณ์เร็ว ลดสูญเสียหนัก จากรบ. 'บิ๊กตู่'

นับตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากสภาพภูมิอากาศ เกิดร่องมรสุม และพายุอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีปริมาณฝนตกเป็นจำนวนมาก สร้างความเดือดร้อนให้แก่พี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง 

ส่งผลให้ในปีนี้ประเทศไทยมีสถิติฝนตกสูงมากกว่าปกติ และในบางจังหวัดทุบสถิติฝนตกมากที่สุดในรอบ 30 ปี

ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีดังนี้...

1. ร่องมรสุมพัดพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 2 - 8 สิงหาคม 

ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย หลายพื้นที่ในภาคเหนือ, ตะวันตก, ตะวันออก, ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่า 125  มิลลิเมตร (125 ลิตรต่อตารางเมตร) ในหลายพื้นที่

2. พายุดีเพรสชัน มู่หลาน ระหว่างวันที่ 11 – 13 สิงหาคม

ส่งผลให้ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมแทบจะทุกภูมิภาคของประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดน่านตอนบนที่ รองลงมาคือเชียงรายและเชียงใหม่, กาญจนบุรี, สระแก้ว และปราจีนบุรี 

ในหลายพื้นที่มีฝนตกหนักมากกว่า 100 มิลลิเมตร (100 ลิตรต่อตารางเมตร)

3. ร่องมรสุมพัดพาดผ่านภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 20 – 22 สิงหาคม

ส่งผลให้ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดยโสธร, ร้อยเอ็ด, กาฬสินธุ์, น่าน, พังงา และระนอง รองลงมาคือจังหวัด สกลนคร, อุดรธานี, พิษณุโลก, จันทบุรี และตราด 

ในหลายพื้นที่มีฝนตกหนักมากกว่า 100 มิลลิเมตร (100 ลิตรต่อตารางเมตร)

4. พายุดีเพรสชัน หมาอ๊อน ระหว่างวันที่ 24 – 26 สิงหาคม

ส่งผลให้ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดปราจีนบุรี, ลำปาง, พังงา และภูเก็ต รองลงมาคือจังหวัดลพบุรี, นครสวรรค์, ชัยนาท, สิงห์บุรี และกระบี่ 

ในหลายพื้นที่มีฝนตกหนักมากกว่า 100 มิลลิเมตร (100 ลิตรต่อตารางเมตร)

5. ร่องมรสุมกำลังแรงพัดพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 5 – 9 กันยายน

ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือกรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ, ปทุมธานี, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, เลย, ตาก, นครสวรรค์, พิษณุโลก, ระนอง, พังงา และสุราษฎร์ธานี รองลงมาคือจังหวัดปราจีนบุรี, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, มหาสารคาม, เชียงใหม่, เชียงราย และ กำแพงเพชร

บางพื้นที่มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่า 200 มิลลิเมตร (200 ลิตรต่อตารางเมตร)

6. ร่องมรสุมพัดพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 6 – 11 กันยายน

ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือกรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ, ปทุมธานี, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, สระแก้ว, ปราจีนบุรี, นครราชสีมา, เลย, อุดรธานี, หนองบัวลำภู, อุตรดิตถ์, พิษณุโลก, นครสวรรค์, เชียงใหม่, เชียงราย, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, ระนอง และพังงา

บางพื้นที่มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่า 300 มิลลิเมตร (300 ลิตรต่อตารางเมตร)

7. พายุดีเพรสชัน โนรู ระหว่างวันที่ 28 – 30 กันยายน

ส่งผลให้ฝนตก และฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย พื้นที่ที่ฝนตกอย่างหนักคือจังหวัดอุบลราชธานี, อำนาจเจริญ, ยโสธร, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, บุรีรัมย์, นครสวรรค์, เพชรบูรณ์, ลพบุรี, ระนอง, พังงา. สุราษฎร์ธานี และสตูล รองลงมาคือจังหวัดเลย, อุดรธานี, ตาก และชุมพร

บิ๊กตู่ มั่นใจ 'เป้าหมายกรุงเทพฯ' จะบรรลุผลและนำไปสู่ความร่วมมือในภูมิภาคที่เป็นรูปธรรม

ไม่นานมานี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานและกล่าวปาฐกถาพิเศษในงานประชุม Global Compact Network Thailand Forum (GCNT 2022) หัวข้อ ‘เร่งหาทางออกของภาคธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อนและวิกฤตความหลากหลายทางชีวภาพ’ ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ (UNCC)   

การเข้าร่วมการประชุม GCNT ในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสสำคัญและเป็นช่วงของการเตรียมตัวก่อนที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC 2022) โดยไทยได้ผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเปคในยุคหลังวิกฤตโควิด – 19 เพื่อให้ทุกประเทศเติบโตได้อย่างยั่งยืน สมดุล และครอบคลุมมากขึ้น ภายใต้หัวข้อหลัก ‘Open. Connect. Balance.’  

รัฐบาลไทยยืนยันถึงเจตนารมณ์ “ความมุ่งมั่นและการลงมือทำของไทยในฐานะเจ้าภาพการประชุมเอเปค เพื่อลดสภาวะโลกร้อนและความเสียหายต่อธรรมชาติ” โดยภาคเอกชนและสหประชาชาติเป็นภาคีสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของไทย

ไทยตระหนักดีว่าการลดภาวะโลกร้อนมิใช่เพื่อแก้ปัญหาภาวะวิกฤติธรรมชาติเท่านั้น แต่เพื่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนด้วย และได้เสนอหลักการ ‘การพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG’ ที่คำนึงถึงการพัฒนาเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่กับการเยียวยารักษาธรรมชาติอย่างมีสมดุล เป็นหัวใจของเอกสารผลลัพธ์ของเอเปค ที่เรียกว่า ‘เป้าหมายกรุงเทพว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว’ 

BCG โมเดล วิสัยทัศน์ด้านเศรษฐกิจจาก 'พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา' นำพาเศรษฐกิจไทยเดินหน้า พร้อมรักษาสิ่งแวดล้อมโลกอย่างยั่งยืน

(5 พ.ย. 65) โมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) คือหนึ่งในกรอบความคิดหลักของวิสัยทัศน์นายกรัฐมนตรี ‘พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา’

โมเดล BCG นี้ ถูกบรรจุเป็นกรอบความคิดหลักสำคัญในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่จะนำพาเศรษฐกิจไทย เติบโตไปพร้อมกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลกอย่างยั่งยืน

 

'บิ๊กตู่' เตรียมลงพื้นที่ 'จ.นครสวรรค์ - จ.พิจิตร' ตรวจความคืบหน้าหลายโครงการ - รับฟังปัญหา ปชช.

(29 ม.ค.66) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เตรียมลงพื้นที่ตรวจราชการ ณ จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดพิจิตร ในวันจันทร์ที่ 30 มกราคม 2566 เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามข้อสั่งการ และติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล โดยมีกำหนดการ ดังนี้

โดยช่วงเช้านายกรัฐมนตรีมีกำหนดตรวจติดตามการบริหารจัดการน้ำเพื่อความยั่งยืนและเพื่อการเกษตรสมัยใหม่ ณ สันฝายเก่าบึงบอระเพ็ด ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองนครสวรรค์ 

ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรีจะไปติดตามการขับเคลื่อนระบบการบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้าในระดับพื้นที่ ณ วัดดงแม่ศรีเมือง ตำบลตาสัง อำเภอบรรพตพิสัย และตรวจติดตามการพัฒนาความมั่นคงด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ณ โรงพยาบาลบรรพตพิสัย ตำบลเจริญผล อำเภอบรรพตพิสัย  

'กฎหมาย' เปิดทางบุคคล 2 คน จดทะเบียนตั้ง 'บริษัทจำกัด' เอื้อเปิดกิจการขนาดเล็ก ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจระยะยาว

รัฐบาลได้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลดขั้นตอน อุปสรรคเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจและทยอยมีผลบังคับใช้อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่23) พ.ศ. 2565 ซึ่งมีสาระสำคัญในการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัทได้เริ่มมีผลบังคับ โดยผลของกฎหมายจะเอื้อให้เกิดการก่อตั้งธุรกิจง่ายขึ้น มีความคล่องตัว ลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการดำเนินงาน สนับสนุนให้ภาคธุรกิจเป็นกลไกสำคัญสนับสนุนต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว

พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 23)ฯ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 8 พ.ย. 65 กำหนดให้มีผลบังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. 66 เป็นต้นมา ได้มีการปรับปรุงแก้ไขในหลายประเด็น อาทิ การลดจำนวนขั้นต่ำของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทเป็น 2 คน จากเดิมที่กำหนดขั้นต่ำไว้ที่ 3 คน ซึ่งเกณฑ์ในเรื่องนี้จะทำให้มีการจัดตั้งธุรกิจได้ง่ายเอื้อต่อการเกิดธุรกิจขนาดเล็กหรือวิสาหกิจเริ่มต้น (Start Up) มากขึ้น

กฎหมายยังมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป โดยกำหนดวิธีประชุมกรรมการให้สามารถดำเนินการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย ส่วนการส่งคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่นั้นได้กำหนดวิธีบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เป็น 2 กรณี ตามชนิดใบหุ้น โดยกรณีผู้ถือหุ้นชนิดระบุชื่อมีการลดขั้นตอนการพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ส่วนกรณีหุ้นชนิดผู้ถือ ได้กำหนดให้มีการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่หรือโฆษณาในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

'บิ๊กตู่' ผลักดันนโยบาย 'อาหารไทย อาหารโลก' เน้น!! การขยายตลาดอาหารไทยไปยังตลาดโลก คู่กับ 'ส่งเสริม' สินค้าฮาลาล อย่างต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 66 รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) พร้อมด้วย...

- ศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี ด้านการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
- พลตำรวจตรี สุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย 
- นายสามารถ มะลูลีม กรรมการอำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
- นายประสาน ศรีเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี 
- นายประทีป กีรติเรขา รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง 
- คณะผู้บริหารศวฮ.และเจ้าหน้าที่

ให้การต้อนรับท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาและคณะในการเยือนศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิธีเปิดเริ่มด้วยการกล่าวต้อนรับ โดยศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี ด้านการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การกล่าวสรุปกิจการฮาลาลประเทศไทย โดยพล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

จากนั้น รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์ฯ บรรยายสรุปพันธกิจและ กิจกรรมของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) ดังนี้...

1. ประวัติและผลงานของ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ
2. โครงสร้างการบริหารกิจการฮาลาลประเทศไทย
3. บทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมฮาลาล ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

ทั้งนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวมอบนโยบาย และเยี่ยมชมนิทรรศการผลงานของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล และห้องปฏิบัติการทางนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาล ณ ชั้น 11 – 13 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

‘บิ๊กตู่’ ลั่น!! นี่คือผม สู้ทุกอย่าง ไม่ยอมแพ้ใครทั้งสิ้น เพื่อให้ใบหน้าของประชาชนทุกคนมีแต่รอยยิ้ม

เมื่อวานนี้ (3 มี.ค.66) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวขณะลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถึงการดำเนินงาน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ให้ประชาชนทุกคนมีอาชีพ มีรายได้ มีรอยยิ้ม ว่า…

“สู้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเจออะไรก็ตาม เพราะนี่คือผม ไม่ยอมแพ้ใครทั้งสิ้น

'ดร.หิมาลัย' แชร์คลิป คนไร้บ้านสหรัฐฯ ตอกย้ำปณิธานลุงตู่ "ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" มุ่งลดความเหลื่อมล้ำอย่างเป็นรูปธรรม

(25 เม.ย.66) ดร.หิมาลัย ผิวพรรณ ผู้ประสานงานพรรครวมไทยสร้างชาติ ได้แชร์คลิปคนไร้บ้านในเมืองใหญ่ของสหรัฐฯ ที่ใช้ชีวิตริมถนนและมีสภาพเหมือนกับซอมบี้ ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว พร้อมระบุว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม เป็นปัญหาที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก อย่างสหรัฐ อเมริกา ที่ประสบปัญหาคนไร้บ้านพุ่งทะยานไม่หยุดในช่วงไม่กี่ปีมานี้ โดยมีสาเหตุมาจากราคาที่อยู่อาศัยที่สูงลิ่วสวนทางกับค่าแรงในระดับต่ำ ประกอบกับเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์

หากใครได้มีโอกาสไปเยือนเมืองใหญ่ๆ ในสหรัฐ อเมริกา หรือ ดูในสื่ออินเทอร์เน็ตที่มีการแชร์กันในขณะนี้ จะเห็นคนไร้บ้านออกมาใช้ชีวิต - กิน - นอน ริมถนนจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเป็นเหตุผลจากความเหลื่อมล้ำในเรื่องรายได้ รวมไปถึงผลข้างเคียงของยาเสพติด ซึ่งเกิดจากความเครียดสะสมทำให้คนหันไปใช้ยาเสพติด และทำให้เกิดปัญหาในสังคมเมืองใหญ่ของสหรัฐฯ มากขึ้นเรื่อยๆ

สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่ยกตัวเองว่าเป็น มหาอำนาจทางเศรษฐกิจ เป็นผู้นำทางด้านประชาธิปไตยที่เน้นความเท่าเทียมกันในสังคม ยังคงมีปัญหาความเหลื่อมล้ำของคนในสังคมเช่นเดียวกัน

ย้อนกลับมาที่ประเทศไทย ที่มีคนบางกลุ่มพยายามด้อยค่าประเทศตัวเอง ยกตัวอย่างประเทศอื่นๆ ว่ามีสวัสดิการที่ดีกว่า ทั้งที่ในความเป็นจริง ภาพของคนไร้บ้านที่พบเห็นได้ทั่วไปในสหรัฐฯ กลับพบเห็นน้อยมากในประเทศไทย แม้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ จะยังคงมีอยู่ในสังคมไทย ซึ่งเป็นความจริงที่ยากปฏิเสธ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top