Tuesday, 22 April 2025
แรงงานนอกระบบ

‘กระทรวงแรงงาน’ ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติการ ด้านการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2566 – 2570

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08.45 น. นางสาวบุปผา เรืองสุด รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2566 – 2570 ณ ห้องประชุมจอมพล ป. พิบูลสงคราม ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน โดยการประชุมดังกล่าวจัดขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางขับเคลื่อนการดําเนินงานส่งเสริม คุ้มครอง และพัฒนาแรงงานนอกระบบ ซึ่งมีสาระสำคัญกำหนดทิศทาง การดำเนินงานไว้ 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : เสริมสร้างหลักประกันทางสังคมและขยายความคุ้มครองให้ทั่วถึง

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : เสริมสร้างสมรรถนะแรงงานนอกระบบเพื่อการทำงาน

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : เพิ่มสมรรถนะการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ

 

‘บิ๊กป้อม’ ลุยแก้ปัญหาแรงงานนอกระบบ ย้ำ รบ.ดูแลสิทธิ – ยกระดับคุณภาพชีวิตเต็มที่

‘นายกฯป้อม’ นั่งหัวโต๊ะ ถกบอร์ดแรงงานนอกระบบ ไฟเขียวเคาะแผนฯความร่วมมือ ม.ธรรมศาสตร์ - ก.แรงงาน ปี 66-70 เน้นใช้เทคโนโลยี เสริมการจ้างงาน/เพิ่มรายได้ ควบคู่สิทธิพึงได้อย่างเต็มที่ พร้อมเร่งรัด กม.คุ้มครองฯ บังคับใช้โดยเร็ว

เมื่อ (29 ส.ค. 65) เวลา 10.00 น. พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษก รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบแห่งชาติ (คนช.) ครั้งที่1/2565 ณ ห้องประชุม มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ที่ประชุมได้รับทราบ ผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ ประจำปี 64 ซึ่งมีการส่งเสริมคุ้มครอง และพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ จำนวน 67 โครงการ/กิจกรรม มีแรงงานนอกระบบที่ได้รับการยกระดับคุณภาพชีวิต รวม 16,876,660 คน (5,736 ล้านบาท) มีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6,853 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 4 ของรายได้ในปี 63 เฉลี่ย 6586 บาทต่อเดือน และรับทราบผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาการตลาดสินค้ากลุ่มผู้ทำการผลิตที่บ้านหลังการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ภายใต้ความร่วมมือกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ (Homenet) ซึ่งมีแรงงานนอกระบบได้รับประโยชน์ 1,160 คน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 4,500 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 80 ของรายได้ ก่อนการระบาดของ โควิด-19 (เฉลี่ยต่อเดือน 2,500 บาท) รวมทั้งรับทราบความคืบหน้า(ร่าง) พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ พ.ศ...ซึ่งจะแล้วเสร็จภายใน ต.ค. 65 

รมว.สุชาติ ส่ง ผู้ช่วยฯ ลงสงขลา มอบวุฒิบัตรแรงงานนอกระบบที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ฝึกอาชีพ เพิ่มรายได้ มีเครื่องมือทำกิน

(10 มี.ค.66) นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีมอบวุฒิบัตรให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมโครงการพัฒนาทักษะเฉพาะของแรงงานอิสระยุค 4.0 (Gig Worker) หลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือ สาขาการประกอบขนมอบ โดยมี นายสุทธิ สุโกศล ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นายเอกชัย เลิศวิบูลย์ลักษณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน หัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดสงขลา ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลพะตง ร่วมให้การต้อนรับ นายพิเชษฐ์ ทองพันธ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน ณ หอประชุมโรงเรียนวัดควนเนียง ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

นายสุรชัย กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการจ้างงาน ประชาชนมีทักษะฝีมือ มีงานทำ มีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง กระทรวงแรงงาน โดยท่านสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จึงได้ให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ดำเนินการฝึกอาชีพให้แก่กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ได้ลงทะเบียนถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า 'บัตรลุงตู่' เพื่อฝึกอาชีพยกระดับทักษะฝีมือแรงงาน ให้มีมาตรฐาน และมอบเครื่องมือทำกินให้หลังฝึกจบ เพื่อให้สามารถนำไปประกอบอาชีพ มีรายได้ เลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้มากขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในวันนี้ รมว.แรงงาน จึงได้มอบหมายให้ผมลงพื้นที่มามอบวุฒิบัตรพบปะให้กำลังใจแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมโครงการพัฒนาทักษะเฉพาะของแรงงานอิสระ ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งผู้ประกอบ“อาชีพอิสระ” หรือ 'แรงงานนอกระบบ' หรือเรียกว่า Gig Worker คือ คนที่ทำงานในรูปแบบงานชั่วคราว งานที่รับจ้างเป็นระยะเวลาสั้นจบเป็นครั้งๆ ไป ไม่ยึดติดกับที่ใดที่หนึ่ง เช่น งานพาร์ทไทม์ งานฟรีแลนซ์ ซึ่งแรงงานเหล่านี้ยังขาดการพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพ จำเป็นต้องได้รับการยกระดับ ทักษะฝีมือ เพื่อเพิ่มความรู้ ความสามารถ มีงาน มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคง และยั่งยืน

'แรงงานนอกระบบ' เสี่ยงเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ในไทย บนความสบายใจของคนไทยที่รักสบายจนเคยตัว

อย่างที่เราทราบกันว่าตอนนี้มีแรงงานผิดกฎหมายเดินทางเข้ามายังประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่ม NGO ทั้งหลายก็พยายามผลักดันและกดดันให้ไทยรับแรงงานเหล่านี้เข้าระบบ ซึ่งไม่ใช่เรื่องของไทยเลย  

จากการเรียกร้องของกลุ่ม NGO โดยเฉพาะฝั่งพม่าที่พยายามผลักดันมากเสียจนดูน่าสงสัยไปหมด เมื่อไปตามดูสายสัมพันธ์ของคนเหล่านี้จะพบว่าคนเหล่านี้มีสายสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ในไทยทั้งในระดับปฏิบัติการและระดับนโยบายถึงขั้นพยายามผลักดันนโยบายอะไรบางอย่างในไทยได้ 

เพราะล่าสุดเห็นระบบการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวในไทย ระบบใหม่มีภาษาต่างชาติทั้งอังกฤษ, พม่า, ลาว, เวียดนาม และภาษาเขมร โดยเหมือนตั้งใจที่จะให้แรงงานสามารถแจ้งเองได้เลย ซึ่งจะต่างจากในอดีตที่จะให้นายจ้างไทยเป็นคนแจ้งออก

ถามว่าการทำแบบนี้ใครเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ นายจ้างชาวไทย? หรือ แรงงานข้ามชาติ? 

บางที เอย่า ก็สงสัยจุดประสงค์ของกรมแรงงาน ว่าต้องการให้ไทยพัฒนาไปได้ในทิศทางที่ถูกต้องหรือต้องการแค่ใครก็ได้ที่มาทำแล้วผลักงานให้พ้นตัวไป?

มาอีกเรื่องที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ไม่นานมานี้ เอย่า ได้รับรายงานมาว่า สนามกอล์ฟแห่งหนึ่งมีสาขาที่จังหวัดท่องเที่ยวในประเทศไทย มีเจ้าของเป็นคนไทย ประกาศรับแคดดี้ชาวพม่าเป็นผู้หญิงอายุระหว่าง 18-25 ปี โดยต้องมีทักษะพูดภาษาต่างประเทศได้ เช่น จีน, เกาหลี โดยจะได้รับเงินเดือน 12,000 บาท พร้อมสวัสดิการชุดพนักงาน ที่พักและอาหารฟรี

นอกจากนี้ ผู้สมัครจะต้องผ่านการทดสอบทักษะทางภาษาก่อน หากได้งานต้องทำงานไปก่อน 6 เดือน หลังพ้นระยะทดลองงาน 6 เดือนถึงจะทำบัตรชมพูให้ และในช่วงดังกล่าวพนักงานต้องห้ามเดินทางออกนอกสถานที่เด็ดขาด โดยการทำงานนี้มีสัญญาจ้าง 2 ปี ถ้าลาออกก่อนหรือทำงานไม่ครบสัญญาจะถูกปรับเป็นเงิน 300,000 บาท

หากมองว่าเป็นงานถูกกฎหมาย ก็น่าจะไม่ผิดกฎหมาย แต่การรับสมัครงานแบบนี้ไม่ถูกต้องไปตามการจ้างแรงงานต่างด้าว และบริษัทน่าจะรู้ดีว่าการจ้างต่างด้าวที่ไม่มีเอกสารเป็นความผิด เพราะนายจ้างจะต้องไปขึ้นทะเบียนจ้างคนต่างด้าวก่อน จึงจะสามารถรับคนงานได้ 

ในส่วนของลูกจ้างที่ควรจะคำนึงคือ การที่ต้องไปทำงานในที่ใดที่หนึ่งไม่สามารถเดินทางออกไปไหนได้เลยไม่ต่างอะไรกับการถูกหลอกไปทำงานในเขตจีนเทา เขาจะทำอะไรกับคุณก็ได้ เพราะคุณอยู่ในอาณาเขตของเขา อีกอย่างหากถูกลวนลามจากนักกอล์ฟจะสามารถหาทางเอาตัวรอดได้หรือไม่ อย่างไรกัน เพราะไม่สามารถเดินทางออกไปไหนได้เลย แม้ทางรีสอร์ตจะเสนอว่าหากทำครบ 1 ปีแล้วสามารถขอลาได้ 15 วัน และมีรถรับส่งไปยังชายแดนหรือสนามบินก็ตาม

ปัจจุบันนี้แรงงานที่หนีเข้าประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายคงไม่มีทางเลือกมากนัก แต่ถึงกระนั้นขบวนการฟอกขาวที่นำโดยกลุ่มที่มาก่อนถึง แม้บางคนจะได้สัญชาติไทยไปแล้ว ก็ยังพยายามที่จะทำให้คนเหล่านั้นเข้ามาในระบบอย่างไม่ถูกต้อง โดยพยายามเรียกร้องว่า ไม่จำเป็นต้องมีการพิสูจน์สัญชาติหรือประวัติอาชญากรรม 

ประเด็นคือ ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องใช้แรงงานพวกนี้จริงหรือไม่ หรือแท้จริงแล้วคือ เรารักสบายจนเคยตัว และใช้เงินแก้ปัญหาจนเคยชิน โดยที่ไม่เคยสนใจว่าสิ่งที่เราก่อขึ้นจะส่งผลอะไรกลับมาบ้างในประเทศของเรา ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว  

หากทุกท่านยังไม่เข้าใจ อาจจะต้องลองไปถามคนไทยในแม่สอดดูว่า เขารู้สึกอย่างไรที่พม่าเข้าเมืองผิดกฎหมาย เข้ามาอาศัยเพิ่มมากขึ้น


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top